สรุปผลการสัมมนาในโครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “กระบวนการตรวจสอบศาลและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ” ซึ่งจัดโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 (ตอนจบ)
ผู้ร่วมสัมมนา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผมตั้งคำถามคำถามเดียว ถ้ารัฐสร้างความเสี่ยงอันเกิดจากการใช้อำนาจ ท่านคิดว่าชีวิตเราจะแพงขึ้นไหม เป็นไปได้ไหมครับ ที่การใช้อำนาจแล้วก่อความเสี่ยงให้คนลงทุนในอนาคต เราอยากจะให้ประเทศมีการลงทุนใหม่ๆ แต่การที่รัฐใช้อำนาจแบบ ผมไม่ได้ว่าผิดนะ มีความไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนไปมา ไม่มีการตรวจสอบเพราะโจทย์ที่ผมได้คือ ทำไมรัฐต้องรับผิด การที่รัฐไม่รับผิดหรือควรรับแต่ไม่รับหรือไม่รับแต่รับอะไรเนี่ยนะ ท่านคิดว่ามันทำให้ชีวิตเราแพงขึ้นไหม หลายท่านพยักหน้า
ถ้าเราเป็นคนลงทุนเป็นผู้ประกอบการเอกชน ผมมาลงทุนแล้วผมเจอรัฐที่ไม่แน่นอนขึ้นมา ท่านคิดว่าต้นทุนเขาบวกไปที่ไหน?
ผมแค่จะสื่อประโยคเดียวว่า ความไม่แน่นอนของกฎหมาย ความไม่แน่นอนในการใช้อำนาจรัฐ มันวัดได้ด้วยต้นทุนในการให้บริการสาธารณะ แล้วมันก็มีผลกระทบต่อการลงทุน การจูงใจคนให้คนมาลงทุน
การใช้อำนาจแบบนี้ ต้นทุนที่เกิดจากความไม่แน่นอน มันถูกแจกจ่ายแตกลงไปจนกลายเป็นภาระ สุดท้ายคำว่าประโยชน์ของรัฐก็ไม่เกิดอยู่ดี ถูกไหมครับ
เราอาจจะมีเกณฑ์ที่บอกว่า ในการเสนอแข่งขันให้ได้ประโยชน์สูงสุดมันต้อง Open bid ถูกไหมครับ
มีการเอาตัวข้อสัญญาอะไรต่างๆ มากางออกให้หมดตรวจสอบหมดแล้วเนี่ยอันนี้เป็นประโยชน์สูงสุดกับรัฐ ผมมีอีกมุมหนึ่งคือ เจ้าหน้าที่รัฐที่อยากจะช่วยให้โครงการเดินต่อไปได้ กลายเป็นมีความผิดแทนถูกไหมครับ คือกลายเป็นว่าคุณทำอย่างนี้ไม่รักษาประโยชน์รัฐ กลับมามาประเด็นเดิมว่า เราเข้าใจคำว่า “ประโยชน์ของรัฐ” คือประโยชน์ของประชาชนตรงกันหรือเปล่า?
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๑) บัญญัติว่า “โดยทุจริต” หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ...” คำว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ มันเชิงทรัพย์สินอย่างเดียวหรือเปล่า ถ้าเราพูดในอาญาทั่วๆ ไปมันคือ การได้มาซึ่งประโยชน์ในทาง Financial gain นะครับ Economic gain ถูกไหมครับ แต่ที่ท่านพูดเมื่อกี้ผมจับได้อย่างหนึ่งว่า มันอาจจะเป็น Political gain ใช่ไหม เป็น corruption ชื่อเสียงด้วยหรือไม่ แต่คนให้นิยามเป็นเม็ดเงินอย่างเดียวไม่ได้ มันคือประโยชน์ที่ได้มาโดยไม่ชอบหรือเปล่า ผมขอตั้งเป็นข้อสังเกตไว้
อาจารย์นิติ จุฬาฯแนะตีความคำว่า “ทุจริต” มิใช่เฉพาะทรัพย์สินอย่างเดียว แต่ควรหมายรวมถึงการคอร์รัปชั่นชื่อเสียงด้วย
ผู้ร่วมสัมมนา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผมตั้งคำถามคำถามเดียว ถ้ารัฐสร้างความเสี่ยงอันเกิดจากการใช้อำนาจ ท่านคิดว่าชีวิตเราจะแพงขึ้นไหม เป็นไปได้ไหมครับ ที่การใช้อำนาจแล้วก่อความเสี่ยงให้คนลงทุนในอนาคต เราอยากจะให้ประเทศมีการลงทุนใหม่ๆ แต่การที่รัฐใช้อำนาจแบบ ผมไม่ได้ว่าผิดนะ มีความไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนไปมา ไม่มีการตรวจสอบเพราะโจทย์ที่ผมได้คือ ทำไมรัฐต้องรับผิด การที่รัฐไม่รับผิดหรือควรรับแต่ไม่รับหรือไม่รับแต่รับอะไรเนี่ยนะ ท่านคิดว่ามันทำให้ชีวิตเราแพงขึ้นไหม หลายท่านพยักหน้า
ถ้าเราเป็นคนลงทุนเป็นผู้ประกอบการเอกชน ผมมาลงทุนแล้วผมเจอรัฐที่ไม่แน่นอนขึ้นมา ท่านคิดว่าต้นทุนเขาบวกไปที่ไหน?
ผมแค่จะสื่อประโยคเดียวว่า ความไม่แน่นอนของกฎหมาย ความไม่แน่นอนในการใช้อำนาจรัฐ มันวัดได้ด้วยต้นทุนในการให้บริการสาธารณะ แล้วมันก็มีผลกระทบต่อการลงทุน การจูงใจคนให้คนมาลงทุน
การใช้อำนาจแบบนี้ ต้นทุนที่เกิดจากความไม่แน่นอน มันถูกแจกจ่ายแตกลงไปจนกลายเป็นภาระ สุดท้ายคำว่าประโยชน์ของรัฐก็ไม่เกิดอยู่ดี ถูกไหมครับ
เราอาจจะมีเกณฑ์ที่บอกว่า ในการเสนอแข่งขันให้ได้ประโยชน์สูงสุดมันต้อง Open bid ถูกไหมครับ
มีการเอาตัวข้อสัญญาอะไรต่างๆ มากางออกให้หมดตรวจสอบหมดแล้วเนี่ยอันนี้เป็นประโยชน์สูงสุดกับรัฐ ผมมีอีกมุมหนึ่งคือ เจ้าหน้าที่รัฐที่อยากจะช่วยให้โครงการเดินต่อไปได้ กลายเป็นมีความผิดแทนถูกไหมครับ คือกลายเป็นว่าคุณทำอย่างนี้ไม่รักษาประโยชน์รัฐ กลับมามาประเด็นเดิมว่า เราเข้าใจคำว่า “ประโยชน์ของรัฐ” คือประโยชน์ของประชาชนตรงกันหรือเปล่า?
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๑) บัญญัติว่า “โดยทุจริต” หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ...” คำว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ มันเชิงทรัพย์สินอย่างเดียวหรือเปล่า ถ้าเราพูดในอาญาทั่วๆ ไปมันคือ การได้มาซึ่งประโยชน์ในทาง Financial gain นะครับ Economic gain ถูกไหมครับ แต่ที่ท่านพูดเมื่อกี้ผมจับได้อย่างหนึ่งว่า มันอาจจะเป็น Political gain ใช่ไหม เป็น corruption ชื่อเสียงด้วยหรือไม่ แต่คนให้นิยามเป็นเม็ดเงินอย่างเดียวไม่ได้ มันคือประโยชน์ที่ได้มาโดยไม่ชอบหรือเปล่า ผมขอตั้งเป็นข้อสังเกตไว้