นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ หรือ ซุปเปอร์บอร์ดระบบสุขภาพกำชับการทำงานและยินดีความสำเร็จในการนำร่องนโยบายยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) ซึ่งจะเปิดให้ประชาชน "ใช้บัตรประชาชนใบเดียว" เข้ารับการรักษาได้ในสถานพยาบาลทุกเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน โดยจะเริ่มใช้งานในวันที่ 8 มกราคม 2567 นี้ ซึ่งได้คัดเลือก 4 จังหวัดนำร่องแล้ว ได้แก่ แพร่ เพชรบุรี ร้อยเอ็ด และนราธิวาส
โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า สำหรับการให้บริการที่จะเริ่มนำร่อง ตามมติของคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ มีทั้งหมด 5 บริการ ประกอบด้วย
1. การใช้บัตรประชาชนใบเดียวในการรับบริการได้ทุกที่โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัวด้วยปัจจุบันเทคโนโลยีสามารถเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ การเขียนใบส่งตัวจึงไม่จำเป็น ซึ่งขณะนี้ สปสช. อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมของระบบข้อมูล และคาดว่าจะแล้วเสร็จเร็ว ๆ นี้
2.การรักษามะเร็งครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเด็ก การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม หากตรวจพบก็จะถูกส่งต่อเข้ารับการรักษาต่อไป
3.การเข้าถึงบริการในเขตเมือง โดยเฉพาะ กทม. โดยได้ทยอยเพิ่มหน่วยบริการ เช่น แขวงทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง ซึ่งเป็นจุดที่หน่วยบริการยังมีน้อย รวมทั้งการประสานร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยเชิญเอกชนเข้ามาร่วมให้บริการมากขึ้น ทั้งร้านยา แลปเอกชน คลินิกทันตกรรม คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกพยาบาล
4.สถานชีวาภิบาล หรือการดูแลระยะสุดท้าย ซึ่งเดิมจะดูแลในโรงพยาบาล แต่พบว่ามีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ประสงค์อยากกลับไปพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน ซึ่งการดูแลระยะท้ายจะต้องดูแลโดยมีหลักวิชาการ ทั้งด้านแพทยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยจะบูรณาการความร่วมมือทั้งหน่วยงานทางสังคม เช่น วัดในชุมชน ร่วมกับโรงพยาบาล
5.การดูแลสุขภาพจิต ซึ่งจะมีการพัฒนาและขับเคลื่อนลงไปในระดับชุมชน ขณะเดียวกัน สปสช. มีสายด่วน 1330 อยู่เดิม ซึ่งเป็นตัวกลางในการประสานงาน รวมทั้งมีช่องทางเฟสบุ๊ก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ Line OA สปสช.
ความคืบหน้าการทำงานทั้งหมดนี้คืบหน้าแล้วกว่า 80% หลังจากทดลองระบบในรอบแรก และจะมีการทดลองระบบเป็นระยะ ๆ อีกครั้งในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2566 ซึ่งจะมีการพิจารณาถึงระยะที่ 2 เพื่อให้จังหวัดอื่น ๆ ได้ทดลองใช้บริการ ซึ่งผลจากการนำร่องของ 4 จังหวัดแรก ได้สะท้อนข้อมูลจากของประชาชนที่มาใช้บริการ อาทิ ความสะดวกของประชาชน พฤติกรรม และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทำให้การนำร่องในระยะที่ 2 มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติคาดว่า ระบบข้อมูลทั้งระบบต้องเสร็จสมบูรณ์ภายใน 1 ปี โดยจะเกิดการเชื่อมต่อข้อมูลแบบไร้รอยต่อทุกสังกัด บัตรประชาชนใบเดียวสามารถรักษาได้ทุกที่และทั่วประเทศ ขณะที่สิทธิการรักษาอื่น ๆ ทั้งประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการ จะมีการหารือกับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกรมบัญชีกลางให้พิจารณาต่อไป
"นายกฯ ให้ความสำคัญกับระบบการดูแลด้านสุขภาพเพื่อประชาชนทุกคน เชื่อว่าหลักประกันสุขภาพเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้ประชาชน และต้องการบริหาร พัฒนาการบริการให้มีศักยภาพและครอบคลุมมากขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ใช้บัตรประชาชนใบเดียวแต่สามารถรักษาทุกโรค โดยเชื่อมั่นว่า จะพัฒนานโยบายนี้ให้สำเร็จต่อยอดอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อความมั่นคงทางสุขภาพของพี่น้องประชาชนชาวไทย" นายสัตวแพทย์ชัย โฆษกรัฐบาล กล่าว
ที่มา บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกโรคทุกที่ พร้อมใช้ 8 ม.ค.67 (msn.com)
บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกโรคทุกที่ พร้อมใช้ 8 ม.ค.67
โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า สำหรับการให้บริการที่จะเริ่มนำร่อง ตามมติของคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ มีทั้งหมด 5 บริการ ประกอบด้วย
1. การใช้บัตรประชาชนใบเดียวในการรับบริการได้ทุกที่โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัวด้วยปัจจุบันเทคโนโลยีสามารถเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ การเขียนใบส่งตัวจึงไม่จำเป็น ซึ่งขณะนี้ สปสช. อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมของระบบข้อมูล และคาดว่าจะแล้วเสร็จเร็ว ๆ นี้
2.การรักษามะเร็งครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเด็ก การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม หากตรวจพบก็จะถูกส่งต่อเข้ารับการรักษาต่อไป
3.การเข้าถึงบริการในเขตเมือง โดยเฉพาะ กทม. โดยได้ทยอยเพิ่มหน่วยบริการ เช่น แขวงทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง ซึ่งเป็นจุดที่หน่วยบริการยังมีน้อย รวมทั้งการประสานร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยเชิญเอกชนเข้ามาร่วมให้บริการมากขึ้น ทั้งร้านยา แลปเอกชน คลินิกทันตกรรม คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกพยาบาล
4.สถานชีวาภิบาล หรือการดูแลระยะสุดท้าย ซึ่งเดิมจะดูแลในโรงพยาบาล แต่พบว่ามีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ประสงค์อยากกลับไปพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน ซึ่งการดูแลระยะท้ายจะต้องดูแลโดยมีหลักวิชาการ ทั้งด้านแพทยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยจะบูรณาการความร่วมมือทั้งหน่วยงานทางสังคม เช่น วัดในชุมชน ร่วมกับโรงพยาบาล
5.การดูแลสุขภาพจิต ซึ่งจะมีการพัฒนาและขับเคลื่อนลงไปในระดับชุมชน ขณะเดียวกัน สปสช. มีสายด่วน 1330 อยู่เดิม ซึ่งเป็นตัวกลางในการประสานงาน รวมทั้งมีช่องทางเฟสบุ๊ก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ Line OA สปสช.
ความคืบหน้าการทำงานทั้งหมดนี้คืบหน้าแล้วกว่า 80% หลังจากทดลองระบบในรอบแรก และจะมีการทดลองระบบเป็นระยะ ๆ อีกครั้งในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2566 ซึ่งจะมีการพิจารณาถึงระยะที่ 2 เพื่อให้จังหวัดอื่น ๆ ได้ทดลองใช้บริการ ซึ่งผลจากการนำร่องของ 4 จังหวัดแรก ได้สะท้อนข้อมูลจากของประชาชนที่มาใช้บริการ อาทิ ความสะดวกของประชาชน พฤติกรรม และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทำให้การนำร่องในระยะที่ 2 มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติคาดว่า ระบบข้อมูลทั้งระบบต้องเสร็จสมบูรณ์ภายใน 1 ปี โดยจะเกิดการเชื่อมต่อข้อมูลแบบไร้รอยต่อทุกสังกัด บัตรประชาชนใบเดียวสามารถรักษาได้ทุกที่และทั่วประเทศ ขณะที่สิทธิการรักษาอื่น ๆ ทั้งประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการ จะมีการหารือกับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกรมบัญชีกลางให้พิจารณาต่อไป
"นายกฯ ให้ความสำคัญกับระบบการดูแลด้านสุขภาพเพื่อประชาชนทุกคน เชื่อว่าหลักประกันสุขภาพเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้ประชาชน และต้องการบริหาร พัฒนาการบริการให้มีศักยภาพและครอบคลุมมากขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ใช้บัตรประชาชนใบเดียวแต่สามารถรักษาทุกโรค โดยเชื่อมั่นว่า จะพัฒนานโยบายนี้ให้สำเร็จต่อยอดอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อความมั่นคงทางสุขภาพของพี่น้องประชาชนชาวไทย" นายสัตวแพทย์ชัย โฆษกรัฐบาล กล่าว
ที่มา บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกโรคทุกที่ พร้อมใช้ 8 ม.ค.67 (msn.com)