ตร.กัมพูชา ส่ง 3 แก๊งคอลให้ไทย อ้างเป็นจนท.ธนาคารดัง เผยได้ค่าตอบแทน 6% จากยอด


รับตัว 3 คอลเซ็นเตอร์จากเพื่อนบ้านมาดำนินคดีในไทย เจ้าตัวอ้างเป็นสาย 1 ฝ่ายเร่งรัดหนี้สินธนาคารแต่ไม่ยอมรับผิด
ตามนโยบายของ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.ธนา ชูวงศ์ รรท. รอง ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร. ให้ปราบปรามกลุ่มเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมที่กระทำความผิดทุกรูปแบบ ซึ่งสร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชนผู้สุจริตจำนวนมาก ได้รับมอบหมาย
จากผู้บังคับบัญชาให้เร่งทำการสืบสวน เพื่อติดตามจับกุมตัวผู้ต้องหาตามหมายจับเกี่ยวข้องกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยเฉพาะพนักงานคอลเซ็นเตอร์
ที่กระทำความผิดอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยผู้ต้องหาทั้ง 3 ราย มีวิธีการกระทำความผิดเป็นฝ่ายเร่งรัดหนี้สินธนาคารกสิกรไทย และ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองตาก สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนจำนวนมาก

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. , พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. / หน.PCT 
ชุดที่ 5 และคณะ ได้ร่วมกันจับกุม
1. นายภานุ มาลัย อายุ 23 ปี ชาว อ.คลองหาด จว.สระแก้ว ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 615/2566 (พนักงานคอลเซ็นเตอร์)
2. นายกฤษณะ ศรียงค์ อายุ 20 ปี ชาว อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 621/2566 (พนักงานคอลเซ็นเตอร์)
3. นายพงศกร ศรียงค์ อายุ 28 ปี ชาว อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 622/2566 (พนักงานคอลเซ็นเตอร์)
 
ในข้อหา “ร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ, ร่วมกันเป็นอั้งยี่, ร่วมกันเป็นซ่องโจร, ร่วมกันฉ้อโกงโดยการแสดงตนเป็นบุคคลอื่น, โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง ร่วมกันนำเข้าข้อูมลสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์บิดเบือนหรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน และร่วมกันฟอกเงิน”

พฤติการณ์ กล่าวคือ ชุดจับกุมได้ทำการสืบสวนโดยขยาลผลจากสายลับ จนทราบพบว่ามีผู้ต้องหาทั้ง 3 คนเดินทางไปทำงานเป็นแก๊งคอลเซนเตอร์ 
ที่อาคารแห่งหนึ่ง เมืองโอเสม็ด จ.อุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา โดยมีพนักงานคอลเซนเตอร์เป็นชาวไทยทั้งหมดจำนวนมาก ทำหน้าที่โทรหลอกผู้เสียหาย
โดยแบ่งหน้าที่กันทำอ้างตัว สาย 1 ผู้ต้องหาที่1-3 อ้างตัวเป็นฝ่ายเร่งรัดหนี้สินธนาคารกสิกรไทย ออกอุบายสอบถามผู้เสียหายว่า เลขท้ายบัตรเครดิต
สี่หลักนี้เป็นของผู้เสียหายหรือไม่ ซึ่งเมื่อผู้เสียหายตอบว่าไม่ใช่ ก็จะแจ้งกับผู้เสียหายว่า ข้อมูลของท่านอาจรั่วไหล แนะนำให้แจ้งกับที่ สภ.เมืองตาก
โดยให้กดปุ่มสี่เหลี่ยม (#) 2 ครั้ง ระบบจะโอนสายอัตโนมัติไปยังกลุ่ม สาย 2
โดยสาย 2 อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองตาก (ยศ ส.ต.ต. ถึง ด.ต.) สอบถามผู้เสียหายว่าจะแจ้งความเรื่องอะไร และหลอกว่าข้อมูลของผู้เสียหายนั้น มีคนร้ายได้นำไปใช้ ทำให้ผู้เสียหายมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีฟอกเงินและยาเสพติด และผู้เสียหายจะต้องโอนเงินมาตรวจสอบ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์
หากผู้เสียหายยังไม่หลงเชื่อ จะทำทีเดินไปเคาะประตูและให้คุยกับตำรวจระดับ ร.ต.อ. ขึ้นไป เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ
ขณะที่ กลุ่มสาย 3 อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองตาก ระดับ ร.ต.อ. ขึ้นไป หลอกว่าจะดำเนินคดี กับผู้เสียหาย มีการส่งข้อมูลหลอกผู้เสียหาย
ผ่านทางไลน์ เช่น หมายจับ (ปลอม) หรือบางครั้งใช้วิธีวิดีโอคอล และใช้เทคนิคตัดต่อ สร้างความน่าเชื่อถือว่าเป็นตำรวจจริง ๆ ในท้ายที่สุด 
ผู้เสียหายหลงเชื่อ จึงได้โอนเงินไปตรวจสอบความบริสุทธิ์ ทั้งที่ไม่ได้กระทำความผิดใดๆ สร้างความเสียหายหลักล้านบาท
 
ต่อมาวันที่ 9 พฤศจิกายน เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจประเทศกัมพูชา ทลายและจับกุมผู้ต้องหาทั้งหมด
ทางการกัมพูชาจับกุมตัวที่ตึกคอลเซ็นเตอร์ ตรงข้ามด่านช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ และเพื่อมาส่งตัวผู้ต้องหาทั้ง 3 ราย
ผู้ต้องหาทั้งหมดให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา แต่ยอมรับว่าเป็นพนักงานคอลเซ็นเตอร์ สาย 1 โดยให้การว่า ก่อนหน้าที่จะข้ามไปทำงานเป็นพนักงานแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในประเทศเพื่อนบ้านตนตกงาน จึงได้เข้าไปหางานในเพจและสื่อโซเชียลต่างๆ และได้สมัครเข้าทำงานเพื่อเป็นแอดมินเพื่อตอบลูกค้า 
ต่อมาช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ได้รับการติดต่อจากผู้ว่าจ้างและได้ให้นั่งรถไปที่ บขส. จว.สระแก้ว หลังจากนั้นได้มีรถรับจ้างมารับต่อไปส่งยังชายแดนไทย-กัมพูชา ต่อมามีคนเขมรพาข้ามไปยังประเทศเพื่อนบ้านทางช่องทางธรรมชาติ และได้ขึ้นรถตู้มายังจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา และได้ทำงานเป็นพนักงานแก๊งคอลเซ็นเตอร์สาย 1 ที่สำนักงานแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา โดยอ้างตัวว่าเป็นพนักงานเร่งรัดหนี้สิน
ของธนาคารกสิกรไทย
โดยจะแจ้งผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายได้เป็นหนี้บัตรเครดิตหรือไม่ ถ้าไม่ได้เป็นหนี้และยินดีที่จะแจ้งความให้ทำการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยสาย 1 
จะกดเครื่องหมายสี่เหลี่ยม(#) 2 ครั้งเพื่อโอนสายไปยังสาย 2 โดยทั้งสามให้การว่าได้เงินเดือน เดือนละ 20,000 บาท หากสามารถหลอกลวงผู้เสียหายได้
จะได้ค่าตอบแทนร้อยละ 6 จากยอดความเสียหาย โดยยังให้การเพิ่มเติมอีกว่าภายในตึกดังกล่าวยังมีคนไทยที่ทำงานเป็นพนักงานแก๊งคอลเซ็นเตอร์
กว่าร้อยคน จับกุมที่จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม ต.ด่าน อ.กาบเชิง จว.สุรินทร์ นำตัวส่งพนักสอบสวน พงส. กก.3 สอท.2 ดำเนินคดีตามกฎหมาย
 
พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. กล่าวว่าผู้ต้องหาทั้งหมดนี้ทำหน้าที่พูดสายสนทนากับประชาชนผู้ตกเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยกระทำความผิดอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน ครั้งนี้เราสามารถจับกุมตัวคอลเซ็นเตอร์ได้ และจะขยายผลถึงที่สุดต่อไป แจ้งเตือนภัยไปยังพี่น้องประชาชนว่าในสังคมขอให้ประชาชนได้โปรดใช้สติอย่ารีบโอนเงินให้คนแปลกหน้า หรืออ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ หากไม่แน่ใจหรือสงสัยว่าบุคคลจะเป็นมิจฉาชีพ หรือไม่ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจสอบ หรือแจ้งเบาะแสการกระทำความผิด มายังเพจ “สืบนครบาล IDMB” ได้ตลอด 24 ชม. แม้จะเป็นคดีที่มีความเสียหายไม่มาก
แต่หากเป็นคดีที่ประชาชนเดือดร้อน เราทำทันที ตามนโยบายของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.matichon.co.th/local/news_4276109
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่