"โครงการเงินดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาท" กลายเป็น "ทอล์ก ออฟเดอะทาวน์" โดยในช่วงนี้ก็จะมีความเห็นจากหลายฝ่าย
เสนอแนะเกี่ยวกับโครงการนี้ อย่างเช่นการเสนอให้แจกเงินดิจิทัล 2 เฟส เน้นกลุ่มรายได้น้อยก่อน
ดร.ธรรม์ธีร์ สุกโชติรัตน์ อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวถึงนโยบายการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท
ของรัฐบาล ที่มีการปรับเกณฑ์การแจกเงินดิจิทัลใหม่ โดยอาจจะตัดกลุ่มคนที่มีรายได้ 25,000 – 50,000 บาท ต่อเดือน
และยังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียดของโครงการว่า หากรัฐบาลจะเดินหน้าโครงการต่อ สามารถกู้เงินบางส่วนมาทำได้
โดยอาจแบ่งจ่ายเป็น 2 เฟส
โดยเฟสแรกเน้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยกว่า 40,000-50,000 บาทก่อน เพราะเป็นกลุ่มที่จำเป็นต้องนำเงินไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
เมื่อเกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และเมื่อรัฐมีรายได้กลับมา ค่อยเริ่มแจกในเฟสที่ 2 ให้กับคนที่มีรายได้สูงขึ้น
ส่งเสริมให้กลุ่มที่มีรายได้สูง ใช้เงิน 10,000 บาทเพื่อการลงทุน จะทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้น
ดร.ธรรม์ธีร์ กล่าวว่า ส่วนที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญ คือการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา และ ให้ข้อเท็จจริงกับประชาชน
เพราะโครงการแจกเงินดิจิทัล เป็นโครงการที่ประชาชนจับตามอง การฟังเสียงและตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกัน
ของประชาชนแต่ละกลุ่มให้ได้มากที่สุด จะทำให้รัฐบาลประสบความสำเร็จในนโยบายนี้
รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
กล่าวว่า การลดขนาดและวงเงินของการแจกเงินดิจิทัลลงมา จะทำให้สามารถลดความเสี่ยงทางการคลังในอนาคตลงมาได้
แม้จะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีหน้าลดลงบ้าง แต่จะให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากกว่า
ในระยะปานกลาง หากมุ่งเป้าไปที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยประมาณ 15 ล้านคน จะใช้เงินงบประมาณ 1.5 แสนล้านบาท
และอาจไม่จำเป็นต้องกู้เงินเลย นอกจากนี้ การแจกเฉพาะกลุ่มเน้นไปที่คนยากจน หรือชนชั้นกลางรายได้ต่ำ
คนกลุ่มนี้มีแนวโน้มใช้จ่ายมากและเร็ว มักซื้อสินค้าจำเป็นภายในประเทศ จะทำให้ประสิทธิภาพของโครงการแจกเงินเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามหากไม่แจกเงินถ้วนหน้า รัฐบาลควรปรับเกณฑ์คัดกรองคนมีรายได้สูง นอกเหนือจากเกณฑ์เงินฝาก
และเงินเดือน รัฐบาลควรนำสินทรัพย์อื่นๆ และภาระหนี้สินมาร่วมพิจารณา การที่ตัดคนที่เงินเดือนเกินกว่า 25,000 บาทออก
แต่ยังใช้งบประมาณมากกว่า 430,000 ล้านบาท เนื่องจากคนจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีอยู่ประมาณ 4 ล้านกว่าคน
จากกำลังแรงงานทั้งหมดเกือบ 40 ล้านคนนั้น การที่คนเสียภาษี 4 ล้านคนนี้ แบกรับภาระมาตราแจกเงิน
เกิดประเด็นทางนโยบายสาธารณะว่า เราควรพัฒนาระบบภาษีให้เป็นธรรม และ ขยายฐานภาษีให้กว้างขวางขึ้น
และ เร่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจโดยด่วน
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://shorturl.asia/58NrQ
เสนอแจกเงินดิจิทัล 2 เฟส เน้นกลุ่มรายได้น้อยก่อน
"โครงการเงินดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาท" กลายเป็น "ทอล์ก ออฟเดอะทาวน์" โดยในช่วงนี้ก็จะมีความเห็นจากหลายฝ่าย
เสนอแนะเกี่ยวกับโครงการนี้ อย่างเช่นการเสนอให้แจกเงินดิจิทัล 2 เฟส เน้นกลุ่มรายได้น้อยก่อน
ดร.ธรรม์ธีร์ สุกโชติรัตน์ อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวถึงนโยบายการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท
ของรัฐบาล ที่มีการปรับเกณฑ์การแจกเงินดิจิทัลใหม่ โดยอาจจะตัดกลุ่มคนที่มีรายได้ 25,000 – 50,000 บาท ต่อเดือน
และยังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียดของโครงการว่า หากรัฐบาลจะเดินหน้าโครงการต่อ สามารถกู้เงินบางส่วนมาทำได้
โดยอาจแบ่งจ่ายเป็น 2 เฟส
โดยเฟสแรกเน้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยกว่า 40,000-50,000 บาทก่อน เพราะเป็นกลุ่มที่จำเป็นต้องนำเงินไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
เมื่อเกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ และเมื่อรัฐมีรายได้กลับมา ค่อยเริ่มแจกในเฟสที่ 2 ให้กับคนที่มีรายได้สูงขึ้น
ส่งเสริมให้กลุ่มที่มีรายได้สูง ใช้เงิน 10,000 บาทเพื่อการลงทุน จะทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้น
ดร.ธรรม์ธีร์ กล่าวว่า ส่วนที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญ คือการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา และ ให้ข้อเท็จจริงกับประชาชน
เพราะโครงการแจกเงินดิจิทัล เป็นโครงการที่ประชาชนจับตามอง การฟังเสียงและตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกัน
ของประชาชนแต่ละกลุ่มให้ได้มากที่สุด จะทำให้รัฐบาลประสบความสำเร็จในนโยบายนี้
รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
กล่าวว่า การลดขนาดและวงเงินของการแจกเงินดิจิทัลลงมา จะทำให้สามารถลดความเสี่ยงทางการคลังในอนาคตลงมาได้
แม้จะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีหน้าลดลงบ้าง แต่จะให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากกว่า
ในระยะปานกลาง หากมุ่งเป้าไปที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยประมาณ 15 ล้านคน จะใช้เงินงบประมาณ 1.5 แสนล้านบาท
และอาจไม่จำเป็นต้องกู้เงินเลย นอกจากนี้ การแจกเฉพาะกลุ่มเน้นไปที่คนยากจน หรือชนชั้นกลางรายได้ต่ำ
คนกลุ่มนี้มีแนวโน้มใช้จ่ายมากและเร็ว มักซื้อสินค้าจำเป็นภายในประเทศ จะทำให้ประสิทธิภาพของโครงการแจกเงินเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามหากไม่แจกเงินถ้วนหน้า รัฐบาลควรปรับเกณฑ์คัดกรองคนมีรายได้สูง นอกเหนือจากเกณฑ์เงินฝาก
และเงินเดือน รัฐบาลควรนำสินทรัพย์อื่นๆ และภาระหนี้สินมาร่วมพิจารณา การที่ตัดคนที่เงินเดือนเกินกว่า 25,000 บาทออก
แต่ยังใช้งบประมาณมากกว่า 430,000 ล้านบาท เนื่องจากคนจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีอยู่ประมาณ 4 ล้านกว่าคน
จากกำลังแรงงานทั้งหมดเกือบ 40 ล้านคนนั้น การที่คนเสียภาษี 4 ล้านคนนี้ แบกรับภาระมาตราแจกเงิน
เกิดประเด็นทางนโยบายสาธารณะว่า เราควรพัฒนาระบบภาษีให้เป็นธรรม และ ขยายฐานภาษีให้กว้างขวางขึ้น
และ เร่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจโดยด่วน
ขอบคุณข้อมูลจาก https://shorturl.asia/58NrQ