ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 6
หลักฐานประวัติศาสตร์จำนวนมากระบุตรงกันว่าทรงถูกสำเร็จโทษโดยรัชกาลที่ ๑ เมื่อผลัดแผ่นดินครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่เขียนอย่างเป็นทางการและไม่ได้มีการปิดบังซ่อนเร้นใดๆ เลย
พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ที่ชำระใน พ.ศ. ๒๓๓๘ สมัยรัชกาลที่ ๑ ระบุไว้แค่สั้นๆ ว่า
"จึงมีพระราชบริหารดำรัสปรึกษาว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินอาสัจละสุจริตธรรมเสีย ประพฤติการทุจริตฉะนี้ ก็เห็นว่าเป็นเสี้ยนหนามหลักตออันใหญ่อยู่ในแผ่นดิน จะละไว้มิได้ ขอให้ปริวัตรออกประหารเสีย ฝ่ายทแกล้วทหารทั้งปวงมีใจเจ็บแค้นเป็นอันมาก ก็นำเอาพระเจ้าแผ่นดินและพวกโจทก์ทั้งปวงนั้นไปสำเร็จณป้อมท้ายเมืองในทันใดนั้น"
พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อยังทรงเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกใน พ.ศ. ๒๓๕๐ มีเนื้อหาไม่ต่างจากฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) เพียงแค่ขยายความเล็กน้อยระบุว่า
"จึ่งมีพระราชบริหารดำหรัสปฤกษาว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดีนเปนอะสัจ อะธรรม ดังนี้แล้ว ท่านทั้งปวงจคิดประการใด มุขมลตรีทั้งปวงพร้อมกันทูลว่า พระเจ้าแผ่นดีนละสัจสุจริตธรรมเสีย ประพฤทกันทุจ์ริต ฉนีก็เหนว่า เสยี่น้หนามลักต่ออันไหญ่อยู่ในแผ่นดีนจะละไว้หมีได้ ฃอให้บริวัดออกหานเสีย ผ์่ายทแกล้วทหารทั้งปวงมีใจเจ็บแค้นเปนอันมาก ก็นำเอาพระเจ้าแผ่นดิน แลพวกโจทก์ทั้งปวงนั้นไปสำเรจ์โทษ ณป้อมท้ายเมืองในทันใดนั้น"
จดหมายเหตุบาทหลวงฝรั่งเศสคณะมิสซังต่างประเทศ คือ จดหมายเหตุของมองซิเออร์เดอคูร์วิแยร์ ลงวันที่ ๒๑ เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๗๘๒ (พ.ศ. ๒๓๒๕) อ้างว่าได้ข้อมูลจาก "จดหมายที่มีผู้เขียนมาถึงข้าพเจ้าจากเมืองไทยบ้าง ได้ทราบมาจาก ข้าราชการไทยคน ๑ กับคนเข้ารีดคน ๑ ซึ่งได้มาพักอยู่ที่นี่ได้ เดือน ๑ แล้วบ้าง"
"ต่อมาข้าพเจ้าได้รับจดหมายมาอีกฉบับ ๑ บอกข่าวมาโดยเฉพาะว่า มีเสียงกล่าวกันว่าพระเจ้าตากต้องสวรรคตลงนั้น เปนเพราะราษฎรมีความโกรธแค้นนัก จึงได้จับพระเจ้าตากฆ่าเสีย แต่พระเจ้าตากจะสวรรคตด้วยประการใดก็ตาม ก็เปนอันแน่นอนว่าพระเจ้าตากได้ถูกปลงพระชนม์สวรรคต เมื่อวันที่ ๗ เดือนเมษายน ค.ศ. ๑๗๘๒ (พ.ศ. ๒๓๒๕) "
ลำดับกษัตริย์กรุงเก่าคำฉันท์ งานนิพนธ์ของพระยาทัศดาจตุรงค์ ข้าราชการในกรมพระราชวังหลัง ระบุว่า ราษฎรก่อการยึดเมือง พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยอมแพ้ บรรดาท้าวพระยาราษฎรทั้งหลายจับพระเจ้ากรุงธนบุรีพันธานาใส่สังขลิกโบยตี เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จกลับมาจากกัมพูชา จึงระบุถึงการสวรรคตของพระเจ้ากรุงธนบุรีไว้สั้นๆ ว่า
๏ เกิดวิกลดลจิตรปัจจุบัน ท้าวดับชีวัน
ผ่านภพได้สิบห้าปี
สำเนาเรื่องตั้งเรื่องตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ( พัฒน์ ) พ.ศ. ๒๓๒๖ ระบุว่า
"พระยาตากสินได้ว่าราชการแผ่นดินครั้งนั้น กอบไปด้วยโมหะโลภะ มิได้ประพฤติการให้ชอบโดยขนบบุราณ ตั้งให้เปนถึงเจ้านคร มีอรรคมหาเสนาจัตุสดมภ์ มหาดเล็ก ต้องชื่อข้าเฝ้าเทียมพระเจ้าอยู่หัว จะสั่งกิจราชการบัตรหมายประการใดกว่ารับสั่ง ดุจดังอนุวงษ์ราชวงษ์ถึงอนุวงษ์ราชวงษ์ก็ดี มีแต่รับสั่ง ตั้งแต่เจ้ากรมปลัดกรมหลวงขุนหมื่นนายเวรปลัดเวร หามีเสนาบดีเหมือนดังนี้ไม่ ซึ่งตั้งให้พระปลัดเปนเจ้านั้นผิดประเพณีแต่ปางก่อน ฝ่ายผู้ตั้งผู้แต่งประพฤติการผิดต่าง ๆ มิได้เปนยุติธรรม ฉ้อไพร่ฟ้าประชากร ๆ ประนอมพร้อมกันจับประหารชีวิตรเสียแล้ว"
จดหมายเหตุโหร ระบุว่าในปีขาล จ.ศ.๑๑๔๔ "ณวัน ๖ ฯ๘ ๕ ค่ำ พระพุทธยอดฟ้าได้ราชสมบัติปราบดาภิเศก ชนมายุ ๔๕ ปีกับ ๑ เดือน กับ ๔ วัน ณวัน ๔ ฯ๑๓ ๕ ค่ำ เจ้าตากดับขันธ์ ชนมายุ ๔๗ ปี กับ ๑๕ วัน"
อย่างไรก็ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีถูกสำเร็จโทษด้วยวิธีการใด เพิ่งมาปรากฏครั้งแรกในพระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ที่มีบานแพนกระบุว่าสมเด็จพระวันรัตน์ในรัชกาลที่ ๑ และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงชำระซึ่งขยายความจากพงศาวดารฉบับเก่าๆ ระบุว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงถูก "ตัดศีศะ" ครับ
"จึ่งตรัสปฤกษาด้วยมุขมนตรีทั้งหลายว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเปนอาสัจอาธรรมดั่งนี้แล้ว ท่านทั้งปวงจะคิดอ่านประการใด มุขมนตรีทั้งหลายพร้อมกันกราบทูลว่า พระเจ้าแผ่นดินละสุจริตธรรมเสีย ประพฤทธิการทุจริตฉะนี้ ก็เหนว่าเปนเสี้ยนหนามหลักตออันใหญ่อยู่ในแผ่นดิน จะละไว้มิได้ควรจะให้สำเรจ์โทษเสีย จึ่งรับสั่งให้มีกระทู้ถามจ้าวตากสินจ้าวแผ่นดินผู้ทุจริตว่า ตัวเปนจ้าวแผ่นดินใช้เราไปกระทำการสงคราม ได้ความลำบากกินเหื่อต่างน้ำ เราก็อุสาหกระทำศึกมิได้อาไลแก่ชีวิตร คิดแต่จะทำนุกบำรุงแผ่นดินให้สิ้นเสี้ยนหนาม จะให้สมณะพราหมณาจาริย์แลไพร่ฟ้าประชากรให้อยู่เยนเปนศุขสิ้นด้วยกัน ก็เหตุไฉนอยู่พายหลังตัวจึ่งเอาบุตรภรรยาเรามาจองจำทำโทษ แล้วโบยตีพระภิกษุสงฆ์ แลลงโทษแก่ข้าราชการ แลอณาประชาราษฐ เร่งรัดเอาทรัพย์สีนโดยพะละการ ด้วยหาความผิดมิได้ กระทำให้แผ่นดินเดือดร้อนทุกเส้นหญ้า ทั้งพระพุทธศาสนาก็เสื่อมทรุดเศร้าหมอง ดุจเมืองมิจฉาทฤษฐิฉะนี้ โทษตัวจะมีประการใดจงให้การไปให้แจ้ง แลจ้าวตากสินก็รับผิดทั้งสิ้นทุกประการ จึ่งมีรับสั่งให้เอาไปประหารชีวิตรสำเรจ์โทษเสีย เพชฆาฎกับผู้คุมก็ลากเอาตัวขึ้นแคร่หามไปกับทั้งสังขลิกพันธนาการ จ้าวตากสินจึ่งว่าแก่ผู้คุมเพชฌฆาฎว่า ตัวเราก็สิ้นบุญจะถึงที่ตายแล้วช่วยภาเราแวะเข้าไปหาท่านผู้สำเรจ์ราชการจะขอเจรจาด้วยสักสองสามคำ ผู้คุมก็ให้หามเข้ามา ได้ทอดพระเนตรเหน จึ่งโบกพระหัตถ์มิให้นำเฝ้า ผู้คุมแลเพชฆาฎหามออกไปนอกพระราชวัง ถึงหน้าป้อมวิไชยประสิทธ์ก็ประหารชีวิตรตัดศีศะเสีย ถึงแก่พิราไลย จึ่งรับสั่งให้เอาศภไปฝังไว้ ณะ วัดบางญิเรือใต้ แลจ้าวตากสินขณะเมื่อสิ้นบุญถึงทำลายชีพนั้นอายุศม์ได้สี่สิบแปดปี"
พงศาวดารฉบับอื่นที่ชำระหลังจากนี้ เช่น พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ยึดถือเนื้อหาตามฉบับสมเด็จพระพนรัตน์
ส่วนที่อ้างว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ได้ทรงถูกสำเร็จโทษบ้าง มีตัวตายตัวแทนบ้าง หรือหนีไปอยู่เมืองนครศรีธรรมราชบ้าง เพิ่งปรากฏในวรรณกรรมยุคหลัง พ.ศ. ๒๔๗๕ เท่านั้น เช่น "ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน" รวมเรื่องสั้นอิงประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการ เขียนขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๙๒ กับหนังสืออีกหลายเล่มที่ไม่ได้มีการอ้างอิงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แต่ยึดโยงกับเรื่องเหนือธรรมชาติเช่นอ้างอิงข้อมูลจากผู้มีญาณหรือการนั่งทางใน เช่น "ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน" เขียนโดย ภิกษุณีโพธิสัตว์ วรมัย กบิลสิงห์ "ความหลงในความสงสาร" ของ สุทัสสา อ่อนค้อม ฯลฯ ครับ
พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ที่ชำระใน พ.ศ. ๒๓๓๘ สมัยรัชกาลที่ ๑ ระบุไว้แค่สั้นๆ ว่า
"จึงมีพระราชบริหารดำรัสปรึกษาว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินอาสัจละสุจริตธรรมเสีย ประพฤติการทุจริตฉะนี้ ก็เห็นว่าเป็นเสี้ยนหนามหลักตออันใหญ่อยู่ในแผ่นดิน จะละไว้มิได้ ขอให้ปริวัตรออกประหารเสีย ฝ่ายทแกล้วทหารทั้งปวงมีใจเจ็บแค้นเป็นอันมาก ก็นำเอาพระเจ้าแผ่นดินและพวกโจทก์ทั้งปวงนั้นไปสำเร็จณป้อมท้ายเมืองในทันใดนั้น"
พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อยังทรงเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกใน พ.ศ. ๒๓๕๐ มีเนื้อหาไม่ต่างจากฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) เพียงแค่ขยายความเล็กน้อยระบุว่า
"จึ่งมีพระราชบริหารดำหรัสปฤกษาว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดีนเปนอะสัจ อะธรรม ดังนี้แล้ว ท่านทั้งปวงจคิดประการใด มุขมลตรีทั้งปวงพร้อมกันทูลว่า พระเจ้าแผ่นดีนละสัจสุจริตธรรมเสีย ประพฤทกันทุจ์ริต ฉนีก็เหนว่า เสยี่น้หนามลักต่ออันไหญ่อยู่ในแผ่นดีนจะละไว้หมีได้ ฃอให้บริวัดออกหานเสีย ผ์่ายทแกล้วทหารทั้งปวงมีใจเจ็บแค้นเปนอันมาก ก็นำเอาพระเจ้าแผ่นดิน แลพวกโจทก์ทั้งปวงนั้นไปสำเรจ์โทษ ณป้อมท้ายเมืองในทันใดนั้น"
จดหมายเหตุบาทหลวงฝรั่งเศสคณะมิสซังต่างประเทศ คือ จดหมายเหตุของมองซิเออร์เดอคูร์วิแยร์ ลงวันที่ ๒๑ เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๗๘๒ (พ.ศ. ๒๓๒๕) อ้างว่าได้ข้อมูลจาก "จดหมายที่มีผู้เขียนมาถึงข้าพเจ้าจากเมืองไทยบ้าง ได้ทราบมาจาก ข้าราชการไทยคน ๑ กับคนเข้ารีดคน ๑ ซึ่งได้มาพักอยู่ที่นี่ได้ เดือน ๑ แล้วบ้าง"
"ต่อมาข้าพเจ้าได้รับจดหมายมาอีกฉบับ ๑ บอกข่าวมาโดยเฉพาะว่า มีเสียงกล่าวกันว่าพระเจ้าตากต้องสวรรคตลงนั้น เปนเพราะราษฎรมีความโกรธแค้นนัก จึงได้จับพระเจ้าตากฆ่าเสีย แต่พระเจ้าตากจะสวรรคตด้วยประการใดก็ตาม ก็เปนอันแน่นอนว่าพระเจ้าตากได้ถูกปลงพระชนม์สวรรคต เมื่อวันที่ ๗ เดือนเมษายน ค.ศ. ๑๗๘๒ (พ.ศ. ๒๓๒๕) "
ลำดับกษัตริย์กรุงเก่าคำฉันท์ งานนิพนธ์ของพระยาทัศดาจตุรงค์ ข้าราชการในกรมพระราชวังหลัง ระบุว่า ราษฎรก่อการยึดเมือง พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยอมแพ้ บรรดาท้าวพระยาราษฎรทั้งหลายจับพระเจ้ากรุงธนบุรีพันธานาใส่สังขลิกโบยตี เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จกลับมาจากกัมพูชา จึงระบุถึงการสวรรคตของพระเจ้ากรุงธนบุรีไว้สั้นๆ ว่า
๏ เกิดวิกลดลจิตรปัจจุบัน ท้าวดับชีวัน
ผ่านภพได้สิบห้าปี
สำเนาเรื่องตั้งเรื่องตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ( พัฒน์ ) พ.ศ. ๒๓๒๖ ระบุว่า
"พระยาตากสินได้ว่าราชการแผ่นดินครั้งนั้น กอบไปด้วยโมหะโลภะ มิได้ประพฤติการให้ชอบโดยขนบบุราณ ตั้งให้เปนถึงเจ้านคร มีอรรคมหาเสนาจัตุสดมภ์ มหาดเล็ก ต้องชื่อข้าเฝ้าเทียมพระเจ้าอยู่หัว จะสั่งกิจราชการบัตรหมายประการใดกว่ารับสั่ง ดุจดังอนุวงษ์ราชวงษ์ถึงอนุวงษ์ราชวงษ์ก็ดี มีแต่รับสั่ง ตั้งแต่เจ้ากรมปลัดกรมหลวงขุนหมื่นนายเวรปลัดเวร หามีเสนาบดีเหมือนดังนี้ไม่ ซึ่งตั้งให้พระปลัดเปนเจ้านั้นผิดประเพณีแต่ปางก่อน ฝ่ายผู้ตั้งผู้แต่งประพฤติการผิดต่าง ๆ มิได้เปนยุติธรรม ฉ้อไพร่ฟ้าประชากร ๆ ประนอมพร้อมกันจับประหารชีวิตรเสียแล้ว"
จดหมายเหตุโหร ระบุว่าในปีขาล จ.ศ.๑๑๔๔ "ณวัน ๖ ฯ๘ ๕ ค่ำ พระพุทธยอดฟ้าได้ราชสมบัติปราบดาภิเศก ชนมายุ ๔๕ ปีกับ ๑ เดือน กับ ๔ วัน ณวัน ๔ ฯ๑๓ ๕ ค่ำ เจ้าตากดับขันธ์ ชนมายุ ๔๗ ปี กับ ๑๕ วัน"
อย่างไรก็ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีถูกสำเร็จโทษด้วยวิธีการใด เพิ่งมาปรากฏครั้งแรกในพระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ที่มีบานแพนกระบุว่าสมเด็จพระวันรัตน์ในรัชกาลที่ ๑ และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงชำระซึ่งขยายความจากพงศาวดารฉบับเก่าๆ ระบุว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงถูก "ตัดศีศะ" ครับ
"จึ่งตรัสปฤกษาด้วยมุขมนตรีทั้งหลายว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเปนอาสัจอาธรรมดั่งนี้แล้ว ท่านทั้งปวงจะคิดอ่านประการใด มุขมนตรีทั้งหลายพร้อมกันกราบทูลว่า พระเจ้าแผ่นดินละสุจริตธรรมเสีย ประพฤทธิการทุจริตฉะนี้ ก็เหนว่าเปนเสี้ยนหนามหลักตออันใหญ่อยู่ในแผ่นดิน จะละไว้มิได้ควรจะให้สำเรจ์โทษเสีย จึ่งรับสั่งให้มีกระทู้ถามจ้าวตากสินจ้าวแผ่นดินผู้ทุจริตว่า ตัวเปนจ้าวแผ่นดินใช้เราไปกระทำการสงคราม ได้ความลำบากกินเหื่อต่างน้ำ เราก็อุสาหกระทำศึกมิได้อาไลแก่ชีวิตร คิดแต่จะทำนุกบำรุงแผ่นดินให้สิ้นเสี้ยนหนาม จะให้สมณะพราหมณาจาริย์แลไพร่ฟ้าประชากรให้อยู่เยนเปนศุขสิ้นด้วยกัน ก็เหตุไฉนอยู่พายหลังตัวจึ่งเอาบุตรภรรยาเรามาจองจำทำโทษ แล้วโบยตีพระภิกษุสงฆ์ แลลงโทษแก่ข้าราชการ แลอณาประชาราษฐ เร่งรัดเอาทรัพย์สีนโดยพะละการ ด้วยหาความผิดมิได้ กระทำให้แผ่นดินเดือดร้อนทุกเส้นหญ้า ทั้งพระพุทธศาสนาก็เสื่อมทรุดเศร้าหมอง ดุจเมืองมิจฉาทฤษฐิฉะนี้ โทษตัวจะมีประการใดจงให้การไปให้แจ้ง แลจ้าวตากสินก็รับผิดทั้งสิ้นทุกประการ จึ่งมีรับสั่งให้เอาไปประหารชีวิตรสำเรจ์โทษเสีย เพชฆาฎกับผู้คุมก็ลากเอาตัวขึ้นแคร่หามไปกับทั้งสังขลิกพันธนาการ จ้าวตากสินจึ่งว่าแก่ผู้คุมเพชฌฆาฎว่า ตัวเราก็สิ้นบุญจะถึงที่ตายแล้วช่วยภาเราแวะเข้าไปหาท่านผู้สำเรจ์ราชการจะขอเจรจาด้วยสักสองสามคำ ผู้คุมก็ให้หามเข้ามา ได้ทอดพระเนตรเหน จึ่งโบกพระหัตถ์มิให้นำเฝ้า ผู้คุมแลเพชฆาฎหามออกไปนอกพระราชวัง ถึงหน้าป้อมวิไชยประสิทธ์ก็ประหารชีวิตรตัดศีศะเสีย ถึงแก่พิราไลย จึ่งรับสั่งให้เอาศภไปฝังไว้ ณะ วัดบางญิเรือใต้ แลจ้าวตากสินขณะเมื่อสิ้นบุญถึงทำลายชีพนั้นอายุศม์ได้สี่สิบแปดปี"
พงศาวดารฉบับอื่นที่ชำระหลังจากนี้ เช่น พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ยึดถือเนื้อหาตามฉบับสมเด็จพระพนรัตน์
ส่วนที่อ้างว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ได้ทรงถูกสำเร็จโทษบ้าง มีตัวตายตัวแทนบ้าง หรือหนีไปอยู่เมืองนครศรีธรรมราชบ้าง เพิ่งปรากฏในวรรณกรรมยุคหลัง พ.ศ. ๒๔๗๕ เท่านั้น เช่น "ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน" รวมเรื่องสั้นอิงประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการ เขียนขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๙๒ กับหนังสืออีกหลายเล่มที่ไม่ได้มีการอ้างอิงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แต่ยึดโยงกับเรื่องเหนือธรรมชาติเช่นอ้างอิงข้อมูลจากผู้มีญาณหรือการนั่งทางใน เช่น "ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน" เขียนโดย ภิกษุณีโพธิสัตว์ วรมัย กบิลสิงห์ "ความหลงในความสงสาร" ของ สุทัสสา อ่อนค้อม ฯลฯ ครับ
แสดงความคิดเห็น
อยากทราบประวัติศาสตร์ช่วงพระเจ้าตาก ว่าสวรรคตอย่างไร
อยากทราบว่ามีหลักฐานเรื่องการเสด็จสวรรคตพระเจ้าตาก ที่น่าเชื่อถือว่าอย่างไรบ้างคับ