(อธิบายด้วย วงจรอุปนิสัย 66 วัน)
.
เคยสงสัยไหมว่าคนที่ประสบความสำเร็จ เขาทำกันได้ยังไง?
มันไม่ใช่เพราะเขามีต้นทุนทางบ้านที่มากกว่าคนอื่น
แต่เป็นเพราะพวกเขามีต้นทุนของวินัยและความพยายามมากกว่าคนอื่น
.
ยกตัวอย่างเช่น Michael Jordan นักบาสเกตบอลที่ต้องใช้เวลากระโดดชู๊ตหลายร้อยครั้งต่อวันเพื่อฝึกฝนตัวเอง Roy Halladay นักเบสบอลที่ออกกำลังกายเป็นประจำ 90 นาทีก่อนฝึกซ้อม หรือ Venus และ Serena Williams มักจะตื่นนอนเวลา 6.00 น. เพื่อตีลูกเทนนิสก่อนไปโรงเรียน
.
พวกเขาเหล่านั้นมีบางสิ่งที่เหมือนกันคือ “วินัย” และ “ความกล้าหาญ” มันไม่ใช่การทุ่มเทอย่างหนักในทุกวัน แต่เป็นการลงมือทำอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมันส่งผลลัพธ์กลับคืนมา
.
หลายคนอาจเคยได้ยินทฤษฏีที่ชื่อว่า “The 21-Day Myth” เมื่อคนเราทำอะไรสักอย่างติดต่อกัน 21 วัน วิ่งนั้นจะกลายเป็นนิสัยของเราทันที แต่ในความจริงแล้ว มันเป็นเพียงแค่ความเชื่อที่หาข้อพิสูจน์ไม่ได้เท่านั้น เพราะวินัยของแต่ละคนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
.
ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน European Journal of Social Psychology นักวิจัยพบว่าพฤติกรรมใหม่จะใช้เวลาโดยเฉลี่ย 66 วันจึงจะกลายเป็นนิสัย และจากการศึกษาอื่นจะพบอีกว่า บางคนอาจใช้เวลาเพียงแค่ 5 วัน 18 วัน หรือ 252 กว่าวันด้วยซ้ำ เพราะนิสัยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน จะนำมาเป็นจุดตัดสินไม่ได้
.
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำในสิ่งเดิมซ้ำทุกวัน จะกลายเป็นนิสัยที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในชีวิต
.
ยิ่งคุณทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ มากเท่าใด พฤติกรรมนั้นจะกลายเป็นโดยอัตโนมัติมากขึ้นเท่านั้น เช่น หากคุณดื่มน้ำตอนเช้าหลังตื่นนอนติดต่อกันทุกวัน ในช่วงวันหลัง ๆ ร่างกายก็จะทำแบบนั้นโดยอัตโนมัติเหมือนกันการลืมตาตื่นนอนมานั่นเอง และยิ่งคุณมีกรอบแนวคิดแบบ “growth mindset” และเชื่อว่าคุณสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ คุณก็มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในการสร้างนิสัยใหม่
.
แล้วกระบวนการในการสร้าง “นิสัย” ให้กลายเป็น “วินัย” ที่ว่านั้นเริ่มต้นทำยังไง?
.
Tom Bartow โค้ชทางด้านธุรกิจได้พัฒนารูปแบบการสร้างนิสัยซึ่งคำแนะนำของเขาถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
.
ส่วนที่ 1 ระยะของฮันนีมูน (THE HONEYMOON)
.
การสร้างนิสัยในระยะนี้มีลักษณะพิเศษคือความรู้สึกว่า “นี่เป็นเรื่องง่าย” คือการปลุกพลังของตัวเองขึ้นมาในวันที่เปลี่ยนไป เหมือนกับคนที่แต่งงานแล้วทุกคนบอกว่า เมื่อถึงจุดหนึ่งแม้แต่การฮันนีมูนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็ต้องจบลง ช่วงฮันนีมูนมักเป็นผลมาจากบางสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ
.
เขาได้ยกตัวอย่างว่า เหมือนกับการสร้างพลังบวกให้กับตัวเองผ่านงานสัมมนาที่ได้แรงบันดาลใจ เมื่อกลับมาจากงานจะทำให้เรารู้สึกอยากจะพัฒนาตัวเองต่อไป ซึ่งมันเป็นผลมาจากการเข้าร่วมงานที่ผ่านมานั่นเอง
.
ส่วนที่ 2 ระยะของการต่อสู้กับตัวเอง (THE FIGHT THRU)
.
แรงบันดาลใจจางหายไปและความเป็นจริงเข้ามา ผู้คนพบว่าตัวเองกำลังดิ้นรนกับการสร้างนิสัยเชิงบวกให้สมบูรณ์ ซึ่งมันอาจเป็นจุดเปลี่ยนที่คุณจะเลือกระหว่างเดินต่อไปข้างหน้าหรือเดินกลับไปยังจุดเดิม และถ้าหากคุณอยากเอาชนะความคิดตัวเองให้ได้เพื่อไปสู่ระยะต่อไป คุณต้องลงมือทำตามนี้
.
O ยอมรับว่าตัวเองกำลังสู้เพื่อเปลี่ยนแปลง มองให้เห็นผลลัพธ์ข้างหน้า ไม่หันกลับไปมองความสบายด้านหลัง เพราะเมื่อไหร่ที่คุณยอมแพ้ มันเป็นจุดเริ่มต้นของการพ่ายแพ้ในครั้งต่อไปด้วย
O ลองถามตัวเองว่า “ถ้าผ่านไปได้จะรู้สึกยังไง” และ “ถ้าผ่านไปไม่ได้จะรู้สึกยังไง” นำอารมณ์มาสู่สมการ ปล่อยให้ตัวเองรู้สึกเชิงบวกในการชนะการต่อสู้และความรู้สึกเชิงลบในการพ่ายแพ้
O ลองจินตนาการอย่างละเอียดว่าชีวิตของคุณจะเป็นอย่างไรใน 5 ปีข้างหน้า ถ้าคุณไม่เริ่มทำการเปลี่ยนแปลง ซื่อสัตย์กับตัวเอง และมองภาพให้ออกว่าถ้าไม่ลงมือทำตอนนี้ อนาคตตัวเองจะเป็นยังไง
.
ส่วนที่ 3 ระยะจากนิสัยกลายเป็นสันดาน (SECOND NATURE)
.
เมื่อเข้าใกล้ความสำเร็จมากขึ้น ความท้าทายในการเอาชนะตัวเองก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน 3 สิ่งที่คนจะเจอในระยะนี้คือ
O ปีศาจแห่งความท้อแท้ เมื่อทำไปสักระยะพวกเขาจะรู้สึกไม่ถึงเป้าหมายสักที แม้มันจะอยู่ใกล้มากแล้วก็ตาม แต่ก็ต้องล้มเลิกไป
O ถูกปรับเปลี่ยนในชีวิตจนไม่สามารถปรับตัวตามได้ทัน ทำให้ต้องหยุดการพัฒนาตัวเอง
O คิดว่ามาถูกทางแล้ว จึงมองหาวิธีที่ทำให้ไปได้เร็วขึ้น แต่กลับฉุดรั้งลงมามากกว่าเดิม กลายเป็นกับดักที่หลงตัวเอง
หากว่าสามารถก้าวข้ามผ่านสิ่งเหล่านี้ไปได้ทั้งหมด ลักษณะนิสัยจะกลายเป็นสันดานที่ทำให้คุณทำมันได้ทุกวันอย่างอัตโนมัติ
.
ความสำเร็จไม่ได้เกิดจากการทุ่มเท พยายามเพียงอย่างเดียว เพราะมันต้องมาพร้อมกับวินัยและใจที่อยากไปถึงเป้าหมายด้วย หากใจไม่พร้อม เจอเพียงแค่กระแสลมนิดหน่อยตัวก็เอนเอียงออกนอกลู่นอกทางได้ง่ายแล้ว ดังนั้นหากคุณมีเป้าหมายที่พร้อมทำแล้ว ให้ลงมือทำด้วยใจที่อยากทำ แล้วมันจะถึงเวลาของคุณเอง
ต้นทุนของคนที่สำเร็จ ไม่ใช่ “เงิน” แต่เป็นการบังคับตัวเอง ด้วย “วินัย” และ"สม่ำเสมอ"
.
เคยสงสัยไหมว่าคนที่ประสบความสำเร็จ เขาทำกันได้ยังไง?
มันไม่ใช่เพราะเขามีต้นทุนทางบ้านที่มากกว่าคนอื่น
แต่เป็นเพราะพวกเขามีต้นทุนของวินัยและความพยายามมากกว่าคนอื่น
.
ยกตัวอย่างเช่น Michael Jordan นักบาสเกตบอลที่ต้องใช้เวลากระโดดชู๊ตหลายร้อยครั้งต่อวันเพื่อฝึกฝนตัวเอง Roy Halladay นักเบสบอลที่ออกกำลังกายเป็นประจำ 90 นาทีก่อนฝึกซ้อม หรือ Venus และ Serena Williams มักจะตื่นนอนเวลา 6.00 น. เพื่อตีลูกเทนนิสก่อนไปโรงเรียน
.
พวกเขาเหล่านั้นมีบางสิ่งที่เหมือนกันคือ “วินัย” และ “ความกล้าหาญ” มันไม่ใช่การทุ่มเทอย่างหนักในทุกวัน แต่เป็นการลงมือทำอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมันส่งผลลัพธ์กลับคืนมา
.
หลายคนอาจเคยได้ยินทฤษฏีที่ชื่อว่า “The 21-Day Myth” เมื่อคนเราทำอะไรสักอย่างติดต่อกัน 21 วัน วิ่งนั้นจะกลายเป็นนิสัยของเราทันที แต่ในความจริงแล้ว มันเป็นเพียงแค่ความเชื่อที่หาข้อพิสูจน์ไม่ได้เท่านั้น เพราะวินัยของแต่ละคนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
.
ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน European Journal of Social Psychology นักวิจัยพบว่าพฤติกรรมใหม่จะใช้เวลาโดยเฉลี่ย 66 วันจึงจะกลายเป็นนิสัย และจากการศึกษาอื่นจะพบอีกว่า บางคนอาจใช้เวลาเพียงแค่ 5 วัน 18 วัน หรือ 252 กว่าวันด้วยซ้ำ เพราะนิสัยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน จะนำมาเป็นจุดตัดสินไม่ได้
.
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำในสิ่งเดิมซ้ำทุกวัน จะกลายเป็นนิสัยที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในชีวิต
.
ยิ่งคุณทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ มากเท่าใด พฤติกรรมนั้นจะกลายเป็นโดยอัตโนมัติมากขึ้นเท่านั้น เช่น หากคุณดื่มน้ำตอนเช้าหลังตื่นนอนติดต่อกันทุกวัน ในช่วงวันหลัง ๆ ร่างกายก็จะทำแบบนั้นโดยอัตโนมัติเหมือนกันการลืมตาตื่นนอนมานั่นเอง และยิ่งคุณมีกรอบแนวคิดแบบ “growth mindset” และเชื่อว่าคุณสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ คุณก็มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในการสร้างนิสัยใหม่
.
แล้วกระบวนการในการสร้าง “นิสัย” ให้กลายเป็น “วินัย” ที่ว่านั้นเริ่มต้นทำยังไง?
.
Tom Bartow โค้ชทางด้านธุรกิจได้พัฒนารูปแบบการสร้างนิสัยซึ่งคำแนะนำของเขาถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
.
ส่วนที่ 1 ระยะของฮันนีมูน (THE HONEYMOON)
.
การสร้างนิสัยในระยะนี้มีลักษณะพิเศษคือความรู้สึกว่า “นี่เป็นเรื่องง่าย” คือการปลุกพลังของตัวเองขึ้นมาในวันที่เปลี่ยนไป เหมือนกับคนที่แต่งงานแล้วทุกคนบอกว่า เมื่อถึงจุดหนึ่งแม้แต่การฮันนีมูนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็ต้องจบลง ช่วงฮันนีมูนมักเป็นผลมาจากบางสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ
.
เขาได้ยกตัวอย่างว่า เหมือนกับการสร้างพลังบวกให้กับตัวเองผ่านงานสัมมนาที่ได้แรงบันดาลใจ เมื่อกลับมาจากงานจะทำให้เรารู้สึกอยากจะพัฒนาตัวเองต่อไป ซึ่งมันเป็นผลมาจากการเข้าร่วมงานที่ผ่านมานั่นเอง
.
ส่วนที่ 2 ระยะของการต่อสู้กับตัวเอง (THE FIGHT THRU)
.
แรงบันดาลใจจางหายไปและความเป็นจริงเข้ามา ผู้คนพบว่าตัวเองกำลังดิ้นรนกับการสร้างนิสัยเชิงบวกให้สมบูรณ์ ซึ่งมันอาจเป็นจุดเปลี่ยนที่คุณจะเลือกระหว่างเดินต่อไปข้างหน้าหรือเดินกลับไปยังจุดเดิม และถ้าหากคุณอยากเอาชนะความคิดตัวเองให้ได้เพื่อไปสู่ระยะต่อไป คุณต้องลงมือทำตามนี้
.
O ยอมรับว่าตัวเองกำลังสู้เพื่อเปลี่ยนแปลง มองให้เห็นผลลัพธ์ข้างหน้า ไม่หันกลับไปมองความสบายด้านหลัง เพราะเมื่อไหร่ที่คุณยอมแพ้ มันเป็นจุดเริ่มต้นของการพ่ายแพ้ในครั้งต่อไปด้วย
O ลองถามตัวเองว่า “ถ้าผ่านไปได้จะรู้สึกยังไง” และ “ถ้าผ่านไปไม่ได้จะรู้สึกยังไง” นำอารมณ์มาสู่สมการ ปล่อยให้ตัวเองรู้สึกเชิงบวกในการชนะการต่อสู้และความรู้สึกเชิงลบในการพ่ายแพ้
O ลองจินตนาการอย่างละเอียดว่าชีวิตของคุณจะเป็นอย่างไรใน 5 ปีข้างหน้า ถ้าคุณไม่เริ่มทำการเปลี่ยนแปลง ซื่อสัตย์กับตัวเอง และมองภาพให้ออกว่าถ้าไม่ลงมือทำตอนนี้ อนาคตตัวเองจะเป็นยังไง
.
ส่วนที่ 3 ระยะจากนิสัยกลายเป็นสันดาน (SECOND NATURE)
.
เมื่อเข้าใกล้ความสำเร็จมากขึ้น ความท้าทายในการเอาชนะตัวเองก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน 3 สิ่งที่คนจะเจอในระยะนี้คือ
O ปีศาจแห่งความท้อแท้ เมื่อทำไปสักระยะพวกเขาจะรู้สึกไม่ถึงเป้าหมายสักที แม้มันจะอยู่ใกล้มากแล้วก็ตาม แต่ก็ต้องล้มเลิกไป
O ถูกปรับเปลี่ยนในชีวิตจนไม่สามารถปรับตัวตามได้ทัน ทำให้ต้องหยุดการพัฒนาตัวเอง
O คิดว่ามาถูกทางแล้ว จึงมองหาวิธีที่ทำให้ไปได้เร็วขึ้น แต่กลับฉุดรั้งลงมามากกว่าเดิม กลายเป็นกับดักที่หลงตัวเอง
หากว่าสามารถก้าวข้ามผ่านสิ่งเหล่านี้ไปได้ทั้งหมด ลักษณะนิสัยจะกลายเป็นสันดานที่ทำให้คุณทำมันได้ทุกวันอย่างอัตโนมัติ
.
ความสำเร็จไม่ได้เกิดจากการทุ่มเท พยายามเพียงอย่างเดียว เพราะมันต้องมาพร้อมกับวินัยและใจที่อยากไปถึงเป้าหมายด้วย หากใจไม่พร้อม เจอเพียงแค่กระแสลมนิดหน่อยตัวก็เอนเอียงออกนอกลู่นอกทางได้ง่ายแล้ว ดังนั้นหากคุณมีเป้าหมายที่พร้อมทำแล้ว ให้ลงมือทำด้วยใจที่อยากทำ แล้วมันจะถึงเวลาของคุณเอง