วิมานมายา โดย ศักดิ์สิทธิ์ ตอนที่ 225 วันที่ 9 พย 66 ครบรอบ 67 ปีวันตั้งศาลพระพรหมเอราวัณ


ตอนนี้ขออุทิศให้พระพรหมและศาลท้าวมหาพรหม ราชประสงค์นะครับ

ในวันที่ 9 พย 66 เป็นวันครบรอบ 67 ปีการก่อตั้งศาลพระพรหมเอราวัณ

พระพรหม   และเครือข่ายทวยเทพ         จะเสด็จลงในวันนี้แน่นอนครับ

แต่ผมไม่สามารถระบุเวลาที่แน่นอนได้    ผมจะไปถึงศาลในช่วงค่ำครับ

เรามาดูประวัติของศาลท้าวมหาพรหม ณ สี่แยกราชประสงค์กันก่อนครับ

คัดประวัติมาจากวิกิพีเดียครับ

ศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ

ศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ 
เป็นศาลหนึ่งในบรรดาศาลบริเวณแยกราชประสงค์ 
ประดิษฐานบูชาท้าวมหาพรหม 
ตั้งอยู่หน้าโรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ 
บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี 
เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

เมื่อ พ.ศ. 2494 พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ 
ขณะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ 
ให้สร้างโรงแรมเอราวัณขึ้นบริเวณสี่แยกราชประสงค์ 
เพื่อรองรับแขกต่างประเทศ ว่ากันว่า 
ในช่วงแรกของการก่อสร้างเกิดอุบัติเหตุขึ้นมากมาย 
เมื่อการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ ปลายปี พ.ศ. 2499 
บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด 
ผู้บริหารโรงแรมได้ติดต่อพลเรือตรี หลวงสุวิชานแพทย์ (อั๋น สุวรรณภาณุ) 
นายแพทย์ใหญ่กองทัพเรือ ผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องการนั่งทางใน 
ให้หาฤกษ์วันเปิดโรงแรม

พลเรือตรี หลวงสุวิชานแพทย์ ท้วงติงว่า 
ในการก่อสร้างโรงแรมไม่ได้มีการทำพิธีบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ในบริเวณนั้นก่อน ฤกษ์ในการวางศิลาฤกษ์ของโรงแรมก็ไม่ถูกต้อง 
อีกทั้งชื่อของโรงแรม "เอราวัณ" นั้น เป็นชื่อของช้างทรงของพระอินทร์ 
ถือเป็นชื่อที่ศักดิ์สิทธิ์ จำเป็นต้องมีการบวงสรวงที่เหมาะสม 
วิธีการแก้ไขจะต้องขอพรจากพระพรหมเพื่อช่วยให้อุปสรรคหมดไป 
และจะต้องสร้างศาลพระพรหมขึ้นทันทีหลังจากการก่อสร้างโรงแรมแล้วเสร็จ 
และสร้างศาลพระภูมิขึ้นไว้ในโรงแรม

จึงได้มีการตั้งศาลพระพรหม ผู้ออกแบบตัวศาล คือ ระวี ชมเสรี 
และ หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล ส่วนรูปท้าวมหาพรหมนั้น
ปั้นด้วยปูนพลาสเตอร์ปิดทอง ผู้ออกแบบและปั้น คือ 
จิตร พิมพ์โกวิท ช่างกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร 
เสร็จแล้วอัญเชิญมาประดิษฐานหน้าโรงแรมเอราวัณ
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499

ตามแผนงานครั้งแรก รูปท้าวมหาพรหมจะเป็นโลหะหล่อสีทอง 
แต่เนื่องจากระยะเวลาจำกัดด้วยฤกษ์การเปิดโรงแรม 
จึงได้เปลี่ยนวัสดุเป็นปูนปั้นปิดทองแทน

รูปท้าวมหาพรหมนี้สร้างขึ้นในเวลาเดียวกับรูปพระพรหม
ที่ศาลบนดาดฟ้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล 
ซึ่งก็สร้างตามคำแนะนำของพลเรือตรี หลวงสุวิชานแพทย์ เช่นเดียวกัน

ปัจจุบัน ศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ 
อยู่ในความดูแลของ "มูลนิธิทุนท่านท้าวมหาพรหม" 
เป็นที่รู้จักและเคารพนับถือกันมาก เชื่อกันว่า 
ถ้าบนบานด้วยละครรำ จะประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ต้องการ 
จึงมีการรำละครชาตรีแก้บนทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชาวต่างชาติ 
เช่น ชาวจีนจัดทัวร์มาไหว้สักการะโดยเฉพาะ

ประวัติพระพรหม คัดมาจากวิกิพีเดียครับ

พระพรหม (สันสกฤต: ब्रह्मा พฺรหฺมา; อังกฤษ: Brahma; เตลูกู: బ్రహ్మ; )
ในพระพุทธศาสนาคือท้าวมหาธาดาปชาบดีพรหม 
เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู 
เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา 
เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล 
และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท

พระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ 
พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ 
มีพาหนะเป็นหงส์หรือห่าน พระชายาคือพระสุรัสวดี 
เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้

ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ 
การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมได้ให้
กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา
ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล
เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด
พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย
แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า
ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สาม
ที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม
จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า
เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก
ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้

และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ 
จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์, 
กษัตริย์เกิดจากอก, แพศย์เกิดจากท้อง และศูทรเกิดจากเท้า

ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำราพรหมชาติ 
ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม ตำราพุทธลักษณะที่ฤษีแต่งไว้ก็มาจากพรหม
เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืน
และได้รู้เห็นเรื่องราวต่าง ๆ อยู่ตลอดกาลนาน
เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและ
ทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น
พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา
พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา
ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่าง ๆนั้นเอง
พราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม
แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือโหราศาสตร์จีน
ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลัง ๆ
ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล
อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกัน

ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 
เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ 
ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" 
และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง 
เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร" และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย

ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ 
"พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), 
"หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), 
"จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น
ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่"

โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, 
ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" 
ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ 
ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนา
จึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", 
"พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร 4" เป็นต้น

ในพระพุทธศาสนา

พระพรหม เป็นเทวดาชั้นสูงกว่าเทวดาทั่วไปในฉกามาพจร 
แต่มีการเวียนว่ายตายเกิดด้วยอำนาจกิเลส 
(โลภะ โทสะ โมหะ แต่ในภพชาติก่อนจุติและปฏิสนธิเป็นพรหมมีกุศลมาก 
มีฌาณสมาบัติเป็นอารมณ์ เมื่อตายจึงไปเกิดที่สวรรค์ชั้นนี้) 
อยู่ในสวรรค์ที่เรียกว่าชั้นพรหม (พรหมภูมิ) 
ในพระพุทธศาสนาพระพรหมนั้นมีหลายองค์
ซึ่งต่างจากฮินดูที่มีพระพรหมเพียงพระองค์เดียว

พระพรหมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 
พรหมที่มีรูป เรียกว่า "รูปพรหม" มีทั้งหมด 16 ชั้น 
มีอธิบดีพรหมปกครองในเเต่ละชั้น
โดยมีท้าวมหาธาดาปชาบดีพรหม เป็นพรหมาธิบดีสูงสุด 
และพรหมที่ไม่มีรูป เรียกว่า "อรูปพรหม" มีทั้งหมด 4 ชั้น 
โดยอรูปพรหมจะสูงกว่ารูปพรหม 
ไม่มีอธิบดีพรหมเพราะไม่มีรูปมีเเต่วิญญาณ อยู่ในสภาวะจิต

พระพรหมไม่มีเพศ เเต่จะเเสดงรูปลักษณ์เป็นบุรุษเพศ 
จึงไม่มีสตรีเพศในชั้นพรหม ไม่ต้องกินไม่ต้องบริโภคอาหาร 
เหมือนสัตวโลกในภูมิอื่น ด้วยว่าแช่มชื่นอิ่มเอิบโดยมี
ฌานสมาบัติเป็นอาหาร จึงไม่ต้องขับถ่าย

พระพรหมหน้าเดียว http://www.damrong-journal.su.ac.th/upload/pdf/72_7.pdf

พระพรหมและคุณหลวงสุวิชานแพทย์

เรื่องราวมหัศจรรย์เกี่ยวกับองค์ท่าน “ท้าวมหาพรหม” 
ที่โรงแรมเอราวัณนี้ เมื่อครั้งที่ พล.ร.ต. หลวงสุวิชานแพทย์ 
ยังมีชีวิตอยู่ท่านเคยเล่าถึงองค์เทพที่สถิตอยู่
ในองค์รูปปั้นท่านท้าวมหาพรหมว่า 
แท้ที่จริงก็คือทิพย์วิญญาณ “พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว” 
พระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งในรัชกาลที่ ๔ ของกรุงรัตนโกสินทร์นั่นเอง

จากการตรวจด้วย “ทิพยจักษุ” และการติดต่อทิพย์วิญญาณทางสมาธิ 
ท่านอาจารย์คุณหลวงสุวิชานฯ ได้เล่าถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว 
หลังจากที่พระองค์ท่านเสด็จสวรรคตแล้ว
ได้ไปบังเกิดบนสรวงสวรรค์ชั้นพรหม
มีตำแหน่งหน้าที่เป็นรองท่านท้าวมหาพรหมและ
ได้รับพระนามใหม่ว่า “ท่านท้าวเกศโร” ซึ่งเมื่อ พล.ร.ต. หลวงสุวิชานแพทย์
ได้ทำพิธีประดิษฐานพระรูปปั้นขององค์ท่านท้าวมหาพรหม
จึงได้อัญเชิญพระวิญญาณให้มาสถิตอยู่ที่พระรูปปั้นด้วย
เพื่อให้ช่วยปัดเป่าความทุกข์ยากและความเดือดร้อนของประชาชนที่มาสักการะ
ตามปกติพระองค์จะเสด็จประทับยังศาลในตอนค่ำของทุกวัน
ยกเว้นวันพระ เพราะพระองค์เสด็จไปเฝ้าพระพุทธองค์

คัดจาก https://www.dharma-gateway.com/ubasok/luang-suwicharn/ubasok-luang-suwicharn-2.htm#%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C

การศึกษาเปรียบเทียบพรหมตามคติพุทธศาสนาเถรวาทและศาสนา
พราหมณ์-ฮินดูในสังคมไทย
5บทความ9-จัดแล้ว.pdf

พระพรหมที่แท้มิใช่แค่รูปปั้น https://mgronline.com/daily/detail/9490000041243

เมื่อพระพรหม ไม่ใช่ 四面佛 http://www.ias.chula.ac.th/article/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%88-%E5%9B%9B%E9%9D%A2%E4%BD%9B/

กำเนิด “ศาลพระพรหม” ณ โรงแรมเอราวัณ สี่แยกราชประสงค์
https://www.silpa-mag.com/history/article_89966

การตีความแนวคิดเรื่องพรหมในพุทธปรัชญาเถรวาท
INTERPRETATION OF CONCEPT ‘BRAHMA’ IN THERAVADA BUDDHISM
https://e-thesis.mcu.ac.th/storage/08mNFVm5iYJHKdRrQfCMCsoBlXF9gmyyPDBkAOin.pdf
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่