(เฉพาะในไทย) มีวิธีวัดค่าครองชีพจากการทำงานเเเลกกับเงินเพื่อซื้ออาหารในลักษณะเดียวกับ Big Mac Index Formula มั้ยครับ ?

ตามหัวข้อเลยครับ เเบบว่าทฤษฎีบิ๊กเเม็คที่ใช้เป็นดัชนีชี้วัดค่าครองชีพจากการเปรียบเทียบค่าเเรงขั้นต่ำต่อการซื้อบิ๊กเเม็ค 1 ชิ้น นั้นเป็นดัชนีชี้วัดอย่างคร่าวๆถึงค่าครองชีพในระดับสากล (เพราะบิ๊กเเม็คเป็นสินค้าที่มีขายทั่วโลก) อันนี้คงมีการเรียนการสอนกันอยู่ทั่วโลก เเต่ความสงสัยของผมคือ ในประเทศไทย (ย้ำว่าพูดถึงสโคปในระดับเมืองไทยเท่านั้นนะครับ) มีดัชนีชี้วัดในทำนองเดียวกันนี้มั้ยครับ ?

เช่น ราคาส้มตำ 1 จาน ก๋วยเตี๋ยว 1 ชาม ข้าวเเกงกับ 3 อย่าง 1 จาน อะไรทำนองนี้ เเบบว่าคนชั้นกลางที่ได้เงินเป็นค่าเเรงขั้นต่ำ xxx บาท/วัน เฉลี่ยเเล้ว ต้องทำงาน yyy ชั่วโมง เพื่อซื้ออาหาร 1 จานอย่างงี้เป็นต้น เเละถ้ามีดัชนีอย่างที่ว่านี้มันจะเเม่นยำเเค่ไหน ? เพราะอาหาร (น่าจะ ?) เป็นสินค้าควบคุม ไม่น่าจะใช้เป็นดัชนีชี้วัดได้ดีเท่ากับสินค้าอย่างอื่น เช่น ที่ดิน ทอง อะไรอย่างงี้เป็นต้น เเต่เพราะมันเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเราที่สุดเเล้ว เช้าเย็น 3 มื้อยังไงก็ต้องกิน...

คือ ที่มาถามนี่เเบบว่าผมก็ได้ยินมาตั้งเเต่เด็กเเล้วครับว่าสมัยพ่อเเม่เรายังเด็กก๋วยเตี๋ยวชามละ 2 สลึง ค่าเเรงวันละ ??? กินกันจนอิ่ม เเต่ทุกวันนี้ (สมมติว่าตั้งเเต่ยุคต้มยำกุ้งมา) ก๋วยเตี๋ยวชามละ 40-50 บาท (ทุกวันนี้ 60 บาทอย่างต่ำ) กิน 2 ชามยังไม่อิ่ม... ค่าเเรง ooo บาท/วัน คือ คนบ่นกันมาทุกยุคทุกสมัยว่าอาหารราคาเเพงขึ้น ค่าครองชีพเเพงขึ้นเป็นเงาตามตัว หรือ ราคาอาหารบางอย่างอาจเเพงเกินไปสำหรับคนบางกลุ่มด้วยซ้ำ...

เเล้วมันจะมีดัชนีชี้วัดทำนองนี้มั้ย (อย่างน้อยเอาไว้อธิบายให้คนที่ไม่เคยเรียนเศรษฐศาสตร์/บริหารธุรกิจเข้าใจได้) เคยมีการเรียนการสอนกันเเบบนี้ที่ไหนมั้ยหรือ มีการใช้ดัชนีชี้วัดค่าครองชีพลักษณะนี้ในเมืองไทยมั้ยครับ ?

รบกวนขอความรู้ด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่