ทำไมนาฬิกาดิจิตอล เดินไวขึ้นเรื่อยๆ

พอดีสังเกตุมาหลายปีละครับ เริ่มจาก นาฬิกาแขวนผนัง อันแรกสั่งของจีนมาก ที่เสียบปลั๊กไฟ ตั้งค่าในเว็บกองทับเรือเว็บมามาตรฐาน นานๆเข้าไวขึ้นๆ เดือนหนึ่งไวไปเกือบ 20 วินาที  เลยคิดว่าของจีนไม่ดี  เลยซื้อของคาซิโอ้ นาฬิกาแขวนดิจิตอลมา พันกว่าบาท ก็แบบเดียวกันครับ 1 เดือนไวกว่าเวลามาตรฐานไป 15-20 วิ  นาฬิกาข้อมือดิจิตอลก็เช่นกัน  เคยได้ยินว่า โลกหมุนช้าลงเรื่อยๆ ส่วนนี้มีผลกับการปรับเวลามาตรฐานโลกไหมครับ  คือส่วนตัวต้องทำงานที่กี่ยวข้องกับการเทียบเวลาที่ตรงเป๊ะ หลักวินาทีครับ ดีเลย์ได้ไม่เกิน 5 วินาที จะทำยังไงดี ตอนนี้อาศัยดูเวลาที่คอม เพราะลิงค์กับเซิร์ฟเวอร์ตลอด
ปล ไปสังเกตุของคนอื่นก็เป็นเช่นกันครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 14
นาฬิกาของท่าน จขกท.
ผิดพลาดประมาณ  20 วินาที / 1 เดือน
เมื่อนำมาหารกัน   20 / (60×60×24×30)
แล้วจะได้ 7.60530351 × 10-6
ก็คือประมาณ 7.6 PPM  ซึ่งเป็นค่าความแม่นยำปกติ
ของนาฬิกาแบบนี้ครับ ท่าน
และจริง ๆ แล้วถือว่าดี เสียด้วยนะครับ
เพราะวงจร Oscillator ในนาฬิกา (ซึ่งใช้ผลึก Crystal)  
จะมี accuracy ในช่วง ±20 - 50 PPM

หากท่านหา Crystal oscillator
แบบความแม่นยำสูง 0.1 PPM
ก็ทำนาฬิกา Digital เองได้เลย
ก็จะผิดพลาดเพียงเดือนละ 0.25 - 0.3 วินาที


ขอเพิ่มเติมเรื่องเวลามาตรฐาน
ใน Internet / Network ต่าง ๆ ครับ
มาตรฐานเวลาโลกจะมีระดับความเที่ยงตรงที่ Stratum 0 - 3

Stratum-0  คือแหล่งที่มาของเวลาที่เชื่อได้ ได้แก่
timestamp ในสัญญาณ ดาวเทียม GPS
ซึ่งมาจาก Atomic clock ในดาวเทียม GPS

Stratum-1  เป็น Time Server ที่เชื่อมต่อโดยตรง
กับเครื่องรับสัญญาณ GPS  หรือ  Atomic clock  
ซึ่งถือว่ามีความแม่นยำสูงสุด

Stratum-2  เป็น Time Server ที่อ้างอิงเวลามาจาก
Stratum-1 time server  เช่น  เวลาที่ sync กับ
Smartphone ของเราโดยผู้ให้บริการ  จะอยู่ในชั้นนี้
รวมทั้ง Time server ของ Windows OS
และเวบเทียบเวลาของกองทัพเรือ
และ  https://time.is/th/  (แนะนำอันนี้  สะดวกดีครับ
และมัน SYNC กับ PC เราได้ด้วย


Stratum-3  เป็น Time Server ที่อ้างอิงเวลา
มาจาก Stratum-2 time server มาอีกทีหนึ่ง


เคยได้ยินว่า โลกหมุนช้าลงเรื่อย ๆ
ส่วนนี้มีผลกับการปรับเวลามาตรฐานโลกไหมครับ

มีครับ
Coordinated Universal Time (UTC)
เป็นหน่วยบอกเวลาที่อ้างอิงกับการหมุนของโลก
โดยใช้ Atomic clock ที่มีความแม่นยำสูงเป็นเครื่องมือวัด
แต่ด้วยเหตุที่โลกมีความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ทางกายภาพตามธรรมชาติ  เช่นเปลือกโลกเคลื่อนที่
กระแสลม / กระแสน้ำในมหาสมุทรเปลี่ยนแปลง
ความดันบรรยากาศเพิ่มขึ้น / ลดลงในแต่ละปี
ทำให้อัตราการหมุนของโลกช้าลงหรือเร็วขึ้นเล็กน้อยได้
ส่งผลให้เวลา UTC เกิดความคลาดเคลื่อน
ดังนั้น  การที่จะทำให้เวลาทางดาราศาสตร์
และ เวลาตาม Atomic clock มาเท่ากัน
จะต้องใช้ "อธิกวินาที" (Leap second) มาเพิ่มเข้าไปครับ

ตั้งแต่มีการวัดอัตราหมุนของโลกด้วยดาวเทียม
ช่วงปลายยุค 60  ตั้งแต่ปี 1972 นักวิทยาศาสตร์ได้
เพิ่ม Leap second โดยเฉลี่ยทุก ๆ ปีครึ่ง
ที่ผ่านมามีวินาทีพิเศษถูกเพิ่มเข้ามาแล้ว 27 ครั้ง
ครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อธันวาคม 2016
แต่  4 ปีมานี้โลกหมุนเร็วกว่าเดิม
ทำให้ต้องมีการแก้ปัญหาเรื่องเวลา นี้
โดยที่ประชุมของหน่วยงานมาตรฐานชั่งตวงนานาชาติ
(International Bureau of Weights and Measures : BIPM)
ลงมติยกเลิก Leap second โดยจะมีผลในปี 2035
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่