สวัสดีเราเป็นตัวแทนจาก ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิยาลัยเชียงใหม่
เราอยากจะเล่าเรื่องราวหรือประสบการในระหว่างทำโครงการ "ค่ายพลังต้นกล้า ประจำปี 2566" หรือ "ค่ายลงหมู่บ้าน 66" นั่นเอง
หมู่บ้านอมกุ๋น เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ใน ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย 24 หลังคาเรือน ผู้คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโปรแตสแตนต์ ด้วยบรรยากาศที่อบอุ่น และผู้คนในหมู่บ้านที่เป็นมิตร จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ “ชมรมอนุรักษ์ มช.” เลือกหมู่บ้านนี้ในการการจัด “ค่ายพลังต้นกล้า” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ค่ายลงหมู่บ้าน”ในปี 2566 นี้
หมู่บ้านอมกุ๋น ชื่อนี้หลาย ๆ คนอาจไม่คุ้นหูกัน เนื่องจากเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่มีประชากรไม่เกิน 150 คน ถูกโอบล้อมไปด้วยความสมบูรณ์ของธรรมชาติ ชาวบ้านบ้านเป็นชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ผู้คนใช้ภาษากะเหรี่ยงในการสื่อสาร แต่ส่วนใหญ่สามารถพูดได้ทั้ง 3 ภาษา ก็คือ 1.ภาษากะเหรี่ยง 2.ภาษาเหนือ(คำเมือง) 3.ภาษาไทยกลาง
ในการลงหมู่บ้านในครั้งนี้จำนวนคนขึ้นค่ายทั้งหมด 30 คนจะถูกกระจายตัวไปตามบ้าน บ้านละ 4 คนทั้งหมด 5วัน 4คืน เพื่อไปศึกษาวิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรม ฯลฯ จากชาวบ้านโดยตรง
วันที่ 1 ชาวค่ายช่วยกันขนของขึ้นรถทหารที่จะพาเราไปสู่หมู่บ้านอมกุ๋นตั้งแต่ช่วง 07.30 น.หลังจากนั้นเราก็เริ่มออกเดินทางใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงกับการดื่มด่ำอากาศต้นฤดูหนาวระหว่างทาง ไม่นานเราก็ถึงกาดสะเมิง แวะให้หายใจหายคอกันครู่หนึ่ง ก่อนที่จะได้เข้าใจถึงคำว่าทางลูกรังที่แท้จริง ตลอดเส้นทางหลังจากผ่านกาดสะเมิง เป็นทางดินแดงทั้งหมด ของที่ขนมาเต็มคันรถไม่ว่าจะเป็นของโภชนาการ หรือสัมภาระล้วนกระจัดกระจายทั่วบริเวณรถ ในคันของโภชนาการที่มีถังน้ำแข็ง สมาชิกในรถต้องช่วยกันดันถังไม่ให้ไหลทับตัวเอง ตลอดทางเสียงที่จะได้ยินก็คือ เสียงกรี๊ดของสมาชิกในรถ ทุก ๆ ครั้งที่ทหารเร่งเครื่องยนต์เพื่อที่จะขึ้นเนิน ใช้เวลาประมาณ 30 นาที เราก็ถึงหมู่บ้านอมกุ๋นในที่สุด
หลังจากให้ทุกคนได้นั่งพักให้พอหายเหนื่อยจากการใส่เสียงขึ้นดอยไม่นาน ฝ่ายสันทนาการก็ได้เริ่มกิจกรรม “ม่านประเพณี” เพื่อเป็นการให้ทุกคนได้รู้จักชื่อกัน ก่อนที่จะได้ใช้ชีวิตร่วมกันไปอีก 5 วัน กิจกรรมนี้ทำให้ได้เห็นถึงความครีเอทของหลายคน ผ่านการรังสรรค์นำเอาเสื้อผ้ามาปลอมตัว จนแทบจำกันไม้ได้
จบกิจกรรมแรกของวันแล้วทุกคนก็แยกย้ายเดินทางไปตามบ้านที่ตัวเองได้อยู่ เพื่อทำความรู้จัก ฝากตัวกับเจ้าของบ้าน และสอบถามข้อมูลตามหัวข้อที่ตนเองได้ เช่น ด้านประเพณีและวัฒนธรรม ภาษา ความเชื่อ เป็นต้น จวบจนช่วงค่ำก็ได้มารวมตัวกันอีกครั้งเพื่อมาแลกเปลี่ยนข้อมูลที่แต่ละคนได้รับจากการสอบถามชาวบ้านในกิจกรรมช่วง “ต้นกล้าโปรเจค”
วันที่ 2 เริ่มต้นเช้าวันใหม่สุดสดใสด้วยเวลา 05.30 น. เพื่อไปรับของจากโภชนาการนำมาทำอาหารสำหรับตอนเช้าและเที่ยง เพราะว่าวันนี้เราจะมาเกี่ยวข้าวร่วมกัน โดยในที่นี้เราจะเรียกว่า “การเอามื้อเอาแรง” โดยทั่วไปแล้วในการเกี่ยวข้าวแต่ละครั้งของชาวบ้าน จะมีการเกณฑ์คนจากในหมู่บ้านมาช่วยกันทำ ผู้ที่มาช่วยก็จะได้รับค่าตอบแทนเป็นข้าวที่สีแล้วจากนานั้น หรือเจ้าของนาจะเลี้ยงอาหารมื้อใหญ่ (ล้มหมู) เป็นต้น
หลังจากพากันเดินหลงขึ้นไปในเขาได้เกือบหนึ่งชั่วโมง เราก็ได้ไปเกี่ยวข้าวกันที่นาของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในที่สุด เมื่อไปถึงแล้วพบว่าดินในนามีลักษณะเป็นเลน ทำให้ทุกคนจะต้องถอดรองเท้าอันเป็นการสัมผัสธรรมชาติอย่างแท้จริงเพื่อเกี่ยวข้าว ไม่รู้ว่าเป็นเพราะแดดที่ทำมุม 90 องศากับหัวหรือความขยันของชาวค่าย ที่ทำให้กระบวนการเกี่ยวข้าวผ่านไปอย่างรวดเร็ว ทุกคนเลยแยกย้ายกันไปรับประทานอาหารก่อนที่จะพบกิจกรรมในช่วงบ่ายต่อไป
พักผ่อนจากการหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินได้ประมาณ 1 ชั่วโมงทุกคนก็เริ่มออกเดินไปยังบ้านหลังต่าง ๆ เพื่อถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำมาทำบทความในหัวข้อของตนเอง
แต่ละคนที่ไปแต่ละบ้านก็ต่างได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น บ้านที่กำลังจะมีลูกก็จะมีการทอผ้าเผื่อใช้เอง และยังพูดถึงปัญหาด้านต่าง ๆ ให้ได้พวกเราได้รับรู้ เช่น ปัญหาด้านการเดินทางที่ยากลำบาก เนื่องจากตลอดเส้นทางเป็นทางลูกรัง เพราะงบประมาณสนับสนุนมาไม่ถึงหมู่บ้านอมกุ๋น หรือปัญหาด้านพื้นที่ทับซ้อนกับอุทยาน ซึ่งจะทำให้ชาวบ้านไม่มีพื้นที่ทำกิน และไม่สามารถใช้ประโยชน์จากป่าใช้สอยได้ดังเดิม เป็นต้น เมื่อมาถึงช่วงค่ำของวันนี้ก็ได้มีกิจกรรม “เหรียญสองด้าน” อันเป็นกิจกรรมที่ทำให้ทุกคนได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองแนวคิดของตนเองกับผู้อื่น ผ่านการสวมบทบาทเป็นบุคคลหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัญหาในตัวอย่างที่ได้ยกมา ซึ่งทำให้เราได้เห็นถึงมุมมองที่เราอาจจะไม่เคยเห็นจากบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่ในปัญหาเดียวกัน
วันที่ 3 วันนี้เป็นวันที่ชาวค่ายจะได้ไปเดินป่าศึกษาเส้นทางธรรมชาติร่วมกันโดยมีผู้นำทางคือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านคนอื่น ๆ อีก 2 คน ความพิเศษก็คือ เรามีหน่วยรักษาความปลอดภัยตามประกบถึงสามตัว ได้แก่ แพนด้า ดิงโก้ และแดง ตลอดเส้นทางที่เดิน ประมาณ 6 กิโลเมตร ชาวบ้านได้ให้ความรู้เกี่ยวกับพืชพรรณท้องถิ่น เช่น ผอออคลี เป็นดอกไม้สีชมพูที่เอาไว้รับประทานกับน้ำพริก สมุนไพรเช่น บะเมื่อน มีสรรพคุณช่วยแก้ไอ ให้กินแบบดิบ ๆ ป่าที่เราได้เดินกันเป็นป่าที่ค่อนข้างมีความอุดมสมบูรณ์ เราได้เดินผ่านทั้งในเขตที่เป็นป่าอนุรักษ์ และป่าใช้สอย จะสามารถเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนคือ หากป่าส่วนใดที่ผ่านการเป็นไร่หมุนเวียนได้ไม่นาน ต้นไม้ที่ขึ้นมาใหม่จะมีลักษณะลำต้นที่ค่อนข้างเล็กอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับต้นไม้ที่ไม่ได้เป็นไร่หมุนเวียนมาก่อน
ผอออคลี เป็นดอกไม้สีชมพูที่เอาไว้รับประทานกับน้ำพริก เช่นรับประทานกับน้ำพริกน้ำปู รสชาติของดอกจะจืดออกฟาดเล็กน้อย
หลังจากดื่มด่ำจากเส้นทางธรรมชาติกันเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลาที่แต่ละกลุ่มจะมานั่งสรุปสิ่งที่กลุ่มของตนเองได้เรียนรู้จากการเดินป่าในครั้งนี้
จากการสรุปจะเห็นได้ว่าแต่ละกลุ่มต่างก็มีส่วนของข้อมูลที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น บางกลุ่มพบเจอสมุนไพรที่มีคุณสมบัติน่าสนใจ อาทิ ใบไม้ที่ทำให้หายคัน ต้นไม้ที่เป็นเสมือนยาคุม เป็นต้น
วันที่ 4 วันนี้เป็นวันที่กิจกรรมทุกคนรัดตัวตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจวบจนพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า เริ่มต้นวันอย่างสดใสด้วยการทำข้าวหลามแบบดั้งเดิมที่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นการเปิดประสบการณ์ข้าวหลามแบบใหม่ให้กับหลาย ๆ คน เนื่องจากข้าวหลามแบบดั้งเดิมนี้จะใส่แค่เพียง ข้าวสารและน้ำลงไปในกระบอกไม้ไผ่แล้วนำไปเผาเพียงเท่านั้น ซึ่งแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดจากข้าวหลามที่หลาย ๆ คนคุ้นชินกันที่เป็นในลักษณะของข้าวเหนียวมูล แต่เมื่อนำไปเผาเสร็จก็จะมีเครื่องจิ้มที่นำน้ำตาลมะพร้าวไปเคี่ยวแล้วใส่กะทิเข้าไป ทำให้มีความหวานและหอม
ในช่วงบ่ายมีการทำโมจิดอย ทำโดยการนำข้าวเหนียวไปตำในครกขนาดใหญ่ เมื่อเสร็จแล้วโรยหน้าด้วยน้ำตาลและงาตบท้าย
จนมาถึงกิจกรรมสุดพิเศษของค่ำคืนนี้ ซึ่งถือเป็นค่ำคืนสุดท้ายก่อนที่จะจากลาหมู่บ้านอมกุ๋นอย่างเป็นทางการ ท้องฟ้าโปร่งในยามค่ำคืนทำให้เห็นดวงดาวได้อย่างชัดเจน เมื่อรวมกับอากาศเย็น ๆ ของต้นฤดูหนาวของหมู่ข้านกลางขุนเขา ทุกคนมารวมกันหน้ากองไฟเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย จึงทำให้ค่ำคืนนี้เหมาะอย่างยิ่งกับการสังสรรค์ร่วมกัน ทุกคนต่างบอกเล่าความในใจที่มีในค่ายตลอดเวลาหลายวันที่ผ่านมา ค่ำคืนนี้เต็มไปด้วยคำขอบคุณเสียงหัวเราะ และเสียงดนตรี
อมกุ๋นเห็นดาวชัดมาก ๆ อยากให้ทุกคนมาเห็นด้วยตาของตัวเองจริง ๆ
วันที่ 5 วันสุดท้ายก่อนที่จะจากลา เราก็ยังทำทุกอย่างเหมือนเดิม ยังตื่นเช้าไปรับวัตถุดิบที่โภชนาการแต่เช้าเหมือนเดิม ยังยิ้มทักทายกับเจ้าของบ้านเหมือนเดิม แต่สิ่งที่ต่างออกไปในวันนี้ก็คือ ความผูกพันระหว่างกันทั้งสมาชิกในชมรมและชาวบ้านที่มีเพิ่มขึ้น
ตลอดช่วงเวลา 5 วัน 4 คืนที่ผ่านมา แม้จะเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ที่เราต่างคณธต่างชั้นปีได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน บางคนอาจไม่รู้จักกันมาก่อน ไม่เคยพบหน้า ไม่เคยพูดคุยกัน ไม่มีอะไรร่วมกันมาก่อน แต่เชื่อว่าหลังจากจบค่ายลงหมู่บ้าน ณ หมู่บ้านอมกุ๋นในครั้งนี้ เชื่อว่าสิ่งที่คนจะมีร่วมกันก็คือ ความคิดถึงในหมู่บ้านกลางหุบเขานี้ร่วมกัน จากความอบอุ่นและเอาใจใส่ที่ชาวบ้านมอบให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา หวังว่าจะไม่เป็นครั้งสุดท้ายที่เราได้พบกัน ไว้พบกันใหม่...อมกุ๋น...
สามารถติดตามเนื้อหาอื่นๆ เพิ่มเติมในอนาคตเกี่ยวกับหมู่บ้านได้ที่
https://www.facebook.com/cmu.anurak (เพจ Facebook: ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
มีประมวลภาพกิจกรรมในค่ายเล็กๆ น้อยๆ ในเพจ Facebook และคลิป TikTok ของชมรมของเรา สามารถเข้าไปชมได้นะครับตาม link นี้เลยครับ
https://www.facebook.com/100063570824023/posts/pfbid0VKZVr5581d29qaPUAvAz1MyBiyZv8C7fVfoNcs9K46W6RjFzRWoqkXTxnUt2R6wbl/?mibextid=K8Wfd2
https://vt.tiktok.com/ZSNuUmTmq/
อมกุ๋น หมู่บ้านท่ามกลางหุบเขากับบรรยากาศแสนอบอุ่น
เราอยากจะเล่าเรื่องราวหรือประสบการในระหว่างทำโครงการ "ค่ายพลังต้นกล้า ประจำปี 2566" หรือ "ค่ายลงหมู่บ้าน 66" นั่นเอง
หมู่บ้านอมกุ๋น เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ใน ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย 24 หลังคาเรือน ผู้คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโปรแตสแตนต์ ด้วยบรรยากาศที่อบอุ่น และผู้คนในหมู่บ้านที่เป็นมิตร จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ “ชมรมอนุรักษ์ มช.” เลือกหมู่บ้านนี้ในการการจัด “ค่ายพลังต้นกล้า” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ค่ายลงหมู่บ้าน”ในปี 2566 นี้
หมู่บ้านอมกุ๋น ชื่อนี้หลาย ๆ คนอาจไม่คุ้นหูกัน เนื่องจากเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่มีประชากรไม่เกิน 150 คน ถูกโอบล้อมไปด้วยความสมบูรณ์ของธรรมชาติ ชาวบ้านบ้านเป็นชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ผู้คนใช้ภาษากะเหรี่ยงในการสื่อสาร แต่ส่วนใหญ่สามารถพูดได้ทั้ง 3 ภาษา ก็คือ 1.ภาษากะเหรี่ยง 2.ภาษาเหนือ(คำเมือง) 3.ภาษาไทยกลาง
ในการลงหมู่บ้านในครั้งนี้จำนวนคนขึ้นค่ายทั้งหมด 30 คนจะถูกกระจายตัวไปตามบ้าน บ้านละ 4 คนทั้งหมด 5วัน 4คืน เพื่อไปศึกษาวิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรม ฯลฯ จากชาวบ้านโดยตรง
วันที่ 1 ชาวค่ายช่วยกันขนของขึ้นรถทหารที่จะพาเราไปสู่หมู่บ้านอมกุ๋นตั้งแต่ช่วง 07.30 น.หลังจากนั้นเราก็เริ่มออกเดินทางใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงกับการดื่มด่ำอากาศต้นฤดูหนาวระหว่างทาง ไม่นานเราก็ถึงกาดสะเมิง แวะให้หายใจหายคอกันครู่หนึ่ง ก่อนที่จะได้เข้าใจถึงคำว่าทางลูกรังที่แท้จริง ตลอดเส้นทางหลังจากผ่านกาดสะเมิง เป็นทางดินแดงทั้งหมด ของที่ขนมาเต็มคันรถไม่ว่าจะเป็นของโภชนาการ หรือสัมภาระล้วนกระจัดกระจายทั่วบริเวณรถ ในคันของโภชนาการที่มีถังน้ำแข็ง สมาชิกในรถต้องช่วยกันดันถังไม่ให้ไหลทับตัวเอง ตลอดทางเสียงที่จะได้ยินก็คือ เสียงกรี๊ดของสมาชิกในรถ ทุก ๆ ครั้งที่ทหารเร่งเครื่องยนต์เพื่อที่จะขึ้นเนิน ใช้เวลาประมาณ 30 นาที เราก็ถึงหมู่บ้านอมกุ๋นในที่สุด
หลังจากให้ทุกคนได้นั่งพักให้พอหายเหนื่อยจากการใส่เสียงขึ้นดอยไม่นาน ฝ่ายสันทนาการก็ได้เริ่มกิจกรรม “ม่านประเพณี” เพื่อเป็นการให้ทุกคนได้รู้จักชื่อกัน ก่อนที่จะได้ใช้ชีวิตร่วมกันไปอีก 5 วัน กิจกรรมนี้ทำให้ได้เห็นถึงความครีเอทของหลายคน ผ่านการรังสรรค์นำเอาเสื้อผ้ามาปลอมตัว จนแทบจำกันไม้ได้
จบกิจกรรมแรกของวันแล้วทุกคนก็แยกย้ายเดินทางไปตามบ้านที่ตัวเองได้อยู่ เพื่อทำความรู้จัก ฝากตัวกับเจ้าของบ้าน และสอบถามข้อมูลตามหัวข้อที่ตนเองได้ เช่น ด้านประเพณีและวัฒนธรรม ภาษา ความเชื่อ เป็นต้น จวบจนช่วงค่ำก็ได้มารวมตัวกันอีกครั้งเพื่อมาแลกเปลี่ยนข้อมูลที่แต่ละคนได้รับจากการสอบถามชาวบ้านในกิจกรรมช่วง “ต้นกล้าโปรเจค”
หลังจากพากันเดินหลงขึ้นไปในเขาได้เกือบหนึ่งชั่วโมง เราก็ได้ไปเกี่ยวข้าวกันที่นาของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในที่สุด เมื่อไปถึงแล้วพบว่าดินในนามีลักษณะเป็นเลน ทำให้ทุกคนจะต้องถอดรองเท้าอันเป็นการสัมผัสธรรมชาติอย่างแท้จริงเพื่อเกี่ยวข้าว ไม่รู้ว่าเป็นเพราะแดดที่ทำมุม 90 องศากับหัวหรือความขยันของชาวค่าย ที่ทำให้กระบวนการเกี่ยวข้าวผ่านไปอย่างรวดเร็ว ทุกคนเลยแยกย้ายกันไปรับประทานอาหารก่อนที่จะพบกิจกรรมในช่วงบ่ายต่อไป
พักผ่อนจากการหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินได้ประมาณ 1 ชั่วโมงทุกคนก็เริ่มออกเดินไปยังบ้านหลังต่าง ๆ เพื่อถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำมาทำบทความในหัวข้อของตนเอง
แต่ละคนที่ไปแต่ละบ้านก็ต่างได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น บ้านที่กำลังจะมีลูกก็จะมีการทอผ้าเผื่อใช้เอง และยังพูดถึงปัญหาด้านต่าง ๆ ให้ได้พวกเราได้รับรู้ เช่น ปัญหาด้านการเดินทางที่ยากลำบาก เนื่องจากตลอดเส้นทางเป็นทางลูกรัง เพราะงบประมาณสนับสนุนมาไม่ถึงหมู่บ้านอมกุ๋น หรือปัญหาด้านพื้นที่ทับซ้อนกับอุทยาน ซึ่งจะทำให้ชาวบ้านไม่มีพื้นที่ทำกิน และไม่สามารถใช้ประโยชน์จากป่าใช้สอยได้ดังเดิม เป็นต้น เมื่อมาถึงช่วงค่ำของวันนี้ก็ได้มีกิจกรรม “เหรียญสองด้าน” อันเป็นกิจกรรมที่ทำให้ทุกคนได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองแนวคิดของตนเองกับผู้อื่น ผ่านการสวมบทบาทเป็นบุคคลหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัญหาในตัวอย่างที่ได้ยกมา ซึ่งทำให้เราได้เห็นถึงมุมมองที่เราอาจจะไม่เคยเห็นจากบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่ในปัญหาเดียวกัน
จากการสรุปจะเห็นได้ว่าแต่ละกลุ่มต่างก็มีส่วนของข้อมูลที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น บางกลุ่มพบเจอสมุนไพรที่มีคุณสมบัติน่าสนใจ อาทิ ใบไม้ที่ทำให้หายคัน ต้นไม้ที่เป็นเสมือนยาคุม เป็นต้น
วันที่ 4 วันนี้เป็นวันที่กิจกรรมทุกคนรัดตัวตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจวบจนพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า เริ่มต้นวันอย่างสดใสด้วยการทำข้าวหลามแบบดั้งเดิมที่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นการเปิดประสบการณ์ข้าวหลามแบบใหม่ให้กับหลาย ๆ คน เนื่องจากข้าวหลามแบบดั้งเดิมนี้จะใส่แค่เพียง ข้าวสารและน้ำลงไปในกระบอกไม้ไผ่แล้วนำไปเผาเพียงเท่านั้น ซึ่งแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดจากข้าวหลามที่หลาย ๆ คนคุ้นชินกันที่เป็นในลักษณะของข้าวเหนียวมูล แต่เมื่อนำไปเผาเสร็จก็จะมีเครื่องจิ้มที่นำน้ำตาลมะพร้าวไปเคี่ยวแล้วใส่กะทิเข้าไป ทำให้มีความหวานและหอม
ในช่วงบ่ายมีการทำโมจิดอย ทำโดยการนำข้าวเหนียวไปตำในครกขนาดใหญ่ เมื่อเสร็จแล้วโรยหน้าด้วยน้ำตาลและงาตบท้าย
จนมาถึงกิจกรรมสุดพิเศษของค่ำคืนนี้ ซึ่งถือเป็นค่ำคืนสุดท้ายก่อนที่จะจากลาหมู่บ้านอมกุ๋นอย่างเป็นทางการ ท้องฟ้าโปร่งในยามค่ำคืนทำให้เห็นดวงดาวได้อย่างชัดเจน เมื่อรวมกับอากาศเย็น ๆ ของต้นฤดูหนาวของหมู่ข้านกลางขุนเขา ทุกคนมารวมกันหน้ากองไฟเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย จึงทำให้ค่ำคืนนี้เหมาะอย่างยิ่งกับการสังสรรค์ร่วมกัน ทุกคนต่างบอกเล่าความในใจที่มีในค่ายตลอดเวลาหลายวันที่ผ่านมา ค่ำคืนนี้เต็มไปด้วยคำขอบคุณเสียงหัวเราะ และเสียงดนตรี
ตลอดช่วงเวลา 5 วัน 4 คืนที่ผ่านมา แม้จะเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ที่เราต่างคณธต่างชั้นปีได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน บางคนอาจไม่รู้จักกันมาก่อน ไม่เคยพบหน้า ไม่เคยพูดคุยกัน ไม่มีอะไรร่วมกันมาก่อน แต่เชื่อว่าหลังจากจบค่ายลงหมู่บ้าน ณ หมู่บ้านอมกุ๋นในครั้งนี้ เชื่อว่าสิ่งที่คนจะมีร่วมกันก็คือ ความคิดถึงในหมู่บ้านกลางหุบเขานี้ร่วมกัน จากความอบอุ่นและเอาใจใส่ที่ชาวบ้านมอบให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา หวังว่าจะไม่เป็นครั้งสุดท้ายที่เราได้พบกัน ไว้พบกันใหม่...อมกุ๋น...
https://vt.tiktok.com/ZSNuUmTmq/