ศัลยแพทย์ทั่วไปของสหรัฐฯ ระบุว่าผลกระทบต่อการเสียชีวิตของความเหงาเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน
ความเหงาก่อตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมต้องหยุดชะงักลง
ในผู้สูงอายุ ความเหงามีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่จะพัฒนาภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 50% และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง 30% เท่านั้นไม่พอ ความเหงายังบั่นทอนชีวิตของคนหนุ่มสาวอีกด้วย
โดยงานวิจัยเมื่อปี 2022 ระบุว่า วัยรุ่น 5 – 15% มีภาวะเหงา ซึ่งตัวเลขมีแนวโน้มว่าจะถูกประเมินต่ำไป ขณะที่ในแอฟริกา มีวัยรุ่น 12.7% เผชิญกับความเหงา เทียบกับ 5.3% ในยุโรป
คนหนุ่มสาวที่ประสบปัญหาความเหงาที่โรงเรียนมีแนวโน้มที่จะไม่เรียนต่อมหาวิทยาลัยมากกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ ความเหงายังส่งผลไปสู่ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจที่แย่ลง ความรู้สึกแปลกแยก และไม่ได้รับการสนับสนุนในงานอาจทำให้ความพึงพอใจและประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลง
เครดิตจาก ข่าวสด WHO
+++++++++++
ประเด็นดังกล่าว คุณคิดว่า จะแก้ปัญหาเรื่อง ความเหงา ของคนได้อย่างไร
เครดิต ภาพจากอินเตอร์เนต
อนามัยโลกประกาศ ความเหงา เป็นภัยคุกคามสุขภาพ อันตรายเท่าสูบบุหรี่ 15 มวน/วัน
ความเหงาก่อตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมต้องหยุดชะงักลง
ในผู้สูงอายุ ความเหงามีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่จะพัฒนาภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 50% และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง 30% เท่านั้นไม่พอ ความเหงายังบั่นทอนชีวิตของคนหนุ่มสาวอีกด้วย
โดยงานวิจัยเมื่อปี 2022 ระบุว่า วัยรุ่น 5 – 15% มีภาวะเหงา ซึ่งตัวเลขมีแนวโน้มว่าจะถูกประเมินต่ำไป ขณะที่ในแอฟริกา มีวัยรุ่น 12.7% เผชิญกับความเหงา เทียบกับ 5.3% ในยุโรป
คนหนุ่มสาวที่ประสบปัญหาความเหงาที่โรงเรียนมีแนวโน้มที่จะไม่เรียนต่อมหาวิทยาลัยมากกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ ความเหงายังส่งผลไปสู่ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจที่แย่ลง ความรู้สึกแปลกแยก และไม่ได้รับการสนับสนุนในงานอาจทำให้ความพึงพอใจและประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลง
เครดิตจาก ข่าวสด WHO
+++++++++++
ประเด็นดังกล่าว คุณคิดว่า จะแก้ปัญหาเรื่อง ความเหงา ของคนได้อย่างไร
เครดิต ภาพจากอินเตอร์เนต