ท่ามกลางโลกที่หมุนไวขึ้นทุกขณะ การใช้ชีวิตก็ดูจะต้องรีบร้อนและแข่งขันกับอะไรสักอย่างตลอดเวลา หลายครั้งที่ผู้กำกับหลายคนเลือกใช้บรรยากาศต้นๆ ยุค 2000 มาใช้เพื่อเล่าเรื่องชำระล้างจิตใจจากความวุ่นวายของปัจจุบัน ซึ่งช่วงดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่มีเสน่ห์อันล้นเหลือ ของการเปลี่ยนผ่านจากอนาล็อกสู่ดิจิทัล อย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่อง “เธอกับฉันกับฉัน” ก็เคยนำเสนอเรื่องราวทำนองนี้เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา
หลังจากพาผู้ชมไปพักผ่อนหย่อนใจกับธรรมชาติของป่าฝนบนเขาใน Low Season สุขสันต์วันโสด (2020) มาแล้ว คราวนี้ ผู้กำกับ เป้-นฤบดี เวชกรรม จะพาเรานั่งไทม์แมชชีนไปย้อนวันวาน สัมผัสบรรยากาศของจังหวัดจันทบุรีช่วงปี พ.ศ. 2546 กับเรื่องราวของวัยรุ่นสองคน กิ๊บ (ณิชา-ณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์) อดีตนักเรียนดีเด่นของจังหวัดที่กลับมาเยี่ยมบ้านเพื่อพักใจจากเรื่องราวในมหาลัยฯ แต่ก็ต้องมาเจอกับเพื่อนสมัยเด็กอย่าง ต้อ (นัท-ณัฏฐ์ กิจจริต) ที่ดูเหมือนจะมีบางสิ่งที่แคลงใจกันอยู่
เสริมความวุ่นวายด้วยแก๊งค์ “หัวหมา” กับสมาชิกอีก 5 คน นำทัพโดย กัน (ภูผา-อินทนนท์ แสงศิริไพศาล) น้องชายตัวแสบวัย 14 ปีของกิ๊บที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากันทุกครั้ง ตามด้วยเด็กแว่นจอมวางแผน ม่อน (โยชิ-สุริยาวิชญ์ ถนอมชัยสนิท), ลูกเจ้าของร้านหนังสือการ์ตูน วัด (วีเจ-นพรุจ ตันธนวิกรัย), หนุ่มเรียบร้อยขี้อาย ต่าย (เล็ก-ธีรเวช สุภาวงษ์) และสาวผมสั้นติดกิ๊บเก๋ ซาร่า (โมเน่ต์-ภาริตา ริเริ่มกุล) เด็กสาวคนเดียวของกลุ่ม เรื่องวุ่นวายเกิดขึ้นเมื่อ กัน แอบชอบ ผิง (แฟร์รี่-กิรณา พิพิธยากร) นักเรียนหญิงหน้าตาน่ารักที่เพิ่งย้ายมาใหม่ เดือดร้อนถึงแก๊งค์ที่ต้องมาช่วยเขาให้สมหวังให้ได้
ใน “14 อีกครั้ง” ผู้กำกับ เป้-นฤบดี เวชกรรม ยังคงใช้จุดเด่นของเขากับการสร้างบรรยากาศเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ที่คราวนี้เลือกใช้บ้านเกิดของเจ้าตัว คือ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เป็นสถานที่หลักในการดำเนินเรื่อง แน่นอนว่าคงไม่มีใครจะรู้ทุกซอกทุกมุมของที่นี่ไปกว่าเขาแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงมีความเป็นส่วนตัวค่อนข้างสูง สถานที่และความเป็นเมืองชนบทที่ยังคงสภาพไว้ไม่ต่างจากเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เป็นเวทีที่อบอุ่นสำหรับโอบรับเหล่าตัวละคร และชวนให้นึกถึงสถานที่ในวัยเด็กที่เราได้เติบโตมาได้เป็นอย่างดี (หากใครเป็นเด็กต่างจังหวัด) ทั้งบ้านไม้ ศาลเจ้า ไร่สวน และธรรมชาติ แถมยังใส่สถานที่ให้ไปเที่ยวตามรอยอีกหลายแห่งด้วย (จะชมพระอาทิตย์ตกที่ “สะพานปลาด่านขลุง” ก็ไม่เลว)
นอกจากสถานที่ที่ชวนให้โหยหาช่วงเวลาในอดีตแล้ว ความละมุนละม่อม ความสดใส ยังส่งผลมายังเนื้อเรื่องด้วย เรื่องราวของภาพยนตร์เรื่องนี้จึงไม่ใช่อะไรที่ตึงเครียด ไม่ใช่เรื่องราวของการต่อสู้ทำตามฝัน หรืออดุมการณ์ความคิดยิ่งอันใหญ่ แต่กลับกันมันคือ ชีวิตประจำวันในวัยเด็กที่ไม่ต้องปรุงแต่งเยอะแต่อย่างใด เป็นความเรียบง่ายที่แฝงไปด้วยชีวิตชีวา กับสิ่งละอันพันละน้อยทั้งหลายในเรื่องที่แค่เห็นก็ดึงเอาความทรงจำเก่าๆ ออกมาได้ทันที เช่น โทรศัพท์รุ่น 3310 กับเกมงูสุดฮิต คอมพิวเตอร์จอนูนที่ใช้ฟังเพลงผ่าน Winamp และโปรแกรมสนทนาอย่าง MSN หรือหนังสือการ์ตูนโจนัน (ที่ไม่ต้องบอกว่าล้อมาจากเรื่องอะไร) รวมถึงวีรกรรมสุดเกรียนทั้งหลายที่เห็นทีไรก็อดอมยิ้มไม่ได้
รวมทั้งเรื่องราวปรากฏการณ์ทางสังคมทั้งเพลง นิตยสารวัยรุ่น การแต่งกาย และการละเล่นในสมัยนั้น ที่ถูกนำมาใส่อย่างเต็มอิ่ม และที่ขาดไม่ได้เลยกับเรื่องของ อภิเชษฐ์ กิตติกรเจริญ หรือ บิ๊ก D2B ที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ในวันที่ 22 กรกฏาคม พ.ศ.2546 จนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล โดยมีแฟนคลับเดินทางมาให้กำลังใจกันเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งพับนกกระดาษและสวดมนต์ขอให้หายป่วย กลายเป็นปรากฏการณ์ที่ทุกฝ่ายให้ความสนใจกันอย่างมาก โดยตลอดเวลาที่บิ๊กรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลก็มีแฟนคลับเข้ามาให้กำลังใจกันไม่ขาดสายต่อเนื่องตลอดเวลาจนถึงวาระสุดท้าย ซึ่งแม้แต่ในปัจจุบันแฟนคลับจำนวนหนึ่งก็ยังคอยดูแลคุณพ่อและคุณแม่ของบิ๊กอยู่ไม่ห่างหายไปไหน
การเล่าเรื่องของ 14 อีกครั้ง เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้เร้าอารมณ์เพื่อจะไปถึงจุดหมายหรือจุดไคลแมกซ์ของเรื่องในแบบที่ห้ามกระพริบตาสักวินาทีเดียวแต่อย่างใด เพราะอย่างที่บอกมันคือ ชีวิตประจำวันของเหล่าตัวละคร มันจึงมีทั้งอารมณ์ของความเป็น การก้าวผ่านช่วงวัย (Coming of Age) เล็กๆ ผสมกับตลกรัก (Love Comedy) หน่อยๆ และปิดท้ายด้วยการเดินทางผจญภัย (Road Trip) ของผองเพื่อน เพื่อชำระล้างจิตใจ ซึ่งผู้ชมที่จะประทับใจกับเรื่องราวในช่วงเวลานั้นในวัยเด็กหรือวัยรุ่นของพวกเขา ก็น่าจะอายุราวๆ เลข 3 กันหมดแล้ว
แต่นั่นก็อาจทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เกิดแผลใหญ่ขึ้นจนได้ กลายเป็นว่าเมื่อไม่ได้ลงลึกในประเด็นใดหรือตัวละครใดเป็นพิเศษ การกระทำหลายๆ อย่างจึงไม่มีน้ำหนัก เหมือนกลายเป็นทำเล่นๆ ไปซะทุกอย่าง ยิ่งพอมีเหตุเศร้าที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของเรื่อง ผู้กำกับเป้ นฤบดี กลับไม่ได้เลือกเก็บบรรยากาศความโศกเหล่านั้นมาใช้ให้เป็นบทเรียนของใคร แต่เปลี่ยนให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางแทน และในท้ายที่สุดสิ่งที่สำคัญที่สุดก็ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจาก “ความรักของหนุ่มสาว” กลายเป็นว่าสาระสำคัญที่อุตส่าห์เล่าๆ เอาไว้ก็สู้เรื่องความรักไม่ได้อยู่วันยังค่ำ
ในด้านการแสดงของสองพระนางอย่าง นัท ณัฏฐ์ และ ณิชา ณัฏฐณิชา ด้วยความที่ไม่ใช่ผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกของทั้งคู่จึงไม่มีปัญหาเรื่องการแสดงแต่อย่างใด จึงไม่แปลกที่จะถ่ายทอดคาแรคเตอร์ของต้อและกิ๊บออกมาได้เป็นธรรมชาติมาก โดยเฉพาะกิ๊บที่มีบุคลิกค่อนข้างเซอร์ ไม่ได้รักสวยรักงามมากนัก ต้องแต่งหน้า ทำผมก่อนออกจากบ้าน แต่ก็ยังแฝงความน่ารักยียวนเอาไว้ได้ และว่ากันตามจริงต้อกับกิ๊บเองก็ไม่ได้เป็นผู้ใหญ่ขนาดนั้น อายุของพวกเขากับแก๊งค์หัวหมาก็ไม่ต่างกันมาก การที่จะต้องแสร้งทำตัวเป็นผู้ใหญ่เพื่อดูแลน้องๆ มันเป็นความรู้สึกที่ทั้งขำและทั้งเอาใจช่วยอยู่ตลอดเวลา
ส่วนแก๊งค์หัวหมาทุกคนทำหน้าที่ของตัวเองได้ดี การที่ได้นักแสดงรุ่นราวคราวเดียวกับตัวละครมารับบท จึงสามารถดึงเอาพลังชีวิตที่ดูล้นเหลือของพวกเขาออกมาให้ตัวภาพยนตร์มีชีวิตชีวา ภูผา อินทนนท์ และ โยชิ สุริยาวิชญ์ ในบทของกันและม่อน ดูจะเป็นคาแรคเตอร์ที่พบได้ทั่วไปสำหรับชาวแก๊งค์ทั้งหลาย แต่ก็เป็นสีสันที่ขาดไม่ได้เลยเช่นกัน ทางด้านสมาชิกสาวนึงเดียวอย่างซาร่า โมเน่ต์ ภาริตา หรือ โมเน่ต์ BNK48 เป็นอีกหนึ่งตัวละครที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องมีเพื่อนรอบตัวของเราในยุคนั้นที่ชอบเอากิ๊บมาติดผมเหมือนกับเธอแน่ๆ ส่วน ผิง ที่มาใหม่ เราอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตาเธอ เพราะว่าแฟร์รี่ กิรณา เป็นน้องสาวแท้ๆ ของกระสือสาวมินนี่ ภัณฑิรา นั่นเอง
สรุป 14 อีกครั้ง เป็นภาพยนตร์ที่ทำให้เราได้ย้อนเวลากลับไปสัมผัสช่วงเวลาแห่งความสุขที่บางทีเราอาจจะลืมเลือนไปแล้ว ช่วงเวลาที่โลกยังโอบกอดเราด้วยรอยยิ้มกับผองเพื่อนที่ตอนนี้แยกย้ายกันไปเติบโตหมดแล้ว ผ่านการเล่าเรื่องชีวิตประจำวันธรรมดาๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป สโลว์ไลฟ์ตามบรรยากาศของอำเภอขลุงบ้านเกิดของผู้กำกับที่สอดรับได้กับทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้อย่างพอดีไม่มากไม่น้อย
Story Decoder
[รีวิว] 14 อีกครั้ง - ย้อนเวลากลับไปสำรวจความทรงจำที่จางหายไปกับผองเพื่อนและวีรกรรมที่คุ้นเคย
หลังจากพาผู้ชมไปพักผ่อนหย่อนใจกับธรรมชาติของป่าฝนบนเขาใน Low Season สุขสันต์วันโสด (2020) มาแล้ว คราวนี้ ผู้กำกับ เป้-นฤบดี เวชกรรม จะพาเรานั่งไทม์แมชชีนไปย้อนวันวาน สัมผัสบรรยากาศของจังหวัดจันทบุรีช่วงปี พ.ศ. 2546 กับเรื่องราวของวัยรุ่นสองคน กิ๊บ (ณิชา-ณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์) อดีตนักเรียนดีเด่นของจังหวัดที่กลับมาเยี่ยมบ้านเพื่อพักใจจากเรื่องราวในมหาลัยฯ แต่ก็ต้องมาเจอกับเพื่อนสมัยเด็กอย่าง ต้อ (นัท-ณัฏฐ์ กิจจริต) ที่ดูเหมือนจะมีบางสิ่งที่แคลงใจกันอยู่
เสริมความวุ่นวายด้วยแก๊งค์ “หัวหมา” กับสมาชิกอีก 5 คน นำทัพโดย กัน (ภูผา-อินทนนท์ แสงศิริไพศาล) น้องชายตัวแสบวัย 14 ปีของกิ๊บที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากันทุกครั้ง ตามด้วยเด็กแว่นจอมวางแผน ม่อน (โยชิ-สุริยาวิชญ์ ถนอมชัยสนิท), ลูกเจ้าของร้านหนังสือการ์ตูน วัด (วีเจ-นพรุจ ตันธนวิกรัย), หนุ่มเรียบร้อยขี้อาย ต่าย (เล็ก-ธีรเวช สุภาวงษ์) และสาวผมสั้นติดกิ๊บเก๋ ซาร่า (โมเน่ต์-ภาริตา ริเริ่มกุล) เด็กสาวคนเดียวของกลุ่ม เรื่องวุ่นวายเกิดขึ้นเมื่อ กัน แอบชอบ ผิง (แฟร์รี่-กิรณา พิพิธยากร) นักเรียนหญิงหน้าตาน่ารักที่เพิ่งย้ายมาใหม่ เดือดร้อนถึงแก๊งค์ที่ต้องมาช่วยเขาให้สมหวังให้ได้
ใน “14 อีกครั้ง” ผู้กำกับ เป้-นฤบดี เวชกรรม ยังคงใช้จุดเด่นของเขากับการสร้างบรรยากาศเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ที่คราวนี้เลือกใช้บ้านเกิดของเจ้าตัว คือ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เป็นสถานที่หลักในการดำเนินเรื่อง แน่นอนว่าคงไม่มีใครจะรู้ทุกซอกทุกมุมของที่นี่ไปกว่าเขาแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงมีความเป็นส่วนตัวค่อนข้างสูง สถานที่และความเป็นเมืองชนบทที่ยังคงสภาพไว้ไม่ต่างจากเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เป็นเวทีที่อบอุ่นสำหรับโอบรับเหล่าตัวละคร และชวนให้นึกถึงสถานที่ในวัยเด็กที่เราได้เติบโตมาได้เป็นอย่างดี (หากใครเป็นเด็กต่างจังหวัด) ทั้งบ้านไม้ ศาลเจ้า ไร่สวน และธรรมชาติ แถมยังใส่สถานที่ให้ไปเที่ยวตามรอยอีกหลายแห่งด้วย (จะชมพระอาทิตย์ตกที่ “สะพานปลาด่านขลุง” ก็ไม่เลว)
นอกจากสถานที่ที่ชวนให้โหยหาช่วงเวลาในอดีตแล้ว ความละมุนละม่อม ความสดใส ยังส่งผลมายังเนื้อเรื่องด้วย เรื่องราวของภาพยนตร์เรื่องนี้จึงไม่ใช่อะไรที่ตึงเครียด ไม่ใช่เรื่องราวของการต่อสู้ทำตามฝัน หรืออดุมการณ์ความคิดยิ่งอันใหญ่ แต่กลับกันมันคือ ชีวิตประจำวันในวัยเด็กที่ไม่ต้องปรุงแต่งเยอะแต่อย่างใด เป็นความเรียบง่ายที่แฝงไปด้วยชีวิตชีวา กับสิ่งละอันพันละน้อยทั้งหลายในเรื่องที่แค่เห็นก็ดึงเอาความทรงจำเก่าๆ ออกมาได้ทันที เช่น โทรศัพท์รุ่น 3310 กับเกมงูสุดฮิต คอมพิวเตอร์จอนูนที่ใช้ฟังเพลงผ่าน Winamp และโปรแกรมสนทนาอย่าง MSN หรือหนังสือการ์ตูนโจนัน (ที่ไม่ต้องบอกว่าล้อมาจากเรื่องอะไร) รวมถึงวีรกรรมสุดเกรียนทั้งหลายที่เห็นทีไรก็อดอมยิ้มไม่ได้
รวมทั้งเรื่องราวปรากฏการณ์ทางสังคมทั้งเพลง นิตยสารวัยรุ่น การแต่งกาย และการละเล่นในสมัยนั้น ที่ถูกนำมาใส่อย่างเต็มอิ่ม และที่ขาดไม่ได้เลยกับเรื่องของ อภิเชษฐ์ กิตติกรเจริญ หรือ บิ๊ก D2B ที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ในวันที่ 22 กรกฏาคม พ.ศ.2546 จนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล โดยมีแฟนคลับเดินทางมาให้กำลังใจกันเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งพับนกกระดาษและสวดมนต์ขอให้หายป่วย กลายเป็นปรากฏการณ์ที่ทุกฝ่ายให้ความสนใจกันอย่างมาก โดยตลอดเวลาที่บิ๊กรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลก็มีแฟนคลับเข้ามาให้กำลังใจกันไม่ขาดสายต่อเนื่องตลอดเวลาจนถึงวาระสุดท้าย ซึ่งแม้แต่ในปัจจุบันแฟนคลับจำนวนหนึ่งก็ยังคอยดูแลคุณพ่อและคุณแม่ของบิ๊กอยู่ไม่ห่างหายไปไหน
การเล่าเรื่องของ 14 อีกครั้ง เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้เร้าอารมณ์เพื่อจะไปถึงจุดหมายหรือจุดไคลแมกซ์ของเรื่องในแบบที่ห้ามกระพริบตาสักวินาทีเดียวแต่อย่างใด เพราะอย่างที่บอกมันคือ ชีวิตประจำวันของเหล่าตัวละคร มันจึงมีทั้งอารมณ์ของความเป็น การก้าวผ่านช่วงวัย (Coming of Age) เล็กๆ ผสมกับตลกรัก (Love Comedy) หน่อยๆ และปิดท้ายด้วยการเดินทางผจญภัย (Road Trip) ของผองเพื่อน เพื่อชำระล้างจิตใจ ซึ่งผู้ชมที่จะประทับใจกับเรื่องราวในช่วงเวลานั้นในวัยเด็กหรือวัยรุ่นของพวกเขา ก็น่าจะอายุราวๆ เลข 3 กันหมดแล้ว
แต่นั่นก็อาจทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เกิดแผลใหญ่ขึ้นจนได้ กลายเป็นว่าเมื่อไม่ได้ลงลึกในประเด็นใดหรือตัวละครใดเป็นพิเศษ การกระทำหลายๆ อย่างจึงไม่มีน้ำหนัก เหมือนกลายเป็นทำเล่นๆ ไปซะทุกอย่าง ยิ่งพอมีเหตุเศร้าที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของเรื่อง ผู้กำกับเป้ นฤบดี กลับไม่ได้เลือกเก็บบรรยากาศความโศกเหล่านั้นมาใช้ให้เป็นบทเรียนของใคร แต่เปลี่ยนให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางแทน และในท้ายที่สุดสิ่งที่สำคัญที่สุดก็ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจาก “ความรักของหนุ่มสาว” กลายเป็นว่าสาระสำคัญที่อุตส่าห์เล่าๆ เอาไว้ก็สู้เรื่องความรักไม่ได้อยู่วันยังค่ำ
ในด้านการแสดงของสองพระนางอย่าง นัท ณัฏฐ์ และ ณิชา ณัฏฐณิชา ด้วยความที่ไม่ใช่ผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกของทั้งคู่จึงไม่มีปัญหาเรื่องการแสดงแต่อย่างใด จึงไม่แปลกที่จะถ่ายทอดคาแรคเตอร์ของต้อและกิ๊บออกมาได้เป็นธรรมชาติมาก โดยเฉพาะกิ๊บที่มีบุคลิกค่อนข้างเซอร์ ไม่ได้รักสวยรักงามมากนัก ต้องแต่งหน้า ทำผมก่อนออกจากบ้าน แต่ก็ยังแฝงความน่ารักยียวนเอาไว้ได้ และว่ากันตามจริงต้อกับกิ๊บเองก็ไม่ได้เป็นผู้ใหญ่ขนาดนั้น อายุของพวกเขากับแก๊งค์หัวหมาก็ไม่ต่างกันมาก การที่จะต้องแสร้งทำตัวเป็นผู้ใหญ่เพื่อดูแลน้องๆ มันเป็นความรู้สึกที่ทั้งขำและทั้งเอาใจช่วยอยู่ตลอดเวลา
ส่วนแก๊งค์หัวหมาทุกคนทำหน้าที่ของตัวเองได้ดี การที่ได้นักแสดงรุ่นราวคราวเดียวกับตัวละครมารับบท จึงสามารถดึงเอาพลังชีวิตที่ดูล้นเหลือของพวกเขาออกมาให้ตัวภาพยนตร์มีชีวิตชีวา ภูผา อินทนนท์ และ โยชิ สุริยาวิชญ์ ในบทของกันและม่อน ดูจะเป็นคาแรคเตอร์ที่พบได้ทั่วไปสำหรับชาวแก๊งค์ทั้งหลาย แต่ก็เป็นสีสันที่ขาดไม่ได้เลยเช่นกัน ทางด้านสมาชิกสาวนึงเดียวอย่างซาร่า โมเน่ต์ ภาริตา หรือ โมเน่ต์ BNK48 เป็นอีกหนึ่งตัวละครที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องมีเพื่อนรอบตัวของเราในยุคนั้นที่ชอบเอากิ๊บมาติดผมเหมือนกับเธอแน่ๆ ส่วน ผิง ที่มาใหม่ เราอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตาเธอ เพราะว่าแฟร์รี่ กิรณา เป็นน้องสาวแท้ๆ ของกระสือสาวมินนี่ ภัณฑิรา นั่นเอง
สรุป 14 อีกครั้ง เป็นภาพยนตร์ที่ทำให้เราได้ย้อนเวลากลับไปสัมผัสช่วงเวลาแห่งความสุขที่บางทีเราอาจจะลืมเลือนไปแล้ว ช่วงเวลาที่โลกยังโอบกอดเราด้วยรอยยิ้มกับผองเพื่อนที่ตอนนี้แยกย้ายกันไปเติบโตหมดแล้ว ผ่านการเล่าเรื่องชีวิตประจำวันธรรมดาๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป สโลว์ไลฟ์ตามบรรยากาศของอำเภอขลุงบ้านเกิดของผู้กำกับที่สอดรับได้กับทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้อย่างพอดีไม่มากไม่น้อย
Story Decoder