ทีมประกันสังคมก้าวหน้าชนะเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมฝ่ายผู้ประกันตนยกทีม
ศูนย์อำนวยการจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) รายงานผลการเลือกตั้งฯ แบบเรียลไทม์อย่างไม่เป็นทางการผ่านเฟซบุ๊กแฟนเฟจ เมื่อเวลา 11.50 น. ( 24 ธ.ค.) หลังนับคะแนนไปแล้ว 100% พบว่า ในส่วนผู้ประกันตน ทีมประกันสังคมก้าวหน้ากวาดที่นั่งไปทั้งหมด 6 ที่นั่ง ส่วนอีกที่นั่งเป็นของนายปรารถนา โพธิ์ดี ประธานเครือข่ายพนักงานราชการไทย
ทีมประกันสังคมก้าวหน้าคือใคร
เปิดตัวผู้สมัครเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.
โดยมีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า
เป็นผู้แถลงข่าวประกาศสนับสนุนผู้สมัครบอร์ดประกันสังคมฝ่ายผู้ประกันตน
จำนวน 7 คน ประกอบด้วย
นายษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายศิววงศ์ สุขทวี ที่ปรึกษาเครือข่าวองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ
นายชลิต รัษฐปานะ สมาชิกสหภาพคนทำงาน
นายธนพงษ์ เชื้อเมืองพาน ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิต
น.ส.นลัทพร ไกรฤกษ์ นักสื่อสาร-นักรณรงค์เรื่องสิทธิความเท่าเทียมสำหรับผู้พิการ
นางลักษมี สุวรรณภักดี ประธานสหภาพแรงงาน มอลลิเก้ เฮลท์ แคร์ ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
น.ส.ธนพร วิจันทร์ ผู้ประสานงานเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน ต่อมาพบว่า ขาดคุณสมบัติเพราะถูกเลิกจ้าง
สำหรับนโยบายสำคัญที่นำเสนอมีทั้งหมด 14 ข้อ แต่รวมมาเป็นตัวอย่างที่เด่น ๆ ประกอบด้วย
ด้านสวัสดิการ: เพิ่มค่าทำคลอดบุตร เป็น 20,000 บาทต่อครั้ง จากเดิม 15,000 บาท ไม่จำกัดจำนวนครั้ง สนับสนุนสิทธิลาคลอด 180 วัน เพิ่มค่าสงเคราะห์
เด็ก 0 – 6 ปี จาก 800 เป็น 1,000 บาทต่อเดือน และเพิ่มเงินดูแลเด็ก 7 – 12 ปี จากเดิมที่ไม่มีให้ เป็นปีละ 7,200 บาท และได้รับการชดเชยการลา เพื่อดูแล
คนในครอบครัว วันละ 300 บาท
นอกจากนี้ยังมีการกำหนดสินเชื่อที่อยู่อาศัย วงเงิน 5 ล้านบาท คิดดอกเบี้ย 1.99% ต่อปี และในส่วนการรักษาพยาบาล เกี่ยวกับการพัฒนาบัญชียาเดียวกัน
ไม่น้อยกว่าราชการและบัตรทอง ไม่ต้องสำรองจ่ายทุกกรณี,สิทธิทันตกรรม รักษารากฟันเทียม เชื่อมโยงกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
เหมาจ่าย 17,500 บาท ตลอดการรักษา
กรณีการว่างงงาน งานอิสระ และผู้พิการ: เพิ่มประกันการว่างงาน สูงสุด 9 เดือน, ขยายสิทธิประโยชน์คนพิการ ไม่ตัดสิทธิการใช้ร่วมกับสวัสดิการอื่น รักษา
พยาบาลได้ทุกที่, ประกันสังคมถ้วนหน้า พื้นฐานสำหรับแรงงานอิสระทั้งระบบ วางระบบระยะยาวใน 2 ปี, ประกันสังคมถ้วนหน้า พื้นฐานสำหรับแรงงานอิสระทั้งระบบ วางระบบระยะยาวใน 2 ปี
ด้านบำนาญ: ปรับสูตรคำนวณบำนาญใหม่ เพื่อบำนาญที่เป็นธรรม เพื่อป้องกันการเสียประโยชน์ เมื่อ 60 เดือนสุดท้ายมีการเปลี่ยนแปลง สำหรับผู้ประกัน
ตน มาตรา 39 โดยมีเป้าหมายให้ได้รับบำนาญไม่ตำกว่า 3,000 บาทต่อเดือน, ปรับเงื่อนไขการรับบำนาญ บำเหน็จ แรงงานข้ามชาติเข้ากับสภาพการ
ทำงาน รวมทั้งปรับเงื่อนไขให้แรงงานข้ามชาติมีสิทธิเลือกตั้งและสมัคร เป็นบอร์ดประกันสังคม
การลงทุนและการตรวจสอบ: วางเงื่อนไขการลงทุน และบริษัทคู่สัญญา ต้องไม่กดขี่แรงงาน การลงทุนขนาดใหญ่ต้องตรวจสอบได้ ยึดโยงกับผู้ประกันสังคม
และส่งเสริมให้เป็นองค์กรอิสระ ตรวจสอบได้ ไม่ผู้ติดกับระบบอุปถัมภ์ใด ๆ
cr.
https://www.bbc.com/thai/articles/c72y5dd8lzgo
เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมฝ่าย จิวยี่ธนาทรชนะ ฝ่ายนายจ้างทุนกังฉินขาดลอย
ศูนย์อำนวยการจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) รายงานผลการเลือกตั้งฯ แบบเรียลไทม์อย่างไม่เป็นทางการผ่านเฟซบุ๊กแฟนเฟจ เมื่อเวลา 11.50 น. ( 24 ธ.ค.) หลังนับคะแนนไปแล้ว 100% พบว่า ในส่วนผู้ประกันตน ทีมประกันสังคมก้าวหน้ากวาดที่นั่งไปทั้งหมด 6 ที่นั่ง ส่วนอีกที่นั่งเป็นของนายปรารถนา โพธิ์ดี ประธานเครือข่ายพนักงานราชการไทย
ทีมประกันสังคมก้าวหน้าคือใคร
เปิดตัวผู้สมัครเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.
โดยมีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า
เป็นผู้แถลงข่าวประกาศสนับสนุนผู้สมัครบอร์ดประกันสังคมฝ่ายผู้ประกันตน
จำนวน 7 คน ประกอบด้วย
นายษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายศิววงศ์ สุขทวี ที่ปรึกษาเครือข่าวองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ
นายชลิต รัษฐปานะ สมาชิกสหภาพคนทำงาน
นายธนพงษ์ เชื้อเมืองพาน ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิต
น.ส.นลัทพร ไกรฤกษ์ นักสื่อสาร-นักรณรงค์เรื่องสิทธิความเท่าเทียมสำหรับผู้พิการ
นางลักษมี สุวรรณภักดี ประธานสหภาพแรงงาน มอลลิเก้ เฮลท์ แคร์ ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
น.ส.ธนพร วิจันทร์ ผู้ประสานงานเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน ต่อมาพบว่า ขาดคุณสมบัติเพราะถูกเลิกจ้าง
สำหรับนโยบายสำคัญที่นำเสนอมีทั้งหมด 14 ข้อ แต่รวมมาเป็นตัวอย่างที่เด่น ๆ ประกอบด้วย
ด้านสวัสดิการ: เพิ่มค่าทำคลอดบุตร เป็น 20,000 บาทต่อครั้ง จากเดิม 15,000 บาท ไม่จำกัดจำนวนครั้ง สนับสนุนสิทธิลาคลอด 180 วัน เพิ่มค่าสงเคราะห์
เด็ก 0 – 6 ปี จาก 800 เป็น 1,000 บาทต่อเดือน และเพิ่มเงินดูแลเด็ก 7 – 12 ปี จากเดิมที่ไม่มีให้ เป็นปีละ 7,200 บาท และได้รับการชดเชยการลา เพื่อดูแล
คนในครอบครัว วันละ 300 บาท
นอกจากนี้ยังมีการกำหนดสินเชื่อที่อยู่อาศัย วงเงิน 5 ล้านบาท คิดดอกเบี้ย 1.99% ต่อปี และในส่วนการรักษาพยาบาล เกี่ยวกับการพัฒนาบัญชียาเดียวกัน
ไม่น้อยกว่าราชการและบัตรทอง ไม่ต้องสำรองจ่ายทุกกรณี,สิทธิทันตกรรม รักษารากฟันเทียม เชื่อมโยงกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
เหมาจ่าย 17,500 บาท ตลอดการรักษา
กรณีการว่างงงาน งานอิสระ และผู้พิการ: เพิ่มประกันการว่างงาน สูงสุด 9 เดือน, ขยายสิทธิประโยชน์คนพิการ ไม่ตัดสิทธิการใช้ร่วมกับสวัสดิการอื่น รักษา
พยาบาลได้ทุกที่, ประกันสังคมถ้วนหน้า พื้นฐานสำหรับแรงงานอิสระทั้งระบบ วางระบบระยะยาวใน 2 ปี, ประกันสังคมถ้วนหน้า พื้นฐานสำหรับแรงงานอิสระทั้งระบบ วางระบบระยะยาวใน 2 ปี
ด้านบำนาญ: ปรับสูตรคำนวณบำนาญใหม่ เพื่อบำนาญที่เป็นธรรม เพื่อป้องกันการเสียประโยชน์ เมื่อ 60 เดือนสุดท้ายมีการเปลี่ยนแปลง สำหรับผู้ประกัน
ตน มาตรา 39 โดยมีเป้าหมายให้ได้รับบำนาญไม่ตำกว่า 3,000 บาทต่อเดือน, ปรับเงื่อนไขการรับบำนาญ บำเหน็จ แรงงานข้ามชาติเข้ากับสภาพการ
ทำงาน รวมทั้งปรับเงื่อนไขให้แรงงานข้ามชาติมีสิทธิเลือกตั้งและสมัคร เป็นบอร์ดประกันสังคม
การลงทุนและการตรวจสอบ: วางเงื่อนไขการลงทุน และบริษัทคู่สัญญา ต้องไม่กดขี่แรงงาน การลงทุนขนาดใหญ่ต้องตรวจสอบได้ ยึดโยงกับผู้ประกันสังคม
และส่งเสริมให้เป็นองค์กรอิสระ ตรวจสอบได้ ไม่ผู้ติดกับระบบอุปถัมภ์ใด ๆ
cr.
https://www.bbc.com/thai/articles/c72y5dd8lzgo