ความน่าสนใจของเพื่อน(ไม่)สนิท หรือ Not Friends ภาพยนตร์เรื่องใหม่จาก GDH หนนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องที่ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เป็นตัวแทนส่งเข้าชิงรางวัลออสการ์ครั้งที่ 96 สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม ท่ามกลางภาพยนตร์ไทยน้ำดีทั้งหลายที่เข้าฉายในช่วงนี้ บ้างก็ว่าสัปเหร่อควรจะเป็นตัวแทนมากกว่าเพราะสามารถถ่ายทอดวิถีชีวิตของชาวอีสานได้อย่างยอดเยี่ยม ต่างจากภาพยนตร์ในเครือ GDH ที่ยังคงวกวนอยู่กับประเด็นเดิมๆ
หันกลับมาดูเส้นทางการทำเงินของ เพื่อน(ไม่)สนิท ค่อนข้างลำบาก เพราะเข้าฉายในช่วงที่ภาพยนตร์ไทยทั้งสองเรื่องอย่าง “สัปเหร่อ” และ “ธี่หยด” กำลังเดินหน้ากวาดรายได้อย่างบ้าคลั่ง แถมเรื่องความเป็นวัยรุ่นยังไปทับซ้อนกับ “14 อีกครั้ง” ที่เพิ่งเข้าฉายไปตอนต้นเดือนอีกต่างหาก เรียกว่า มองไปทางไหน เพื่อน(ไม่)สนิท ก็เหมือนจะไม่มีพื้นที่ให้เฉิดฉายสักเท่าไหร่ (ยังไม่นับการโปรโมทที่ดูจำกัดจำเขี่ยพอดู) ซึ่งเหตุผลที่ว่าทำไมภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องฉายตอนนี้เดาได้อย่างเดียว คือ ต้องการให้เข้ากับกติกาของออสการ์ ที่กำหนดว่าภาพยนตร์ที่จะส่งเข้าชิงรางวัลได้นั้นต้องเข้าฉายในโรงระหว่างช่วงเดือน ธันวาคม 2565 ถึง ตุลาคม 2566 เท่านั้น
ดูเผินๆ จากตัวอย่าง เพื่อน(ไม่)สนิท เหมือนจะเล่าเรื่องราวการทำหนังของวัยรุ่นกลุ่มหนึ่ง นำโดย เป้ (โทนี่-อันโทนี่ บุยเซอเรท์) ที่บังเอิญไปเจอเรื่องสั้นที่โจ(จั๊มพ์-พิสิฐพล เอกพงศ์พิสิฐ) เพื่อนของเขาแต่งไว้ จึงอยากทำหนังเพื่ออุทิศให้เขา(โจ)ที่เสียชีวิตก่อนเรียนจบไม่นาน แต่จุดประสงค์จริงๆ คือ ต้องการใช้เป็นใบเบิกทางเข้ามหาลัย เมื่อเรื่องรู้ถึงหูของเพื่อนสนิทตัวจริงของโจอย่าง โบเก้ (ใบปอ-ธิติยา จิระพรศิลป์) จึงคิดจะขัดขวาง แต่เพื่ออุทิศถึงโจโบเก้จึงยอมให้ความร่วมมือด้วย พร้อมทั้งแก๊งค์เด็กเนิร์ดห้องโสต นำโดย ปิง (ฟลุ๊ค-ธนกร ติยานนท์) ทุกอย่างเหมือนจะไปได้สวย หากติดอยู่อย่างเดียวก็ตรงที่เป้ไม่มีความรู้เรื่องการทำหนังสั้นเลยแม้แต่น้อย!!!
เมื่อเล่าเกริ่นมาแบบนี้ก็คงจะไม่น่าแปลกใจ หากในช่วงแรกของตัวภาพยนตร์จะชวนให้เรานึกถึง SuckSeed ห่วยขั้นเทพ (2011) เพราะองค์ประกอบของการร่วมแรงร่วมใจกันทำหนังของเป้และผองเพื่อนนั้น เหมือนกับการฟอร์มวงดนตรีของ เป็ด (เก้า-จิรายุ ละอองมณี) และเพื่อนๆ ใน SuckSeed อีกทั้งความไม่ประสีประสาในการทำหนังของเป้ก็แทบจะทับซ้อนกับความอ่อนด้อยในศาสตร์ด้านดนตรีของเป็ดแบบแทบจะเป็นฝาแฝดกันเลยทีเดียว
และเนื้อเรื่องในช่วงนี้ของ Not Friends นี่เองที่ทำให้ผู้ชมได้สัมผัสกับพลังของการเป็นวัยรุ่น วัยแห่งความฝันที่คิดแค่ว่าจะต้องหาแฟนให้ได้สักคน หรือคิดแค่ว่าจะเข้ามหาลัยคณะอะไรดี การเข้ามหาลัยได้ชีวิตก็ประสบความสำเร็จแล้ว (ซึ่งไม่เป็นความจริง) บรรยากาศการทำงานกลุ่ม (ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสั้น) การทำงานร่วมกับเพื่อนที่ไม่เคยได้ดั่งใจเราสักที ทำไปเล่นไป นอกจากนี้ยังแอบสะท้อนแนวคิดการทำหนังหรือการสร้างงานที่ให้ความรู้สึกเวลาจะคิดไอเดียแก้ปัญหา มันจะต้องมีอะไรสักอย่างมาดลใจเราให้เกิดไอเดียออกมา (คนทำงานสายศิลป์น่าจะเข้าใจดี)
แต่นี่เป็นความจริงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ผู้กำกับ ต้า-อัตตา เหมวดี แอบซ่อนความจริงอีกครึ่งเอาไว้ในภาพยนตร์ ซึ่งไม่ได้มีในตัวอย่าง (ก็ไม่ควรมีอยู่แล้ว) เป็นจุดพลิกผันที่เปลี่ยนจากภาพยนตร์วัยรุ่นคอมเมดี้ในช่วงแรก กลายเป็นดราม่าแบบแทบจะทันทีทันใด โดยการโยนบททดสอบให้เป้ในแบบที่ต่อให้เป็นผู้ใหญ่ก็คงตัดสินใจลำบาก ทางเลือกที่เป้ได้ทำจึงอาจจะไม่ใช่ทางที่ดีที่สุด แต่เป็นทางที่เขาได้เลือกจากประสบการณ์ทั้งหมดในชีวิตของเขานั่นแหละ ซึ่งในช่วงครึ่งหลังนี้เอง ทุกๆ อย่างที่ผู้กำกับต้า อัตตา แอบหมกเม็ดเอาไว้หลายๆ อย่างก็เริ่มเผยออกมา ทั้งเรื่องตัวตนของโจ ประเด็นปัญหาระหว่างโจกับโบเก้ ความรู้สึกของเป้กับโจ หรือแม้แต่ปัญหาของเป้กับโบเก้คนเป็นทั้งสองก็ตาม ซึ่งพอตัวเรื่องค่อยๆ ขุดลึกลงไปในเรื่องราวเหล่านี้เท่าไหร่ ผู้ชมอย่างเราก็เริ่มไม่มั่นใจแล้วว่าสิ่งที่เป็นมาในตอนแรกนั้นมันถูกต้องรึเปล่า
สามตัวละครหลัก เป้ โจ และโบเก้ ถูกขัดเกลาและนำมาตีแผ่บอกกับผู้ชมว่า พวกเขาก็เป็นมนุษย์ที่มีด้านดีและร้ายเหมือนกัน ความเทาๆ ของบุคคลทั้งสามกับชะตาที่ดูเหมือนจะเล่นตลก โจที่ดูเหมือนจะให้คติเพื่อน มีคำคมสอนใจ และใบหน้าเปื้อนรอยยิ้มอยู่เสมอ ก็ยังมีด้านที่เขาไม่อยากให้ใครรู้เหมือนกัน และน่าเศร้าที่เขาต้องจากไปก่อนวัยอันควร เป้ที่เป็นตัวอันธพาลในสายตาคนอื่น เขาจะทำเพื่อเพื่อน(ไม่)สนิทอย่างโจได้มากแค่ไหน และสุดท้าย โบเก้ที่อาจจะมีเอี่ยวน้อยหน่อยแต่ความผิดพลาดที่เธอเคยก่อขึ้นและไม่ทันได้ขอโทษก็เป็นสิ่งที่คาใจมาตลอด พวกเขาทั้งสามมีบาปและมีความน่าเห็นใจในระดับที่เด็กในวัยนี้ไม่น่าจะแบกรับไหวด้วยซ้ำ
ครึ่งหลังที่ดูมืดมนขนาดนี้ แต่หลายคนกลับบอกว่า GDH ชอบทำหนังอยู่ใน “เซฟโซน” เอาจริงๆ เซฟโซนอยู่ตรงไหน มีใครนิยามให้ได้ชัดๆ รึเปล่าก็ไม่สามารถบอกได้ หากแค่การจบเรื่องไม่ให้มืดมนกลายเป็นหนังรนทดชีวิตพร้อมกับเรียกน้ำตาออกมา จะถูกเรียกว่าเป็นการอยู่เซฟโซนแล้วก็คงไม่มีอะไรต้องเถียง หรือการผลิตภาพยนตร์ภายใต้งานสร้างระดับมาตรฐาน การถ่ายภาพ การสร้างฉากต่างๆ การคัดเลือกนักแสดง ที่เห็นแล้วว่าทุกจุดล้วนเต็มเปี่ยมด้วยคุณภาพ จะเป็นเซฟโซนของ GDH แล้ว ตรงนี้ก็ขอบอกว่าควรทำให้อยู่ในเซฟโซนต่อไปนั่นแหละ
แม้จะเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของผู้กำกับต้า อัตตา แต่ความช่ำชองในการเล่าเรื่องกลับสูงมาก นี่เป็นตัวอย่างของบทภาพยนตร์ที่ดี ผ่านการคิดมาอย่างถี่ถ้วน การเชื่อมโยงประเด็นต่างๆ มีความไหลลื่น สามารถกลับไปเก็บประเด็นที่เคยหยอดไว้มาขยายในช่วงเวลาสำคัญได้อย่างลงตัว บทภาพยนตร์แบบนี้เราจะเห็นได้จากภาพยนตร์เกาหลีหลายๆ เรื่อง ที่ตอนดูจะรู้สึกสนุก ลื่นไหล ได้คิดตามตัวละครและประเด็นของเรื่อง นี่แหละ เพื่อน(ไม่)สนิท เป็นแบบที่ว่ามา (และหนังไทยหลายๆ เรื่องควรทำได้แบบนี้จริงๆ)
ในส่วนของนักแสดง มีความประหลาดใจเล็กน้อยที่ได้เห็น โทนี่ อันโทนี่ กับ ใบปอ ธิติยา กลับมาประกบคู่กันอีกครั้ง (คาดว่าคงดันคู่นี้) เคมีความเข้ากันของทั้งสองอาจจะไม่ชัดเท่ากับเรื่องก่อนหน้าอย่าง “เธอกับฉันกับฉัน” แต่ฝีมือการแสดงต้องบอกว่าพัฒนาขึ้นด้วยกันทั้งคู่ ส่วนอีกคนที่น่าชื่นชมเห็นทีจะเป็น จั้มพ์ พิสิฐพล ในบทโจ แม้เขาจะมีบทเป็นการแฟลชแบล็คตลอดทั้งเรื่อง แต่กลับเป็นตัวละครที่ปรากฏตัวแต่ละครั้งล้วนมีพลังบางอย่างเสมอ และถ้าดูจากผลงานของเขาก็นับว่าเป็นนักแสดงหน้าใหม่ที่ทำได้ดีไม่ต่างจากโทนี่และใบปอเลย
สรุป เพื่อน(ไม่)สนิท ภาพยนตร์จาก GDH ที่ส่งชิงออสการ์ในปีนี้ แม้ว่านี่อาจจะไม่ใช่ภาพยนตร์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด แต่หากมองภาพรวมแล้ว ด้วยความเป็นสากล คุณภาพของงานสร้างและการเล่าเรื่อง มันก็ยังสามารถเป็นหน้าเป็นตาให้กับประเทศได้ และหากตัดเรื่องการชิงรางวัลออกไป นี่ก็ยังเป็นภาพยนตร์ที่ครบรสและคุ้มค่าที่จะใช้เวลา 123 นาที เพื่อรับชม
Story Decoder
[รีวิว] เพื่อน(ไม่)สนิท - วัยรุ่นทำหนังกับประเด็นแฝงที่ตลกไม่ออกในช่วงครึ่งหลังและทางลงแบบเซฟโซน
หันกลับมาดูเส้นทางการทำเงินของ เพื่อน(ไม่)สนิท ค่อนข้างลำบาก เพราะเข้าฉายในช่วงที่ภาพยนตร์ไทยทั้งสองเรื่องอย่าง “สัปเหร่อ” และ “ธี่หยด” กำลังเดินหน้ากวาดรายได้อย่างบ้าคลั่ง แถมเรื่องความเป็นวัยรุ่นยังไปทับซ้อนกับ “14 อีกครั้ง” ที่เพิ่งเข้าฉายไปตอนต้นเดือนอีกต่างหาก เรียกว่า มองไปทางไหน เพื่อน(ไม่)สนิท ก็เหมือนจะไม่มีพื้นที่ให้เฉิดฉายสักเท่าไหร่ (ยังไม่นับการโปรโมทที่ดูจำกัดจำเขี่ยพอดู) ซึ่งเหตุผลที่ว่าทำไมภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องฉายตอนนี้เดาได้อย่างเดียว คือ ต้องการให้เข้ากับกติกาของออสการ์ ที่กำหนดว่าภาพยนตร์ที่จะส่งเข้าชิงรางวัลได้นั้นต้องเข้าฉายในโรงระหว่างช่วงเดือน ธันวาคม 2565 ถึง ตุลาคม 2566 เท่านั้น
ดูเผินๆ จากตัวอย่าง เพื่อน(ไม่)สนิท เหมือนจะเล่าเรื่องราวการทำหนังของวัยรุ่นกลุ่มหนึ่ง นำโดย เป้ (โทนี่-อันโทนี่ บุยเซอเรท์) ที่บังเอิญไปเจอเรื่องสั้นที่โจ(จั๊มพ์-พิสิฐพล เอกพงศ์พิสิฐ) เพื่อนของเขาแต่งไว้ จึงอยากทำหนังเพื่ออุทิศให้เขา(โจ)ที่เสียชีวิตก่อนเรียนจบไม่นาน แต่จุดประสงค์จริงๆ คือ ต้องการใช้เป็นใบเบิกทางเข้ามหาลัย เมื่อเรื่องรู้ถึงหูของเพื่อนสนิทตัวจริงของโจอย่าง โบเก้ (ใบปอ-ธิติยา จิระพรศิลป์) จึงคิดจะขัดขวาง แต่เพื่ออุทิศถึงโจโบเก้จึงยอมให้ความร่วมมือด้วย พร้อมทั้งแก๊งค์เด็กเนิร์ดห้องโสต นำโดย ปิง (ฟลุ๊ค-ธนกร ติยานนท์) ทุกอย่างเหมือนจะไปได้สวย หากติดอยู่อย่างเดียวก็ตรงที่เป้ไม่มีความรู้เรื่องการทำหนังสั้นเลยแม้แต่น้อย!!!
เมื่อเล่าเกริ่นมาแบบนี้ก็คงจะไม่น่าแปลกใจ หากในช่วงแรกของตัวภาพยนตร์จะชวนให้เรานึกถึง SuckSeed ห่วยขั้นเทพ (2011) เพราะองค์ประกอบของการร่วมแรงร่วมใจกันทำหนังของเป้และผองเพื่อนนั้น เหมือนกับการฟอร์มวงดนตรีของ เป็ด (เก้า-จิรายุ ละอองมณี) และเพื่อนๆ ใน SuckSeed อีกทั้งความไม่ประสีประสาในการทำหนังของเป้ก็แทบจะทับซ้อนกับความอ่อนด้อยในศาสตร์ด้านดนตรีของเป็ดแบบแทบจะเป็นฝาแฝดกันเลยทีเดียว
และเนื้อเรื่องในช่วงนี้ของ Not Friends นี่เองที่ทำให้ผู้ชมได้สัมผัสกับพลังของการเป็นวัยรุ่น วัยแห่งความฝันที่คิดแค่ว่าจะต้องหาแฟนให้ได้สักคน หรือคิดแค่ว่าจะเข้ามหาลัยคณะอะไรดี การเข้ามหาลัยได้ชีวิตก็ประสบความสำเร็จแล้ว (ซึ่งไม่เป็นความจริง) บรรยากาศการทำงานกลุ่ม (ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสั้น) การทำงานร่วมกับเพื่อนที่ไม่เคยได้ดั่งใจเราสักที ทำไปเล่นไป นอกจากนี้ยังแอบสะท้อนแนวคิดการทำหนังหรือการสร้างงานที่ให้ความรู้สึกเวลาจะคิดไอเดียแก้ปัญหา มันจะต้องมีอะไรสักอย่างมาดลใจเราให้เกิดไอเดียออกมา (คนทำงานสายศิลป์น่าจะเข้าใจดี)
แต่นี่เป็นความจริงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ผู้กำกับ ต้า-อัตตา เหมวดี แอบซ่อนความจริงอีกครึ่งเอาไว้ในภาพยนตร์ ซึ่งไม่ได้มีในตัวอย่าง (ก็ไม่ควรมีอยู่แล้ว) เป็นจุดพลิกผันที่เปลี่ยนจากภาพยนตร์วัยรุ่นคอมเมดี้ในช่วงแรก กลายเป็นดราม่าแบบแทบจะทันทีทันใด โดยการโยนบททดสอบให้เป้ในแบบที่ต่อให้เป็นผู้ใหญ่ก็คงตัดสินใจลำบาก ทางเลือกที่เป้ได้ทำจึงอาจจะไม่ใช่ทางที่ดีที่สุด แต่เป็นทางที่เขาได้เลือกจากประสบการณ์ทั้งหมดในชีวิตของเขานั่นแหละ ซึ่งในช่วงครึ่งหลังนี้เอง ทุกๆ อย่างที่ผู้กำกับต้า อัตตา แอบหมกเม็ดเอาไว้หลายๆ อย่างก็เริ่มเผยออกมา ทั้งเรื่องตัวตนของโจ ประเด็นปัญหาระหว่างโจกับโบเก้ ความรู้สึกของเป้กับโจ หรือแม้แต่ปัญหาของเป้กับโบเก้คนเป็นทั้งสองก็ตาม ซึ่งพอตัวเรื่องค่อยๆ ขุดลึกลงไปในเรื่องราวเหล่านี้เท่าไหร่ ผู้ชมอย่างเราก็เริ่มไม่มั่นใจแล้วว่าสิ่งที่เป็นมาในตอนแรกนั้นมันถูกต้องรึเปล่า
สามตัวละครหลัก เป้ โจ และโบเก้ ถูกขัดเกลาและนำมาตีแผ่บอกกับผู้ชมว่า พวกเขาก็เป็นมนุษย์ที่มีด้านดีและร้ายเหมือนกัน ความเทาๆ ของบุคคลทั้งสามกับชะตาที่ดูเหมือนจะเล่นตลก โจที่ดูเหมือนจะให้คติเพื่อน มีคำคมสอนใจ และใบหน้าเปื้อนรอยยิ้มอยู่เสมอ ก็ยังมีด้านที่เขาไม่อยากให้ใครรู้เหมือนกัน และน่าเศร้าที่เขาต้องจากไปก่อนวัยอันควร เป้ที่เป็นตัวอันธพาลในสายตาคนอื่น เขาจะทำเพื่อเพื่อน(ไม่)สนิทอย่างโจได้มากแค่ไหน และสุดท้าย โบเก้ที่อาจจะมีเอี่ยวน้อยหน่อยแต่ความผิดพลาดที่เธอเคยก่อขึ้นและไม่ทันได้ขอโทษก็เป็นสิ่งที่คาใจมาตลอด พวกเขาทั้งสามมีบาปและมีความน่าเห็นใจในระดับที่เด็กในวัยนี้ไม่น่าจะแบกรับไหวด้วยซ้ำ
ครึ่งหลังที่ดูมืดมนขนาดนี้ แต่หลายคนกลับบอกว่า GDH ชอบทำหนังอยู่ใน “เซฟโซน” เอาจริงๆ เซฟโซนอยู่ตรงไหน มีใครนิยามให้ได้ชัดๆ รึเปล่าก็ไม่สามารถบอกได้ หากแค่การจบเรื่องไม่ให้มืดมนกลายเป็นหนังรนทดชีวิตพร้อมกับเรียกน้ำตาออกมา จะถูกเรียกว่าเป็นการอยู่เซฟโซนแล้วก็คงไม่มีอะไรต้องเถียง หรือการผลิตภาพยนตร์ภายใต้งานสร้างระดับมาตรฐาน การถ่ายภาพ การสร้างฉากต่างๆ การคัดเลือกนักแสดง ที่เห็นแล้วว่าทุกจุดล้วนเต็มเปี่ยมด้วยคุณภาพ จะเป็นเซฟโซนของ GDH แล้ว ตรงนี้ก็ขอบอกว่าควรทำให้อยู่ในเซฟโซนต่อไปนั่นแหละ
แม้จะเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของผู้กำกับต้า อัตตา แต่ความช่ำชองในการเล่าเรื่องกลับสูงมาก นี่เป็นตัวอย่างของบทภาพยนตร์ที่ดี ผ่านการคิดมาอย่างถี่ถ้วน การเชื่อมโยงประเด็นต่างๆ มีความไหลลื่น สามารถกลับไปเก็บประเด็นที่เคยหยอดไว้มาขยายในช่วงเวลาสำคัญได้อย่างลงตัว บทภาพยนตร์แบบนี้เราจะเห็นได้จากภาพยนตร์เกาหลีหลายๆ เรื่อง ที่ตอนดูจะรู้สึกสนุก ลื่นไหล ได้คิดตามตัวละครและประเด็นของเรื่อง นี่แหละ เพื่อน(ไม่)สนิท เป็นแบบที่ว่ามา (และหนังไทยหลายๆ เรื่องควรทำได้แบบนี้จริงๆ)
ในส่วนของนักแสดง มีความประหลาดใจเล็กน้อยที่ได้เห็น โทนี่ อันโทนี่ กับ ใบปอ ธิติยา กลับมาประกบคู่กันอีกครั้ง (คาดว่าคงดันคู่นี้) เคมีความเข้ากันของทั้งสองอาจจะไม่ชัดเท่ากับเรื่องก่อนหน้าอย่าง “เธอกับฉันกับฉัน” แต่ฝีมือการแสดงต้องบอกว่าพัฒนาขึ้นด้วยกันทั้งคู่ ส่วนอีกคนที่น่าชื่นชมเห็นทีจะเป็น จั้มพ์ พิสิฐพล ในบทโจ แม้เขาจะมีบทเป็นการแฟลชแบล็คตลอดทั้งเรื่อง แต่กลับเป็นตัวละครที่ปรากฏตัวแต่ละครั้งล้วนมีพลังบางอย่างเสมอ และถ้าดูจากผลงานของเขาก็นับว่าเป็นนักแสดงหน้าใหม่ที่ทำได้ดีไม่ต่างจากโทนี่และใบปอเลย
สรุป เพื่อน(ไม่)สนิท ภาพยนตร์จาก GDH ที่ส่งชิงออสการ์ในปีนี้ แม้ว่านี่อาจจะไม่ใช่ภาพยนตร์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด แต่หากมองภาพรวมแล้ว ด้วยความเป็นสากล คุณภาพของงานสร้างและการเล่าเรื่อง มันก็ยังสามารถเป็นหน้าเป็นตาให้กับประเทศได้ และหากตัดเรื่องการชิงรางวัลออกไป นี่ก็ยังเป็นภาพยนตร์ที่ครบรสและคุ้มค่าที่จะใช้เวลา 123 นาที เพื่อรับชม
Story Decoder