พิธีกรรมเดือน 12 "จองเปรียง" ต้นกำเนิดลอยกระทง
พิธีกรรมมักจะเกิดจากความคิดความเชื่อของผู้คน ณ ช่วงเวลาหนึ่ง "ลอยกระทง" เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่เกิดจากความเชื่อที่ผู้คนต้องการขอขมาพระแม่คงคา และถูกสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ไทยพีบีเอสออนไลน์พาไปรู้จักพิธีจองเปรียญก่อนจะถูกพัฒนามาเป็นประเพณีลอยกระทงในปัจจุบัน
"จองเปรียง" เป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเจ้า 3 องค์ ได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ และ พระพรหม เมื่อเวลาผ่านไป กษัตริย์เริ่มนับถือศาสนาพุทธ พิธีกรรมนี้จึงเปลี่ยนเป็นการบูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระจุฬามณี และ พระพุทธบาท
พิธีจองเปรียง ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลสมัยอยุธยา เป็นพิธีกรรมที่กษัตริย์ต้องทำเป็นประจำทุกปี กล่าวถึงพระราชพิธีที่ต้องกระทำทั้ง 12 เดือน
พิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม ประกอบด้วย 2 กิจกรรม
จองเปรียญ คือ โคมไฟที่ได้จากการจุดไฟเผาน้ำมันเนย การชักโคมขึ้นสู่ยอดเสาเพื่อให้แสงส่องสว่างอยู่ท่ามกลางความมืด เมื่อระยะเวลาผ่านไปโคมจะตกลงสู่แม่น้ำ เป็นการขอขมาดินและน้ำที่ทำให้พืชผลเติบโตสมบูรณ์
จอง มาจากคำว่า "จง" ในภาษาเขมร แปลว่า ผูก หรือ โยง หมายถึง การประคับประคองให้มีแสงสว่าง และ เปรียง มาจากคำว่า "เปฺรง" ในภาษาเขมร แปลว่า น้ำมัน ในที่นี้หมายถึงน้ำมันเนยที่ได้จากน้ำนมของวัว หรือควาย ผสมกับน้ำแล้วเจียวให้แตกมัน
ลดชุด แท้จริงแล้วยังไม่พบนิยามหรือคำอธิบายที่แน่ชัด แต่ในแง่ศัพท์ ลดชุด หมายถึง เครื่องจองเปรียงขนาดเล็ก จัดวางเป็นแถวตามแนวไฟในช่องที่เจาะไว้ตามผนังกำแพงเมือง หรือกำแพงวัง
เมื่อลาลูแบร์ ทูตจากฝรั่งเศส นั่งเรือหลวงมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ ในช่วงเดือน 12 แล้ว ได้เห็นบรรยากาศการชักโคมลอยโคม จึงบรรยายไว้ว่า เมื่อไปถึงเมืองละโว้ในยามกลางคืน เห็นไฟเรียงเป็นแนวตามกำแพงเมืองและวังเป็นระยะๆ เพื่อแสดงความขอบคุณต่อพระแม่ธรณี ที่ทำให้พืชผลอุดมสมบูรณ์ในช่วงปีใหม่
https://www.thaipbs.or.th/news/content/334095
งานจองเปรียง
พิธีกรรมมักจะเกิดจากความคิดความเชื่อของผู้คน ณ ช่วงเวลาหนึ่ง "ลอยกระทง" เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่เกิดจากความเชื่อที่ผู้คนต้องการขอขมาพระแม่คงคา และถูกสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ไทยพีบีเอสออนไลน์พาไปรู้จักพิธีจองเปรียญก่อนจะถูกพัฒนามาเป็นประเพณีลอยกระทงในปัจจุบัน
"จองเปรียง" เป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเจ้า 3 องค์ ได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ และ พระพรหม เมื่อเวลาผ่านไป กษัตริย์เริ่มนับถือศาสนาพุทธ พิธีกรรมนี้จึงเปลี่ยนเป็นการบูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระจุฬามณี และ พระพุทธบาท
พิธีจองเปรียง ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลสมัยอยุธยา เป็นพิธีกรรมที่กษัตริย์ต้องทำเป็นประจำทุกปี กล่าวถึงพระราชพิธีที่ต้องกระทำทั้ง 12 เดือน
พิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม ประกอบด้วย 2 กิจกรรม
จองเปรียญ คือ โคมไฟที่ได้จากการจุดไฟเผาน้ำมันเนย การชักโคมขึ้นสู่ยอดเสาเพื่อให้แสงส่องสว่างอยู่ท่ามกลางความมืด เมื่อระยะเวลาผ่านไปโคมจะตกลงสู่แม่น้ำ เป็นการขอขมาดินและน้ำที่ทำให้พืชผลเติบโตสมบูรณ์
จอง มาจากคำว่า "จง" ในภาษาเขมร แปลว่า ผูก หรือ โยง หมายถึง การประคับประคองให้มีแสงสว่าง และ เปรียง มาจากคำว่า "เปฺรง" ในภาษาเขมร แปลว่า น้ำมัน ในที่นี้หมายถึงน้ำมันเนยที่ได้จากน้ำนมของวัว หรือควาย ผสมกับน้ำแล้วเจียวให้แตกมัน
ลดชุด แท้จริงแล้วยังไม่พบนิยามหรือคำอธิบายที่แน่ชัด แต่ในแง่ศัพท์ ลดชุด หมายถึง เครื่องจองเปรียงขนาดเล็ก จัดวางเป็นแถวตามแนวไฟในช่องที่เจาะไว้ตามผนังกำแพงเมือง หรือกำแพงวัง
เมื่อลาลูแบร์ ทูตจากฝรั่งเศส นั่งเรือหลวงมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ ในช่วงเดือน 12 แล้ว ได้เห็นบรรยากาศการชักโคมลอยโคม จึงบรรยายไว้ว่า เมื่อไปถึงเมืองละโว้ในยามกลางคืน เห็นไฟเรียงเป็นแนวตามกำแพงเมืองและวังเป็นระยะๆ เพื่อแสดงความขอบคุณต่อพระแม่ธรณี ที่ทำให้พืชผลอุดมสมบูรณ์ในช่วงปีใหม่
https://www.thaipbs.or.th/news/content/334095