ข่าวเศร้ามนุษย์เงินเดือน
เป็นข่าวสะเทือนตลาดทุน ลามไปถึงสำนักงานประกันสังคมกับผู้ที่จ่ายเงินประกันตนอีกครั้ง หลังตลาดหลักทรัพย์ฯ ออกแถลงการณ์เตือนให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เออร์บานา หรือ URBNPF ด้วยความระมัดระวังก่อนตัดสินใจลงทุน กรณีกองทุนอาจมีเหตุถูกบอกเลิกสัญญาสิทธิการเช่าและเลิกกองทุนรวม จนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนจะเท่ากับศูนย์
เนื่องจากกองทุนรวมได้รับหนังสือแจ้งยุติการชำระค่าเช่าจากบริษัท เออร์บานาเอสเตท จำกัด ซึ่งเป็นผู้เช่าช่วง อาจส่งผลให้กองทุนไม่สามารถชำระค่าเช่าให้กับผู้ให้เช่าได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดคือ วันที่ 31 มีนาคม 2567 และอาจถูกบอกเลิกสัญญาสิทธิการเช่า ซึ่งเป็นเหตุแห่งการเลิกกองทุน
โดยกองทุน URBNPF นี้มีสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ถือหน่วยใหญ่อันดับ 1 ด้วยสัดส่วน 30% จนเป็นอีกประเด็นใหญ่ที่บอร์ดใหญ่ประกันสังคมต้องมาถกเพื่อหาทางออกมาด้วย
เปิดพอร์ตสำนักงานประกันสังคม
THE STANDARD WEALTH ตรวจสอบข้อมูลของสำนักงานประกันสังคมที่รายงานผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่า มีการลงทุนโดยถือหุ้นใหญ่ติด 1 ใน 10 อันดับแรกในกองทุนรวม กองรีท และหุ้นของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวนประมาณ 95 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นกองทุนและ บจ. ขนาดใหญ่ มูลค่ารวมมากกว่า 2 แสนล้านบาท
เปิดชื่อหุ้นในพอร์ตประกันสังคม
ด้านข้อมูลสำนักงานประกันสังคมรายงานเงินลงทุนของกองทุนประกันสังคม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 มีมูลค่าทั้งสิ้น 2.44 ล้านล้านบาท โดยพอร์ตลงทุนมูลค่าดังกล่าวแบ่งเป็นการลงทุนดังนี้
กลุ่มหลักทรัพย์เสี่ยงสัดส่วน 25.63% มูลค่ารวม 6.25 แสนล้านบาท ประกอบด้วย
หน่วยลงทุนตราสารทุนต่างประเทศ สัดส่วน 11.35% มูลค่า 2.77 แสนล้านบาท
ตราสารทุนไทย สัดส่วน 9.90% มูลค่า 2.42 แสนล้านบาท
หน่วยลงทุนอสังหาริมทรัพย์ โครงสร้างพื้นฐาน และทองคำ สัดส่วน 4.30% มูลค่า 1.05 แสนล้านบาท
พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน สัดส่วน 0.08% มูลค่า 1,884 ล้านบาท
กลุ่มหลักทรัพย์มั่นคงสูง 74.37% มูลค่ารวม 1.81 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย
พันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และรัฐวิสาหกิจ ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน สัดส่วน 55.21% มูลค่า 1.35 ล้านล้านบาท
หน่วยลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศที่ได้อันดับความน่าเชื่อถือ 12.59% มูลค่า 3.07 แสนล้านบาท
เงินฝาก สัดส่วน 3.35% มูลค่า 81,763 ล้านบาท
หุ้นกู้เอกชน หรือ Securitized Debt ที่ได้รับอันดับความน่าเชื่อถือ สัดส่วน 3.22% มูลค่า 78,464 ล้านบาท
สัดส่วนเงินลงทุนกองทุนประกันสังคม ณ สิ้นปี 2566
รีเทิร์นปี 2566 ร่วง 1.5 หมื่นล้านบาท
ขณะที่ผลตอบแทนจากการลงทุนของสำนักงานประกันสังคมปี 2566 อยู่ 5.84 หมื่นล้านบาท ลดลงจากปี 2565 ที่ทำได้ 7.36 หมื่นล้านบาท ลดลงประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท หรือมากกว่า 20%
บรรยายภาพ: ผลตอบแทนจากการลงทุนย้อนหลัง 10 ปีของประกันสังคม
บอร์ดประกันสังคมถกตั้งอนุกรรมการลงทุนชุดใหม่แทนชุดเดิม
ด้าน รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี กรรมการผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน คณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) ให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD WEALTH ว่า เช้าวันนี้ (26 มีนาคม) คณะกรรมการประกันสังคมได้มีการนัดประชุมร่วมกับคณะอนุกรรมการการลงทุนของประกันสังคม ในประเด็นให้เข้ามาชี้แจงแนวทางการลงทุนของกองทุน รวมถึงชี้แจงแนวทางการทำงานของกรรมการบริหารความเสี่ยงการลงทุน
นอกจากนี้ ในการประชุมบอร์ดวันนี้จะมีการเสนอขอมติในการจัดตั้งอนุกรรมการการลงทุนชุดใหม่ พร้อมทั้งเสนอที่ประชุมบอร์ดให้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในที่มาของตัวแทนอนุกรรมการการลงทุนจากเดิมด้วย โดยปัจจุบันอนุกรรมการการลงทุนของกองทุนประกันสังคมจะมีจำนวนทั้งสิ้น 15 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวแทนที่ถูกแต่งตั้งมาจากหน่วยภาครัฐ โดยมีตัวแทนที่ถูกส่งจากบอร์ดประกันสังคมฝ่ายนายจ้างกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างจำนวนรวมกันเพียง 4 คนเท่านั้น โดยจะมีการเสนอสัดส่วนที่มาของตัวแทนอนุกรรมการการลงทุนชุดใหม่ที่มาจาก 3 ฝ่าย คือ จากหน่วยภาครัฐ บอร์ดประกันสังคมฝ่ายนายจ้าง และตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง ให้สัดส่วนของแต่ละฝ่ายที่ 1 ใน 3 ใกล้เคียงกัน เพื่อให้เกิดความสมดุล
รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี กรรมการผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน คณะกรรมการประกันสังคม
“ทีมประกันสังคมก้าวหน้าตอนนี้นั่งเป็นบอร์ดใหญ่ของประกันสังคมจำนวนรวม 6 ท่าน จะมาร่วมกำหนดแนวทางการบริหารการลงทุน ซึ่งจะมีการนำปัญหาต่างๆ หลายประเด็นมาร่วมถกในที่ประชุมบอร์ดด้วย เช่น การที่กองทุนประกันสังคมไปลงทุนในกองทุนหรือบริษัทจดทะเบียน (บจ.) จนขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ อย่างเช่นการถือหน่วยกว่าสัดส่วน 30% เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในกองทุนรวม URBNPF ที่อาจถูกบอกเลิกสัญญาสิทธิการเช่า และเป็นเหตุแห่งการเลิกกองทุน ว่าเหมาะสมหรือไม่
“เพราะประกันสังคมไม่ได้มีจุดประสงค์เข้าไปบริหารกองทุน URBNPF แต่เข้าไปลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งทำให้มีปัญหา เป็นเรื่องที่น่าสงสัยที่เข้าไปถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ในกองทุนนี้ และยังมีกองทุนอื่นๆ ด้วย ดังนั้นตามหลักธรรมาภิบาลเบื้องเห็นว่า ประกันสังคมไม่ควรเข้าไปถือหุ้นใหญ่อันดับ 1”
ตั้ง Protocol บริหารความเสี่ยงลงทุน
นอกจากนี้ ในที่ประชุมบอร์ดประกันสังคมวันนี้จะมีการหารือถึงแนวทางการบริหารความเสี่ยงการลงทุน ซึ่งที่ผ่านมามีการกำหนด Protocol ไว้ชัดเจนอยู่แล้วกับการบริหารจัดการปัญหาความเสี่ยงถึงกระบวนการปรับพอร์ต หรือ Cut Loss แต่กรณีที่อนุกรรมการการลงทุนไม่ปฏิบัติตาม Protocol ที่มีนั้นมีข้อยกเว้นหรืออะไร ซึ่งจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ส่วนนี้ให้มีความชัดเจน
ทั้งนี้ หลังมีมติของบอร์ดออกมาแล้วคาดว่าจะใช้ระยะเวลาสำหรับกระบวนการจัดตั้งอนุกรรมการการลงทุนอีกประมาณ 2 สัปดาห์จึงจะแล้วเสร็จ ส่วนกำหนดนโยบายหรือแนวทางการลงทุนใหม่จะมีการกำหนดขึ้นภายหลังจากมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการการลงทุนเสร็จสิ้น
“ในช่วงระหว่างรอการตั้งอนุกรรมการการลงทุนชุดใหม่เข้ามาทำงาน การปรับพอร์ตลงทุนสำคัญๆ ของประกันสังคมไม่ควรจะเกิดขึ้นจนกว่าจะมีอนุกรรมการการลงทุนใหม่เสร็จสิ้นเรียบร้อย ซึ่งจะมาทำหน้าที่ในส่วนนี้”
รายงานผลงานทุกไตรมาส
รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ กล่าวต่อว่า ยอมรับว่าที่ผ่านมากองทุนประกันสังคมมีการบริหารในรูปแบบระบบราชการ ส่งผลให้มีการเปิดเผยรายงานข้อมูลการลงทุนให้กับสมาชิกล่าช้าเกิน ขณะที่ข้อมูลการลงทุนส่วนใหญ่ในกองทุนหรือหุ้นของประกันสังคมที่ติดอันดับท็อปไม่เป็นความลับ มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่แล้ว ดังนั้นจึงมีแนวคิดเสนอผลักดันให้กองทุนประกันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงการเปิดเผยรายงานข้อมูลการลงทุน จากเดิมที่เปิดเป็นรายปี ให้มาเปิดรายงานการลงทุนและผลตอบแทนการลงทุนเป็นทุกไตรมาส ซึ่งคล้องกับการรายงานงบของกองทุนและ บจ. ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
เงินสมทบสะสมและผลประโยชน์สะสมจากการลงทุนย้อนหลัง 10 ปี
สำหรับสถานะของกองทุนสังคมปัจจุบัน หากดูจากงบการเงินของประกันสังคมยังมีผลตอบแทนจากการลงทุนกับการนำส่งเงินสมทบประกันตัวที่มีเพิ่มขึ้นจากจำนวนผู้ประกันตนที่เข้ามาในระบบการจ้างมากขึ้น ส่งผลให้สถานการณ์โดยรวมขณะนี้จึงยังไม่น่ากังวล
“การลงทุนมีกำไรหรือขาดทุนเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือความโปร่งใสมากกว่า เลยทำให้คนรู้สึกไม่มั่นใจ แม้การขาดทุนจากการลงทุนจะไม่ได้มาก แต่คนไม่เห็นว่าเกิดอะไรขึ้น ไม่รู้ว่า Protocol บริหารความเสี่ยงเป็นอย่างไร ตรงนี้เป็นส่วนที่เป็นปัญหา”
ดูรูปและรายละเอียดที่นี่ครับ
https://thestandard.co/social-security-board-aimed-revamp/
บอร์ดประกันสังคมเล็งรื้อบอร์ดลงทุนใหม่ หวังสร้างความสมดุล-เพิ่มความโปร่งใส
เป็นข่าวสะเทือนตลาดทุน ลามไปถึงสำนักงานประกันสังคมกับผู้ที่จ่ายเงินประกันตนอีกครั้ง หลังตลาดหลักทรัพย์ฯ ออกแถลงการณ์เตือนให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เออร์บานา หรือ URBNPF ด้วยความระมัดระวังก่อนตัดสินใจลงทุน กรณีกองทุนอาจมีเหตุถูกบอกเลิกสัญญาสิทธิการเช่าและเลิกกองทุนรวม จนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนจะเท่ากับศูนย์
เนื่องจากกองทุนรวมได้รับหนังสือแจ้งยุติการชำระค่าเช่าจากบริษัท เออร์บานาเอสเตท จำกัด ซึ่งเป็นผู้เช่าช่วง อาจส่งผลให้กองทุนไม่สามารถชำระค่าเช่าให้กับผู้ให้เช่าได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดคือ วันที่ 31 มีนาคม 2567 และอาจถูกบอกเลิกสัญญาสิทธิการเช่า ซึ่งเป็นเหตุแห่งการเลิกกองทุน
โดยกองทุน URBNPF นี้มีสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ถือหน่วยใหญ่อันดับ 1 ด้วยสัดส่วน 30% จนเป็นอีกประเด็นใหญ่ที่บอร์ดใหญ่ประกันสังคมต้องมาถกเพื่อหาทางออกมาด้วย
เปิดพอร์ตสำนักงานประกันสังคม
THE STANDARD WEALTH ตรวจสอบข้อมูลของสำนักงานประกันสังคมที่รายงานผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่า มีการลงทุนโดยถือหุ้นใหญ่ติด 1 ใน 10 อันดับแรกในกองทุนรวม กองรีท และหุ้นของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำนวนประมาณ 95 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นกองทุนและ บจ. ขนาดใหญ่ มูลค่ารวมมากกว่า 2 แสนล้านบาท
เปิดชื่อหุ้นในพอร์ตประกันสังคม
ด้านข้อมูลสำนักงานประกันสังคมรายงานเงินลงทุนของกองทุนประกันสังคม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 มีมูลค่าทั้งสิ้น 2.44 ล้านล้านบาท โดยพอร์ตลงทุนมูลค่าดังกล่าวแบ่งเป็นการลงทุนดังนี้
กลุ่มหลักทรัพย์เสี่ยงสัดส่วน 25.63% มูลค่ารวม 6.25 แสนล้านบาท ประกอบด้วย
หน่วยลงทุนตราสารทุนต่างประเทศ สัดส่วน 11.35% มูลค่า 2.77 แสนล้านบาท
ตราสารทุนไทย สัดส่วน 9.90% มูลค่า 2.42 แสนล้านบาท
หน่วยลงทุนอสังหาริมทรัพย์ โครงสร้างพื้นฐาน และทองคำ สัดส่วน 4.30% มูลค่า 1.05 แสนล้านบาท
พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน สัดส่วน 0.08% มูลค่า 1,884 ล้านบาท
กลุ่มหลักทรัพย์มั่นคงสูง 74.37% มูลค่ารวม 1.81 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย
พันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และรัฐวิสาหกิจ ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน สัดส่วน 55.21% มูลค่า 1.35 ล้านล้านบาท
หน่วยลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศที่ได้อันดับความน่าเชื่อถือ 12.59% มูลค่า 3.07 แสนล้านบาท
เงินฝาก สัดส่วน 3.35% มูลค่า 81,763 ล้านบาท
หุ้นกู้เอกชน หรือ Securitized Debt ที่ได้รับอันดับความน่าเชื่อถือ สัดส่วน 3.22% มูลค่า 78,464 ล้านบาท
สัดส่วนเงินลงทุนกองทุนประกันสังคม ณ สิ้นปี 2566
รีเทิร์นปี 2566 ร่วง 1.5 หมื่นล้านบาท
ขณะที่ผลตอบแทนจากการลงทุนของสำนักงานประกันสังคมปี 2566 อยู่ 5.84 หมื่นล้านบาท ลดลงจากปี 2565 ที่ทำได้ 7.36 หมื่นล้านบาท ลดลงประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท หรือมากกว่า 20%
บรรยายภาพ: ผลตอบแทนจากการลงทุนย้อนหลัง 10 ปีของประกันสังคม
บอร์ดประกันสังคมถกตั้งอนุกรรมการลงทุนชุดใหม่แทนชุดเดิม
ด้าน รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี กรรมการผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน คณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) ให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD WEALTH ว่า เช้าวันนี้ (26 มีนาคม) คณะกรรมการประกันสังคมได้มีการนัดประชุมร่วมกับคณะอนุกรรมการการลงทุนของประกันสังคม ในประเด็นให้เข้ามาชี้แจงแนวทางการลงทุนของกองทุน รวมถึงชี้แจงแนวทางการทำงานของกรรมการบริหารความเสี่ยงการลงทุน
นอกจากนี้ ในการประชุมบอร์ดวันนี้จะมีการเสนอขอมติในการจัดตั้งอนุกรรมการการลงทุนชุดใหม่ พร้อมทั้งเสนอที่ประชุมบอร์ดให้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในที่มาของตัวแทนอนุกรรมการการลงทุนจากเดิมด้วย โดยปัจจุบันอนุกรรมการการลงทุนของกองทุนประกันสังคมจะมีจำนวนทั้งสิ้น 15 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวแทนที่ถูกแต่งตั้งมาจากหน่วยภาครัฐ โดยมีตัวแทนที่ถูกส่งจากบอร์ดประกันสังคมฝ่ายนายจ้างกับตัวแทนฝ่ายลูกจ้างจำนวนรวมกันเพียง 4 คนเท่านั้น โดยจะมีการเสนอสัดส่วนที่มาของตัวแทนอนุกรรมการการลงทุนชุดใหม่ที่มาจาก 3 ฝ่าย คือ จากหน่วยภาครัฐ บอร์ดประกันสังคมฝ่ายนายจ้าง และตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง ให้สัดส่วนของแต่ละฝ่ายที่ 1 ใน 3 ใกล้เคียงกัน เพื่อให้เกิดความสมดุล
รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี กรรมการผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน คณะกรรมการประกันสังคม
“ทีมประกันสังคมก้าวหน้าตอนนี้นั่งเป็นบอร์ดใหญ่ของประกันสังคมจำนวนรวม 6 ท่าน จะมาร่วมกำหนดแนวทางการบริหารการลงทุน ซึ่งจะมีการนำปัญหาต่างๆ หลายประเด็นมาร่วมถกในที่ประชุมบอร์ดด้วย เช่น การที่กองทุนประกันสังคมไปลงทุนในกองทุนหรือบริษัทจดทะเบียน (บจ.) จนขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ อย่างเช่นการถือหน่วยกว่าสัดส่วน 30% เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในกองทุนรวม URBNPF ที่อาจถูกบอกเลิกสัญญาสิทธิการเช่า และเป็นเหตุแห่งการเลิกกองทุน ว่าเหมาะสมหรือไม่
“เพราะประกันสังคมไม่ได้มีจุดประสงค์เข้าไปบริหารกองทุน URBNPF แต่เข้าไปลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งทำให้มีปัญหา เป็นเรื่องที่น่าสงสัยที่เข้าไปถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ในกองทุนนี้ และยังมีกองทุนอื่นๆ ด้วย ดังนั้นตามหลักธรรมาภิบาลเบื้องเห็นว่า ประกันสังคมไม่ควรเข้าไปถือหุ้นใหญ่อันดับ 1”
ตั้ง Protocol บริหารความเสี่ยงลงทุน
นอกจากนี้ ในที่ประชุมบอร์ดประกันสังคมวันนี้จะมีการหารือถึงแนวทางการบริหารความเสี่ยงการลงทุน ซึ่งที่ผ่านมามีการกำหนด Protocol ไว้ชัดเจนอยู่แล้วกับการบริหารจัดการปัญหาความเสี่ยงถึงกระบวนการปรับพอร์ต หรือ Cut Loss แต่กรณีที่อนุกรรมการการลงทุนไม่ปฏิบัติตาม Protocol ที่มีนั้นมีข้อยกเว้นหรืออะไร ซึ่งจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ส่วนนี้ให้มีความชัดเจน
ทั้งนี้ หลังมีมติของบอร์ดออกมาแล้วคาดว่าจะใช้ระยะเวลาสำหรับกระบวนการจัดตั้งอนุกรรมการการลงทุนอีกประมาณ 2 สัปดาห์จึงจะแล้วเสร็จ ส่วนกำหนดนโยบายหรือแนวทางการลงทุนใหม่จะมีการกำหนดขึ้นภายหลังจากมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการการลงทุนเสร็จสิ้น
“ในช่วงระหว่างรอการตั้งอนุกรรมการการลงทุนชุดใหม่เข้ามาทำงาน การปรับพอร์ตลงทุนสำคัญๆ ของประกันสังคมไม่ควรจะเกิดขึ้นจนกว่าจะมีอนุกรรมการการลงทุนใหม่เสร็จสิ้นเรียบร้อย ซึ่งจะมาทำหน้าที่ในส่วนนี้”
รายงานผลงานทุกไตรมาส
รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ กล่าวต่อว่า ยอมรับว่าที่ผ่านมากองทุนประกันสังคมมีการบริหารในรูปแบบระบบราชการ ส่งผลให้มีการเปิดเผยรายงานข้อมูลการลงทุนให้กับสมาชิกล่าช้าเกิน ขณะที่ข้อมูลการลงทุนส่วนใหญ่ในกองทุนหรือหุ้นของประกันสังคมที่ติดอันดับท็อปไม่เป็นความลับ มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่แล้ว ดังนั้นจึงมีแนวคิดเสนอผลักดันให้กองทุนประกันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงการเปิดเผยรายงานข้อมูลการลงทุน จากเดิมที่เปิดเป็นรายปี ให้มาเปิดรายงานการลงทุนและผลตอบแทนการลงทุนเป็นทุกไตรมาส ซึ่งคล้องกับการรายงานงบของกองทุนและ บจ. ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
เงินสมทบสะสมและผลประโยชน์สะสมจากการลงทุนย้อนหลัง 10 ปี
สำหรับสถานะของกองทุนสังคมปัจจุบัน หากดูจากงบการเงินของประกันสังคมยังมีผลตอบแทนจากการลงทุนกับการนำส่งเงินสมทบประกันตัวที่มีเพิ่มขึ้นจากจำนวนผู้ประกันตนที่เข้ามาในระบบการจ้างมากขึ้น ส่งผลให้สถานการณ์โดยรวมขณะนี้จึงยังไม่น่ากังวล
“การลงทุนมีกำไรหรือขาดทุนเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือความโปร่งใสมากกว่า เลยทำให้คนรู้สึกไม่มั่นใจ แม้การขาดทุนจากการลงทุนจะไม่ได้มาก แต่คนไม่เห็นว่าเกิดอะไรขึ้น ไม่รู้ว่า Protocol บริหารความเสี่ยงเป็นอย่างไร ตรงนี้เป็นส่วนที่เป็นปัญหา”
ดูรูปและรายละเอียดที่นี่ครับ
https://thestandard.co/social-security-board-aimed-revamp/