...บาทอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง หลังประกาศนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต..
36.** บาทต่อดอลลาร์
151.** เยนต่อดอลลาร์
เงินบาทอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง หลังประกาศนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ตลาดกังวลเกี่ยวกับภาวะทางการคลังของไทย นายกฯเศรษฐาเชื่อ ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ จะได้รับควมเห็นชอบจากพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 320 เสียง และมั่นใจว่าประชาชนจะได้ใช้เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาทแน่นอน
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (13/11) ที่ระดับ 33.94/95 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (10/11) ที่ระดับ 35.88/89 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อยหลังจากที่มีการเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นสหรัฐ ประจำเดือนพฤศจิกายน จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนออกมาอยู่ที่ 60.4 ต่ำกว่าเดือนตุลาคมที่เคยอยู่ที่ 63.7 ซึ่งลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน
ทางด้านมอร์แกนสแตนลีย์คาดการณ์ว่า GDP ของสหรัฐในปี 2567 มีแนวโน้มชะลอตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 1.6% เมื่อเทียบรายปี จากที่เคยคาดไว้ที่ระดับ 2.5% เนื่องมาจากอุปสงค์แรงงานของสหรัฐที่น่าจะชะลอตัวลง จากผลของการที่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นระยะเวลานาน ซึ่งการที่เศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างมากนั้น ส่งผลให้ตลาดวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ทั้งนี้คาดการณ์ว่าเฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.375% จนถึงเดือนมิถุนายนปี 2567 ก่อนจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ทั้งนี้ในสัปดาห์นี้ตลาดจับตาดูตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (14/11) และดัชนีราคาผู้ผลิต (15/11) เพื่อเป็นทิศทางในการกำหนดทิศทางการดำเนินนโยบายของเฟด
สำหรับปัจจัยในประเทศ ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงอย่างมากจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะทางการคลังของไทย โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (13/11) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีได้แถลงประเด็นนโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยผู้มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินดิจิทัลนี้จะต้องมีอายุ 16 ปีขึ้นไป มีรายได้ไม่เกิน 70,000 บาทต่อเดือน และมีเงินฝากในบัญชีรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
ซึ่งเงินฝาก 5 แสนบาทนั้น จะนับเฉพาะเงินฝากในบัญชีธนาคารเพียงอย่างเดียว ไม่นับกองทุนรวม เพราะไม่สามารถตรวจสอบได้ ส่วนเงินเกษียณถ้าไปอยู่ในบัญชีก็จะนับรวมด้วย และไม่นับเงินสดที่เก็บอยู่ที่บ้าน โดยจะเริ่มตรวจสอบจากเงินในบัญชีธนาคาร ตั้งแต่เดือน ก.ย. 2566
ในส่วนของบุคคลที่มีรายได้เกิน 7 หมื่นบาท และเงินในบัญชีเกิน 5 แสนบาทนั้น รัฐบาลได้ออกโครงการ E-Refund หากมีการใช้จ่ายจะได้เงินคืนประมาณ 1 หมื่นบาท เทียบเท่ากับเงินในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต โดยงบประมาณนั้นจะมาจากกฎหมายกู้เงิน 500,000 ล้านบาท ตาม พ.ร.บ.วินัยการเงิน พ.ศ. 2561 และงบประมาณรายจ่ายปี 2567 อีก 100,000 ล้านบาท โดยในระยะสั้นจะใช้ 500,000 ล้านบาทในการดำเนินนโยบายดิจิทัล วอลเล็ต ส่วนอีก 100,000 ล้านบาท จะใช้ใส่ในกองทุนพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ทั้งนี้ทางนายกฯได้แถลงว่าการที่ต้องออกกฎหมายกู้เงินนั้นก็เพื่อรักษาวินัยทางการคลังตามรัฐธรรมนูญมาตรา 62 ในการใช้เงินใหม่ไม่เจียดเงินงบประมาณเดิมมาใช้ ซึ่งทางผู้ว่าฯ ธปท.ได้แนะนำว่าให้กู้เงินดีกว่า ซึ่งปัจจุบันหนี้สาธารณะของไทยอยู่ที่ระดับ 61% ต่อ GDP ขณะที่เพดานหนี้สาธารณะอยู่ที่ 70% ต่อ GDP ดังนั้นการกู้เงินมาใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต รวมถึงกับโครงการอื่น หากช่วยยกระดับ GDP ขึ้นไปได้มากกว่าหนี้สาธารณะ จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลง
ซึ่งหลังจากคำแถลงของนายเศรษฐา ทำให้เงินบาทอ่อนค่าขึ้นจากระดับ 35.79 สู่ระดับ 35.94 ทั้งนี้นายเศรษฐาเชื่อว่า ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ จะได้รับควมเห็นชอบจากพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 320 เสียง และมั่นใจว่าประชาชนจะได้ใช้เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาทแน่นอน เพียงแต่โครงการที่ต้องล่าช้าออกไปจากกำหนดเดิม เป็นเพราะทีมงานต้องรับความคิดเห็นทั้งหมดก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการออก พ.ร.บ.กำหนดเกณฑ์คนรวย ตลอดจนเกณฑ์เรื่องรายได้ ทั้งนี้ในระหว่างวันบาทเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 35.93-36.15 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 36.03/05 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร เปิดตลาดเช้าวันนี้ (13/11) ที่ระดับ 1.0687/88 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (10/11) ที่ระดับ 1.0677/78 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ทางด้านนางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า ต้องคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันอย่างน้อยเป็นเวลาหลายไตรมาสเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่ระดับเป้าหมายที่ 2%
โดยระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0682-1.0697 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.0688/89 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร
สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (13/11) ที่ระดับ 151.57/58 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (10/11) ที่ 150.97/99 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ โดยญี่ปุ่นได้มีการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (CGPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากภาคค้าส่ง ปรับตัวขึ้น 0.8% ในเดือน ต.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปีซึ่งค่อนข้างใกล้เคียงกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะปรับขึ้น 0.9% แต่ชะลอตัวลงอย่างชัดเจนจาก 2.2% ในเดือน ก.ย.
โดย CPGI ชะลอตัวหลุดระดับ 1% เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีครึ่ง ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า แรงกดดันด้านต้นทุนที่ทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นนั้นเริ่มลดลงแล้ว โดยระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 151.67-151.86 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ และปิดท้ายที่ระดับ 151.77/76 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ
ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือน ต.ค. (14/11), ยอดค้าปลีกเดือน ต.ค. (15/11), ดัชนีภาคการผลิตเดือน พ.ย.จากเฟดนิวยอร์ก (15/11), ดัชนีราคาผู้ผลิต (15/11), จำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐ (16/11),
สำหรัอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -9.0/-8.6 สตางค์ต่อดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -6.05/-4.5 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา..
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.prachachat.net/finance/news-1435969
💰💸 บาทอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง หลังประกาศนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 💸💰
36.** บาทต่อดอลลาร์
151.** เยนต่อดอลลาร์
เงินบาทอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง หลังประกาศนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ตลาดกังวลเกี่ยวกับภาวะทางการคลังของไทย นายกฯเศรษฐาเชื่อ ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ จะได้รับควมเห็นชอบจากพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 320 เสียง และมั่นใจว่าประชาชนจะได้ใช้เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาทแน่นอน
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (13/11) ที่ระดับ 33.94/95 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (10/11) ที่ระดับ 35.88/89 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อยหลังจากที่มีการเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นสหรัฐ ประจำเดือนพฤศจิกายน จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนออกมาอยู่ที่ 60.4 ต่ำกว่าเดือนตุลาคมที่เคยอยู่ที่ 63.7 ซึ่งลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน
ทางด้านมอร์แกนสแตนลีย์คาดการณ์ว่า GDP ของสหรัฐในปี 2567 มีแนวโน้มชะลอตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 1.6% เมื่อเทียบรายปี จากที่เคยคาดไว้ที่ระดับ 2.5% เนื่องมาจากอุปสงค์แรงงานของสหรัฐที่น่าจะชะลอตัวลง จากผลของการที่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นระยะเวลานาน ซึ่งการที่เศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างมากนั้น ส่งผลให้ตลาดวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ทั้งนี้คาดการณ์ว่าเฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.375% จนถึงเดือนมิถุนายนปี 2567 ก่อนจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ทั้งนี้ในสัปดาห์นี้ตลาดจับตาดูตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (14/11) และดัชนีราคาผู้ผลิต (15/11) เพื่อเป็นทิศทางในการกำหนดทิศทางการดำเนินนโยบายของเฟด
สำหรับปัจจัยในประเทศ ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงอย่างมากจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะทางการคลังของไทย โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (13/11) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีได้แถลงประเด็นนโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยผู้มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินดิจิทัลนี้จะต้องมีอายุ 16 ปีขึ้นไป มีรายได้ไม่เกิน 70,000 บาทต่อเดือน และมีเงินฝากในบัญชีรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
ซึ่งเงินฝาก 5 แสนบาทนั้น จะนับเฉพาะเงินฝากในบัญชีธนาคารเพียงอย่างเดียว ไม่นับกองทุนรวม เพราะไม่สามารถตรวจสอบได้ ส่วนเงินเกษียณถ้าไปอยู่ในบัญชีก็จะนับรวมด้วย และไม่นับเงินสดที่เก็บอยู่ที่บ้าน โดยจะเริ่มตรวจสอบจากเงินในบัญชีธนาคาร ตั้งแต่เดือน ก.ย. 2566
ในส่วนของบุคคลที่มีรายได้เกิน 7 หมื่นบาท และเงินในบัญชีเกิน 5 แสนบาทนั้น รัฐบาลได้ออกโครงการ E-Refund หากมีการใช้จ่ายจะได้เงินคืนประมาณ 1 หมื่นบาท เทียบเท่ากับเงินในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต โดยงบประมาณนั้นจะมาจากกฎหมายกู้เงิน 500,000 ล้านบาท ตาม พ.ร.บ.วินัยการเงิน พ.ศ. 2561 และงบประมาณรายจ่ายปี 2567 อีก 100,000 ล้านบาท โดยในระยะสั้นจะใช้ 500,000 ล้านบาทในการดำเนินนโยบายดิจิทัล วอลเล็ต ส่วนอีก 100,000 ล้านบาท จะใช้ใส่ในกองทุนพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ทั้งนี้ทางนายกฯได้แถลงว่าการที่ต้องออกกฎหมายกู้เงินนั้นก็เพื่อรักษาวินัยทางการคลังตามรัฐธรรมนูญมาตรา 62 ในการใช้เงินใหม่ไม่เจียดเงินงบประมาณเดิมมาใช้ ซึ่งทางผู้ว่าฯ ธปท.ได้แนะนำว่าให้กู้เงินดีกว่า ซึ่งปัจจุบันหนี้สาธารณะของไทยอยู่ที่ระดับ 61% ต่อ GDP ขณะที่เพดานหนี้สาธารณะอยู่ที่ 70% ต่อ GDP ดังนั้นการกู้เงินมาใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต รวมถึงกับโครงการอื่น หากช่วยยกระดับ GDP ขึ้นไปได้มากกว่าหนี้สาธารณะ จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลง
ซึ่งหลังจากคำแถลงของนายเศรษฐา ทำให้เงินบาทอ่อนค่าขึ้นจากระดับ 35.79 สู่ระดับ 35.94 ทั้งนี้นายเศรษฐาเชื่อว่า ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ จะได้รับควมเห็นชอบจากพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 320 เสียง และมั่นใจว่าประชาชนจะได้ใช้เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาทแน่นอน เพียงแต่โครงการที่ต้องล่าช้าออกไปจากกำหนดเดิม เป็นเพราะทีมงานต้องรับความคิดเห็นทั้งหมดก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการออก พ.ร.บ.กำหนดเกณฑ์คนรวย ตลอดจนเกณฑ์เรื่องรายได้ ทั้งนี้ในระหว่างวันบาทเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 35.93-36.15 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 36.03/05 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร เปิดตลาดเช้าวันนี้ (13/11) ที่ระดับ 1.0687/88 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (10/11) ที่ระดับ 1.0677/78 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ทางด้านนางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า ต้องคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันอย่างน้อยเป็นเวลาหลายไตรมาสเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่ระดับเป้าหมายที่ 2%
โดยระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0682-1.0697 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.0688/89 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร
สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (13/11) ที่ระดับ 151.57/58 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (10/11) ที่ 150.97/99 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ โดยญี่ปุ่นได้มีการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (CGPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากภาคค้าส่ง ปรับตัวขึ้น 0.8% ในเดือน ต.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปีซึ่งค่อนข้างใกล้เคียงกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะปรับขึ้น 0.9% แต่ชะลอตัวลงอย่างชัดเจนจาก 2.2% ในเดือน ก.ย.
โดย CPGI ชะลอตัวหลุดระดับ 1% เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีครึ่ง ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า แรงกดดันด้านต้นทุนที่ทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นนั้นเริ่มลดลงแล้ว โดยระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 151.67-151.86 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ และปิดท้ายที่ระดับ 151.77/76 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ
ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือน ต.ค. (14/11), ยอดค้าปลีกเดือน ต.ค. (15/11), ดัชนีภาคการผลิตเดือน พ.ย.จากเฟดนิวยอร์ก (15/11), ดัชนีราคาผู้ผลิต (15/11), จำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐ (16/11),
สำหรัอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -9.0/-8.6 สตางค์ต่อดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -6.05/-4.5 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา..[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้