เผยเบื้องหลังกว่าจะได้ข้อตกลงอิสราเอล-ฮามาส
https://tna.mcot.net/world-1276741
วอชิงตัน 22 ต.ค.- เจ้าหน้าที่สหรัฐเผยว่า กลุ่มลับที่นำโดยหัวหน้าหน่วยข่าวกรองสหรัฐ หัวหน้าหน่วยข่าวกรองอิสราเอล และการติดต่อกันระหว่างผู้นำสหรัฐ อิสราเอล กาตาร์และอียิปต์ตลอด 5 สัปดาห์ คือเบื้องหลังที่ทำให้เกิดข้อตกลงพักรบระหว่างอิสราเอล-ฮามาส
เจ้าหน้าที่อาวุโสสหรัฐที่ขอสงวนนามเผยว่า กระบวนการเจรจาตลอด 5 สัปดาห์ที่ “
ยากเย็นแบบเลือดตาแทบกระเด็น” เริ่มขึ้นเมื่อทางการกาตาร์โทรศัพท์ถึงทางการสหรัฐและอิสราเอลเรื่องหาทางช่วยตัวประกันบางส่วนที่ถูกกลุ่มฮามาสลักพาตัวไปในวันที่เปิดฉากบุกอิสราเอลครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม กาตาร์ขอให้ตั้งกลุ่มลับขึ้นทำงานในประเด็นนี้ด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งและเป็นความลับอย่างยิ่งร่วมกับอิสราเอล
เจ้าหน้าที่เผยต่อว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐได้หารือเรื่องตัวประกันกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกาตาร์ อียิปต์และอิสราเอลเป็นรายวัน บางครั้งเป็นรายชั่วโมง ขณะที่ประธานาธิบดี
โจ ไบเดน ได้ร่วมการหารือด้วยตนเอง และได้ประชุมซูมกับครอบครัวตัวประกันเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ตามด้วยการไปเยือนอิสราเอลในอีก 5 วันต่อมา การปล่อยตัวชาวอเมริกัน 2 คนเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม เป็นกระบวนการนำร่องของการเจรจาทั้งหมด โดยสามารถติดตามการเดินทางของตัวประกันได้ในเวลาจริง ตั้งแต่ออกจากกาซาจนข้ามพรมแดนและได้รับอิสรภาพในที่สุด
หลังจากนั้นนาย
เดวิด บาร์เนีย ผู้อำนวยการหน่วยสืบราชการอิสราเอลหรือมอสซาดและนาย
วิลเลียม เบิร์นส์ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐหรือซีไอเอ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างเต็มตัว ขณะที่ประธานาธิบดี
ไบเดนและนายกรัฐมนตรี
เบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอลได้โทรศัพท์สนทนากันในวันที่ 20, 22, 23 และ 25 ตุลาคมเน้นเรื่องเส้นทางการลำเลียงตัวประกัน การเฝ้าระวังและกรอบเวลา
ขณะเดียวกันมีการกดดันให้กลุ่มฮามาสจัดทำรายชื่อตัวประกัน การสื่อสารเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องส่งข้อความจากกรุงโดฮาของกาตาร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานการเมืองของฮามาส หรือจากกรุงไคโรของอียิปต์ ไปยังกาซา แล้วส่งย้อนกลับมา ฮามาสเผยว่า อาจปล่อยตัวประกันชุดแรกมากถึง 50 คน แต่ส่งรายชื่อเพียง 10 คนเท่านั้น ประธานาธิบดีไบเดนโทรศัพท์สนทนากับเจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน หลังจากนั้นไม่นานฮามาสก็ส่งเกณฑ์เงื่อนไขที่จะปล่อยตัวประกัน 50 คน
ต่อมาในวันที่ 14 พฤศจิกายนนายกรัฐมนตรี
เนทันยาฮูรับปากว่าจะเดินหน้าข้อตกลง แต่ทุกอย่างก็หยุดชะงักในวันนั้นเมื่อฮามาสระงับการเจรจา ผู้นำสหรัฐต้องโทรศัพท์ถึงเจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์อีกครั้งในวันที่ 17 พฤศจิกายน จากนั้นในอีก 2 วันต่อมาเจ้าหน้าที่สหรัฐได้พบกับนายอับบาส คาเมล ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองอียิปต์ และได้รับการรับรองจากฮามาสว่าขจัดความเห็นต่างได้แล้ว นำมาซึ่งข้อตกลงพักรบ 4 วันแลกกับการปล่อยตัวประกัน 50 คน.-สำนักข่าวไทย
อิรักประณามการโจมตีทางอากาศของสหรัฐ “ละเมิดอธิปไตย”
https://www.dailynews.co.th/news/2926271/
รัฐบาลอิรักกล่าวว่า การที่สหรัฐเข้ามาโจมตีทางอากาศในประเทศ "ละเมิดอธิปไตยอย่างโจ่งแจ้ง"
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก เมื่อวันที่ 22 พ.ย. ว่า นาย
บาสเซ็ม อัล-อวาดี โฆษกคณะรัฐมนตรีอิรัก กล่าวถึงปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของกองทัพสหรัฐ ในเขตชานกรุงแบกแดด ระหว่างคืนวันอังคารถึงช่วงรุ่งสางของวันพุธตามเวลาท้องถิ่น “
ไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลแบกแดด” จึงถือเป็น “การละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของอิรักอย่างชัดเจน”
อย่างไรก็ตาม อวาดีประณามกองกำลังติดอาวุธที่มาอาศัยอิรักเป็นฐาน ในการโจมตีกำลังพลและสรรพาวุธของสหรัฐ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติ สมควรได้รับการประณาม
ทั้งนี้ ศูนย์บัญชาการภูมิภาคกลางของกองทัพสหรัฐ (เซนต์คอม) รายงานว่า เครื่องบินเอซี-130 ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศ ทำลายเป้าหมายสองแห่ง ในเขตชานกรุงแบกแดด เพื่อตอบโต้ที่กองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิหร่าน (ไออาร์จีซี) และกลุ่มนักรบเครือข่าย ใช้เป็นฐานโจมตีกำลังพลและสรรพาวุธของสหรัฐ ทั้งในอิรักและซีเรีย
การโจมตีดังกล่าวส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 ราย ตามรายงานของสื่อท้องถิ่น โดยนับเป็นครั้งแรกในรอบสามสัปดาห์ ซึ่งกองทัพสหรัฐปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมายในอิรัก หลังก่อนหน้านั้น เน้นการโจมตีเป้าหมายในซีเรียมาตลอด
อนึ่ง ข้อมูลจากกองทัพสหรัฐระบุด้วยว่า นับตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค. ที่ผ่านมา มีการโจมตีกำลังพลและสรรพาวุธของสหรัฐในซีเรียอย่างน้อย 34 ครั้ง และอีกอย่างน้อย 32 ครั้งในอิรัก ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บรวมกันมากกว่า 60 คน.
“พิธา” เผยแนวทางแก้ปัญหาน้ำมันรั่ว ฉบับพรรคก้าวไกล ยันทำเต็มที่เพื่อประชาชน
https://www.thairath.co.th/news/politic/2742660
“ทิม พิธา” เผยแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่ว ฉบับพรรคก้าวไกล ชี้ ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือความอยุติธรรม ย้ำ เดินหน้าทำเต็มที่ในฐานะฝ่ายค้านเชิงรุก เพื่อประชาชน
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ และอดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล มีความเคลื่อนไหวผ่านทางเฟซบุ๊ก โดยแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ “
น้ำมันรั่ว : ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือความอยุติธรรม” มีเนื้อหาว่า ตลอดการทำงานการเมือง มีโอกาสมาภาคตะวันออกหลายครั้ง และได้รับทราบข่าวน้ำมันรั่วในทะเลอยู่เนืองๆ ทั้งในพื้นที่อุตสาหกรรมจังหวัดระยองและจังหวัดชลบุรี
ทั้งนี้ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว น้ำมันรั่วครั้งใหญ่กระทบกับเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ปีที่แล้วน้ำมันรั่วครั้งใหญ่อีกครั้ง กระทบกับชายหาดอันสวยงามของจังหวัดระยอง ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา น้ำมันรั่วที่จังหวัดชลบุรี มีพี่น้องเอาภาพเอาหลักฐานมาให้ดู ทั้งประมงพื้นบ้าน ฟาร์มหอย ท่องเที่ยว ซึ่งตนได้คุยแลกเปลี่ยนสอบถามประสบการณ์ปัญหาที่พบ ก็ยิ่งรู้สึกถึงความลำบากคับข้องใจที่ต้องเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากความผิดพลาดดังกล่าว
นาย
พิธา ระบุต่อไป เมื่อพูดถึงการชดเชยเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ ก็ต้องรอจากผู้ประกอบการ ถ้าผู้ประกอบการไม่ให้ก็ต้องไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกันเอาเอง ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้กินเวลานานนับสิบปีกว่าคดีจะสิ้นสุด จนอาจเรียกได้ว่า ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือความอยุติธรรม ซึ่งตนหาข้อมูลที่มีการรวบรวม พบว่าตั้งแต่ปี 2558 มีกรณีน้ำมันรั่ว หรือการพบก้อนน้ำมันทั่วประเทศไทยไปแล้วกว่า 145 กรณี และนี่อาจจะเป็นเหตุผลที่พี่น้องชาวภาคตะวันออก รวมทั้งที่ชลบุรีและระยอง ให้ความไว้วางใจเราอย่างท่วมท้น เพราะสิ่งที่เราเคยทำ อาทิ การรับฟังปัญหา การร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมต่อสู้เรียกร้องเคียงคู่กับพี่น้องประชาชน รวมถึงสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ คือ การใช้กลไกสภาผู้แทนราษฎร และสิ่งที่เราจะทำหากมีอำนาจ คือการเป็นรัฐบาล
ขณะเดียวกัน นาย
พิธา เผยถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของพรรคก้าวไกล ดังนี้
1. คณะกรรมาธิการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งพรรคก้าวไกลเป็นประธาน ได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการใช้กฎหมายและติดตามการแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อีอีซี (EEC) และตั้งคณะทํางานตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปริมาณน้ํามันรั่วไหล จํานวนการใช้สารเคมีกําจัดคราบน้ํามัน วิธีการกําจัดคราบน้ํามัน และแนวทางในการฟื้นฟูอ่าวระยอง
2. เปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใสและทราบปริมาณที่แท้จริง พรรคก้าวไกลสนับสนุนและผลักดันกฎหมาย PRTR กฎหมายการรายงานและเปิดเผยการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ ทำให้เกิดการเปิดเผยข้อมูล ทั้งจำนวนน้ำมัน และสารเคมีที่ใช้กำจัดน้ำมัน
3. การสอบสวนว่าการดำเนินการขนถ่ายน้ำมัน และการจัดการรับมือกรณีน้ำมันรั่วในกรณีนี้ ปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติหรือเงื่อนไขตาม EIA หรือไม่ และหากไม่เป็นไปตามวิธีปฏิบัติจะต้องรับผิดชอบและหาแนวทางแก้ไขต่อไป
4. การชดเชย เยียวยา และฟื้นฟู เพราะปัจจุบันพี่น้องประมงพื้นบ้านยังไม่ได้รับการชดเชยเยียวยา แม้ว่าจะผ่านเวลามา 2 เดือนครึ่งแล้ว แต่ยังไม่มีกลไกที่ชัดเจนจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ จะต้องมีกระบวนการฟื้นฟูระบบนิเวศและวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน เพื่อให้สามารถกลับมาทำประมงได้อีกครั้งโดยเร็วและยั่งยืน
5. ผลักดันการจัดตั้งกองทุนในการประกันความเสียหายล่วงหน้า โดยที่ผู้ประกอบการต้องวางเงินไว้ก่อน ซึ่งเราจะแก้ไขใน พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
6. สนับสนุนการทำหน้าที่เฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของประชาชน ทั้งกองทุนเฝ้าระวังติดตามสิ่งแวดล้อม และการคุ้มครองสิทธิของนักต่อสู้ด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการฟ้องปิดปาก (SLAPP)
7. ศึกษาและวิเคราะห์การดำเนินการโครงการอื่นๆ ของรัฐที่ขยายออกไปในพื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะกิจการที่เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายน้ำมัน และอาจมีน้ำมันที่รั่วไหลได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม นาย
พิธา ยังทิ้งท้ายด้วยว่า “
สิ่งเหล่านี้คือการทำงานของพรรคก้าวไกล ในฐานะฝ่ายค้านเชิงรุก ที่เราจะเดินหน้าทำกันอย่างเต็มที่ต่อไป เพื่อพี่น้องประชาชนทุกคน”.
https://twitter.com/Pita_MFP/status/1727221604038709567
เจ๊หน่อย ติดแท็ก #ตั๋วนายก บี้เศรษฐา รับผิดชอบคำพูด ทำลายระบบเลื่อนยศตำรวจ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4295821
เจ๊หน่อย ติดแท็ก #ตั๋วนายก บี้เศรษฐา รับผิดชอบคำพูด ทำลายระบบเลื่อนยศตำรวจ
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 คุณหญิง
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย ได้แสดงความคิดเห็น ผ่าน X ถึงกรณีที่ นาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในที่ประชุม ส.ส.พรรคเพื่อไทย เรื่องการขอแต่งตั้งตำรวจ ระดับผู้กำกับการ ว่า
“นายกฯควรต้องชึ้แจง แสดงความรับผิดชอบ ด้วยการ พูดความจริง ต่อสิ่งที่ตนเองพูดเมื่อวาน เพราะนอกจากจะเป็นการใช้อำนาจที่อาจจะผิดกม. มันคือการทำลาย ความเป็นธรรมในระบบราชการ คนทำงานด้วยความซื่อสัตย์ มีความสามารถควรได้เลื่อนยศ มิใช่คนที่เลียแข้งเลียขานักการเมืองแล้วได้ดี #ตั๋วนายก”
JJNY : 5in1 เบื้องหลังข้อตกลง│อิรักประณามสหรัฐ│“พิธา”เผยแนวทางแก้ปัญหาน้ำมันรั่ว│เจ๊หน่อยบี้เศรษฐา│โรงงานเหล็กเลิกจ้าง
https://tna.mcot.net/world-1276741
วอชิงตัน 22 ต.ค.- เจ้าหน้าที่สหรัฐเผยว่า กลุ่มลับที่นำโดยหัวหน้าหน่วยข่าวกรองสหรัฐ หัวหน้าหน่วยข่าวกรองอิสราเอล และการติดต่อกันระหว่างผู้นำสหรัฐ อิสราเอล กาตาร์และอียิปต์ตลอด 5 สัปดาห์ คือเบื้องหลังที่ทำให้เกิดข้อตกลงพักรบระหว่างอิสราเอล-ฮามาส
เจ้าหน้าที่อาวุโสสหรัฐที่ขอสงวนนามเผยว่า กระบวนการเจรจาตลอด 5 สัปดาห์ที่ “ยากเย็นแบบเลือดตาแทบกระเด็น” เริ่มขึ้นเมื่อทางการกาตาร์โทรศัพท์ถึงทางการสหรัฐและอิสราเอลเรื่องหาทางช่วยตัวประกันบางส่วนที่ถูกกลุ่มฮามาสลักพาตัวไปในวันที่เปิดฉากบุกอิสราเอลครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม กาตาร์ขอให้ตั้งกลุ่มลับขึ้นทำงานในประเด็นนี้ด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งและเป็นความลับอย่างยิ่งร่วมกับอิสราเอล
เจ้าหน้าที่เผยต่อว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐได้หารือเรื่องตัวประกันกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกาตาร์ อียิปต์และอิสราเอลเป็นรายวัน บางครั้งเป็นรายชั่วโมง ขณะที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ร่วมการหารือด้วยตนเอง และได้ประชุมซูมกับครอบครัวตัวประกันเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ตามด้วยการไปเยือนอิสราเอลในอีก 5 วันต่อมา การปล่อยตัวชาวอเมริกัน 2 คนเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม เป็นกระบวนการนำร่องของการเจรจาทั้งหมด โดยสามารถติดตามการเดินทางของตัวประกันได้ในเวลาจริง ตั้งแต่ออกจากกาซาจนข้ามพรมแดนและได้รับอิสรภาพในที่สุด
หลังจากนั้นนายเดวิด บาร์เนีย ผู้อำนวยการหน่วยสืบราชการอิสราเอลหรือมอสซาดและนายวิลเลียม เบิร์นส์ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐหรือซีไอเอ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างเต็มตัว ขณะที่ประธานาธิบดีไบเดนและนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอลได้โทรศัพท์สนทนากันในวันที่ 20, 22, 23 และ 25 ตุลาคมเน้นเรื่องเส้นทางการลำเลียงตัวประกัน การเฝ้าระวังและกรอบเวลา
ขณะเดียวกันมีการกดดันให้กลุ่มฮามาสจัดทำรายชื่อตัวประกัน การสื่อสารเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องส่งข้อความจากกรุงโดฮาของกาตาร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานการเมืองของฮามาส หรือจากกรุงไคโรของอียิปต์ ไปยังกาซา แล้วส่งย้อนกลับมา ฮามาสเผยว่า อาจปล่อยตัวประกันชุดแรกมากถึง 50 คน แต่ส่งรายชื่อเพียง 10 คนเท่านั้น ประธานาธิบดีไบเดนโทรศัพท์สนทนากับเจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน หลังจากนั้นไม่นานฮามาสก็ส่งเกณฑ์เงื่อนไขที่จะปล่อยตัวประกัน 50 คน
ต่อมาในวันที่ 14 พฤศจิกายนนายกรัฐมนตรีเนทันยาฮูรับปากว่าจะเดินหน้าข้อตกลง แต่ทุกอย่างก็หยุดชะงักในวันนั้นเมื่อฮามาสระงับการเจรจา ผู้นำสหรัฐต้องโทรศัพท์ถึงเจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์อีกครั้งในวันที่ 17 พฤศจิกายน จากนั้นในอีก 2 วันต่อมาเจ้าหน้าที่สหรัฐได้พบกับนายอับบาส คาเมล ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองอียิปต์ และได้รับการรับรองจากฮามาสว่าขจัดความเห็นต่างได้แล้ว นำมาซึ่งข้อตกลงพักรบ 4 วันแลกกับการปล่อยตัวประกัน 50 คน.-สำนักข่าวไทย
อิรักประณามการโจมตีทางอากาศของสหรัฐ “ละเมิดอธิปไตย”
https://www.dailynews.co.th/news/2926271/
รัฐบาลอิรักกล่าวว่า การที่สหรัฐเข้ามาโจมตีทางอากาศในประเทศ "ละเมิดอธิปไตยอย่างโจ่งแจ้ง"
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก เมื่อวันที่ 22 พ.ย. ว่า นายบาสเซ็ม อัล-อวาดี โฆษกคณะรัฐมนตรีอิรัก กล่าวถึงปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของกองทัพสหรัฐ ในเขตชานกรุงแบกแดด ระหว่างคืนวันอังคารถึงช่วงรุ่งสางของวันพุธตามเวลาท้องถิ่น “ไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลแบกแดด” จึงถือเป็น “การละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของอิรักอย่างชัดเจน”
อย่างไรก็ตาม อวาดีประณามกองกำลังติดอาวุธที่มาอาศัยอิรักเป็นฐาน ในการโจมตีกำลังพลและสรรพาวุธของสหรัฐ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติ สมควรได้รับการประณาม
ทั้งนี้ ศูนย์บัญชาการภูมิภาคกลางของกองทัพสหรัฐ (เซนต์คอม) รายงานว่า เครื่องบินเอซี-130 ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศ ทำลายเป้าหมายสองแห่ง ในเขตชานกรุงแบกแดด เพื่อตอบโต้ที่กองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิหร่าน (ไออาร์จีซี) และกลุ่มนักรบเครือข่าย ใช้เป็นฐานโจมตีกำลังพลและสรรพาวุธของสหรัฐ ทั้งในอิรักและซีเรีย
การโจมตีดังกล่าวส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 ราย ตามรายงานของสื่อท้องถิ่น โดยนับเป็นครั้งแรกในรอบสามสัปดาห์ ซึ่งกองทัพสหรัฐปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมายในอิรัก หลังก่อนหน้านั้น เน้นการโจมตีเป้าหมายในซีเรียมาตลอด
อนึ่ง ข้อมูลจากกองทัพสหรัฐระบุด้วยว่า นับตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค. ที่ผ่านมา มีการโจมตีกำลังพลและสรรพาวุธของสหรัฐในซีเรียอย่างน้อย 34 ครั้ง และอีกอย่างน้อย 32 ครั้งในอิรัก ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บรวมกันมากกว่า 60 คน.
“พิธา” เผยแนวทางแก้ปัญหาน้ำมันรั่ว ฉบับพรรคก้าวไกล ยันทำเต็มที่เพื่อประชาชน
https://www.thairath.co.th/news/politic/2742660
“ทิม พิธา” เผยแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่ว ฉบับพรรคก้าวไกล ชี้ ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือความอยุติธรรม ย้ำ เดินหน้าทำเต็มที่ในฐานะฝ่ายค้านเชิงรุก เพื่อประชาชน
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ และอดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล มีความเคลื่อนไหวผ่านทางเฟซบุ๊ก โดยแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ “น้ำมันรั่ว : ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือความอยุติธรรม” มีเนื้อหาว่า ตลอดการทำงานการเมือง มีโอกาสมาภาคตะวันออกหลายครั้ง และได้รับทราบข่าวน้ำมันรั่วในทะเลอยู่เนืองๆ ทั้งในพื้นที่อุตสาหกรรมจังหวัดระยองและจังหวัดชลบุรี
ทั้งนี้ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว น้ำมันรั่วครั้งใหญ่กระทบกับเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ปีที่แล้วน้ำมันรั่วครั้งใหญ่อีกครั้ง กระทบกับชายหาดอันสวยงามของจังหวัดระยอง ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา น้ำมันรั่วที่จังหวัดชลบุรี มีพี่น้องเอาภาพเอาหลักฐานมาให้ดู ทั้งประมงพื้นบ้าน ฟาร์มหอย ท่องเที่ยว ซึ่งตนได้คุยแลกเปลี่ยนสอบถามประสบการณ์ปัญหาที่พบ ก็ยิ่งรู้สึกถึงความลำบากคับข้องใจที่ต้องเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากความผิดพลาดดังกล่าว
นายพิธา ระบุต่อไป เมื่อพูดถึงการชดเชยเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ ก็ต้องรอจากผู้ประกอบการ ถ้าผู้ประกอบการไม่ให้ก็ต้องไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกันเอาเอง ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้กินเวลานานนับสิบปีกว่าคดีจะสิ้นสุด จนอาจเรียกได้ว่า ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือความอยุติธรรม ซึ่งตนหาข้อมูลที่มีการรวบรวม พบว่าตั้งแต่ปี 2558 มีกรณีน้ำมันรั่ว หรือการพบก้อนน้ำมันทั่วประเทศไทยไปแล้วกว่า 145 กรณี และนี่อาจจะเป็นเหตุผลที่พี่น้องชาวภาคตะวันออก รวมทั้งที่ชลบุรีและระยอง ให้ความไว้วางใจเราอย่างท่วมท้น เพราะสิ่งที่เราเคยทำ อาทิ การรับฟังปัญหา การร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมต่อสู้เรียกร้องเคียงคู่กับพี่น้องประชาชน รวมถึงสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ คือ การใช้กลไกสภาผู้แทนราษฎร และสิ่งที่เราจะทำหากมีอำนาจ คือการเป็นรัฐบาล
ขณะเดียวกัน นายพิธา เผยถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของพรรคก้าวไกล ดังนี้
1. คณะกรรมาธิการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งพรรคก้าวไกลเป็นประธาน ได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการใช้กฎหมายและติดตามการแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อีอีซี (EEC) และตั้งคณะทํางานตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปริมาณน้ํามันรั่วไหล จํานวนการใช้สารเคมีกําจัดคราบน้ํามัน วิธีการกําจัดคราบน้ํามัน และแนวทางในการฟื้นฟูอ่าวระยอง
2. เปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใสและทราบปริมาณที่แท้จริง พรรคก้าวไกลสนับสนุนและผลักดันกฎหมาย PRTR กฎหมายการรายงานและเปิดเผยการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ ทำให้เกิดการเปิดเผยข้อมูล ทั้งจำนวนน้ำมัน และสารเคมีที่ใช้กำจัดน้ำมัน
3. การสอบสวนว่าการดำเนินการขนถ่ายน้ำมัน และการจัดการรับมือกรณีน้ำมันรั่วในกรณีนี้ ปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติหรือเงื่อนไขตาม EIA หรือไม่ และหากไม่เป็นไปตามวิธีปฏิบัติจะต้องรับผิดชอบและหาแนวทางแก้ไขต่อไป
4. การชดเชย เยียวยา และฟื้นฟู เพราะปัจจุบันพี่น้องประมงพื้นบ้านยังไม่ได้รับการชดเชยเยียวยา แม้ว่าจะผ่านเวลามา 2 เดือนครึ่งแล้ว แต่ยังไม่มีกลไกที่ชัดเจนจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ จะต้องมีกระบวนการฟื้นฟูระบบนิเวศและวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน เพื่อให้สามารถกลับมาทำประมงได้อีกครั้งโดยเร็วและยั่งยืน
5. ผลักดันการจัดตั้งกองทุนในการประกันความเสียหายล่วงหน้า โดยที่ผู้ประกอบการต้องวางเงินไว้ก่อน ซึ่งเราจะแก้ไขใน พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
6. สนับสนุนการทำหน้าที่เฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของประชาชน ทั้งกองทุนเฝ้าระวังติดตามสิ่งแวดล้อม และการคุ้มครองสิทธิของนักต่อสู้ด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการฟ้องปิดปาก (SLAPP)
7. ศึกษาและวิเคราะห์การดำเนินการโครงการอื่นๆ ของรัฐที่ขยายออกไปในพื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะกิจการที่เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายน้ำมัน และอาจมีน้ำมันที่รั่วไหลได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม นายพิธา ยังทิ้งท้ายด้วยว่า “สิ่งเหล่านี้คือการทำงานของพรรคก้าวไกล ในฐานะฝ่ายค้านเชิงรุก ที่เราจะเดินหน้าทำกันอย่างเต็มที่ต่อไป เพื่อพี่น้องประชาชนทุกคน”.
https://twitter.com/Pita_MFP/status/1727221604038709567
เจ๊หน่อย ติดแท็ก #ตั๋วนายก บี้เศรษฐา รับผิดชอบคำพูด ทำลายระบบเลื่อนยศตำรวจ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4295821
เจ๊หน่อย ติดแท็ก #ตั๋วนายก บี้เศรษฐา รับผิดชอบคำพูด ทำลายระบบเลื่อนยศตำรวจ
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย ได้แสดงความคิดเห็น ผ่าน X ถึงกรณีที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในที่ประชุม ส.ส.พรรคเพื่อไทย เรื่องการขอแต่งตั้งตำรวจ ระดับผู้กำกับการ ว่า
“นายกฯควรต้องชึ้แจง แสดงความรับผิดชอบ ด้วยการ พูดความจริง ต่อสิ่งที่ตนเองพูดเมื่อวาน เพราะนอกจากจะเป็นการใช้อำนาจที่อาจจะผิดกม. มันคือการทำลาย ความเป็นธรรมในระบบราชการ คนทำงานด้วยความซื่อสัตย์ มีความสามารถควรได้เลื่อนยศ มิใช่คนที่เลียแข้งเลียขานักการเมืองแล้วได้ดี #ตั๋วนายก”