ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 20
ศักดินาในสังคมอยุทธยาถึงรัตนโกสินทร์ เป็นตัวเลขที่ใช้กำหนดสถานะของบุคคลในสังคม ทุกคนในสังคมมีศักดินาหมดตั้งแต่พระราชวงศ์ชั้นสูงลงไปถึงไพร่ทาส เป็นจำนวนตั้งแต่สูงสุด 100,000 ไร่ ลงไปถึงต่ำสุดคือ 5 ไร่ โดยจะมีกฎหมายกำหนดว่าใครสามารถมีศักดินาเท่าไหร่ได้บ้าง ผู้ที่เป็นขุนนางจะต้องมีศักดินา 400 ขึ้นไป
สันนิษฐานว่าเดิมศักดินาอาจเป็นการกำหนดจำนวนที่ดินสูงสุดที่กษัตริย์แบ่งสรรให้ราษฎรถือครองได้ แต่ในเวลาต่อมาเป็นแค่ตัวเลข ไม่ได้สัมพันธ์กับกรรมสิทธิเหนือที่ดินจริงๆ ชนชั้นต่ำสุดอย่างทาส ลูกทาส ยาจก วณิพก ยังมีศักดินา 5 ไร่ ทั้งที่ในทางปฏิบัติไม่น่าสามารถถือครองที่ดินได้มากขนาดนั้น
ศักดินาใช้บอกลำดับการนั่งเฝ้าในท้องพระโรงของข้าราชการ ใช้เป็นฐานคำนวณเบี้ยหวัดข้าราชการ ใช้เป็นฐานกำหนดจำนวนเสมียนทนายที่ผู้มีศักดินา 400 ขึ้นไปสามารถมีได้ ใช้ในการพิจารณาปรับไหมคู่ความในกรณีที่มีข้อพิพาทขึ้นสู่ศาล เช่น เมื่อผู้มีศักดินาสูงกระทำละเมิดผู้มีศักดินาต่ำกว่า จะต้องจ่ายสินไหมชดเชยให้เป็นสัดส่วนตามศักดินาของตน แต่หากผู้มีศักดินาต่ำกระทำละเมิดผู้มีศักดินาสูงกว่า จะต้องจ่ายค่าสินไหมชดเชยตามสัดส่วนศักดินาของคู่กรณีที่มีศักดินาสูงกว่า เมื่อมีคดีความในโรงศาล ผู้มีศักดินา 400 ขึ้นไปสามารถตั้งทนายว่าความแทนตัวได้
บุคคลเดียวในสังคมที่ไม่มีการกำหนดศักดินาคือพระมหากษัตริย์ เพราะถือว่าทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมดในอาณาจักร ซึ่งจะพระราชทานให้ผู้ใดก็ได้ ศักดินาทั้งหมดจึงมาจากการที่พระมหากษัตริย์มอบให้
นาหมื่น เป็นคำที่ใช้เรียกขุนนางผู้ใหญ่ที่มีศักดินา 10,000 ไร่ ซึ่งเป็นจำนวนศักดินาสูงสุดที่ขุนนางสมัยอยุทธยาสามารถมีได้ซึ่งมีน้อยตำแหน่ง อ้างอิงจากพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน และพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง ขุนนางที่มีศักดินา 10,000 ประกอบด้วย (บรรดาศักดิ์ไม่ตายตัว)
อัครมหาเสนาบดี
- เจ้าพระยามหาอุปราชชาติวรวงษองคภักดีบดินทรสุรินทรเดโชไชยมหัยสุริยภักดีแสนอญาธิราช
- เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษสมุหนายกอัครมหาเสนาธิบดีอภัยพิริยปรากรมภาหุ เอกอุ สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน
- เจ้าพระยามหาเสนาบดีวิริยภักดีบดินทรสุรินทรฤๅไชยอภัยพิริยปรากรมภาหุ สมุหพระกลาโหม อัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร
เสนาบดีจตุสดมภ์ ฝ่ายพลเรือน
- ออกพญายมราชอินทราธิบดีศรีวิไชยบริรักโลกากรทัณทะราธรกรมพระนครบาลบดีอภัยพิริยปรากรมภาหุ เสนาบดีกรมพระนครบาล
- ออกพญาธรรมาธิบดีศรีวิริยพงษวงษภักดีบดินทรเดโชไชยมไหยสุริยาธิบดีศรีรัตนมณเฑียรบาลอัครมหาเสนาธิบดีอภัยพิริยปรากรมภาหุ เสนาบดีกรมวัง
- ออกพญาศรีธรรมราชเดชะชาติอำมาตยานุชิตพิพิทรัตนราชโกษาธิบดีอภัยพิริยปรากรมภาหุ เสนาบดีกรมพระคลัง
- ออกพญาพลเทพราชเสนาบดีศรีไชยนพรัตนเกษตราธิบดีอภัยพิริยปรากรมภาหุ เสนาบดีกรมนา
แม่ทัพกรมอาสาหกเหล่า ฝ่ายทหาร
- พระยารามจัตุรงค์ จางวางอาสาหกเหล่า
- ออกพญาศรีราชเดโชไชยอภัยพิริยปรากรมภาหุ เจ้ากรมอาสาเดโชขวา
- ออกพญาศรีราชเดชไชยท้ายน้ำอภัยพิริยปรากรมภาหุ เจ้ากรมอาสาท้ายน้ำซ้าย
ขุนนางพลเรือนนาหมื่นอื่นๆ
- ออกญาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีศรีศุภราชพิริยภาหุ จางวางธรรมการ
- พระมหาราชครูพราหมณ์ในกรมลูกขุน คือ พระมหาราชครูพระครูมหิธรธรรมราชสุภาวดีศรีวิสุทธิคุณวิบูลธรรมวิสุทธิพรมจาริยาธิบดีศรีพุทธาจารย์ และ พระมหาราชครูพระราชประโรหิตาจารย์ราชสุภาวดีศรีบรมหงษองคบุริโสดมพรหมญาณวิบุลสิลสุจริตวิวิทธเวทยพรหมพุทธาจารย์
เจ้าเมืองชั้นเอก
- เจ้าพระยาสุรศรีพิศมาธิราชชาติพัทยาธิเบศวราธิบดีอภัยพิริยปรากรมภาหุ เจ้าเมืองพิษณุโลก เอกอุ
- เจ้าพระยาศรีธรรมราชชาติเดโชไชยมไหยสุริยาธิบดีอภัยพิริยปรากรมภาหุ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
เจ้าเมืองชั้นโท
- ออกญารามราชแสนญาธิบดีศรีสัชนาลัยอภัยพิริยปรากรมภาหุ เจ้าเมืองสวรรคโลก
- ออกญาศรีธรรมโศกราชชาติบดินทรสุรินทรฤๅไชยอภัยพิริยภาหุ เจ้าเมืองสุโขทัย
- ออกญารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริยภาหะ เจ้าเมืองกำแพงเพชร
- ออกญาเพชรรัตนสงครามรามภักดีพิริยภาหะ เจ้าเมืองเพชรบูรณ์
- ออกญากำแหงสงครามรามภักดีพิริยภาหะ เจ้าเมืองนครราชสีมา
- ออกญาไชยยาธิบดีศรีณรงคฤๅไชยอภัยพิริยปรากรมภาหุ เจ้าเมืองตะนาวศรี
เจ้าเมืองตรีได้แก่เมืองพิชัย พิจิตร นครสวรรค์ จันทบูร ไชยา พัทลุง ชุมพร ในกฎหมายตราสามดวงสมัยรัชกาลที่ 1 ระบุว่าศักดินา 5,000 แต่ในพระไอยการเก่าตำแหน่งนาหัวเมืองฉบับอยุทธยาซึ่งกล่าวถึงเจ้าเมืองตรีฝ่ายเหนือคือเมืองพิชัย พิจิตร นครสวรรค์ ว่ามีศักดินา 10,000 จึงอนุมานว่าเดิมเจ้าเมืองตรีเป็นชั้นนาหมื่น แล้วลดลงมาเป็น 5,000 ในสมัยรัชกาลที่ 1
ส่วนพระยารามณรงค์เมืองสองแควพ่อของการะเกด บุพเพสันนิวาสฉบับนิยายไม่ได้ระบุว่าเป็นเจ้าเมืองพิษณุโลกหรือเป็นพระยานาหมื่น คุณรอมแพงอธิบายว่าเป็นเพียงขุนนางจากอยุทธยาที่ถูกส่งไปทำราชการที่เมืองพิษณุโลกเท่านั้นครับ
สันนิษฐานว่าเดิมศักดินาอาจเป็นการกำหนดจำนวนที่ดินสูงสุดที่กษัตริย์แบ่งสรรให้ราษฎรถือครองได้ แต่ในเวลาต่อมาเป็นแค่ตัวเลข ไม่ได้สัมพันธ์กับกรรมสิทธิเหนือที่ดินจริงๆ ชนชั้นต่ำสุดอย่างทาส ลูกทาส ยาจก วณิพก ยังมีศักดินา 5 ไร่ ทั้งที่ในทางปฏิบัติไม่น่าสามารถถือครองที่ดินได้มากขนาดนั้น
ศักดินาใช้บอกลำดับการนั่งเฝ้าในท้องพระโรงของข้าราชการ ใช้เป็นฐานคำนวณเบี้ยหวัดข้าราชการ ใช้เป็นฐานกำหนดจำนวนเสมียนทนายที่ผู้มีศักดินา 400 ขึ้นไปสามารถมีได้ ใช้ในการพิจารณาปรับไหมคู่ความในกรณีที่มีข้อพิพาทขึ้นสู่ศาล เช่น เมื่อผู้มีศักดินาสูงกระทำละเมิดผู้มีศักดินาต่ำกว่า จะต้องจ่ายสินไหมชดเชยให้เป็นสัดส่วนตามศักดินาของตน แต่หากผู้มีศักดินาต่ำกระทำละเมิดผู้มีศักดินาสูงกว่า จะต้องจ่ายค่าสินไหมชดเชยตามสัดส่วนศักดินาของคู่กรณีที่มีศักดินาสูงกว่า เมื่อมีคดีความในโรงศาล ผู้มีศักดินา 400 ขึ้นไปสามารถตั้งทนายว่าความแทนตัวได้
บุคคลเดียวในสังคมที่ไม่มีการกำหนดศักดินาคือพระมหากษัตริย์ เพราะถือว่าทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมดในอาณาจักร ซึ่งจะพระราชทานให้ผู้ใดก็ได้ ศักดินาทั้งหมดจึงมาจากการที่พระมหากษัตริย์มอบให้
นาหมื่น เป็นคำที่ใช้เรียกขุนนางผู้ใหญ่ที่มีศักดินา 10,000 ไร่ ซึ่งเป็นจำนวนศักดินาสูงสุดที่ขุนนางสมัยอยุทธยาสามารถมีได้ซึ่งมีน้อยตำแหน่ง อ้างอิงจากพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน และพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง ขุนนางที่มีศักดินา 10,000 ประกอบด้วย (บรรดาศักดิ์ไม่ตายตัว)
อัครมหาเสนาบดี
- เจ้าพระยามหาอุปราชชาติวรวงษองคภักดีบดินทรสุรินทรเดโชไชยมหัยสุริยภักดีแสนอญาธิราช
- เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษสมุหนายกอัครมหาเสนาธิบดีอภัยพิริยปรากรมภาหุ เอกอุ สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน
- เจ้าพระยามหาเสนาบดีวิริยภักดีบดินทรสุรินทรฤๅไชยอภัยพิริยปรากรมภาหุ สมุหพระกลาโหม อัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร
เสนาบดีจตุสดมภ์ ฝ่ายพลเรือน
- ออกพญายมราชอินทราธิบดีศรีวิไชยบริรักโลกากรทัณทะราธรกรมพระนครบาลบดีอภัยพิริยปรากรมภาหุ เสนาบดีกรมพระนครบาล
- ออกพญาธรรมาธิบดีศรีวิริยพงษวงษภักดีบดินทรเดโชไชยมไหยสุริยาธิบดีศรีรัตนมณเฑียรบาลอัครมหาเสนาธิบดีอภัยพิริยปรากรมภาหุ เสนาบดีกรมวัง
- ออกพญาศรีธรรมราชเดชะชาติอำมาตยานุชิตพิพิทรัตนราชโกษาธิบดีอภัยพิริยปรากรมภาหุ เสนาบดีกรมพระคลัง
- ออกพญาพลเทพราชเสนาบดีศรีไชยนพรัตนเกษตราธิบดีอภัยพิริยปรากรมภาหุ เสนาบดีกรมนา
แม่ทัพกรมอาสาหกเหล่า ฝ่ายทหาร
- พระยารามจัตุรงค์ จางวางอาสาหกเหล่า
- ออกพญาศรีราชเดโชไชยอภัยพิริยปรากรมภาหุ เจ้ากรมอาสาเดโชขวา
- ออกพญาศรีราชเดชไชยท้ายน้ำอภัยพิริยปรากรมภาหุ เจ้ากรมอาสาท้ายน้ำซ้าย
ขุนนางพลเรือนนาหมื่นอื่นๆ
- ออกญาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีศรีศุภราชพิริยภาหุ จางวางธรรมการ
- พระมหาราชครูพราหมณ์ในกรมลูกขุน คือ พระมหาราชครูพระครูมหิธรธรรมราชสุภาวดีศรีวิสุทธิคุณวิบูลธรรมวิสุทธิพรมจาริยาธิบดีศรีพุทธาจารย์ และ พระมหาราชครูพระราชประโรหิตาจารย์ราชสุภาวดีศรีบรมหงษองคบุริโสดมพรหมญาณวิบุลสิลสุจริตวิวิทธเวทยพรหมพุทธาจารย์
เจ้าเมืองชั้นเอก
- เจ้าพระยาสุรศรีพิศมาธิราชชาติพัทยาธิเบศวราธิบดีอภัยพิริยปรากรมภาหุ เจ้าเมืองพิษณุโลก เอกอุ
- เจ้าพระยาศรีธรรมราชชาติเดโชไชยมไหยสุริยาธิบดีอภัยพิริยปรากรมภาหุ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
เจ้าเมืองชั้นโท
- ออกญารามราชแสนญาธิบดีศรีสัชนาลัยอภัยพิริยปรากรมภาหุ เจ้าเมืองสวรรคโลก
- ออกญาศรีธรรมโศกราชชาติบดินทรสุรินทรฤๅไชยอภัยพิริยภาหุ เจ้าเมืองสุโขทัย
- ออกญารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริยภาหะ เจ้าเมืองกำแพงเพชร
- ออกญาเพชรรัตนสงครามรามภักดีพิริยภาหะ เจ้าเมืองเพชรบูรณ์
- ออกญากำแหงสงครามรามภักดีพิริยภาหะ เจ้าเมืองนครราชสีมา
- ออกญาไชยยาธิบดีศรีณรงคฤๅไชยอภัยพิริยปรากรมภาหุ เจ้าเมืองตะนาวศรี
เจ้าเมืองตรีได้แก่เมืองพิชัย พิจิตร นครสวรรค์ จันทบูร ไชยา พัทลุง ชุมพร ในกฎหมายตราสามดวงสมัยรัชกาลที่ 1 ระบุว่าศักดินา 5,000 แต่ในพระไอยการเก่าตำแหน่งนาหัวเมืองฉบับอยุทธยาซึ่งกล่าวถึงเจ้าเมืองตรีฝ่ายเหนือคือเมืองพิชัย พิจิตร นครสวรรค์ ว่ามีศักดินา 10,000 จึงอนุมานว่าเดิมเจ้าเมืองตรีเป็นชั้นนาหมื่น แล้วลดลงมาเป็น 5,000 ในสมัยรัชกาลที่ 1
ส่วนพระยารามณรงค์เมืองสองแควพ่อของการะเกด บุพเพสันนิวาสฉบับนิยายไม่ได้ระบุว่าเป็นเจ้าเมืองพิษณุโลกหรือเป็นพระยานาหมื่น คุณรอมแพงอธิบายว่าเป็นเพียงขุนนางจากอยุทธยาที่ถูกส่งไปทำราชการที่เมืองพิษณุโลกเท่านั้นครับ
แสดงความคิดเห็น
กูก็ลูกพระยานาหมื่น อยากถามว่า ลูกพระน้ำพระยาสมัยก่อนมีนาเป็นหมื่นไร่เชียวฤ