ถามเรื่องพระเจ้าตาก(อีกครั้ง)

กระทู้คำถาม
ยังข้องใจเกี่ยวกับเรื่องราวพระเจ้าตาก  ขออนุญาต คุณ 844661 คัดเอาข้อความของท่านที่กล่าวว่า

"......ถามว่ากรมหมื่นเทพพิพิธ นี่โดนพระเจ้าตากสั่งประหารด้วยความผิดข้อหาอะไร? เพียงแค่ไม่สวามิภักดิ์ก็โดนประหาร ทั้งที่เป็นเชื้อสายของกษัตริย์อยุธยา ยังมีขุนนางอยุธยาหลายคนที่โดนแกสั่งประหาร

แล้วอย่าง ร.1 ตอนเป็นพระยาจักรีเองซึ่งเคยรับราชการเป็นมหาดเล็กในสมัยพระเจ้าอุทุมพร คิดว่าพระเจ้าตากยังจะไว้ใจหรอ? เดี๋ยวไม่แน่พระยาจักรีอาจโดนสั่งประหารเช่นเดียวกับกรมหมื่นเทพพิพิธ แล้วคนรอบตัวพระเจ้าตากหลายคนก็เดือดร้อนเพราะพระเจ้าตากมาแล้ว อย่างเจ้ากาวิละนี่ก็เคยโดนพระเจ้าตากสั่งลงโทษ สั่งเฆี่ยนและตัดขอบหูประจาน เพราะสั่งลงโทษทหารของพระเจ้าตากที่ไปก่อเรื่องในเมืองล้านนา ทางล้านนาเลยเลือกที่อยู่ฝ่ายราชวงศ์จักรีมากกว่าพระเจ้าตาก....."

สรุปว่า มีผู้ยืนยันว่าพระญาติหรือเชิ้อสายพระองค์ยังมีอยู่  แต่ผมยังสงสัยอยู่อีกว่า
1. แสดงว่าก่อนผลัดแผ่นดินมีการแบ่งแยกเลือกข้างชัดแจ้งระหว่างขุนนางฝ่ายพระเจ้าตาก และสมเด็จร. 1  มีการปราบปรามฆ่าฟันฝ่ายตรงกันข้ามแสดงว่าการผลัดแผ่นดินไม่ได้ราบรื่น ใช่ไหม

2. นั่นเป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ตอนนึ่งของชาติ  แต่จำเป็นไหมที่ในสมัยนี้ การจะเปลี่ยนรัฐบาลยังต้องห้ำหั่นเข่นฆ่ากันอยู่อีก  ทำไมการเมืองการปกครองของไทยไม่ได้พัฒนาไปถึงไหนเลย
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้วิเคราะห์ว่า การที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงประกอบพระราชกรณียกิจแปลกไปจากพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทำให้พระองค์ทรงถูกมองว่าไม่เคารพต่อขนบธรรมเนียมดั้งเดิม[11] และได้รับการต่อต้านจากกลุ่มชนชั้นสูง ข่าวลือการเสียพระสติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีถูกแพร่ออกไปเพื่อสร้างประโยชน์ทางการเมืองให้กับกลุ่มผู้ต้องการโค่นล้มพระองค์จากพระราชอำนาจ[12] กลุ่มชนชั้นสูง (ไม่รวมราษฎรสามัญ) ได้รับความเดือดร้อนจากความประพฤติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี[11] พระองค์ยังได้สร้างความไม่ประทับใจให้กับฝ่ายของพระองค์เองอีกด้วย[5] ท้ายที่สุดแล้วสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ไม่สามารถรักษาพระราชอำนาจต่อไปได้ กลุ่มที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางภายใต้การนำของพระยาจักรีได้ก่อรัฐประหาร[13]

ในบทความ "ชำแหละแผนยึดกรุงธนบุรี" เขียนโดยปรามินทร์ เครือทอง ได้ลำดับเหตุการณ์การรัฐประหารไว้ว่า:

แผนรัฐประหารเริ่มขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2324 ระหว่างการปราบปรามจลาจลในเขมร สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทราบข่าวความไม่ปกติในกรุงธนบุรี จึงให้พระยาสุริยอภัยผู้หลานมาคอยฟังเหตุการณ์อยู่ที่เมืองนครราชสีมา[14] เวลาเดียวกัน สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ลอบทำสัญญากับแม่ทัพญวน ฝ่ายแม่ทัพญวนก็ให้กองทัพญวน-เขมรนั้นล้อมกองทัพกรมขุนอินทรพิทักษ์ไว้[15]



แรมเดือน 4 พ.ศ. 2325 ขุนแก้ว น้องพระยาสรรค์, นายบุนนาค นายบ้านในเขตกรุงเก่า และขุนสุระ นายทองเลกทองนอก ทั้งสามได้คิดก่อการปฏิวัติขึ้น โดยรวบรวมกำลังพลจำนวนหนึ่งไปสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และถวายราชสมบัติให้แก่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ฝ่ายเจ้าเมืองอยุธยา พระอินทรอภัย หนีรอดมาได้ กราบบังคบทูลต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์จึงให้พระยาสรรค์ขึ้นไปปราบ แต่ภายหลังได้กลายเป็นแม่ทัพยกมาตีกรุงธนบุรี[16]

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2325 ทัพพระยาสรรค์ได้เข้าล้อมกำแพงพระนคร รบกับกองทัพซึ่งรักษาเมืองจนถึงเช้า ครั้นรุ่งเช้า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีบัญชาให้หยุดรบ พระยาสรรค์ก็ถวายพระพรให้ผนวช[17] สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงออกผนวชเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2325 วันรุ่งขึ้น พระยาสรรค์ก็ออกว่าราชการชั่วคราว

แต่มาภายหลัง พระยาสรรค์ได้ปล่อยตัวกรมขุนอนุรักษ์สงครามมาช่วยกันรบป้องกันพระนครจากกองทัพพระยาสุริยอภัย[18] ทั้งสองทัพรบกันเมื่อราว 2-3 เมษายน พ.ศ. 2325 พระยาสรรค์และกรมอนุรักษ์สงครามแตกพ่ายไป[19] จนเมื่อถึงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ยกทัพมาถึงกรุงธนบุรี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่