เชื่อไหม❗ประเทศไทยจะใกล้ขั้วโลกใต้อีกรอบ จะเป็นไปไหมว่าธารน้ำแข็ง ละลายหมด🧐🧐




  มาเล่าต่อคะ จากที่เป็นเรื่องเป็นราว ของแสงสีเขียว หรือแสงเรือหมึก ก็จะตรึงๆ มา

ไปเสาะข้อมูลมาอีกแล้ว
เชื่อหรือมั้ย❗

ประเทศไทย จ.เพชรบุรี และ จ.ภูเก็ต อดีตกี่ล้านล้านปีเคยใกล้ขั้วโลกใต้

ก็ตื่นเต้นไปเลาะหาอีกมาว่า

ในยุคเพอร์เมียน-คาร์บอนิเฟอรัส (354-295 ล้านปีก่อน) แผ่นเปลือกโลกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เคลื่อนตัวมาทางเหนือจนอยู่ใกล้ขั้วโลกใต้ ส่งผลให้บริเวณภาคใต้ของไทยในปัจจุบันเคยอยู่ในบริเวณที่มีภูมิอากาศหนาวเย็น หลักฐานที่สนับสนุนแนวคิดนี้ ได้แก่

การพบหินนิรสถานในบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ลาว และกัมพูชา ซึ่งมีลักษณะเป็นหินตะกอนที่มีเม็ดกรวดขนาดใหญ่และเหลี่ยมมุมคมชัด บ่งชี้ว่าเกิดจากการเคลื่อนย้ายของธารน้ำแข็ง
การพบซากฟอสซิลของพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีภูมิอากาศหนาวเย็น เช่น พืชสกุล Glossopteris ซึ่งพบได้ทั่วไปในทวีปแอนตาร์กติกา และสัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำ
อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เนื่องจากยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนและเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นเอกฉันท์
แหม❗แหม❗

ที่มาข้อมูลขั้วโลกใต้ปัจจุบัน
ภาพปี2022


ทวีปขั้วโลกใต้กำลังกลายเป็นสีเขียว เมื่อภาวะโลกร้อนทำให้เกิดสาหร่ายผลิบาน

บริเวณชายฝั่งแอนตาร์กติกาคือพื้นที่ส่วนใหญ่ที่พบหิมะสีเขียวนี้ รวมทั้งบนเกาะที่ตั้งอยู่ในชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรแอนตาร์กติก พวกมันเติบโตในบริเวณอบอุ่นที่ซึ่งอุณหภูมิอยู่สูงกว่าศูนย์องศาเซลเซียสเล็กน้อยในช่วงฤดูร้อนของแอนตาร์กติกา ซึ่งกินเวลาตั้งแต่พฤศจิกายนจนถึงกุมภาพันธ์ ตามรายงานระบุว่ามีการพบพื้นที่ของสาหร่ายที่เติบโตจนหนาแน่นมากถึง 1,679 แห่ง ซึ่งนับรวมแล้วมีบริเวณกว้างถึง 1.9 ตารางกิโลเมตร หรือเทียบเท่าอ่างคาร์บอน 479 ตันต่อปี นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าหิมะเขียวจะแพร่กระจายตัวมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยพวกเขาคาดการณ์ว่าปริมาณสาหร่ายจะเริ่มหนาแน่นมากขึ้นจนกระทั่งขึ้นไปยังพื้นที่สูงซึ่งส่งผลให้ปกคลุมทั่วทั้งเกาะขนาดเล็กได้



ปัจจุบันนี้ วันที่ 7 ตุลาคม 2566
นักวิทยาศาสตร์กังวลใจ! เหตุ 'ดอกไม้บานในแอนตาร์กติกา' โลกอาจหายนะ หากมนุษย์ไม่เปลี่ยนพฤติกรรม

ดอกไม้เติบโตในทวีปที่หนาวสุดขั้วแบบนั้นได้อย่างไร" เพราะปกติแล้วจะมีพืชอยู่เพียงบริเวณหมู่เกาะเซาท์ออร์กนีย์ หมู่เกาะเซาท์เชตแลนด์ และแนวคาบสมุทรแอนตาร์กติกตะวันตก แต่ตอนนี้กลับมีพืชขึ้นในที่ที่เคยถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งและหิมะ
ทวีปแอนตาร์กติกบริเวณขั้วโลก ถือเป็นหนึ่งในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อพืชและสัตว์มากที่สุด ในภูมิภาคนี้ชีวิตเหล่านั้น ต้องเผชิญกับความยากลำบากหลายประการ เช่น อุณหภูมิต่ำ ลมแรง และชีวิตจะยากลำบากยิ่งขึ้น เมื่อทวีปแอนตาร์กติกเข้าสู่ความมืดมิดในช่วงฤดูหนาว ซึ่งอุณหภูมิสามารถดิ่งลงได้ถึง -60°C หรือต่ำกว่านั้น

ด้วยสภาพอากาศที่สุดขั้วขนาดนี้ การเกิดขึ้นของ #ดอกของหญ้าขนแอนตาร์กติก (Deschampsia Antarctica) และ เพิร์ลเวิร์ตแอนตาร์กติก (Antarctic Pearlwort) ที่เป็นประเด็นอยู่ จึงไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดี แถมยังสร้างความไม่สบายใจให้นักวิทยาศาสตร์ เพราะมันทำให้เห็นว่า 'น้ำแข็งทั่วโลกกำลังละลายอย่างรวดเร็ว' และ 'ระบบนิเวศกำลังเปลี่ยนไป'
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่