ตำรวจไซเบอร์ ร่วมกับ AIS จัดทำละครคุณธรรมสะท้อนสังคม เปิดโปง12คดีดังภัยออนไลน์ สร้างความตระหนักรู้ให้สังคมไม่ตกเป็นเหยื่อ ย้ำ ‘ไม่เชื่อ ไม่รีบ และไม่โอน’
วันนี้ ที่ AIS eSpot Studio ชั้น2 สามย่านมิตรทาวน์ ตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือตำรวจไซเบอร์ และ AIS ได้ร่วมกันแถลงข่าวเปิดโปง 12คดีดัง ที่เป็นภัยไซเบอร์ ทำให้คนไทยตกเป็นเหยื่อ พร้อมสร้างปรากฎการณ์ให้คนไทยรู้เท่าทันไซเบอร์ โดยนำเสนอผ่านละครสั้นสะท้อนสังคมที่อ้างอิงจากสถานการณ์จริงทั้งสังคมปัจจุบัน อย่าง การหลอกให้กู้เงิน หลอกให้ลงทุน หลอกให้ติดตั้งโปรแกรม ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้เกิดประโยชน์ในสังคม
โดยพล.ต.ต.อรรถสิทธิ์ สุดสงวน รองผู้บัญชาการตำรวจไซเบอร์ ระบุว่า ตั้งแต่ 1 มี.ค.65-10พ.ย.66 พบว่า มีความเสียหายจากภัยไซเบอร์แล้วกว่า 49,000ล้านบาท
ทั้งนี้จึงได้ เลือกจัดประเภทการกระทำความผิดของมิจฉาชีพ ที่มี 14ประเภท และเรียงลำดับว่าอะไรเกิดกับประชาชนมากที่สุด ซึ่งที่โดนกันเยอะมากคือการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งมีกว่า 360,000คดีทั้งประเทศที่มีการแจ้งความออนไลน์ จึงมีการจัดลำดับความสำคัญของคดีและประเภทของกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มคนทำงาน และกลุ่มคนวัยเกษียณราชการ ซึ่งถือเป็นคนเปราะบาง
โดยเชื่อว่า เมื่อให้ความรู้กับประชาชนไปแล้ว คดีอาชญากรรม ในลักษณะนี้จะลดลงมากน้อยลง
และสิ่งสำคัญที่อยากเตือนภัยสังคม คือ ต้อง ‘ไม่เชื่อ ไม่รีบ และไม่โอน’ หากมีเอสเอ็มเอสอะไรออกมา และต้องไม่รีบ เพราะมิจฉาชีพจะเร่งให้รีบทำอะไรบ้างอย่าง และต้องไม่โอนจนกว่าจะตรวจสอบแน่ใจว่าเป็นธุรกรรมที่ถูกต้องจริงๆ และหากผู้ใดตกเป็นเหยื่อแล้วให้โทร 1541 เพื่อรับแจ้งความออนไลน์แก้ปัญหาให้ประชาชน
ขณะที่ คุณสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์ และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า
จากการทำงานเพื่อส่งเสริมทักษะดิจิทัลภายใต้ภารกิจของ AIS อุ่นใจ CYBER ทำให้เห็นถึงปัญหาจากภัยไซเบอร์ ที่ยังมีผู้ไม่รู้เท่าทัน ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัย จากผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย
สิ่งที่ทำมาตลอดคือการสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชน เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักรู้ จึงมีแคมเปญที่นำคดีจากภัยไซเบอร์ มานำเสนอผ่านละครคุณธรรมที่เป็นละครสั้นซึ่ง มองว่า จะสร้างอิมแพคให้กับสังคม และให้จับต้องได้ เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้
นอกจากนี้ เอไอเอส ยังย้ำเตือนสังคมผ่านการสื่อสารและสร้างการตระหนักรู้อย่างต่อเนื่องแล้ว เรายังพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยป้องกันภัยไซเบอร์อย่างสายด่วน 1185 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน AIS Spam Report Center
ทั้งนี้ในช่วงแรกที่เปิดตัวละคร 3เดือนหลังจากนั้นจะไปบรรจุในหลักสูตรเอไอเอสอุ่นใจไซเบอร์ ส่วนการวัดผล ก็ต้องดูเมื่อปล่อยละครออกไปแล้ว เมื่อเกิดการรับรู้แล้วตัวเลขหรือสถิติลดลง ก็จะต้องเฝ้าติดตามกลุ่มกปราะบางให้มากที่สุดด้วย
ตำรวจไซเบอร์ ร่วมกับ AIS จัดทำละครคุณธรรมสะท้อนสังคม เปิดโปง12คดีดังภัยออนไลน์
วันนี้ ที่ AIS eSpot Studio ชั้น2 สามย่านมิตรทาวน์ ตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือตำรวจไซเบอร์ และ AIS ได้ร่วมกันแถลงข่าวเปิดโปง 12คดีดัง ที่เป็นภัยไซเบอร์ ทำให้คนไทยตกเป็นเหยื่อ พร้อมสร้างปรากฎการณ์ให้คนไทยรู้เท่าทันไซเบอร์ โดยนำเสนอผ่านละครสั้นสะท้อนสังคมที่อ้างอิงจากสถานการณ์จริงทั้งสังคมปัจจุบัน อย่าง การหลอกให้กู้เงิน หลอกให้ลงทุน หลอกให้ติดตั้งโปรแกรม ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้เกิดประโยชน์ในสังคม
โดยพล.ต.ต.อรรถสิทธิ์ สุดสงวน รองผู้บัญชาการตำรวจไซเบอร์ ระบุว่า ตั้งแต่ 1 มี.ค.65-10พ.ย.66 พบว่า มีความเสียหายจากภัยไซเบอร์แล้วกว่า 49,000ล้านบาท
ทั้งนี้จึงได้ เลือกจัดประเภทการกระทำความผิดของมิจฉาชีพ ที่มี 14ประเภท และเรียงลำดับว่าอะไรเกิดกับประชาชนมากที่สุด ซึ่งที่โดนกันเยอะมากคือการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งมีกว่า 360,000คดีทั้งประเทศที่มีการแจ้งความออนไลน์ จึงมีการจัดลำดับความสำคัญของคดีและประเภทของกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มคนทำงาน และกลุ่มคนวัยเกษียณราชการ ซึ่งถือเป็นคนเปราะบาง
โดยเชื่อว่า เมื่อให้ความรู้กับประชาชนไปแล้ว คดีอาชญากรรม ในลักษณะนี้จะลดลงมากน้อยลง
และสิ่งสำคัญที่อยากเตือนภัยสังคม คือ ต้อง ‘ไม่เชื่อ ไม่รีบ และไม่โอน’ หากมีเอสเอ็มเอสอะไรออกมา และต้องไม่รีบ เพราะมิจฉาชีพจะเร่งให้รีบทำอะไรบ้างอย่าง และต้องไม่โอนจนกว่าจะตรวจสอบแน่ใจว่าเป็นธุรกรรมที่ถูกต้องจริงๆ และหากผู้ใดตกเป็นเหยื่อแล้วให้โทร 1541 เพื่อรับแจ้งความออนไลน์แก้ปัญหาให้ประชาชน
ขณะที่ คุณสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์ และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า
จากการทำงานเพื่อส่งเสริมทักษะดิจิทัลภายใต้ภารกิจของ AIS อุ่นใจ CYBER ทำให้เห็นถึงปัญหาจากภัยไซเบอร์ ที่ยังมีผู้ไม่รู้เท่าทัน ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัย จากผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย
สิ่งที่ทำมาตลอดคือการสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชน เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักรู้ จึงมีแคมเปญที่นำคดีจากภัยไซเบอร์ มานำเสนอผ่านละครคุณธรรมที่เป็นละครสั้นซึ่ง มองว่า จะสร้างอิมแพคให้กับสังคม และให้จับต้องได้ เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้
นอกจากนี้ เอไอเอส ยังย้ำเตือนสังคมผ่านการสื่อสารและสร้างการตระหนักรู้อย่างต่อเนื่องแล้ว เรายังพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยป้องกันภัยไซเบอร์อย่างสายด่วน 1185 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน AIS Spam Report Center
ทั้งนี้ในช่วงแรกที่เปิดตัวละคร 3เดือนหลังจากนั้นจะไปบรรจุในหลักสูตรเอไอเอสอุ่นใจไซเบอร์ ส่วนการวัดผล ก็ต้องดูเมื่อปล่อยละครออกไปแล้ว เมื่อเกิดการรับรู้แล้วตัวเลขหรือสถิติลดลง ก็จะต้องเฝ้าติดตามกลุ่มกปราะบางให้มากที่สุดด้วย