วันนี้ เราเดินทางไปที่จังหวัดยโสธร ผ่าน ทางหลวงหมายเลย 23 แต่เดิมยโสธร(เมืองยศสุนทร)เป็นจังหวัดเดียวกับอุบลราชธานี แต่ถูกแยกออกมาเป็นจังหวัดในปี 2515
หลังจากเข้าถึงตัวเมืองเราเริ่มสังเกตุถึงความเจริญที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากที่เราเคยมาสัมผัสเมื่อเป็นสิบปีมาแล้ว เราขับรถเข้าไปยังบริเวณบ้านสิงห์ท่า ซึ่งเป็นย่านตัวเมืองเก่า บรรยากาศที่ถึงแม้จะร้อน แต่เงียบสงบ ทำเอาเราหลับตาและนึกไปว่าในอดีต คนที่นี้คงจะเดินไปมาใช้ชิวิตกันแบบไหน
แวะดื่มกาแฟกับร้านกาแฟที่ออกแบบให้เข้ากับย่านเมืองเก่า
เลี้ยวออกมานิดเดียว เราก็เจอกับศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ที่ตอนแรกเราก็สงสัยกันอยู่นานว่าใช่ไหม เพราะที่นี้เป็นศาลหลักเมืองเป็นแบบศาลเจ้าจีน ดูแปลกตาทีเดียว โดยทีนี้เป็นที่เดียวในไทยที่มีเสาหลักเมืองถึงสามเสา โดยเสาใหญ่ตรงกลางเป็นเสาหลักเมือง ส่วนอีกสองเสาคือเสาของ ผีพระละงุมและผีพระละงำ ผู้ปกปักรักษาเมือง
หลังจากออกจากศาลหลักเมืองด้วยความอื่มใจ เราเดินทางไปยังสวนพญาแถน ที่ๆครั้งล่าสุดที่เรามาเป็นเพียงแค่ สวนสาธารณะโล่งๆเท่านั้น
ระหว่างทางไปยังสวนพญาแถน มีน้องต้อนรับเราไปตลอดทาง
เมื่อมาถึงเรารู้สึกแปลกตา กับสิ่งที่ได้เห็นถึงแม้จะรู้อยู่แล้วก็ตามว่ามีสิ่งนี้อยู่
หลังจากจอดรถเราเดินไปซื้อตั๋ว เดินอ้อมหลังพญาคันคาก(คางคก) เพื่อเข้าไปยังพิพิธภัณฑ์ด้านใน
หลังจากเข้ามาเราเริ่มเข้าใจถึงสิ่งต่างๆมากขึ้นว่าทำไมต้องเป็นคางคก
เรื่องราวคร่าวๆตาม มหายุทธแดนอีสาน ดังนี้
- มีพระราชาที่มีลูกชายที่เกิดมาแล้วมีตุ่มขึ้น ตามร่างกาย คนจึงเรียกว่าท้าวคันคาก(คางคก)
- ท้าวคันคากอยากได้มเหสีที่งดงามจึงไปขอพระอินทร์ พระอินทร์จึงเสกให้รูปงาม
- ท้าวคันคากได้ขึ้นครองราชย์แทนพระบิดา
- พญาแถนซึ่งเป็นเทพอยู่ก่อนไม่พอใจเนื่องจากประชาชน เอาของมาให้แต่พญาคันคาก พญาแถนเลยบอกให้พญานาคไม่ส่งน้ำ (ฝน) ลงมา
- เกิดสงครามระหว่างสองฝ่าย
- พญาแถนแพ้ แต่พญาคันคากก็ได้บอกว่าให้พญาแถนเมตตาชาวบ้าน ด้วยการให้ฝนตก โดยจะให้ชาวบ้านจุดบั้งไฟขึ้นไปเตือนในฤดูทำนา
ทำให้เกิดประเพณีบุญบั้งไฟที่ยิ่งใหญ่ของชาวยโสธร ในทุกเดือน 6
รายละเอียดที่มาที่ไปต่างๆ
ในส่วนของชั้นถัดๆไปจะเป็นพิพิธภัณฑ์ต่างๆ
เมื่อขึ้นถึงชั้นบนสุดจะมองเห็นวิวรอบด้านได้
หลังจากออกจากท้องของพญาคันคาก เราเดินไปยังพญานาคตัวใหญ่ตระง่าน ซึ่งด้านใต้ของตัวพญานาค จะเป็นส่วนของพิพิธภัณฑ์อีกที่หนึ่ง
ด้านในจะเล่าเรื่องราวตำนานต่างๆ ซึ่งสื่อที่ทำออกมา ทำได้ดีมากทีเดียว
ด้านในจะเป็นเล่าเรื่องราวเล่าขานต่างๆ
ตำนานกำเนิดแม่น้ำโขง
จำลองโครงกระดูกพญานาค
สมควรแก่เวลา ก้อนเมฆดำเริ่มลอยเข้ามา เราอำลาพญาแถนและพญาคันคากด้วยความเข้าใจมากขึ้น นิยายปรัมปรา เรื่องเล่า บางทีก็สื่อถึงจิตวิญญาน และตัวตนของสถานที่นั้นๆให้เราเห็น พญาคางคกที่อาจจะดูว่าตลกแต่เมื่อเรามองลึกลง เรากลับเห็นเรื่องราว ตัวตน ต่างๆมากมาย นับว่าเป็นการมาเยือนยโสธรที่ทำให้เราประทับมากทีเดียว
[CR] วันเดย์ อิน ยโสธร ดินแดนแห่งบั้งไฟ
วันนี้ เราเดินทางไปที่จังหวัดยโสธร ผ่าน ทางหลวงหมายเลย 23 แต่เดิมยโสธร(เมืองยศสุนทร)เป็นจังหวัดเดียวกับอุบลราชธานี แต่ถูกแยกออกมาเป็นจังหวัดในปี 2515
หลังจากเข้าถึงตัวเมืองเราเริ่มสังเกตุถึงความเจริญที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากที่เราเคยมาสัมผัสเมื่อเป็นสิบปีมาแล้ว เราขับรถเข้าไปยังบริเวณบ้านสิงห์ท่า ซึ่งเป็นย่านตัวเมืองเก่า บรรยากาศที่ถึงแม้จะร้อน แต่เงียบสงบ ทำเอาเราหลับตาและนึกไปว่าในอดีต คนที่นี้คงจะเดินไปมาใช้ชิวิตกันแบบไหน
แวะดื่มกาแฟกับร้านกาแฟที่ออกแบบให้เข้ากับย่านเมืองเก่า
เลี้ยวออกมานิดเดียว เราก็เจอกับศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ที่ตอนแรกเราก็สงสัยกันอยู่นานว่าใช่ไหม เพราะที่นี้เป็นศาลหลักเมืองเป็นแบบศาลเจ้าจีน ดูแปลกตาทีเดียว โดยทีนี้เป็นที่เดียวในไทยที่มีเสาหลักเมืองถึงสามเสา โดยเสาใหญ่ตรงกลางเป็นเสาหลักเมือง ส่วนอีกสองเสาคือเสาของ ผีพระละงุมและผีพระละงำ ผู้ปกปักรักษาเมือง
หลังจากออกจากศาลหลักเมืองด้วยความอื่มใจ เราเดินทางไปยังสวนพญาแถน ที่ๆครั้งล่าสุดที่เรามาเป็นเพียงแค่ สวนสาธารณะโล่งๆเท่านั้น
ระหว่างทางไปยังสวนพญาแถน มีน้องต้อนรับเราไปตลอดทาง
เมื่อมาถึงเรารู้สึกแปลกตา กับสิ่งที่ได้เห็นถึงแม้จะรู้อยู่แล้วก็ตามว่ามีสิ่งนี้อยู่
หลังจากจอดรถเราเดินไปซื้อตั๋ว เดินอ้อมหลังพญาคันคาก(คางคก) เพื่อเข้าไปยังพิพิธภัณฑ์ด้านใน
หลังจากเข้ามาเราเริ่มเข้าใจถึงสิ่งต่างๆมากขึ้นว่าทำไมต้องเป็นคางคก
เรื่องราวคร่าวๆตาม มหายุทธแดนอีสาน ดังนี้
- มีพระราชาที่มีลูกชายที่เกิดมาแล้วมีตุ่มขึ้น ตามร่างกาย คนจึงเรียกว่าท้าวคันคาก(คางคก)
- ท้าวคันคากอยากได้มเหสีที่งดงามจึงไปขอพระอินทร์ พระอินทร์จึงเสกให้รูปงาม
- ท้าวคันคากได้ขึ้นครองราชย์แทนพระบิดา
- พญาแถนซึ่งเป็นเทพอยู่ก่อนไม่พอใจเนื่องจากประชาชน เอาของมาให้แต่พญาคันคาก พญาแถนเลยบอกให้พญานาคไม่ส่งน้ำ (ฝน) ลงมา
- เกิดสงครามระหว่างสองฝ่าย
- พญาแถนแพ้ แต่พญาคันคากก็ได้บอกว่าให้พญาแถนเมตตาชาวบ้าน ด้วยการให้ฝนตก โดยจะให้ชาวบ้านจุดบั้งไฟขึ้นไปเตือนในฤดูทำนา
ทำให้เกิดประเพณีบุญบั้งไฟที่ยิ่งใหญ่ของชาวยโสธร ในทุกเดือน 6
รายละเอียดที่มาที่ไปต่างๆ
ในส่วนของชั้นถัดๆไปจะเป็นพิพิธภัณฑ์ต่างๆ
เมื่อขึ้นถึงชั้นบนสุดจะมองเห็นวิวรอบด้านได้
หลังจากออกจากท้องของพญาคันคาก เราเดินไปยังพญานาคตัวใหญ่ตระง่าน ซึ่งด้านใต้ของตัวพญานาค จะเป็นส่วนของพิพิธภัณฑ์อีกที่หนึ่ง
ด้านในจะเล่าเรื่องราวตำนานต่างๆ ซึ่งสื่อที่ทำออกมา ทำได้ดีมากทีเดียว
ด้านในจะเป็นเล่าเรื่องราวเล่าขานต่างๆ
ตำนานกำเนิดแม่น้ำโขง
จำลองโครงกระดูกพญานาค
สมควรแก่เวลา ก้อนเมฆดำเริ่มลอยเข้ามา เราอำลาพญาแถนและพญาคันคากด้วยความเข้าใจมากขึ้น นิยายปรัมปรา เรื่องเล่า บางทีก็สื่อถึงจิตวิญญาน และตัวตนของสถานที่นั้นๆให้เราเห็น พญาคางคกที่อาจจะดูว่าตลกแต่เมื่อเรามองลึกลง เรากลับเห็นเรื่องราว ตัวตน ต่างๆมากมาย นับว่าเป็นการมาเยือนยโสธรที่ทำให้เราประทับมากทีเดียว
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้