ย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่ จขกท. เรียนชั้น ม.5 หลังเปิดภาคเรียนที่ 2 / 2537 ในเดือนพฤศจิกายนยังไม่ครบเดือน วันหนึ่งเพื่อนร่วมชั้นนำเทป คาสเซ็ทที่บันทึกจากรายการวิทยุตอนเปิดสถานีเวลาตี 5 มาให้ จขกท. นำกลับไปฟังที่บ้าน เพื่อนเล่าว่าหลังจากตื่นนอนก็เปิดวิทยุฟังเพลงไปเรื่อย จนมาเจอคลื่นหนึ่งกำลังเปิดเพลงสากลภาษาจีน ก็เลยค้นหาเทปเพลงที่เคยบันทึกจากรายการวิทยุอยู่ก่อนแล้วมาบันทึกทับหนึ่งหน้าเต็มๆ (เป็นเทปเปล่า C-90) กระทั่งทางสถานีวิทยุออกอากาศรายการข่าว เพื่อนก็หยุดบันทึกเทป แล้วนำตลับเทปใส่กระเป๋านักเรียนมาให้เดี๋ยวนั้นเลย
เมื่อกลับถึงบ้าน ก็นำเทปเพลงมาฟัง และจดจำทำนองเพลงต้นฉบับไว้ วันรุ่งขึ้นก็คืนเทป ปัญหาคือ ไม่รู้จักชื่ออัลบั้ม แล้วก็พยายามติดตามข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ พร้อมกับสังเกตช่วงโฆษณาโปรโมทอัลบั้มเพลงของแกรมมี่ในรายการโทรทัศน์ ก็ไม่มีให้เห็นเลย ครั้นจะไปสอบถามเจ้าของร้านขายเทปเพลงที่เคยซื้อประจำ (อยู่นอกอำเภอเมือง) เขาอาจจะไม่รู้จักก็ได้
กระทั่งตอนเช้าของวันที่ 8 ธันวาคม (ที่จำได้เพราะเขียนบันทึกไว้) วันนั้นมีตลาดนัดและมีแผงขายเทปด้วย ผมนำเงินจากกล่องออมสินจำนวนหนึ่งร้อยบาทติดไปด้วยเผื่ออาจจะเจอเทปเพลงที่ถูกใจ ถ้าไม่เจอก็ไม่เป็นไร ปรากฏว่าเจอเทป คาสเซ็ท หน้าปกตามภาพ เมื่อดูรายชื่อเพลงก็ตรงกับที่เคยฟังก่อนหน้านี้เลยตัดสินใจชำระเงินเดี๋ยวนั้นเลย จากนั้นก็ไปโรงเรียนตามปกติ เลิกเรียนก็กลับบ้าน
เทปเพลงชุดนี้อยู่กับ จขกท. จนถึงกระทั่งกลางปี 41 ก็ไม่ได้หยิบมาฟังอีกเลย จนกระทั่งคุณน้ามาขอเทปชุดนี้ ผมก็ยกให้ไปเลย เพราะเชื่อว่าน่าจะยังมีแผ่นซีดีวางจำหน่าย แต่ก็ไม่ได้ติดตามเสาะหาอีกเนื่องจากติดงานประจำอยู่นานหลายปี
กระทั่งกลางปี 53 ไปเจออัลบั้มนี้อีกครั้ง แต่เป็นแผ่น CD-R ที่บันทึกจากแผ่นเสียงอีกที (เจ้าของเคยเป็นดีเจจัดรายการวิทยุมาก่อน เลยมีแผ่นเสียงจำนวนมาก ว่างๆ ทางเจ้าของจะนำแผ่นเสียงมาแปลงเป็นไฟล์ดิจิทัลแล้วไรท์ลงแผ่น) ก็เลยขอทำสำเนาไว้ฟัง จากนั้นคีย์หาฟ้อนต์ชื่อเพลง ผู้ขับร้อง เพื่อทำต้นฉบับบทความไว้ตั้งแต่นั้น
11 เพลงจีนในอัลบั้ม “แกรมมี่ อินเตอร์” นี้ มีทั้งภาษาจีนกลาง และภาษาจีนกวางตุ้ง ที่ต้นสังกัดในขณะนั้น คือ “โพลีแกรม” ของฮ่องกง ซื้อลิขสิทธิ์เพลงจากแกรมมี่ไปใส่ในสตูดิโออัลบั้มของศิลปินในสังกัดที่วางจำหน่ายระหว่างปี พ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2537 ปัจจุบันเป็นของ “ยูนิเวอร์แซล มิวสิค” ที่ตอนนี้หาฟังได้ในสตรีมมิ่ง เรามารำลึกทั้ง 11 บทเพลงดังนี้ครับ
แทร็คแรก คือ "ซือ เลี่ยน เจิ้น เสี้ยน เหลียน เหมิง" (แนวร่วมของคนอกหัก) ขับร้องโดย Grasshopper ในเวอร์ชั่นภาษาจีนกวางตุ้ง ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้คือ "คู่กัด" ของ "เบิร์ด ธงไชย"
ถ้าใครเคยซื้อเทปผีรวมเพลงสากลในยุคนั้น ม้วนละ 20 - 30 บาท น่าจะคุ้นเคยกันอยู่แล้ว
แถมให้อีกหนึ่งเวอร์ชั่น...ภาษาจีนกลาง
แทร็คที่ 2 คือ "หม่าน ฟั่น เฉ่ง หยั่น" (คนมีความรักหมื่นหน่วย) ขับร้องโดย หลิว เสี่ยว เฟ้ย (Winnie Lau) ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้ คือ "พริกขี้หนู" ของ "เบิร์ด ธงไชย"
แทร็คที่ 3 คือ "อั่ว เตอ เวิน โย๋ว ปู่ โก้ว ตัว" (คำอ่อนหวานของฉัน) ขับร้องโดย Grasshopper ในเวอร์ชั่นภาษาจีนกลาง ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้ คือ "อย่าต่อรองหัวใจ" ของ "เบิร์ด ธงไชย"
แถมให้อีกหนึ่งเวอร์ชั่น...ภาษาจีนกวางตุ้ง
แทร็คที่ 4 คือ "อ้าย เลี่ยน เตอ ไต้ เจี้ย" (ตอบแทนของการแอบรัก) ขับร้องโดย Grasshopper ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้ คือ "น้ำพริกปลาทู" ของ "สามารถ พยัคฆ์อรุณ"
แทร็คที่ 5 คือ "ฮัลโหล กู้ดบาย" (สวัสดี ลาก่อน) ขับร้องโดย อลันทัม [ถัน หย่ง หลิน] ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้ คือ "สบาย สบาย" ของ "เบิร์ด ธงไชย"
แทร็คที่ 6 คือ "เป่า เป่ย เต่ย ปู้ ฉี" (ขอโทษ) ขับร้องโดย Grasshopper ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้ คือ "ยินดีไม่มีปัญหา" ของ "อัสนี & วสันต์" สำหรับแผ่นเสียงไม่มีเพลงนี้
แทร็คที่ 7 คือ "ฉิ่ง กั๋น โจ่ว อวี่ เทียน" (ไล่วันชุ่มฝนให้พ้นไป) ขับร้องโดย หลิว เสี่ยว เฟ้ย (Winnie Lau) ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้ คือ "พลิกล็อก" ของ "คริสติน่า อากีล่าร์"
แทร็คที่ 8 คือ "จ้าย อี้ ฉี" (อยู่ด้วยกัน) ขับร้องโดย Grasshopper ในเวอร์ชั่นภาษาจีนกวางตุ้ง ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้ คือ "เงาที่หายไป" ของ "เบิร์ด ธงไชย"
แถมให้อีกหนึ่งเวอร์ชั่น...ภาษาจีนกลาง (ชื่อเพลงในคลิปผิดนะครับ ไม่น่าผิดพลาดเลย)
แทร็คที่ 9 คือ "ย่าง อั่ว เซี่ยง เก้อ นวี่ เหยิน" (อยากให้ฉันเป็นดั่งหญิงคนหนึ่ง) ขับร้องโดย หลัน ซิน เหมย (May Lan) ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้ คือ "อุทิศให้" ของ "แอม เสาวลักษณ์"
แทร็คที่ 10 คือ "ซิง ฮวง หยี่ ล้วน" (ตื่นตระหนก) ขับร้องโดย หลัน ซิน เหมย (May Lan) ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้ คือ "ขายเท่าไหร่" ของ "คริสติน่า อากีล่าร์" สำหรับแผ่นเสียงไม่มีเพลงนี้
แทร็คที่ 11 คือ "ซือ เลี่ยน" (อกหัก) เป็นเวอร์ชั่นรีมิกซ์ + ภาษาจีนกวางตุ้ง ขับร้องโดย Grasshopper ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้ คือ "คู่กัด" ของ "เบิร์ด ธงไชย"
ขอเชิญร่วมรำลึกบทเพลงในอัลบั้มดังกล่าวได้ตามอัธยาศัย ส่วนกระทู้หน้าของห้องเฉลิมกรุง จะเป็นอัลบั้มเพลงสากลภาษากัมพูชา แผ่นแรกในชีวิต
รำลึกถึง “แกรมมี่ กัวะจี่” (Grammy Inter) อัลบั้มรวมเพลงสากลภาษาจีนยุค 90
ย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่ จขกท. เรียนชั้น ม.5 หลังเปิดภาคเรียนที่ 2 / 2537 ในเดือนพฤศจิกายนยังไม่ครบเดือน วันหนึ่งเพื่อนร่วมชั้นนำเทป คาสเซ็ทที่บันทึกจากรายการวิทยุตอนเปิดสถานีเวลาตี 5 มาให้ จขกท. นำกลับไปฟังที่บ้าน เพื่อนเล่าว่าหลังจากตื่นนอนก็เปิดวิทยุฟังเพลงไปเรื่อย จนมาเจอคลื่นหนึ่งกำลังเปิดเพลงสากลภาษาจีน ก็เลยค้นหาเทปเพลงที่เคยบันทึกจากรายการวิทยุอยู่ก่อนแล้วมาบันทึกทับหนึ่งหน้าเต็มๆ (เป็นเทปเปล่า C-90) กระทั่งทางสถานีวิทยุออกอากาศรายการข่าว เพื่อนก็หยุดบันทึกเทป แล้วนำตลับเทปใส่กระเป๋านักเรียนมาให้เดี๋ยวนั้นเลย
เมื่อกลับถึงบ้าน ก็นำเทปเพลงมาฟัง และจดจำทำนองเพลงต้นฉบับไว้ วันรุ่งขึ้นก็คืนเทป ปัญหาคือ ไม่รู้จักชื่ออัลบั้ม แล้วก็พยายามติดตามข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ พร้อมกับสังเกตช่วงโฆษณาโปรโมทอัลบั้มเพลงของแกรมมี่ในรายการโทรทัศน์ ก็ไม่มีให้เห็นเลย ครั้นจะไปสอบถามเจ้าของร้านขายเทปเพลงที่เคยซื้อประจำ (อยู่นอกอำเภอเมือง) เขาอาจจะไม่รู้จักก็ได้
กระทั่งตอนเช้าของวันที่ 8 ธันวาคม (ที่จำได้เพราะเขียนบันทึกไว้) วันนั้นมีตลาดนัดและมีแผงขายเทปด้วย ผมนำเงินจากกล่องออมสินจำนวนหนึ่งร้อยบาทติดไปด้วยเผื่ออาจจะเจอเทปเพลงที่ถูกใจ ถ้าไม่เจอก็ไม่เป็นไร ปรากฏว่าเจอเทป คาสเซ็ท หน้าปกตามภาพ เมื่อดูรายชื่อเพลงก็ตรงกับที่เคยฟังก่อนหน้านี้เลยตัดสินใจชำระเงินเดี๋ยวนั้นเลย จากนั้นก็ไปโรงเรียนตามปกติ เลิกเรียนก็กลับบ้าน
เทปเพลงชุดนี้อยู่กับ จขกท. จนถึงกระทั่งกลางปี 41 ก็ไม่ได้หยิบมาฟังอีกเลย จนกระทั่งคุณน้ามาขอเทปชุดนี้ ผมก็ยกให้ไปเลย เพราะเชื่อว่าน่าจะยังมีแผ่นซีดีวางจำหน่าย แต่ก็ไม่ได้ติดตามเสาะหาอีกเนื่องจากติดงานประจำอยู่นานหลายปี
กระทั่งกลางปี 53 ไปเจออัลบั้มนี้อีกครั้ง แต่เป็นแผ่น CD-R ที่บันทึกจากแผ่นเสียงอีกที (เจ้าของเคยเป็นดีเจจัดรายการวิทยุมาก่อน เลยมีแผ่นเสียงจำนวนมาก ว่างๆ ทางเจ้าของจะนำแผ่นเสียงมาแปลงเป็นไฟล์ดิจิทัลแล้วไรท์ลงแผ่น) ก็เลยขอทำสำเนาไว้ฟัง จากนั้นคีย์หาฟ้อนต์ชื่อเพลง ผู้ขับร้อง เพื่อทำต้นฉบับบทความไว้ตั้งแต่นั้น
11 เพลงจีนในอัลบั้ม “แกรมมี่ อินเตอร์” นี้ มีทั้งภาษาจีนกลาง และภาษาจีนกวางตุ้ง ที่ต้นสังกัดในขณะนั้น คือ “โพลีแกรม” ของฮ่องกง ซื้อลิขสิทธิ์เพลงจากแกรมมี่ไปใส่ในสตูดิโออัลบั้มของศิลปินในสังกัดที่วางจำหน่ายระหว่างปี พ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2537 ปัจจุบันเป็นของ “ยูนิเวอร์แซล มิวสิค” ที่ตอนนี้หาฟังได้ในสตรีมมิ่ง เรามารำลึกทั้ง 11 บทเพลงดังนี้ครับ
แทร็คแรก คือ "ซือ เลี่ยน เจิ้น เสี้ยน เหลียน เหมิง" (แนวร่วมของคนอกหัก) ขับร้องโดย Grasshopper ในเวอร์ชั่นภาษาจีนกวางตุ้ง ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้คือ "คู่กัด" ของ "เบิร์ด ธงไชย"
ถ้าใครเคยซื้อเทปผีรวมเพลงสากลในยุคนั้น ม้วนละ 20 - 30 บาท น่าจะคุ้นเคยกันอยู่แล้ว
แถมให้อีกหนึ่งเวอร์ชั่น...ภาษาจีนกลาง
แทร็คที่ 2 คือ "หม่าน ฟั่น เฉ่ง หยั่น" (คนมีความรักหมื่นหน่วย) ขับร้องโดย หลิว เสี่ยว เฟ้ย (Winnie Lau) ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้ คือ "พริกขี้หนู" ของ "เบิร์ด ธงไชย"
แทร็คที่ 3 คือ "อั่ว เตอ เวิน โย๋ว ปู่ โก้ว ตัว" (คำอ่อนหวานของฉัน) ขับร้องโดย Grasshopper ในเวอร์ชั่นภาษาจีนกลาง ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้ คือ "อย่าต่อรองหัวใจ" ของ "เบิร์ด ธงไชย"
แถมให้อีกหนึ่งเวอร์ชั่น...ภาษาจีนกวางตุ้ง
แทร็คที่ 4 คือ "อ้าย เลี่ยน เตอ ไต้ เจี้ย" (ตอบแทนของการแอบรัก) ขับร้องโดย Grasshopper ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้ คือ "น้ำพริกปลาทู" ของ "สามารถ พยัคฆ์อรุณ"
แทร็คที่ 5 คือ "ฮัลโหล กู้ดบาย" (สวัสดี ลาก่อน) ขับร้องโดย อลันทัม [ถัน หย่ง หลิน] ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้ คือ "สบาย สบาย" ของ "เบิร์ด ธงไชย"
แทร็คที่ 6 คือ "เป่า เป่ย เต่ย ปู้ ฉี" (ขอโทษ) ขับร้องโดย Grasshopper ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้ คือ "ยินดีไม่มีปัญหา" ของ "อัสนี & วสันต์" สำหรับแผ่นเสียงไม่มีเพลงนี้
แทร็คที่ 7 คือ "ฉิ่ง กั๋น โจ่ว อวี่ เทียน" (ไล่วันชุ่มฝนให้พ้นไป) ขับร้องโดย หลิว เสี่ยว เฟ้ย (Winnie Lau) ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้ คือ "พลิกล็อก" ของ "คริสติน่า อากีล่าร์"
แทร็คที่ 8 คือ "จ้าย อี้ ฉี" (อยู่ด้วยกัน) ขับร้องโดย Grasshopper ในเวอร์ชั่นภาษาจีนกวางตุ้ง ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้ คือ "เงาที่หายไป" ของ "เบิร์ด ธงไชย"
แถมให้อีกหนึ่งเวอร์ชั่น...ภาษาจีนกลาง (ชื่อเพลงในคลิปผิดนะครับ ไม่น่าผิดพลาดเลย)
แทร็คที่ 9 คือ "ย่าง อั่ว เซี่ยง เก้อ นวี่ เหยิน" (อยากให้ฉันเป็นดั่งหญิงคนหนึ่ง) ขับร้องโดย หลัน ซิน เหมย (May Lan) ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้ คือ "อุทิศให้" ของ "แอม เสาวลักษณ์"
แทร็คที่ 10 คือ "ซิง ฮวง หยี่ ล้วน" (ตื่นตระหนก) ขับร้องโดย หลัน ซิน เหมย (May Lan) ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้ คือ "ขายเท่าไหร่" ของ "คริสติน่า อากีล่าร์" สำหรับแผ่นเสียงไม่มีเพลงนี้
แทร็คที่ 11 คือ "ซือ เลี่ยน" (อกหัก) เป็นเวอร์ชั่นรีมิกซ์ + ภาษาจีนกวางตุ้ง ขับร้องโดย Grasshopper ส่วนต้นฉบับของเพลงนี้ คือ "คู่กัด" ของ "เบิร์ด ธงไชย"
ขอเชิญร่วมรำลึกบทเพลงในอัลบั้มดังกล่าวได้ตามอัธยาศัย ส่วนกระทู้หน้าของห้องเฉลิมกรุง จะเป็นอัลบั้มเพลงสากลภาษากัมพูชา แผ่นแรกในชีวิต