JJNY : “อิสราเอล-ฮิซบอลเลาะห์”ปะทะเดือด│“ช่อ”เชื่อก้าวไกลได้พิสูจน์ตัวเอง│เปิดร่างคำถามประชามติ│ผู้ว่าธปท.ชี้ความเสี่ยง

สังเวยแล้วกว่า 70 ราย “อิสราเอล-ฮิซบอลเลาะห์” ปะทะเดือดข้ามแดนเลบานอน
https://www.dailynews.co.th/news/2865105/

การปะทะดุเดือดระหว่างกองทัพอิสราเอลกับกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ ซึ่งมีฐานอยู่ทางใต้เลบานอน และเกิดขึ้นคู่ขนานกับสงครามในฉนวนกาซา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 70 รายแล้ว
 
 
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล เมื่อวันที่ 3 พ.ย. ว่ากองทัพอิสราเอลออกแถลงการณ์ ว่าได้โจมตีทั้งทางบกและทางอากาศ ข้ามพรมแดนไปยังภาคใต้ของเลบานอน เพื่อทำลายฐานที่มั่นของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เพื่อตอบโต้ที่อีกฝ่ายโจมตีฐานประจำการของกองทัพอิสราเอล 19 แห่ง ภายในระยะเวลาเพียง 24 ชั่วโมง
 
ทั้งนี้ สื่อของทางการเลบานอนรายงาน ว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 4 ราย จากปฏิบัติการโจมตีตอบโต้ของอิสราเอล ขณะที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์รายงาน ว่ามีสมาชิกเสียชีวิตอีกอย่างน้อย 4 ราย
  
นับตั้งแต่สงครามในฉนวนกาซาปะทุ เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมา กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่ทางตอนใต้ของเลบานอน ปะทะข้ามพรมแดนอย่างต่อเนื่องกับอิสราเอล ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในเลบานอนแล้ว 71 ราย ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ และมีผู้สื่อข่าวของรอยเตอร์สด้วย ส่วนในอิสราเอลมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 9 ราย ส่วนใหญ่เป็นทหาร
  
ทหารรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ รักษาการบริเวณหมู่บ้านเดอีร์ คิฟา ทางตอนใต้ของเลบานอน ซึ่งติดกับภาคเหนือของอิสราเอล
 
ในทางทฤษฎีถือว่าอิสราเอลและเลบานอนยังมีสถานะเป็นประเทศคู่สงครามต่อกัน เนื่องจากการสู้รบครั้งใหญ่ ที่ยาวนานประมาณ 1 เดือน เมื่อปี 2549 ไม่ได้ยุติด้วยข้อตกลงสันติภาพ แต่เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี)
 
นอกจากนี้ หลายฝ่ายมองว่าในความเป็นจริง การสู้รบครั้งนั้น คือสงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮิซบอลเลาะห์มากกว่า ต่อมาทหารรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเสริมกำลังเจ้าหน้าที่ตามแนว “เส้นสีน้ำเงิน” ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างอิสราเอลกับเลบานอน.



“ช่อ พรรณิการ์” เชื่อก้าวไกลได้พิสูจน์ตัวเองจากมติลงดาบ “สส.ปราจีน-สส.ปูอัด
https://www.matichon.co.th/clips/news_4265181 

“ช่อ พรรณิการ์ วานิช” กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า เชื่อพรรคก้าวไกลได้พิสูจน์ตัวเองจากมติพรรคตัดสิน นายวุฒิพงศ์ ทองเหลา สส.ปราจีนบุรี และ นายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ สส.กทม. พอใจผลการตัดสิน ถึงดำเนินการช้าแต่เข้าใจการทำงานของพรรค ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


เปิดร่างคำถามประชามติ 4 ประเด็น ‘นิกร’ ส่งให้ส.ส.-ส.ว.ตอบ ช่วงธ.ค.นี้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4265038

‘นิกร’ เผย เปิดสมัยประชุมสภาฯ ธ.ค.นี้ เตรียมส่งร่างคำถามประชามติให้ ส.ส.-ส.ว.กรอก ส่วนสาระร่างคำถามประชามติ 4 ประเด็นสำคัญ ตั้งเงื่อนไข แก้ทั้งฉบับ แต่เว้นหมวด1หมวด2 หรือ แก้รายมาตรา
 
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภา ถึงกรณีที่คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ที่มีนายนิกร จำนง เป็นประธานอนุกรรมการฯ ได้รับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนรัฐสภา ผ่าน 2 คณะกรรมาธิการ (กมธ.) คือ กมธ.การพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ที่มีนายเสรี สุวรรณภานนท์ สว.เป็นประธาน เมื่อ 30 ต.ค. และ กมธ.การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และ การมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพริษฐ์​ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล(ก.ก.)เป็นประธาน เมื่อ 2 พ.ย. การหารือใน 2 กมธ. ที่ไม่ได้มีการเปิดเผย

พบว่านอกจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการออกเสียงประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญแล้ว ทางอนุกรรมการฯ ได้นำเสนอร่างคำถามการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกรัฐสภาและตัวแทนประชาชนกลุ่มต่างๆ เกี่ยวกับแนวาทงการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ใน 3 ประเด็นคำถาม ดังนี้ 
 
1. ท่านเห็นสมควรจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 หรือไม่ 
2. ท่านต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 (1) ทั้งฉบับ โดยคงไว้ซึ่งหมวด1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ (2) แก้ไขรายมาตรา 
และ 3.ในการจัดทำรรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ ท่านเห็นสมควรจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)ขึ้นมาดำเนินการหรือไม่
 
นอกจากนั้นยังพบว่า อนุกรรมการฯ ยังได้สอบถามถึงประเด็นจำนวนครั้งของการทำประชาติ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในกรณีต่างๆ ดังนี้ 
 
1. ออกเสียงประชามติ 1 ครั้ง ก่อนเริ่มแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 4/2564 ที่กำหนดว่าประชาชนเป็นผู้สถาปนารัฐธรรมนูญ 
 
2. ออกเสียงประชามติ 1 ครั้ง กรณีแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 เพื่อกำหนดที่มาของสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) 

และ 3. ออกเสียงประชามติ 1 ครั้ง เมื่อนัดทำร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จเพื่อให้ประชาชนเห็นชอบ ก่อนที่นำนายกฯจะนำร่างรัฐธรรมนูญทูลเกล้าฯ พร้อมกับตั้งคำถามว่า ในการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ ท่านเห็นสมควรจัดให้มีการออเสียงประชามติกี่ครั้ง คือ 1.1 ครั้ง 2. 2 ครั้ง 3. 3 ครั้ง 4.มากกว่า 3 ครั้ง
 
ทั้งนี้นายนิกร จำนง ประธานอนุกรรมการรับฟังความเห็นฯ ให้สัมภาษณ์ ว่า ทางอนุกรรมการฯ จะส่งร่างคำถามประชามติไปยังสมาชิกรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย ส.ว. และ ส.ส. ให้ตอบในช่วงเปิดประชุมสภาฯ สมัยหน้าในเดือนธ.ค.นี้ โดยส่งเป็นรายบุคคลในวันที่มาประชุมสภาฯ จะฝากเจ้าหน้าที่ของสภาฯที่รับเซ็นชื่อเข้าร่วมประชุมแจกไปทีเดียว ทั้งนี้จะไม่ใช้วิธีส่งเป็นจดหมายไปที่บ้านหรือที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน เนื่องจากกังวลว่าสมาชิกจะไม่กลับไปยังภูมิลำเนา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่