เคยเห็นคนที่เป็นลูกครึ่งฝรั่งมีชื่อรองกันเป็นปกติมานานแล้ว
แต่พึ่งได้ทราบว่ามีคนไทยที่ไม่ได้เป็นลูกครึ่ง บางส่วนก็มีการใช้ชื่อรอง (Middle Name) เช่นกัน
โดยจะเห็นกรณี เช่น
- ผู้หญิงหลังสมรส เปลี่ยนไปใช้นามสกุลสามี แล้วนามสกุลเดิมตัวเองเปลี่ยนมาเป็นชื่อรอง
- ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ใช้นามสกุลมารดาเป็นชื่อรอง
เลยได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมดู แล้วรู้สึกสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้การขอตั้งหรือเปลี่ยนชื่อรอง (ช.3)
หลักเกณฑ์การตั้งหรือเปลี่ยนชื่อรอง
1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
2. ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
3. ต้องไม่พ้องกับชื่อสกุลของบุคคลอื่น เว้นแต่กรณี
3.1 คู่สมรสใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นชื่อรอง เมื่อได้รับความยินยอมจากฝ่ายนั้นแล้ว
3.2 บุตรใช้ชื่อสกุลเดิมของมารดาหรือบิดาเป็นชื่อรองของตน
4. ต้องเป็นคำหรือพยางค์เดียวกัน จะเว้นวรรคไม่ได้
5. ห้ามมิให้ระบุชื่อรอง ร่วมกับหรือประกอบกับคำเชื่อมอักษร สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายใด ๆ ที่มิได้กำหนดไว้ในกฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการเกี่ยวกับทะเบียนชื่อบุคคล
6. ต้องมีความหมายหรือคำแปลที่กำหนดในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หรือพจนานุกรมฉบับอื่น
7. ใช้ตัวสะกดตัวการันต์ถูกต้องตามหลักภาษาไทย
8. ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี และความสงบเรียบร้อยของสังคม
9. ไม่มีเจตนาทุจริต
ขั้นตอน/วิธีการ
1. ผู้มีสัญชาติไทย ที่ประสงค์จะตั้งหรือเปลี่ยนชื่อรอง ให้ยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
2. ให้นายทะเบียนท้องที่ดำเนินการ ดังนี้
2.1 เรียกตรวจบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
2.2 ตรวจสอบคำขอกับรายการทะเบียนบ้านในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
2.3 ตรวจสอบชื่อรองที่ขอเปลี่ยน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
3. เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าถูกต้องให้ดำเนินการ ดังนี้
3.1 สั่งอนุญาตในคำขอ
3.2 บันทึกในทะเบียนชื่อรอง (ช.3/1)
3.3 ออกหนังสือสำคัญแสดงการตั้งหรือเปลี่ยนชื่อรอง (ช.3)
3.4 เรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาท สำหรับการเปลี่ยนชื่อรอง ส่วนการตั้งชื่อรองไม่เสียค่าธรรมเนียม
เอกสารประกอบการยื่นคำขอ
- บัตรประจำตัวประชาชน
https://www.bora.dopa.go.th/CallCenter1548/index.php/menu-general/12-service-handbook/general/31-general-rename
เลยอยากสอบถามท่านที่มีการจดใช้ชื่อรองว่า
- หลังมีการใช้ชื่อรอง การดำเนินการต่าง ๆ เช่น ธุรกรรม มีความลำบากมากขึ้นกว่าเดิมไหม หรือไม่ต่างจากเดิม
- ต้องเขียน ชื่อ-ชื่อรอง-สกุล ทุกครั้งไหม (โดยเฉพาะการติดต่อราชการ) หรือมีบางโอกาสที่ละชื่อรองได้ แล้วเขียนเพียง ชื่อ-สกุล
- กรณีที่เอกสารมีช่องให้กรอกเพียงชื่อและนามสกุล จะกรอกชื่อรองในช่องเดียวกับชื่อ หรือในช่องเดียว กับนามสกุล
- มีกรณีที่ ชื่อ-ชื่อรอง-สกุล รวมกันแล้วยาวเกินกว่าที่จะกรอกได้ไหม แล้วแก้ปัญหาอย่างไร
- ถ้า ชื่อ-ชื่อรอง-สกุล รวมกันแล้วยาวเกินบรรทัดในบัตรประชาชน ตัวบัตรประชาชนจะแสดงผลอย่างไร
- ในภาษาไทย มีการย่อชื่อรองเป็นอักษรเดียวแบบในภาษาอังกฤษไหม
- กรณีอื่น ๆ ที่น่าสนใจที่อยากแบ่งปัน
เกี่ยวกับชื่อรองของคนไทยที่ไม่ได้เป็นลูกครึ่ง
แต่พึ่งได้ทราบว่ามีคนไทยที่ไม่ได้เป็นลูกครึ่ง บางส่วนก็มีการใช้ชื่อรอง (Middle Name) เช่นกัน
โดยจะเห็นกรณี เช่น
- ผู้หญิงหลังสมรส เปลี่ยนไปใช้นามสกุลสามี แล้วนามสกุลเดิมตัวเองเปลี่ยนมาเป็นชื่อรอง
- ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ใช้นามสกุลมารดาเป็นชื่อรอง
เลยได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมดู แล้วรู้สึกสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เลยอยากสอบถามท่านที่มีการจดใช้ชื่อรองว่า
- หลังมีการใช้ชื่อรอง การดำเนินการต่าง ๆ เช่น ธุรกรรม มีความลำบากมากขึ้นกว่าเดิมไหม หรือไม่ต่างจากเดิม
- ต้องเขียน ชื่อ-ชื่อรอง-สกุล ทุกครั้งไหม (โดยเฉพาะการติดต่อราชการ) หรือมีบางโอกาสที่ละชื่อรองได้ แล้วเขียนเพียง ชื่อ-สกุล
- กรณีที่เอกสารมีช่องให้กรอกเพียงชื่อและนามสกุล จะกรอกชื่อรองในช่องเดียวกับชื่อ หรือในช่องเดียว กับนามสกุล
- มีกรณีที่ ชื่อ-ชื่อรอง-สกุล รวมกันแล้วยาวเกินกว่าที่จะกรอกได้ไหม แล้วแก้ปัญหาอย่างไร
- ถ้า ชื่อ-ชื่อรอง-สกุล รวมกันแล้วยาวเกินบรรทัดในบัตรประชาชน ตัวบัตรประชาชนจะแสดงผลอย่างไร
- ในภาษาไทย มีการย่อชื่อรองเป็นอักษรเดียวแบบในภาษาอังกฤษไหม
- กรณีอื่น ๆ ที่น่าสนใจที่อยากแบ่งปัน