คนเชียงใหม่ อ่วม! ป่วยโรคทางเดินหายใจกว่า 30,000 ราย ในเวลาแค่ 3 เดือน แพทย์ ชี้ ฝุ่น PM2.5 เป็นตัวกระตุ้นโรค
เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์ผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ว่า ทาง สธ.มีการเก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจอยู่ตลอด ซึ่งในช่วงที่ จ.เชียงใหม่ มีฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 สูงขึ้นนั้นเริ่มตั้งแต่ปลายเดือน ต.ค. ทำให้ข้อมูลผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ สะสมตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค. – 9 ธ.ค. มากกว่า 30,000 ราย เฉลี่ยสัปดาห์ละ 4,000 ราย ซึ่งในจำนวนนี้จะรวมผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจทั้งหมด เช่น 1.หอบหืดเฉียบพลันรุนแรง 189 ราย 2.หอบหืด 1,655 ราย 3.เยื่อบุตาอักเสบ 1,096 ราย 4.หอบหืดเรื้อรัง 2,548 ราย 5.ปอดอักเสบ 2,001 ราย 6.ผื่นแพ้ 773 ราย 7.อาการเฉียบพลันในผู้ป่วยหอบหืดเรื้อรัง 1,145 ราย และ 8.การอักเสบของผิวหนัง 1,079 ราย อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจโรคอื่นๆ อีก ซึ่งเฉลี่ยแล้วพบผู้ป่วยเดือนละ 4,000 – 5,000 ราย
“ตัวเลขผู้ป่วยทั้งหมดนี้ ไม่ได้สะท้อนถึงการป่วยจากฝุ่น PM2.5 เพียงอย่างเดียว เพราะผู้ป่วยบางรายก็มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่าฝุ่นเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้มีอาการป่วยต่างๆ แย่ลงได้ ” นพ.สุรโชค กล่าว
เมื่อถามว่าตัวเลขผู้ป่วย 30,000 ราย มีนัยยะสำคัญอย่างไรกับสถานการณ์ฝุ่นใน จ.เชียงใหม่ นพ.สุรโชคกล่าวว่า ผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจมีมากขึ้น เกิดได้จากหลายปัจจัยทั้งเรื่องฝุ่น ทั้งเรื่องโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจ เช่น โควิด-19 ไข้หวัดใหญ่ ฉะนั้น บอกได้ยากว่าในจำนวนผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจนั้น มีผู้ที่ป่วยจากฝุ่นโดยตรงกี่ราย ทั้งนี้ สธ.ก็ติดตามสถานการณ์ผู้ป่วยอยู่ตลอด และติดตามปริมาณฝุ่นในพื้นที่ด้วย ที่ขณะนี้มีการปรับเกณฑ์ลดลงมาที่ 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เพื่อให้มีการจับสัญญาณผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้เร็วขึ้น และสามารถออกมาตรการมารองรับได้ทันท่วงที
$€£¥ คนเชียงใหม่ อ่วม! ป่วยโรคทางเดินหายใจกว่า 30,000 ราย ในเวลาแค่ 3 เดือน
เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์ผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ว่า ทาง สธ.มีการเก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจอยู่ตลอด ซึ่งในช่วงที่ จ.เชียงใหม่ มีฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 สูงขึ้นนั้นเริ่มตั้งแต่ปลายเดือน ต.ค. ทำให้ข้อมูลผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ สะสมตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค. – 9 ธ.ค. มากกว่า 30,000 ราย เฉลี่ยสัปดาห์ละ 4,000 ราย ซึ่งในจำนวนนี้จะรวมผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจทั้งหมด เช่น 1.หอบหืดเฉียบพลันรุนแรง 189 ราย 2.หอบหืด 1,655 ราย 3.เยื่อบุตาอักเสบ 1,096 ราย 4.หอบหืดเรื้อรัง 2,548 ราย 5.ปอดอักเสบ 2,001 ราย 6.ผื่นแพ้ 773 ราย 7.อาการเฉียบพลันในผู้ป่วยหอบหืดเรื้อรัง 1,145 ราย และ 8.การอักเสบของผิวหนัง 1,079 ราย อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจโรคอื่นๆ อีก ซึ่งเฉลี่ยแล้วพบผู้ป่วยเดือนละ 4,000 – 5,000 ราย
“ตัวเลขผู้ป่วยทั้งหมดนี้ ไม่ได้สะท้อนถึงการป่วยจากฝุ่น PM2.5 เพียงอย่างเดียว เพราะผู้ป่วยบางรายก็มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่าฝุ่นเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้มีอาการป่วยต่างๆ แย่ลงได้ ” นพ.สุรโชค กล่าว
เมื่อถามว่าตัวเลขผู้ป่วย 30,000 ราย มีนัยยะสำคัญอย่างไรกับสถานการณ์ฝุ่นใน จ.เชียงใหม่ นพ.สุรโชคกล่าวว่า ผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจมีมากขึ้น เกิดได้จากหลายปัจจัยทั้งเรื่องฝุ่น ทั้งเรื่องโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจ เช่น โควิด-19 ไข้หวัดใหญ่ ฉะนั้น บอกได้ยากว่าในจำนวนผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจนั้น มีผู้ที่ป่วยจากฝุ่นโดยตรงกี่ราย ทั้งนี้ สธ.ก็ติดตามสถานการณ์ผู้ป่วยอยู่ตลอด และติดตามปริมาณฝุ่นในพื้นที่ด้วย ที่ขณะนี้มีการปรับเกณฑ์ลดลงมาที่ 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เพื่อให้มีการจับสัญญาณผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้เร็วขึ้น และสามารถออกมาตรการมารองรับได้ทันท่วงที