สรุปข่าวท.อ. เกี่ยวกับการจัดหาเครื่องบินรบฝูงใหม่ของไทย

กระทู้คำถาม
ในงาน Defense & Security 2023 มีหลายบริษัทได้นำเสนออาวุธยุทโธปกรณ์หลายชนิดมาแสดง
ผมจะพูดถึงเฉพาะเครื่องบินรบนะครับ และตั้งเป็นกระทู้คำถามเพื่อให้ทุกคนสามารถแสดงความเห็นได้

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยเป็นประธานเปิดงาน บิ๊กทินและผบ.ทอ.เดินชมการนำเสนอเครื่องบินรบ3แบบคือ
F-16 70/72 ของบริษัท Lockheed Martin ไม่มี F-15 มานำเสนอ
KF-21 ของบริษัท KAI และมี FA/50 มานำเสนอด้วย บูทนี้เงียบมาก - -
JAS 39 Gripen E/F ของบริษัท Saab และมี Saab 340 เรดาร์ใหม่มานำเสนอด้วย
-จากที่นักข่าวเขาไปสัมภาษณ์มา ตอนนี้ทอ.ได้เตรียมทีมงานหาข้อมูลและเจรจาจัดหาเครื่องบินรบรุ่นต่างๆ เพื่อนำมาทดแทนฝูงบินเดิมที่กำลังจะปลดในอีกไม่กี่ปี
-ข่าวเมื่อ2เดือนที่แล้วที่ทอ.บอกว่าจะชลอการจัดหาเครื่องบินรบฝูงใหม่จนกว่าจะปี2568 เพื่อนำงบประมาณของประเทศไปบริหารส่วนอื่นๆของประทศคือน่าจะไม่จริงซะแล้วครับ หรืออาจจะศึกษาและเจรจาเป้นปีถึงจะทำเรื่องเสนองบประมาณปี68
-กลางเดือนนี้ก็อีกไม่กี่วันนี้แล้วล่ะ ผบ.ทอ.จะไปฐานทัพอากาศฮาวายต่อด้วยเข้าวอชิงตัน ก็น่าจะเรื่องการจัดหาเครื่องบินรบนี่แหละ
-ทอ.ก็มีการประสานงานติดต่อกับซาบสวีเดนเป็นปกติอยู่แล้ว เพราะจะเปลี่ยนเรดาร์ของ Saab 340 AEW เป็นตัวใหม่ ราคาประมาณ180ล้านเหรียญ
-ส่วนกับเกาหลีใต้ก็มีไปคุยๆกันแล้วนะ เพราะเรากับเกาหลีใต้ก็ซื้อของจากเขามาเยอะอยู่
-นักข่าวเขาบอกมาว่ามีแค่3รุ่นนี้ที่ทอ.ให้ความสนใจ ส่วนรุ่นอื่นๆไม่ต้องมโนกันแล้วครับ

F-35A แน่นอนว่าจะไทยไม่ได้ใช้รุ่นนี้ ต่อให้รอจนคิวว่างเขาก็ไม่ขายให้ เพราะเราไม่พร้อมที่จะมีเครื่องบินรบรุ่นนี้
F-15EX ทอ.ไทยคงไม่เลือก ต่อให้มันดีแค่ไหนถ้าทหารเขาไม่เลือกก็ต้องเคารพการตัดสินใจของเขา เพราะเขาเป็นผู้ใช้งาน
กริพเพนCนอนมาครับ อันนี้ไม่ว่ายังไงเขาจะซื้อมาเติมฝูงเดิมอยู่แล้ว ส่วนรุ่น E/F รอเจรจา
F-16 70/72 อันนี้ก็รอผบ.ทอ.ไปคุยกับทางสหรัฐว่าจะได้ออฟชั่นลดแลกแจกแถมอะไรไหม
FA/50 โจมตีเบาก็อาจจะมีโอกาสด้วยนะ

ต้องบอกก่อนว่า ไม่ว่าเราจะเลือกแบบไหนก็ใช้งบพอๆกันครับ เพราะเรามีงบตายตัวอยู่แล้วว่ามีเท่าไร
ถ้าเขาหาข้อสรุปได้แล้วว่าจะเอารุ่นไหน เขาก็จะทำเรื่องเสนอเอางบมาให้มากสุดเท่าที่จะทำได้นั่นแหละ
ซึ่งไม่ว่าจะเลือกรุ่นไหนก็มีงบที่เป็นเป้าหมายสูงสุดอยู่แล้ว
ถ้าซื้อเครื่องบินถูกก็มีเงินเหลือไปซื้อออฟชั่นเสริมได้เยอะ
ถ้าซื้อเครื่องบินแพงก็มีเงินเหลือไปซื้อออฟชั่นเสริมได้น้อย
ทำไมถึงมีแค่3-4รุ่นนี้ เพราะ3-4รุ่นนี้ตอบโจทย์การใช้งานของไทยและใช้ของร่วมกันได้หลายอย่างครับ

จะเสนอข้อมูลเล็กน้อย ราคาเป็นราคาเฉพาะตัวเครื่องบิน
ที่เห็นข้อมูลราคาเครื่องบินรบในที่ต่างๆ  ราคาตกลำละเป็นร้อยล้านเหรียญ นั้นคือราคาทั้งโครงการ นักข่าวชอบเอาราคาทั้งโครงการมาตีรวมแล้วเฉลี่ยออกมาเป็นราคาลำละเท่านั้นเท่านี้ เพื่อให้มันดูแพงเพื่อดึงความสนใจเพื่อขายข่าว จะคิดราคาต้องคิดที่ราคาเฉพาะเครื่องบินครับ เอาราคาอื่นๆมาปนไม่ได้เพราะออฟชั่นบางอย่างไม่จำเป็นต้องซื้อมาพร้อมกันก็ได้ แต่สามารถซื้อมาเพิ่มทีหลังได้ ถ้าซื้อแพคเกจใหญ่แล้วมาเฉลี่ยต่อลำมันก็จะแพงกว่าความเป็นจริง ความเป็นจริงราคาแต่ละลำต้องคิดที่เฉพาะราคาเครื่องบินครับ ไม่ได้เอาราคาทั้งโครงการมาคิดรวมแล้วเฉลี่ยออกเป็นลำเพราะมันจะไม่ถูกต้อง แต่ละประเทศซื้อเครื่องบินในราคาหน้าโรงงานเหมือนกันหมด แต่โครงการของแต่ละประเทศจะมีราคาไม่เท่ากันเพราะออฟชั่นเสริม เอาราคาทั้งโครงการมาหารใส่ราคาเป็นลำไม่ได้นะครับ

กริพเพน E/F เฉพาะตัวเครื่องบินราคาลำละประมาณ85ล้านเหรียญ
ออฟชั่น
เรดาร์ใหม่ของ Saab 340 AEW ราคายูนิตละ180ล้านเหรียญ และอาจต้องจัดหาลำใหม่มาเพิ่ม
วางระบบ Link-T ค่าลิขสิทธิ์ต่างๆ ค่าอุปกรณ์ต่างๆ และอาวุธสำหรับติดเครื่องบิน

F-16 70/72 เฉพาะตัวเครื่องบินราคาลำละประมาณ65ล้านเหรียญ
ออฟชั่น
Link-16 ไม่ฟรีมีค่าลิขสิทธิ์มีค่าใช้จ่ายประมาณ300ล้านเหรียญ ถ้าไม่ใช้ก็ไม่ต้องซื้อก็ได้ ก็ไปใช้ Link-T ที่มีอยู่แล้วแทน
อุปกรณ์ต่างๆ และอาวุธสำหรับติดเครื่องบิน

KF-21 เฉพาะตัวเครื่องบินราคาลำละประมาณ85ล้านเหรียญ
ออฟชั่น
อาวุธต่างๆและโดรนที่สามารถทำงานร่วมกันกับ KF-21 ได้

FA-50 เฉพาะตัวเครื่องบินราคาลำละประมาณ55ล้านเหรียญ
ออฟชั่นคล้ายๆ F-16 KF-21 หรือกริพเพน แต่ประสิทธิภาพต่ำกว่า
ถ้าเลือกตัวนี้อาจจะได้ถึง2ฝูง พร้อมอาวุธอีกจำนวนมาก

ทั้ง3-4รุ่นนี้ สิทธิ์ในการขายขึ้นอยู่กับสหรัฐครับ
F-16 ของสหรัฐอยู่แล้วก็ต้องให้เขาอนุมัติ
KF-21 ใช้เครื่องยนต์และลิขสิทธิ์ของสหรัฐก็ต้องให้สหรัฐไฟเขียว เกาหลีใต้เขาบอกว่าต้องคุยกับสหรัฐก่อน แต่เกาหลีใต้เขามั่นใจว่าเอามาขายได้
กริพเพน E/F ใช้เครื่องยนต์ของสหรัฐถ้าเขาไม่ไฟเขียวแล้วไม่ส่งมอบเครื่องยนต์ให้สวีเดนก็จบ
สวีเดนหรือเกาหลีใต้เขาจะขายเครื่องบินรบให้เราเองไม่ได้ครับ เพราะเครื่องยนต์หรือลิขสิทธิ์เป็นของสหรัฐ ต้องให้สหรัฐอนุญาตเท่านั้นถึงจะขายได้
เหมือนเรือดำน้ำไทยนั่นแหละ ที่จีนไม่สามารถเอาเครื่องยนต์เยอรมันมาใส่ให้ไทยได้ เพราะติดลิขสิทธิ์ของเยอรมัน
แต่เครื่องบินรบทั้ง3รุ่นนี้ ทั้งประเทศผู้ผลิตทั้งเจ้าของลิขสิทธิ์เขาต้องการขายให้เรานั่นแหละ เขาถึงเอามาเสนอให้เรา
ผมแค่บอกให้รู้เฉยๆว่าเจ้าของลิขสิทธิ์ตัวจริงคือใคร

ตอนนี้ผมยังเดาใจทอ.ไม่ออก ทอ.เองเขาก็กำลังคิดอยู่ว่าจะเลือกแบบไหน
ก็จะมีการไปศึกษาเพิ่ม และไปเจรจาคุยกันว่าเจ้าไหนให้ออฟชั่นดีสุด และประเทศไทยได้ประโยชน์มากที่สุด
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
F-16 มือหนึ่ง ล็อตแรกที่เราได้มามี12ลำเป็นบล็อก15 ได้รับมอบปี2531 บางลำยังประจำการอยู่ มีอายุ35ปีแล้ว
F-16 มือหนึ่ง ล็อตที่สองที่เราได้มามี6ลำเป็นบล็อก15 ได้รับมอบปี2534 บางลำยังประจำการอยู่ มีอายุ32ปีแล้ว
F-16 มือหนึ่ง ล็อตที่สามที่เราได้มามี18ลำเป็นบล็อก15 ได้รับมอบปี2537 มี18ลำตกไป1ลำเหลือประจำการอยู่ที่ตาคลี17ลำ มีอายุ30ปีแล้ว
F-16 มือสอง ได้จากการเอาเงินค่ามัดจำ F-18 ไปเปลี่ยนเป็น F-16 มือสอง เป็น F-16 บล็อก15สหรัฐใช้มา20ปีเก่ากว่าล็อตแรกที่เราซื้อ ได้รับมอบปี2542 ล็อตนี้มี16ลำปลดใกล้จะหมดทั้งฝูงแล้ว
F-16 มือสอง ได้ฟรีจากสิงคโปร์7ลำเป็นบล็อก15 ได้รับมอบปี2547

F-16 ADF คือ F-16A/B รุ่นปกติที่นำมาอัปเกรดมาให้รบกลางคืนและรบระยะนอกสายตาได้
F-16 OCU คือรุ่น ADF เดิมที่นำมาอัปเกรดขึ้นไปอีกขั้น
F-16 eMLU คือรุ่น OCU เดิมที่นำมาอัปเกรดให้ทันสมัยเทียบเท่าเครื่องบินรบเจนเนอเรชั่นที่4.5
ที่เรามีเป็นบล็อก15ทั้งหมด ลำใหม่สุดมีอายุ30ปี ลำเก่าสุดมีอายุ42ปี ลำใหม่สุดจะใช้ได้อีกราวๆ15ปีก็จะปลดหมด
ถ้าทอ.เขาไม่เลือก F-16 70/72 อีก15ปีก็จะไม่เหลือ F-16 แม้แต่ลำเดียว ก็ปิดตำนาน F-16 ไทย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่