Exclusive Content
เผยความลับการลงทุนของ BottomLiner
ตอนที่ 1: 6 เรื่อง Fundamental ที่ต้องรู้ก่อนลงทุน 1 ครั้ง
บทความนี้สำหรับนักลงทุนที่อยากจะพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นโดยเราจะนำ Framework ที่เราใช้จริงมาอธิบายว่าเราวิเคราะห์อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละข้อ
.
Framework การลงทุนของ Bottomliner ประกอบไปด้วย 3 ส่วน
.
1. Fundamental เข้าใจพื้นฐานของบริษัท เช่นรายได้มาจากไหน อะไรจะทำให้บริษัทโตต่อ
2. Event Timeline เข้าใจว่าจะมีเหตุการณ์อะไรมากระทบบริษัทบ้าง ใช้เป็นสิ่งที่บอก Timing เช่น งบออกวันไหน ข่าวออกวันไหน
3. Sentiment เข้าใจว่าตลาดคิดอย่างไรกับหุ้นตัวนี้ เช่นรู้ว่าคนคาดหวังอะไรจากการประกาศงบวันนี้ หุ้นดีมาก ๆ แต่ตลาดรับรู้ไปขนาดไหนแล้ว?
.
โดยในโพสต์นี้เราจะพูดถึงวิธีการที่ BottomLiner ใช้ศึกษา Fundamental ของหุ้นเป็นหลัก โดยรวม เราต้องเข้าใจบริษัทจริงๆ ตัวอย่างเช่น รายได้มาจากไหน ในบรรดา Growth stories ต่างๆ อะไรจะกลายเป็น S-curve ได้จริง และมากขนาดไหน หรือเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นจะกระทบบริษัทอย่างไร
โดยทั้งหมดที่ศึกษาเพื่อที่จะจับใจความสำคัญให้ได้ว่าตลาดสนใจอะไรของหุ้นตัวนั้นเพื่อติดตาม
.
1. โดยทั่วไปเราจะเริ่มศึกษาจากรายได้หลักของบริษัท หากบริษัทมีรายได้หลายทาง สิ่งที่เราต้องศึกษาคือแบ่ง Segments หรือ End Market อย่างไร โดยแต่ละส่วนที่ต้องศึกษาเช่น ในแต่ละ Segments ตลาดขนาดเท่าไร และบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดเท่าไร ตลาดนั้นอยู่ในเทรนด์ที่กำลังเป็นที่สนใจ หรือมีความต้องการมากขึ้นหรือเปล่า?
หากอยู่ บริษัทได้รับประโยชน์มากขนาดไหน เพื่อตอบให้ได้ว่า ส่วนธุรกิจไหนที่จะทำให้บริษัทโต
.
ตัวอย่างเช่น NVIDIA ที่มีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ของ GPU ใน Data Center ช่วงที่ผ่านมาได้ประโยชน์เต็มๆจากเทรนด์ของ Generative AI แม้โดยภาพรวมตลาด Data center ยังไม่ฟื้นในช่วงนี้แต่ความต้องการGPU กลับเพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ในการ Train AI ส่งผลให้ราคาหุ้นวิ่งไปไกล กลับกัน Intel ที่เคยเป็นเจ้าตลาด Data Center แต่มีสัดส่วนรายได้จาก GPU น้อยมากทำให้หุ้นราคาไม่ไปไหน
.
2. ใครเป็น Suppliers ให้กับบริษัท หากมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นกับ Suppliers จะส่งผลกระทบอะไรกับบริษัท
.
ตัวอย่างเช่น TSMC เป็นผู้ผลิตชิบให้กับ NVIDIA เป็นหลัก หากความต้องการชิบของ NVIDIA เพิ่มมากขึ้นแต่กำลังผลิตของ TSMC เต็มอยู่ ก็ไม่สามารถผลิตเพิ่มได้ หรือในทางกลับกัน เราอาจใช้ ยอดสั่งซื้อของจาก NVIDIA เป็น Indicator เพื่อศึกษา TSMC
.
3. ใครเป็นลูกค้าหรือ Partners มีลูกค้าหลักที่ส่งผลกับรายได้เยอะกี่ราย และควรศึกษาธุรกิจของลูกค้าเพื่อเพื่อหาโอกาสในการลงทุนหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยง
.
ตัวอย่างเช่น ARISTA ที่ทำ Ethernet switches ใน Data center มีลูกค้าหลักเป็น META และ Microsoft เป็นสัดส่วนรายได้ถึง 40% หากปีที่แล้วเราติดตาม META จะพบว่า ได้เพิ่มเงินลงทุนใน Data center ก็เป็นโอกาสที่ดีในการลงทุนใน ARISTA ขณะเดียวกันในปีนี้ Tech Titan ได้ลดการลงทุนใหม่ ก็จะส่งผลกระทบต่อ ARISTA ทำให้ภาพในอนาคตดูไม่ค่อยดี
.
4. คู่แข่งเป็นใครและการแข่งขันในอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร บริษัทมีข้อได้เปรียบหรือเสียเปรียบในการแข่งขันอย่างไร โดยเรื่องนี้ต้องเข้าใจ Landscape ของอุตสาหกรรมนั้น ๆ
การแข่งขันของแต่ละธุรกิจว่าแข่งกันอย่างไร ซึ่งแต่ละธุรกิจก็มีวิธีการศึกษาที่ต่างออกไป
.
ตัวอย่างเช่น ในธุรกิจ CPU จะเห็นได้ว่าจากที่ Intel ที่เคยเป็นเจ้าตลาดกลับโดน AMD กินส่วนแบ่งขึ้นมาเรื่อยๆ หลัง AMD เปิดตัว Ryzen ในปี 2017 เพราะขายสินค้าที่คุ้มราคามากกว่า
.
5. ดูความสามารถในการทำกำไรในแต่ละธุรกิจ ดูว่ามีโอกาสจะทำกำไรเพิ่มมากขึ้น หรือน้อยลง จากปัจจัยอะไรได้บ้าง
.
ตัวอย่างเช่น ธุรกิจหลายอย่างที่มี Operating Leverage สูง รายได้โตแต่กำไรโตได้มากกว่าเช่นธุรกิจประเภท Platform ด้วยความที่ค่าใช้จ่ายส่วนมากเป็น Fixed cost เช่นค่า Server ค่าจ้างพนักงาน การที่รายได้เพิ่มกำไรจะเพิ่มตามมากกว่าเพราะแทบไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
.
6. การประเมินมูลค่า เป็นการแปลงข้อมูลเชิงคุณภาพที่ศึกษามาให้กลายเป็นตัวเลข เพื่อช่วยบอกเราว่าหุ้นราคาแพงหรือถูกเกินไปแล้วหรือยัง
·
โดยหลายครั้งหุ้นหลายตัวที่พื้นฐานดีแต่ราคาแพงเกินไป หากเข้าซื้ออาจจะขาดทุนหนัก ยกตัวอย่างเช่น ADOBE ในช่วง COVID ที่ผ่านมาซึ่งเป็นบริษัทที่ดีและได้ประโยชน์จากเทรนด์ Work from home แต่ราคาพุ่งไปไกลเกินมูลค่าหากซื้อตอนนั้นก็จะขาดทุนอยู่ดี แม้จะเป็นหุ้นที่ดีก็ตาม
.
BottomLiner
เผยความลับการลงทุนของ BottomLiner ตอนที่ 1: 6 เรื่อง Fundamental ที่ต้องรู้ก่อน
เผยความลับการลงทุนของ BottomLiner
ตอนที่ 1: 6 เรื่อง Fundamental ที่ต้องรู้ก่อนลงทุน 1 ครั้ง
บทความนี้สำหรับนักลงทุนที่อยากจะพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นโดยเราจะนำ Framework ที่เราใช้จริงมาอธิบายว่าเราวิเคราะห์อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละข้อ
.
Framework การลงทุนของ Bottomliner ประกอบไปด้วย 3 ส่วน
.
1. Fundamental เข้าใจพื้นฐานของบริษัท เช่นรายได้มาจากไหน อะไรจะทำให้บริษัทโตต่อ
2. Event Timeline เข้าใจว่าจะมีเหตุการณ์อะไรมากระทบบริษัทบ้าง ใช้เป็นสิ่งที่บอก Timing เช่น งบออกวันไหน ข่าวออกวันไหน
3. Sentiment เข้าใจว่าตลาดคิดอย่างไรกับหุ้นตัวนี้ เช่นรู้ว่าคนคาดหวังอะไรจากการประกาศงบวันนี้ หุ้นดีมาก ๆ แต่ตลาดรับรู้ไปขนาดไหนแล้ว?
.
โดยในโพสต์นี้เราจะพูดถึงวิธีการที่ BottomLiner ใช้ศึกษา Fundamental ของหุ้นเป็นหลัก โดยรวม เราต้องเข้าใจบริษัทจริงๆ ตัวอย่างเช่น รายได้มาจากไหน ในบรรดา Growth stories ต่างๆ อะไรจะกลายเป็น S-curve ได้จริง และมากขนาดไหน หรือเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นจะกระทบบริษัทอย่างไร
โดยทั้งหมดที่ศึกษาเพื่อที่จะจับใจความสำคัญให้ได้ว่าตลาดสนใจอะไรของหุ้นตัวนั้นเพื่อติดตาม
.
1. โดยทั่วไปเราจะเริ่มศึกษาจากรายได้หลักของบริษัท หากบริษัทมีรายได้หลายทาง สิ่งที่เราต้องศึกษาคือแบ่ง Segments หรือ End Market อย่างไร โดยแต่ละส่วนที่ต้องศึกษาเช่น ในแต่ละ Segments ตลาดขนาดเท่าไร และบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดเท่าไร ตลาดนั้นอยู่ในเทรนด์ที่กำลังเป็นที่สนใจ หรือมีความต้องการมากขึ้นหรือเปล่า?
หากอยู่ บริษัทได้รับประโยชน์มากขนาดไหน เพื่อตอบให้ได้ว่า ส่วนธุรกิจไหนที่จะทำให้บริษัทโต
.
ตัวอย่างเช่น NVIDIA ที่มีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ของ GPU ใน Data Center ช่วงที่ผ่านมาได้ประโยชน์เต็มๆจากเทรนด์ของ Generative AI แม้โดยภาพรวมตลาด Data center ยังไม่ฟื้นในช่วงนี้แต่ความต้องการGPU กลับเพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ในการ Train AI ส่งผลให้ราคาหุ้นวิ่งไปไกล กลับกัน Intel ที่เคยเป็นเจ้าตลาด Data Center แต่มีสัดส่วนรายได้จาก GPU น้อยมากทำให้หุ้นราคาไม่ไปไหน
.
2. ใครเป็น Suppliers ให้กับบริษัท หากมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นกับ Suppliers จะส่งผลกระทบอะไรกับบริษัท
.
ตัวอย่างเช่น TSMC เป็นผู้ผลิตชิบให้กับ NVIDIA เป็นหลัก หากความต้องการชิบของ NVIDIA เพิ่มมากขึ้นแต่กำลังผลิตของ TSMC เต็มอยู่ ก็ไม่สามารถผลิตเพิ่มได้ หรือในทางกลับกัน เราอาจใช้ ยอดสั่งซื้อของจาก NVIDIA เป็น Indicator เพื่อศึกษา TSMC
.
3. ใครเป็นลูกค้าหรือ Partners มีลูกค้าหลักที่ส่งผลกับรายได้เยอะกี่ราย และควรศึกษาธุรกิจของลูกค้าเพื่อเพื่อหาโอกาสในการลงทุนหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยง
.
ตัวอย่างเช่น ARISTA ที่ทำ Ethernet switches ใน Data center มีลูกค้าหลักเป็น META และ Microsoft เป็นสัดส่วนรายได้ถึง 40% หากปีที่แล้วเราติดตาม META จะพบว่า ได้เพิ่มเงินลงทุนใน Data center ก็เป็นโอกาสที่ดีในการลงทุนใน ARISTA ขณะเดียวกันในปีนี้ Tech Titan ได้ลดการลงทุนใหม่ ก็จะส่งผลกระทบต่อ ARISTA ทำให้ภาพในอนาคตดูไม่ค่อยดี
.
4. คู่แข่งเป็นใครและการแข่งขันในอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร บริษัทมีข้อได้เปรียบหรือเสียเปรียบในการแข่งขันอย่างไร โดยเรื่องนี้ต้องเข้าใจ Landscape ของอุตสาหกรรมนั้น ๆ
การแข่งขันของแต่ละธุรกิจว่าแข่งกันอย่างไร ซึ่งแต่ละธุรกิจก็มีวิธีการศึกษาที่ต่างออกไป
.
ตัวอย่างเช่น ในธุรกิจ CPU จะเห็นได้ว่าจากที่ Intel ที่เคยเป็นเจ้าตลาดกลับโดน AMD กินส่วนแบ่งขึ้นมาเรื่อยๆ หลัง AMD เปิดตัว Ryzen ในปี 2017 เพราะขายสินค้าที่คุ้มราคามากกว่า
.
5. ดูความสามารถในการทำกำไรในแต่ละธุรกิจ ดูว่ามีโอกาสจะทำกำไรเพิ่มมากขึ้น หรือน้อยลง จากปัจจัยอะไรได้บ้าง
.
ตัวอย่างเช่น ธุรกิจหลายอย่างที่มี Operating Leverage สูง รายได้โตแต่กำไรโตได้มากกว่าเช่นธุรกิจประเภท Platform ด้วยความที่ค่าใช้จ่ายส่วนมากเป็น Fixed cost เช่นค่า Server ค่าจ้างพนักงาน การที่รายได้เพิ่มกำไรจะเพิ่มตามมากกว่าเพราะแทบไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
.
6. การประเมินมูลค่า เป็นการแปลงข้อมูลเชิงคุณภาพที่ศึกษามาให้กลายเป็นตัวเลข เพื่อช่วยบอกเราว่าหุ้นราคาแพงหรือถูกเกินไปแล้วหรือยัง
·
โดยหลายครั้งหุ้นหลายตัวที่พื้นฐานดีแต่ราคาแพงเกินไป หากเข้าซื้ออาจจะขาดทุนหนัก ยกตัวอย่างเช่น ADOBE ในช่วง COVID ที่ผ่านมาซึ่งเป็นบริษัทที่ดีและได้ประโยชน์จากเทรนด์ Work from home แต่ราคาพุ่งไปไกลเกินมูลค่าหากซื้อตอนนั้นก็จะขาดทุนอยู่ดี แม้จะเป็นหุ้นที่ดีก็ตาม
.
BottomLiner