หลังจากขุดบ่อน้ำไปในปี 2016 เราสองคนก็ค่อยๆ ทำระบบน้ำและเดินไฟ ทำบ้านสวน นานอยู่หลายปี กว่าจะได้เริ่มลงมือปลูกจริงๆ ก็คือปี 2023
เราแบ่งสัดส่วนการปลูกพืชตามที่ได้วางแผนไว้แต่แรก ว่าพื้นที่ติดบ่อน้ำ เราจะทำเป็นแปลงผักขนาดใหญ่ และปลูกผักที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำไส้อั่วในอนาคตของเรา แต่เนื่องจากดินในพื้นที่บ้านต้นแจงทั้งหมด เป็นดินถม ที่ไม่มีแม้แต่ความอุดมสมบูรณ์ ไม่มีแร่ธาตุพอที่จะทำให้พืชเจริญเติบโตขึ้นมาได้
ปี 2020 เราเริ่ม ใส่ขี้วัว ให้วัวมากินหญ้า ปลูกปอเทือง ไถกลบปุ๋ยพืชสด เพื่อให้ดินมีธาตุอาหารเพียงพอที่จะปลูกพืช
เพราะมีเวลาไปที่สวนแค่ปีละ 6 ครั้ง ทำให้เราเริ่มต้นปลูกพืชได้ช้า และมัวแต่ทำอย่างอื่น แต่เราได้ไถพรวนดินอยู่หลายคร้ง เพราะหลังจากที่เริ่มลงขี้วัว หญ้าก็ขึ้นมาให้เห็นบ้างแล้ว ต่างจากเมื่อ 3 - 4 ปีก่อน ที่ดินเป็นสีส้มเลยทีเดียว
จนได้ขึ้นแปลงผักเป็นรูปเป็นร่างจริงตอน เมษา 2023 และทดลองปลูกพริก กับตะไคร้แค่ 4 แปลงเท่านั้น ส่วนแปลงที่เหลือ ที่ยังไม่ทำอะไร ก็คลุมฟางไปพลางๆก่อน
ผ่านไปเดือนแรก ดูเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไร หญ้าขึ้นเล็กน้อย พอถอนได้ พริก มีให้เก็บกันสนุกมือ
พอเข้าเดือนที่ 2 หญ้าสูง เต็มทั้งพื้นที่ สูงจนคลุมต้นไม้ที่เราปลูก ทำให้เราไม่สามารถที่จะปลูกพืชต่อไปได้อีก และ ต้องตัดสินใจไถกลบ แปลงผักทั้งผืนไปโดยปริยาย
และถึงแม้ว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลายกิโล แต่เราก็มองเห็นปัญหาอื่นๆ เช่นกัน และ จากประสบการณ์ทดลองปลูกผักครั้งนี้ ทำให้เราต้องกลับมานั่งคิดและ วางแผนหลายๆ อย่างคือ
1. การควบคุมหญ้า
เพราะต่อจากนี้เราสองคนตั้งใจจะทำเกษตรแบบ Regenerative Agriculture หรือ เกษตรฟื้นฟู ซึ่งจะรบกวนดินให้น้อยที่สุด นั่นคือ การไม่ไถพรวน แต่เราเลือกที่จะคลุมแปลงเพื่อควบคุมหญ้าแทน (ใช้ฟางไปแล้ว แต่คลุมหญ้าไม่อยู่จริงๆ) แต่จะปลูกกันยังไงต่อ ต้องกลับไปทำการบ้านอีกเยอะเลยค่ะตอนนี้คลุมแบบนี้ไปก่อน
2.การปลูกผักให้พอกับความต้องการ
การได้ผลผลิตที่มากใช่ว่าจะดี หากเราไม่มีตลาดรองรับแล้ว ผักที่ปลูกก็สูญเปล่า ในตอนแรกตั้งใจปลูกเต็มพื้นที่เพราะคิดว่าคงจะมีความสุขไม่น้อยถ้าได้เก็บผักเยอะๆ แต่เราลืมคิดถึงการขาย เพราะฉะนั้นเราสองคนเลยเปลี่ยนแผนการปลูก เพื่อให้เพียงพอกับการผลิตไส้อั่วก่อน
3. การแปรรูป
ถ้าหากผักที่ปลูกเหลือจากที่ต้องการแล้ว แทนที่เราจะมาเก็บเป็นผักสด ที่อายุการเก็บสั้น เราจะต้องทำการบ้านให้มากขึ้น และแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่นอกเหนือจากไส้อั่ว เพื่อยืดอายุ และ สามารถนำขายต่อไปได้
4. การตลาด
ถึงแม้ว่าจะเคยไปขายที่ตลาดอยู่เป็นปี ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถนำผัก หรือ ผลผลิตจากสวนของเราไปขายได้ เพราะแต่ละตลาดก็จะมีร้านขายผัก ขายอาหารเพื่อสุขภาพ อยู่แล้ว และตลาดส่วนใหญ่ก็ไม่อนุญาตให้ขายของซ้ำกันหลายเจ้า เพราะฉะนั้นการเปิดตลาด การหาช่องทางกระจายสินค้าจึงเป็นเรื่องที่ท้าทาย และ ต้องทำการบ้านอีกเยอะเลยทีเดียว
ถ้าเพื่อนๆ มีคำแนะนำเกี่ยวกับ ช่องทางการแปรรูป การขายผักที่ปลูกเองในปริมาณน้อย แนะนำกันเข้ามาได้นะคะ
แต่สุดท้ายแล้ว ถึงแม้ว่าการลงมือทำบางอย่างจะไม่ได้ผลไปตามที่หวัง อย่างน้อย ก็ถือว่าได้ลอง และ พิสูจน์ด้วยตัวเอง เราสองคนก็ยังคงเดินต่อไปเรื่อยๆ เหมือน 7 ปีที่ผ่านมา
สิ่งที่ได้เรียนรู้ นอกเหนือจากการปลูกผัก @ บ้านต้นแจงสุพรรณบุรี
เราแบ่งสัดส่วนการปลูกพืชตามที่ได้วางแผนไว้แต่แรก ว่าพื้นที่ติดบ่อน้ำ เราจะทำเป็นแปลงผักขนาดใหญ่ และปลูกผักที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำไส้อั่วในอนาคตของเรา แต่เนื่องจากดินในพื้นที่บ้านต้นแจงทั้งหมด เป็นดินถม ที่ไม่มีแม้แต่ความอุดมสมบูรณ์ ไม่มีแร่ธาตุพอที่จะทำให้พืชเจริญเติบโตขึ้นมาได้
ปี 2020 เราเริ่ม ใส่ขี้วัว ให้วัวมากินหญ้า ปลูกปอเทือง ไถกลบปุ๋ยพืชสด เพื่อให้ดินมีธาตุอาหารเพียงพอที่จะปลูกพืช
เพราะมีเวลาไปที่สวนแค่ปีละ 6 ครั้ง ทำให้เราเริ่มต้นปลูกพืชได้ช้า และมัวแต่ทำอย่างอื่น แต่เราได้ไถพรวนดินอยู่หลายคร้ง เพราะหลังจากที่เริ่มลงขี้วัว หญ้าก็ขึ้นมาให้เห็นบ้างแล้ว ต่างจากเมื่อ 3 - 4 ปีก่อน ที่ดินเป็นสีส้มเลยทีเดียว
จนได้ขึ้นแปลงผักเป็นรูปเป็นร่างจริงตอน เมษา 2023 และทดลองปลูกพริก กับตะไคร้แค่ 4 แปลงเท่านั้น ส่วนแปลงที่เหลือ ที่ยังไม่ทำอะไร ก็คลุมฟางไปพลางๆก่อน
ผ่านไปเดือนแรก ดูเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไร หญ้าขึ้นเล็กน้อย พอถอนได้ พริก มีให้เก็บกันสนุกมือ
พอเข้าเดือนที่ 2 หญ้าสูง เต็มทั้งพื้นที่ สูงจนคลุมต้นไม้ที่เราปลูก ทำให้เราไม่สามารถที่จะปลูกพืชต่อไปได้อีก และ ต้องตัดสินใจไถกลบ แปลงผักทั้งผืนไปโดยปริยาย
1. การควบคุมหญ้า
เพราะต่อจากนี้เราสองคนตั้งใจจะทำเกษตรแบบ Regenerative Agriculture หรือ เกษตรฟื้นฟู ซึ่งจะรบกวนดินให้น้อยที่สุด นั่นคือ การไม่ไถพรวน แต่เราเลือกที่จะคลุมแปลงเพื่อควบคุมหญ้าแทน (ใช้ฟางไปแล้ว แต่คลุมหญ้าไม่อยู่จริงๆ) แต่จะปลูกกันยังไงต่อ ต้องกลับไปทำการบ้านอีกเยอะเลยค่ะตอนนี้คลุมแบบนี้ไปก่อน
2.การปลูกผักให้พอกับความต้องการ
การได้ผลผลิตที่มากใช่ว่าจะดี หากเราไม่มีตลาดรองรับแล้ว ผักที่ปลูกก็สูญเปล่า ในตอนแรกตั้งใจปลูกเต็มพื้นที่เพราะคิดว่าคงจะมีความสุขไม่น้อยถ้าได้เก็บผักเยอะๆ แต่เราลืมคิดถึงการขาย เพราะฉะนั้นเราสองคนเลยเปลี่ยนแผนการปลูก เพื่อให้เพียงพอกับการผลิตไส้อั่วก่อน
3. การแปรรูป
ถ้าหากผักที่ปลูกเหลือจากที่ต้องการแล้ว แทนที่เราจะมาเก็บเป็นผักสด ที่อายุการเก็บสั้น เราจะต้องทำการบ้านให้มากขึ้น และแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่นอกเหนือจากไส้อั่ว เพื่อยืดอายุ และ สามารถนำขายต่อไปได้
4. การตลาด
ถึงแม้ว่าจะเคยไปขายที่ตลาดอยู่เป็นปี ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถนำผัก หรือ ผลผลิตจากสวนของเราไปขายได้ เพราะแต่ละตลาดก็จะมีร้านขายผัก ขายอาหารเพื่อสุขภาพ อยู่แล้ว และตลาดส่วนใหญ่ก็ไม่อนุญาตให้ขายของซ้ำกันหลายเจ้า เพราะฉะนั้นการเปิดตลาด การหาช่องทางกระจายสินค้าจึงเป็นเรื่องที่ท้าทาย และ ต้องทำการบ้านอีกเยอะเลยทีเดียว
ถ้าเพื่อนๆ มีคำแนะนำเกี่ยวกับ ช่องทางการแปรรูป การขายผักที่ปลูกเองในปริมาณน้อย แนะนำกันเข้ามาได้นะคะ
แต่สุดท้ายแล้ว ถึงแม้ว่าการลงมือทำบางอย่างจะไม่ได้ผลไปตามที่หวัง อย่างน้อย ก็ถือว่าได้ลอง และ พิสูจน์ด้วยตัวเอง เราสองคนก็ยังคงเดินต่อไปเรื่อยๆ เหมือน 7 ปีที่ผ่านมา