หม้อสนาม อุปกรณ์เดินป่าขั้นพื้นฐานของนักนิยมไพร คนสมัยก่อนไปเที่ยวป่าเค้าไม่ได้พกอุปกรณ์เข้าไปเยอะแยะเหมือนนักท่องเทียวสมัยนี้นะครับ มีของไม่มาก ใส่เป้หลังใบย่อมๆใบนึงก็ไปกันได้ คนที่มีปืนก็แบกปืนไป ใครไม่มีปืนก็เป็นข้าวของแบบธรรมดาทั่วๆไป มีดเดินป่า หม้อสนาม กระติกน้ำ ไฟฉาย ไฟแช็ก ผ้าขาวม้า เชือก ผ้าใบ เต็นท์ หรือเปลนอน
หม้อสนามเอาไว้ทำอะไร ? ก็ไว้หุงข้าวน่ะซิ จะเอาไว้ทำอะไร หลักๆเลยก็คือหุงข้าว ต้มแกง ต้มน้ำดื่ม ใส่ของ ถ้าจะเตรียมของเข้าป่าแล้วเอาหม้อสนามไปด้วยอย่าเอาไปเปล่าๆนะครับ มันเปลืองพื้นที่ ให้ใส่ข้าวของไว้ในนั้นให้เต็ม ประหยัดพื้นที่และพกพาสะดวก อย่าลืมอีกอย่างคือถุงพลาสติกเอาไว้ใส่หม้อตอนขากลับ ถ้าไม่ได้ล้างหรือใส่รวมกับข้าวของอย่างอื่นมันจะทำให้เขม่าดำๆไปติดเสื้อผ้าหรือเป้หลังได้
ทีนี้เมื่อเราเอาหม้อสนามติดไปไว้หุงข้าวเนี่ย ตอบตัวเองก่อนว่าเราหุงเป็นรึเปล่านะครับ
มาดูรูปร่างหน้าตาหรือส่วนประกอบของหม้อสนามกันก่อน ทุกวันนี้มีหลายแบบหลายทรงจากหลายค่าย แต่พิมพ์นี้เป็นพิมพ์โบราณ เราๆท่านๆนักเดินป่าหรือนักกินข้าวป่าจะคุ้นเคยกันดี หม้อสนามแบบนี้นับว่าพิมพ์นิยม มักจะประกอบด้วยตัวหม้อซึ่งมีหูเอาไว้แขวน การหุงข้าวจะหุงแบบเตาสามเส้าหรือตั้งไว้กับพื้นข้างกองไฟมันก็สุกเหมือนกันแต่หมั่นกลับด้านหรือหมุนหม้อให้ดี จะมีฝาหม้อด้านนอกซึ่งบางรุ่นก็มีด้ามเหมือนด้ามกะทะ บางรุ่นก็ไม่มี มีฝารองหรือจาน บางรุ่นก็ไม่มีเหมือนกัน หรือถ้าเป็นของมือสองบางทีฝารองนี่ไม่ได้มาด้วยก็มีครับ ถ้าจะซื้อไว้ใช้แนะนำให้เอารุ่นที่มีฝารองด้วย ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
มาดูที่ตัวหม้อนะครับ เราจะเห็นขีดหรือเห็นปั๊มนูนเป็นสองตำแหน่ง ถ้านับจากข้างล่างขึ้นมาขีดแรกคือขีดข้าวสาร และขีดที่สองคือขีดน้ำ
คือตามตำราหรือคู่มือการใช้งานบอกว่าให้เติมข้าวสารเท่าขีดแรกแล้วเติมน้ำเท่าขีดที่สอง ร้อยทั้งร้อยถ้าเป็นมือใหม่ไม่เคยใช้งานทำแบบนี้จะได้ข้าวสวยที่บานหรือแฉะ ถ้าข้าวสารที่ใช้เป็นหอมมะลิใหม่บางทีเหนียวยังกะข้าวหลามหนองมน
มันต้องใส่น้ำน้อยกว่านั้น
ผมเองมีหม้อสนามอยู่ 5-6 ใบ มันออกมาอารมณ์นี้ทั้งนั้น หม้อสนามของทางราชการ หม้อ ทบ. ก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน คือเราต้องดูแลตัวเอง ก่อนจะเข้าป่าก็ซ้อมหุงข้าวเล่นที่บ้านบ้างจะได้จับลู่ทางถูกว่าหม้อใบนี้มันเอายังไง
วิธีหุงก็ง่ายๆครับ ก่อกองไฟเข้ากองนึง จริงๆแล้วผมอยากออกไปหุงให้ดูหลังบ้านแหละ แต่ทางราชการห้ามก่อไฟในที่โล่ง ห้ามจุดไฟทำอะไรทั้งนั้น เผาใบไม้ก็ไม่ได้ ด้วยหน้าที่พลเมืองที่ดีเราก็หุงกันในครัวด้านนอกแบบนี้ก็แล้วกันนะครับ
ตวงข้าวสารใส่หม้อตามขีดครับ ซาวน้ำให้เรียบร้อยแล้วเติมน้ำลงไป ให้นับจากขีดแรกมาถึงขีดที่สองประมาณ 60 - 70 % อย่าไปใส่น้ำจนถึงขีดที่สองนะครับ ผมล้างไข่ ใส่ลงไปฟองนึง หลายท่านอาจจะว่าน่าเกลียดหรือไม่น่าดู ถ้าท่านกินคนเดียวก็ใส่ไปเถอะ ถ้าอยู่กันหลายคนหรือไปกันหลายคนหุงข้าวหม้อนึงกินได้ 3-4 คน ท่านก็อย่าใส่
ปิดฝานอก ไม่ต้องใส่ฝารองแล้วก็ยกขึ้นตั้งไฟได้เลย ชั่วเวลามันก็ประมาณ 10 - 12 นาทีนี่แหละ ถ้าไฟดีแล้วไม่เกินนี้อย่าปล่อยนานมันจะไหม้ ตอนหุงข้าวให้ท่านเฝ้าดูด้วยนะครับ เป็นการประกอบพิธีศักดิสิทธิ์ อย่าเอาตั้งไฟไว้แล้วก็ไปเล่นอย่างอื่นโดยไม่ได้ดูแล
ถ้าท่านนั่งเฝ้าฟืน เฝ้าหม้อ เมื่อหุงไปได้ซักครู่นึงท่านจะได้ยินเสียงน้ำเริ่มเดือด หม้อเริ่มสั่น ไอน้ำเริ่มดันออกมาตามขอบฝาหม้อ แสดงว่ามันกำลังหุง ถ้าหม้อเงียบไม่สั่นแสดงว่าใกล้จะสุกแล้ว และถ้าไอน้ำไม่ดันออกมาก็แสดงว่ามันสุกดี สิ่งทีเราต้องทำก็คือดงข้าวหรือหมุนหม้อ เอียงหม้อให้ข้าวได้ความร้อนระอุทั่วถึงกันและไม่มีปัญหาข้าวแฉะ
ดงหม้อซักหนึ่งนาทีก็ยกลงได้ เตรียมกิน
ให้จำไว้อย่างนึงนะครับ ว่าหม้อสนามที่หุงข้าวแล้วนี่เป็นของอันตราย อย่าเผลอไปจับเป็นอันขาด แม้แต่หูหม้อมันก็ลวกมือได้ ต้องหาผ้าหรือถุงมือมารองก่อน และก้นหม้อเป็นของดำเปื้อนติดสิ่งต่างๆได้ มันไม่มีเชื้อโรคแหละแต่มันก็เปื้อน
เท่านั้นครับวิธีหุงข้าวด้วยหม้อสนาม ใครไม่เคยทำก็หัดทำ 2-3 หม้อก็พอจะหุงเป็น ทำของกินมาต่อชีวิตยังอัตภาพให้เป็นไปได้
หุงข้าวในหม้อสนาม
หม้อสนามเอาไว้ทำอะไร ? ก็ไว้หุงข้าวน่ะซิ จะเอาไว้ทำอะไร หลักๆเลยก็คือหุงข้าว ต้มแกง ต้มน้ำดื่ม ใส่ของ ถ้าจะเตรียมของเข้าป่าแล้วเอาหม้อสนามไปด้วยอย่าเอาไปเปล่าๆนะครับ มันเปลืองพื้นที่ ให้ใส่ข้าวของไว้ในนั้นให้เต็ม ประหยัดพื้นที่และพกพาสะดวก อย่าลืมอีกอย่างคือถุงพลาสติกเอาไว้ใส่หม้อตอนขากลับ ถ้าไม่ได้ล้างหรือใส่รวมกับข้าวของอย่างอื่นมันจะทำให้เขม่าดำๆไปติดเสื้อผ้าหรือเป้หลังได้
ทีนี้เมื่อเราเอาหม้อสนามติดไปไว้หุงข้าวเนี่ย ตอบตัวเองก่อนว่าเราหุงเป็นรึเปล่านะครับ
มาดูรูปร่างหน้าตาหรือส่วนประกอบของหม้อสนามกันก่อน ทุกวันนี้มีหลายแบบหลายทรงจากหลายค่าย แต่พิมพ์นี้เป็นพิมพ์โบราณ เราๆท่านๆนักเดินป่าหรือนักกินข้าวป่าจะคุ้นเคยกันดี หม้อสนามแบบนี้นับว่าพิมพ์นิยม มักจะประกอบด้วยตัวหม้อซึ่งมีหูเอาไว้แขวน การหุงข้าวจะหุงแบบเตาสามเส้าหรือตั้งไว้กับพื้นข้างกองไฟมันก็สุกเหมือนกันแต่หมั่นกลับด้านหรือหมุนหม้อให้ดี จะมีฝาหม้อด้านนอกซึ่งบางรุ่นก็มีด้ามเหมือนด้ามกะทะ บางรุ่นก็ไม่มี มีฝารองหรือจาน บางรุ่นก็ไม่มีเหมือนกัน หรือถ้าเป็นของมือสองบางทีฝารองนี่ไม่ได้มาด้วยก็มีครับ ถ้าจะซื้อไว้ใช้แนะนำให้เอารุ่นที่มีฝารองด้วย ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
มาดูที่ตัวหม้อนะครับ เราจะเห็นขีดหรือเห็นปั๊มนูนเป็นสองตำแหน่ง ถ้านับจากข้างล่างขึ้นมาขีดแรกคือขีดข้าวสาร และขีดที่สองคือขีดน้ำ
คือตามตำราหรือคู่มือการใช้งานบอกว่าให้เติมข้าวสารเท่าขีดแรกแล้วเติมน้ำเท่าขีดที่สอง ร้อยทั้งร้อยถ้าเป็นมือใหม่ไม่เคยใช้งานทำแบบนี้จะได้ข้าวสวยที่บานหรือแฉะ ถ้าข้าวสารที่ใช้เป็นหอมมะลิใหม่บางทีเหนียวยังกะข้าวหลามหนองมน
มันต้องใส่น้ำน้อยกว่านั้น
ผมเองมีหม้อสนามอยู่ 5-6 ใบ มันออกมาอารมณ์นี้ทั้งนั้น หม้อสนามของทางราชการ หม้อ ทบ. ก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน คือเราต้องดูแลตัวเอง ก่อนจะเข้าป่าก็ซ้อมหุงข้าวเล่นที่บ้านบ้างจะได้จับลู่ทางถูกว่าหม้อใบนี้มันเอายังไง
วิธีหุงก็ง่ายๆครับ ก่อกองไฟเข้ากองนึง จริงๆแล้วผมอยากออกไปหุงให้ดูหลังบ้านแหละ แต่ทางราชการห้ามก่อไฟในที่โล่ง ห้ามจุดไฟทำอะไรทั้งนั้น เผาใบไม้ก็ไม่ได้ ด้วยหน้าที่พลเมืองที่ดีเราก็หุงกันในครัวด้านนอกแบบนี้ก็แล้วกันนะครับ
ตวงข้าวสารใส่หม้อตามขีดครับ ซาวน้ำให้เรียบร้อยแล้วเติมน้ำลงไป ให้นับจากขีดแรกมาถึงขีดที่สองประมาณ 60 - 70 % อย่าไปใส่น้ำจนถึงขีดที่สองนะครับ ผมล้างไข่ ใส่ลงไปฟองนึง หลายท่านอาจจะว่าน่าเกลียดหรือไม่น่าดู ถ้าท่านกินคนเดียวก็ใส่ไปเถอะ ถ้าอยู่กันหลายคนหรือไปกันหลายคนหุงข้าวหม้อนึงกินได้ 3-4 คน ท่านก็อย่าใส่
ปิดฝานอก ไม่ต้องใส่ฝารองแล้วก็ยกขึ้นตั้งไฟได้เลย ชั่วเวลามันก็ประมาณ 10 - 12 นาทีนี่แหละ ถ้าไฟดีแล้วไม่เกินนี้อย่าปล่อยนานมันจะไหม้ ตอนหุงข้าวให้ท่านเฝ้าดูด้วยนะครับ เป็นการประกอบพิธีศักดิสิทธิ์ อย่าเอาตั้งไฟไว้แล้วก็ไปเล่นอย่างอื่นโดยไม่ได้ดูแล
ถ้าท่านนั่งเฝ้าฟืน เฝ้าหม้อ เมื่อหุงไปได้ซักครู่นึงท่านจะได้ยินเสียงน้ำเริ่มเดือด หม้อเริ่มสั่น ไอน้ำเริ่มดันออกมาตามขอบฝาหม้อ แสดงว่ามันกำลังหุง ถ้าหม้อเงียบไม่สั่นแสดงว่าใกล้จะสุกแล้ว และถ้าไอน้ำไม่ดันออกมาก็แสดงว่ามันสุกดี สิ่งทีเราต้องทำก็คือดงข้าวหรือหมุนหม้อ เอียงหม้อให้ข้าวได้ความร้อนระอุทั่วถึงกันและไม่มีปัญหาข้าวแฉะ
ดงหม้อซักหนึ่งนาทีก็ยกลงได้ เตรียมกิน
ให้จำไว้อย่างนึงนะครับ ว่าหม้อสนามที่หุงข้าวแล้วนี่เป็นของอันตราย อย่าเผลอไปจับเป็นอันขาด แม้แต่หูหม้อมันก็ลวกมือได้ ต้องหาผ้าหรือถุงมือมารองก่อน และก้นหม้อเป็นของดำเปื้อนติดสิ่งต่างๆได้ มันไม่มีเชื้อโรคแหละแต่มันก็เปื้อน
เท่านั้นครับวิธีหุงข้าวด้วยหม้อสนาม ใครไม่เคยทำก็หัดทำ 2-3 หม้อก็พอจะหุงเป็น ทำของกินมาต่อชีวิตยังอัตภาพให้เป็นไปได้