การต่อสู้กับ (กิเลส) กรรมชั่วโลภะ กรรมชั่วโทสะ และกรรมชั่วโมหะ ตามหลักการของศาสนาอิสลาม

เนื่องจากมีความผิดพลาดในการ TAG  กระทู้นี้จึงปรากฏเป็นสอง Coppies  คือ "ศาสนาอิสลาม" และ "อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย",  
"มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา"  และ "อัลกุรอาน"
.........................................................................................................................................................................................................................

นายแพทย์ ชำนาญ ภู่เอี่ยม ได้เขียนตอนหนึ่งในบทความของท่านว่า; 

 "สังคมไทยได้กลายเป็นสังคมที่สับสน มีความขัดแย้งอยู่ในตัวเอง…ใจดี ต้อนรับ ยิ้มง่าย แต่โกรธง่าย และฆ่ากันง่าย…นอกจากฤทธิ์ของเสพยาเสพติดแล้ว หนึ่งในสาเหตุแห่งการฆ่ากันง่ายที่พบได้มากในสังคมไทย คือเรื่องศักดิ์ศรี บ่อยครั้งที่กลุ่มวัยรุ่นวิ่งไล่ฆ่ากันท่ามกลางสายตานักท่องเที่ยวที่ตื่นตระหนกในสถานที่ท่องเที่ยว/นายตำรวจถูกนักเลงฆ่าในงานเลี้ยงท่ามกลางสายตานายตำรวจ 25 นาย ศักดิ์ศรีของคนไทยไม่ใช่แค่การผิดใจ/ถูกมองหน้า/บีบแตรเตือน/ถูกแซงรถ/ขายของข้ามถิ่น ฯลฯ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในพระพุทธศาสนา คือการเป็นคนดีของสังคม ประพฤติดี และเคารพให้เกียรติกันการห่างเหินศาสนากล่อมเกลาจิตใจ/การขาดความยับยั้งชั่งใจ/การได้รับข้อมูลข่าวสารด้านความรุนแรง ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายที่ขาดประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยสำคัญของปัญหาการฆ่ากันง่าย….ดังนั้นการขออโหสิกรรมหลังการฆ่าคน จึงยังดูเหมือนจะเป็นทางออกของสังคมไทยต่อไปอีกยาวนาน"

  จากการสังเกตุการณ์ของนายแพทย์ท่านนี้เป็นความจริงที่เราจะเห็นผลของการกระทำ นี้ได้จากกระจกสังคม ทีวีหรือตามหน้าหนังสือพิมพ์ ข่าวต่างๆที่แพร่สะพัดเป็นประจำทุกๆวัน เหตุการณ์เหล่านี้มีต้นเหตุมาจาก เหตุ 3 ประการ คือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง ทางศาสนาอิสลามเรียกว่า นัฟ หรือ นัฟซุ ภาษาอรับ نَفْس  ซึ่งมักจะได้ยินชาวบ้านไทยมุสลิม เตือนเพื่อนๆเมื่อเวลาโกรธ หรือ ลุ่มหลง หรืออยากได้สิ่งใดอย่างรอไม่ทัน ให้ลด "นัฟซุ" ลงบ้าง ทำใจให้สงบ....นัฟซุ ( نَفْس ) เป็นคำภาษาอาหรับที่มีใช้อยู่ในคัมภีร์อัลกุรอานหมายถึง "ตัวเอง" และมีใช้ในความหมายว่า "จิตใจ", "อัตตา" หรือ "วิญญาณ" คัมภีร์อัลกุรอารกล่าวถึงคำ "นัฟซุ نَفْس " นี้หลายครั้ง 

ในสังคมมีคนสองประเภทได้แก่คนประเภทหนึ่งคือคนที่ ไม่อาจจะเอาชนะ "นัฟซฺ" ของเขาได้เป็นเหตุให้ "นัฟซฺ" ความโลภ, ความโกรธ และความหลง" นำไปสู่ความหายนะ ทั้งนี้เพราะว่า คนประเภทนี้ นัฟซฺ แห่งความชั่ว เอาชนะจิตใจพวกเขา เพราะบุคคลประเภทนี้ยอมจำนนต่อมันและเชื่อฟังแรงกระตุ้นของมัน ส่วนคนอีกประเภทหนึ่งคือผู้ที่สามารถเอาชนะ นัฟซฺ ความโลภ, โกรธ, และ ความหลง ของพวกเขาได้ และทำให้ ความ โลภ โกรธ หลง อยู่ใต้อำนาจของเขา และเชื่อฟังคำสั่งของพวกเขา
  
เนื่องจากความโลภ, โกรธ, และ ความหลง หรือทาง ภาษาบาลีเรียกว่า โลภะ โทสะ และโมหะ เป็นรากฐานห่งกรรมชั่วหรือการก่อให้เกิดการกระทำชั่ว ซึ่งผลของมันอาจจะเกิดขึ้นในปัจจุบันทันตาเห็นหรือในเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือในวันตัดสิน ในปรโลก อย่างไรก็ตามมันจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

" โลภะ "
   อัลกุรอานเตือนมุสลิมให้ป้องกันการเกิดความโลภ "โลภะ" ในหัวใจ เพราะความโลภเป็นต้นเหตุทำให้เกิดการกระทำชั่วทั้งหลาย ที่เป็นปัญหาอาชญากรรมในสังคมไทยในปัจจุบัน การพนันออนไลน์, Call Centers, สถานบริการทางเพศ การคดโกง และการคอรัปชั่น ตามองค์การต่างๆ เหล่านี้เกิดจาก ความโลภ "นัฟซฺ" ของบุคคลที่ประกอบกิจการและผู้ซื้อบริการเหล่านั้น

บัญญิที่ 9:85
   
หมายความว่าระวังอย่าปล่อยให้ใจเราเกิดความอยากได้ เมื่อเห็นทรัพย์สินและลูกๆของผู้อื่น และอีกบัญญัติกล่าวว่า

บัญญัติที่ 64:16

 หมายความว่าแทนที่จะเป็นผู้ที่เต็มไปด้วย "โลภะ" ให้ปฏิบัติตนเป็นผู้ให้กุศลทาน (ซะกาต) แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ตามหน้าที่ของมุสลิม       มุสลิมผู้ใดที่ปราศจากการเห็นแก่ตัวจะเป็นผู้ที่ประสพความสำเร็จในชีวิตบนโลกนี้

บัญญัติที่ 30:39

โทสะ
ท่านศาสดามูฮัมมัดกล่าวว่า "ใครก็ตามเมื่อเขาถูกผู้อื่นปฏิบัติอย่างทารุณกรรมและควบคุมความโกรธของเขาได้ เขาได้เอาชนะซาตานในตัวของเขาเองและซาตานในตัวของผู้ที่ทำให้เขาโกรธ '” (มุสนัด อัล บัซซาร์) การควบคุมความโกรธเป็นการบูชาที่ยิ่งใหญ่ในศาสนาอิสลามและเป็นสัญลักษณ์ของความ ชอบธรรม,​ อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า; “เมื่อพวกเขาโกรธ พวกเขาก็ให้อภัย [Surah Al-Shurah: 37] ดังนั้น เราจงระงับความโกรธของเรา และอย่าได้กล่าวสิ่ง     
ใดๆ ที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ ขอให้เราทุกคนอ่านอัลกุรอานและปฏิบัติตามคำสอนของอัลกุรอานและเป็นมุสลิมที่ดีขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา

บัญญัติที่ 42:37
 

โมหะ    ความหลง หรือความลุ่มหลง คือ ความไม่รู้, ไม่รู้ตามความเป็นจริง หรือไม่ยอมรับความเป็นจริง
อิสลามสอนว่า ชีวิตในโลกนี้คือภาพลวงตา เมื่ออัลกุรอานกล่าวว่าชีวิตนี้เป็นภาพลวงตา อาจจะหมายถึงเรื่องเงินทอง, ผู้หญิง, เด็ก, ปราสาท ราชวัง  เสื้อผ้า ฯลฯ  ชีวิตทางโลกเป็นเพียงวัตถุแห่งความหลงที่ไม่คงอยูชั่วนิรันดร์
"โมหะ" ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา การไม่กระทำให้ประจักษ์ ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง   ความหลงไหล ปฏิตามในสิ่งที่เาไม่รู้ไม่เข้าใจ โดยขาดการพิจารณาให้ถึงความเป็นจริงเสียก่อน อัลลอฮ์ทรงกำชับว่า

บัญญัติที่ 17:36 
       
อัลกุรอานเตือนผู้ศรัทธาในโองการที่ 17:36 บอกแก่มุสลิมว่า อย่าพูดและหรือปฏิบัติตามสิ่งที่คุณไม่มีความรู้จริงจะต้องสอบสวนให้แน่ใจถึงความเป็นจริงเสียก่อนแล้วจึงจะเชื่อ เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลเหล่านี้อาจเป็นอิทธิพลของบุคคลอื่น การกล่าวเท็จเล่าเรื่องราวในอดีตที่บิดเบือนความเป็นจริง นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความรู้เชิงลึกของตนเองอีกด้วย

ญิฮาดแห่งหัวใจ (ญิฮาด บิล กอลบ์/นาฟส์) เกี่ยวข้องกับการต่อสู้กับมารร้ายและในความพยายามที่จะหลบหนีการโน้มน้าวใจของเราไปสู่ความชั่วร้าย ญิฮาดประเภทนี้ถือเป็นญิฮาดที่ยิ่งใหญ่กว่า (อัล-ญิฮาด อัล-อัคบาร์) เราทราบจากอัลกุรอานว่า โลภะ โทสะ และ โมหะ เป็นต้นเหตุของกรรมชั่วต่างๆ เป็นกิเลส ที่ทำลายมนุษย์ คำสอนทางจริยธรรมของอิสลามระบุว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จในการต่อสู้ครั้งนี้สามารถเพิ่มขึ้นเหนือระดับของทูตสวรรค์และผู้ที่ล้มเหลวในการต่อสู้ครั้งนี้จะลงไปสู่ระดับที่ต่ำกว่าระดับของสัตว์ มาร.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่