ทำไมผ่านมากี่ปีๆ ประเทศไทยก็ยังอยู่กับคำว่า "เศรษฐกิจไม่ดี"

เห็นว่าใกล้สิ้นปีพอดี ก็เลยนั่งอ่านพันทิปเรื่องการจ่ายโบนัสของบริษัทต่างๆ แล้วก็ไปเจอกับหลายๆกระทู้ ในหลายๆปี ตั้งแต่เมื่อ 20 กว่าปีก่อน จนถึงปัจจุบัน ยังเจอกับคำว่า "เศรษฐกิจไม่ดี เศรษฐกิจแย่ ข้าวของแพง" ผ่านมาตั้ง 20 ปี ยังวนเวียนอยู่กับเรื่องเดิมๆ คำเดิมๆ สภาพเศรษฐกิจเดิมๆ ประเทศอื่นเขาเป็นแบบเราบ้างไหม แล้วมันต้องเป็นยังไงถึงจะเรียกว่า "เศรษฐกิจดี" แบบดีจริงๆ ดีถ้วนหน้า ไม่ใช่ดีกระจุก อย่างเช่น ค่าแรงเพิ่มขึ้น แต่ของก็แพงขึ้น แบบนี้มันต่างกันตรงไหนกับ ค่าแรงเท่าเดิมและของราคาเท่าเดิม เพราะสุดท้ายคุณก็จ่ายแพงขึ้นอยู่ดี
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
20 ปี เราเจออะไรบ้างละครับ เศรษฐกิจไทยเริ่มขยายตัวในปี 2533 - 2538 จนฟองสบู่แตกตอนปี 2540 พอเริ่มฟื้นกำลังจะดี ปี 2547 เจอสึนามิ วิกฤตน้ำมัน ความรุนแรงในภาคใต้ ผมยังจำตอนพับนกกระดาษได้เลย ปี 2548 พอเริ่มขยับ ปี 2549 เจอรัฐประหาร  ปี 2551 เจอวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์  พอจะฟื้น ปี 2554 เจอน้ำท่วมใหญ่ พอเริ่มขยับ ปี 2557 เจอรัฐประหาร  ปี 2559 ในหลวงสวรรคต ปี 2562 เจอโควิด จนมาถึงทุกวันนี้

ถ้าอยู่ในเกม คงเรียก Hardcore mode ไม่ตายก็บุญแล้วครับ

ส่วนการขึ้นค่าแรง ถ้าปรับตามอัตราเงินเฟ้อที่แท้จริง สามารถลดความเหลื่อมล้ำทางโครงสร้าง ไม่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อครับ เหมือนตอนที่ขึ้นค่าแรงจากนโยบาย 300 บาท ลองอ่านงานวิจัยข้างล่างดูครับ

https://thaipublica.org/2016/11/pier-14
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่