เข้าสู่การเดินทางครั้งสุดท้ายในปีนี้ จึงได้เลือกเดินทางไปประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เพื่อปิด Passport เล่มปัจจุบันที่ใกล้ครบวาระ 5 ปี ก่อนจะประเดิม Passport ด้วยอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นร่วมทศวรรษ แต่ด้วยเหตุผลหลักๆ ที่ต้องการท่องแดนมังกรนั่นก็คือ เที่ยวชมวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ปักกิ่ง และชมความทันสมัยที่ Influencer และ Vlogger หลายๆท่านกล่าวถึงความเป็นยุโรปในดินแดนมังกรอย่างเซี่ยงไฮ้ จึงเป็นสาเหตุที่ต้องดลจิตดลใจให้มารื่นรมย์ความทันสมัยในแดนมังกร ซึ่งประกอบด้วยการเดินทางเมืองละ 3 วัน และการเดินทางรถไฟความเร็วสูงแบบนอนข้ามคืนจากปักกิ่งไปเซี่ยงไฮ้
สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนการเดินทาง
1. ตั๋วเครื่องบินไป-กลับ ในการเดินทางครั้งนี้ไป-กลับ เราเลือกในบริการคนละสายการบินเนื่องจากปัจจัยทางทางราคาและรูทของการบินที่เลือกไปปักกิ่งกลับเซี่ยงไฮ้ โดยที่ขาไปใช้บริการของการบิน Royal Brunei Airlines ไฟลท์ BI-520/BKK-BWN (21.00-00.45 +1) เดินทางในวันที่ 11 ตุลาคม 2023, BI-623/BWN-PXK (02.00-07.25) เดินทางในวันที่ 12 ตุลาคม 2023 และในส่วนขากลับเราใช้บริการของ Spring Airlines สายการบิน Low Cost สัญชาติจีน ไฟลท์ 9C8755/PVG-BKK (08.50-12.35) เดินทางในวันที่ 18 ตุลาคม 2023 รวมราคาตั๋วเครื่องบินไปกลับอยู่ที่ 11,553 บาท
2. การเดินทางระหว่างเมืองในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ต้องเดินทางโดยรถไฟความสูง ดังนั้นการจองตั๋วรถไฟล่วงหน้าจะช่วยให้ยืนยันการเดินทางของเราไม่มีแป้ก ไม่มีแห้ว เราจองผ่าน
https://www.chinahighlights.com/china-trains/ เดินทางคืนวันที่ 14 ตุลาคม 2023 รถไฟขบวนที่ D709 จากสถานี Beijing South Railway Station เวลา 19.46 ถึงสถานี Shanghai Railway Station เวลา 07.46 ในวันที่ 15 ตุลาคม 2023 ค่าเสียหายอยู่ที่ 4,127 บาท ซึ่งทางเว็บเองก็จะรวมกับค่าจองล่วงหน้าด้วยทำให้ราคาที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว จะเป็น Class Soft Sleeper นอนสบาย 1 ห้องนอน มี 4 เตียง ( 2 เตียงบน และ 2 เตียงล่าง) ถือว่าได้ทั้งเดินทางไกลรวมกับค่าที่พักไปในตัวจึงพอสู้ราคาได้
- จริงๆ การเดินทางด้วยรถไฟความเร็วระหว่างปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ มีเดินทางแบบ 4-5 ชั่วโมง แต่ราคาจะแรงกว่านี้ เราเลยเลือกแบบค้างคืน 12 ชั่วโมง ได้ทั้งเดินทางและพักผ่อน
3. ที่พักเรายังคงให้บริการกับทาง Booking เช่นเดิมในการค้นหาที่พักดีๆ กิน อิ่ม นอนหลับในราคาไม่แรง ใกล้สถานีรถไฟใต้ดิน ป้ายรถเมล์ ดังนี้
ปักกิ่ง เราพัก 2 คืน พักที่ Happy Dragon Hotel -close to Forbidden City&Wangfujing Street,Newly renovated with tour service ราคารวมภาษีท้องถิ่นอยู่ที่ 5,459.24 บาท/2,729.62 บาทต่อคน ทำเลถือว่าดีมากๆ ห่างจากพระราชวังต้องห้ามไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร ใกล้สถานีรถไฟใต้ดินสาย 8 สามารถเดินทางไปยังสถานที่ที่สำคัญในกรุงปักกิ่ง
เซี่ยงไฮ้ เราพัก 3 คืน ที่ Sanghai Fish Inn East Nanjing Road ราคารวมภาษีท้องถิ่นอยู่ที่ 6,550.32 บาท/3,275.16 บาทต่อคน อันนี้แนะนำเลย เดินทาง ประมาณ 5-7 นาทีถึงถนนหนานจิง และเดินไม่ถึง 10 นาทีถึง The Bund ใกล้สถานีรถไฟใต้ดินสาย 10 เป็นที่พักทำเลดีมากๆ ห้องขนาดไม่ใหญ่มาก มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ พออยู่ได้ เดินทางไปไหนมาไหนสะดวก
4. วีซ่าจีน จองผ่าน www.visaforchina.cn/BKK2_TH/ เพื่อลงทะเบียนข้อมูลอันยาวเหยียดร่วม 10 หน้าและจองวันเข้าทำวีซ่า ส่วนเราทำวีซ่าแบบ Single Trip ในราคา 1,750 บาท (ราคาทำช่วงเดือนกรกฎาคม ตอนนี้ขึ้นราคาเป็น 1,770 บาท) ใช้เวลา 4 วันทำการก็ได้วีซ่าแล้ว
- วีซ่าจีนต้องไปทำและรับด้วยตนเองที่อาคารธนภูมิ ชั้น 5 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
5. สัญญาณโทรศัพท์ มีหลายๆท่านแนะนำว่าไม่ควรไปซื้อซิมจีน จะทำให้เราเล่น Social Network เพื่อการติดต่อสื่อสารไม่ได้ เราจึงได้ซื้อ Package Roaming (Travel Pack) จาก TruemoveH แบบ 7 วัน 10 GB ในราคา 427 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม แถมได้เพิ่มอีก 1 GB ถ้ากดเบอร์รับสิทธิ์ตามที่ True-Dtac แจ้งไว้ครับ)
6. การซื้อตั๋วเข้าชมสถานที่ต่างๆ ล่วงหน้า เราไม่ได้ซื้อเนื่องจากเว็บไซต์ Agent ต่างๆ จะคิดค่าจองล่วงหน้า ต่างจากประเทศอื่นๆ ในยุโรปจะมีตั๋วเข้าสถานที่ต่างๆในราคาพิเศษ หรือการจองตั๋วผ่าน Wechat ถือว่ายากเย็นแสนเข็ญสำหรับเราเพราะคำอธิบายต่างๆประกอบการกรอกข้อมูลเป็นภาษาจีน พอถึงขั้นตอนการจ่ายเราไม่สามารถจ่ายเพราะติดการกรอกเบอร์โทรศัพท์ ไม่รู้ว่าเขาต้องเบอร์จีนหรือเปล่า
แต่เราได้ซื้อบริการรถบัสเข้าชมกำแพงเมืองจีนด่าน Mutianyu จาก Mubus ผ่านเว็บไซท์ Klook ในราคา 579 บาท ราคานี้จะได้เฉพาะรสบัสรับส่งไป-กลับ ปักกิ่ง-Mutianyu Great Wall ซึ่งไม่รวมค่าเข้าชมกำแพงเมืองจีนอยู่ที่ 140 หยวน (700บาท) ซึ่งเราไปทางตะวันออกของด่าน Mutianyu ทั้งแต่ป้อม 6 จนถึงป้อม 1 ของกำแพง ด้วยการขึ้นกระเช้าห้อยขาไปยังกำแพง และลงมายังสถานีรถบัสด้วย Toboggan อีกอย่างที่ไม่รวมอยู่ในค่าใช้จ่ายของ Mubus คือค่าอาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์ไม่รวมเครื่องดื่ม อยู่ที่ 50 หยวน (250 บาท) ต้องขอบคุณทาง Mubus ที่ขาย Option ในราคาพิเศษๆ เพราะร้านอาหารแถวที่จอดรถบัส ราคาค่อนข้างแรง ได้อาหารบุฟเฟต์จาก Mubus ช่วยให้อิ่มท้องไปอีกมื้อ
7. การใช้จ่ายในประเทศจีน หลายท่าน Influence หรือ Vlogger ส่วนใหญ่กล่าวว่าจีนเป็นสังคมไร้เงินสดก็จริงอยู่ครับ ทางเราได้ใช้จ่าย Alipay เป็นหลัก ซึ่งผูกกับบัตร Youtrip ไม่ว่าจะเป็นค่าโดยสารขนส่งสาธารณะเป็นหลัก ค่าโรงแรม ค่าอาหาร ค่าเข้าชมสถานที่ต่างๆในปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ แต่ในกรณีเกิดเหตุขัดข้องที่ไม่สามารถใช้ Alipay ชำระค่าใช้จ่ายได้ ก็ควรเตรียมเงินสดสำรองไปบ้างก็ดีนะครับ เพราะหลายๆที่ก็ยังรับเงินสดอยู่นะครับ
- การใช้ Alipay เพื่อชำระค่าใช้จ่ายมีทั้ง Scan QR Code ร้านค้าเพื่อชำระค่าใช้จ่ายหรือเปิด QR Code ของตัวเองเพื่อให้ร้านค้า Scan เพื่อทำการชำระเงินครับ
- ในปักกิ่งเราไม่สามารถสร้าง QR Code ผ่าน Application Alipay เพื่อใช้บริการรถไฟใต้ดินได้ แต่สามารถสร้าง QR Code เพื่อใช้ในรถเมล์ เพื่อไม่ให้เป็นการยุ่งยาก เราได้ซื้อบัตร Yikatong ซึ่งครอบคลุมการเดินทางทั้งรถไฟใต้ดินและรถเมล์ ที่สถานี Caoqiao กับเจ้าหน้าที่ซึ่งพูดภาษาจีนล้วน จึงมีความจำเป็นต้องใช้ Google Translate เพื่อให้การสื่อสารได้ง่ายขึ้น เราจะได้บัตร Yikatong ในราคามัดจำ 20 หยวน (100 บาท) และ Top-up เงินเข้าบัตรไป 80 หยวน (400 บาท) ซึ่งยอดเงินที่ใช้ได้จริงๆ ไม่ใช่ 100 หยวน นะครับ เป็น 80 หยวนแทน แต่บัตรสามารถนำไปคืนเงินในบัตรและเงินมัดจำได้ แต่ต้องคืนกับสถานที่ที่รับคืนบัตร Yikatong เท่านั้น ไม่สามารถรับคืนในสถานรถไฟใต้ดินทุกสถานี
ภาพจาก www.thebeijinger.com
- ในเซี่ยงไฮ้เราสามารถสร้าง QR Code เพื่อชำระค่าโดยสารทั้งรถเมล์และรถไฟใต้ดินผ่าน Alipay ได้สบายๆ แค่ก่อนเข้าสถานีรถไฟใต้ดินหรือขึ้นรถเมล์ ยกโทรศัพท์เปิด QR Code ผ่าน Alipay ก็สามารถ Scan ชำระค่าโดยสารได้สบายๆ
ภาพจาก www.smartshanghai.com
8. อาหารการกินในประเทศจีนถือว่า Street Food ตามสถานที่ต่างๆ ราคาไม่ได้แรงมากนัก พอทานได้วันละ 1-2 มื้อ แต่เพื่อเป็นการสำรองเหตุต่างๆ ก็ได้เตรียมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและโจ๊กกึ่งสำเร็จไปเผื่อกรณีอาหารราคาแรงเกินไปหรือหาทานยากก็จะพอช่วยบรรเทาความหิวโหยได้พอสมควร อีกทั้งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้ระดับหนึ่งเลยทีเดียว
ในลำดับต่อไปเป็นภาพบรรยายการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆในกรุงปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้นะครับ
[CR] ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ ไม่ใช่แค่เวเฟอร์ การเดินทางของสองเมืองที่มีระยะห่างกว่า 1,200 กิโลเมตร
สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนการเดินทาง
1. ตั๋วเครื่องบินไป-กลับ ในการเดินทางครั้งนี้ไป-กลับ เราเลือกในบริการคนละสายการบินเนื่องจากปัจจัยทางทางราคาและรูทของการบินที่เลือกไปปักกิ่งกลับเซี่ยงไฮ้ โดยที่ขาไปใช้บริการของการบิน Royal Brunei Airlines ไฟลท์ BI-520/BKK-BWN (21.00-00.45 +1) เดินทางในวันที่ 11 ตุลาคม 2023, BI-623/BWN-PXK (02.00-07.25) เดินทางในวันที่ 12 ตุลาคม 2023 และในส่วนขากลับเราใช้บริการของ Spring Airlines สายการบิน Low Cost สัญชาติจีน ไฟลท์ 9C8755/PVG-BKK (08.50-12.35) เดินทางในวันที่ 18 ตุลาคม 2023 รวมราคาตั๋วเครื่องบินไปกลับอยู่ที่ 11,553 บาท
2. การเดินทางระหว่างเมืองในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ต้องเดินทางโดยรถไฟความสูง ดังนั้นการจองตั๋วรถไฟล่วงหน้าจะช่วยให้ยืนยันการเดินทางของเราไม่มีแป้ก ไม่มีแห้ว เราจองผ่าน https://www.chinahighlights.com/china-trains/ เดินทางคืนวันที่ 14 ตุลาคม 2023 รถไฟขบวนที่ D709 จากสถานี Beijing South Railway Station เวลา 19.46 ถึงสถานี Shanghai Railway Station เวลา 07.46 ในวันที่ 15 ตุลาคม 2023 ค่าเสียหายอยู่ที่ 4,127 บาท ซึ่งทางเว็บเองก็จะรวมกับค่าจองล่วงหน้าด้วยทำให้ราคาที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว จะเป็น Class Soft Sleeper นอนสบาย 1 ห้องนอน มี 4 เตียง ( 2 เตียงบน และ 2 เตียงล่าง) ถือว่าได้ทั้งเดินทางไกลรวมกับค่าที่พักไปในตัวจึงพอสู้ราคาได้
- จริงๆ การเดินทางด้วยรถไฟความเร็วระหว่างปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ มีเดินทางแบบ 4-5 ชั่วโมง แต่ราคาจะแรงกว่านี้ เราเลยเลือกแบบค้างคืน 12 ชั่วโมง ได้ทั้งเดินทางและพักผ่อน
3. ที่พักเรายังคงให้บริการกับทาง Booking เช่นเดิมในการค้นหาที่พักดีๆ กิน อิ่ม นอนหลับในราคาไม่แรง ใกล้สถานีรถไฟใต้ดิน ป้ายรถเมล์ ดังนี้
ปักกิ่ง เราพัก 2 คืน พักที่ Happy Dragon Hotel -close to Forbidden City&Wangfujing Street,Newly renovated with tour service ราคารวมภาษีท้องถิ่นอยู่ที่ 5,459.24 บาท/2,729.62 บาทต่อคน ทำเลถือว่าดีมากๆ ห่างจากพระราชวังต้องห้ามไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร ใกล้สถานีรถไฟใต้ดินสาย 8 สามารถเดินทางไปยังสถานที่ที่สำคัญในกรุงปักกิ่ง
เซี่ยงไฮ้ เราพัก 3 คืน ที่ Sanghai Fish Inn East Nanjing Road ราคารวมภาษีท้องถิ่นอยู่ที่ 6,550.32 บาท/3,275.16 บาทต่อคน อันนี้แนะนำเลย เดินทาง ประมาณ 5-7 นาทีถึงถนนหนานจิง และเดินไม่ถึง 10 นาทีถึง The Bund ใกล้สถานีรถไฟใต้ดินสาย 10 เป็นที่พักทำเลดีมากๆ ห้องขนาดไม่ใหญ่มาก มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ พออยู่ได้ เดินทางไปไหนมาไหนสะดวก
4. วีซ่าจีน จองผ่าน www.visaforchina.cn/BKK2_TH/ เพื่อลงทะเบียนข้อมูลอันยาวเหยียดร่วม 10 หน้าและจองวันเข้าทำวีซ่า ส่วนเราทำวีซ่าแบบ Single Trip ในราคา 1,750 บาท (ราคาทำช่วงเดือนกรกฎาคม ตอนนี้ขึ้นราคาเป็น 1,770 บาท) ใช้เวลา 4 วันทำการก็ได้วีซ่าแล้ว
- วีซ่าจีนต้องไปทำและรับด้วยตนเองที่อาคารธนภูมิ ชั้น 5 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
5. สัญญาณโทรศัพท์ มีหลายๆท่านแนะนำว่าไม่ควรไปซื้อซิมจีน จะทำให้เราเล่น Social Network เพื่อการติดต่อสื่อสารไม่ได้ เราจึงได้ซื้อ Package Roaming (Travel Pack) จาก TruemoveH แบบ 7 วัน 10 GB ในราคา 427 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม แถมได้เพิ่มอีก 1 GB ถ้ากดเบอร์รับสิทธิ์ตามที่ True-Dtac แจ้งไว้ครับ)
6. การซื้อตั๋วเข้าชมสถานที่ต่างๆ ล่วงหน้า เราไม่ได้ซื้อเนื่องจากเว็บไซต์ Agent ต่างๆ จะคิดค่าจองล่วงหน้า ต่างจากประเทศอื่นๆ ในยุโรปจะมีตั๋วเข้าสถานที่ต่างๆในราคาพิเศษ หรือการจองตั๋วผ่าน Wechat ถือว่ายากเย็นแสนเข็ญสำหรับเราเพราะคำอธิบายต่างๆประกอบการกรอกข้อมูลเป็นภาษาจีน พอถึงขั้นตอนการจ่ายเราไม่สามารถจ่ายเพราะติดการกรอกเบอร์โทรศัพท์ ไม่รู้ว่าเขาต้องเบอร์จีนหรือเปล่า แต่เราได้ซื้อบริการรถบัสเข้าชมกำแพงเมืองจีนด่าน Mutianyu จาก Mubus ผ่านเว็บไซท์ Klook ในราคา 579 บาท ราคานี้จะได้เฉพาะรสบัสรับส่งไป-กลับ ปักกิ่ง-Mutianyu Great Wall ซึ่งไม่รวมค่าเข้าชมกำแพงเมืองจีนอยู่ที่ 140 หยวน (700บาท) ซึ่งเราไปทางตะวันออกของด่าน Mutianyu ทั้งแต่ป้อม 6 จนถึงป้อม 1 ของกำแพง ด้วยการขึ้นกระเช้าห้อยขาไปยังกำแพง และลงมายังสถานีรถบัสด้วย Toboggan อีกอย่างที่ไม่รวมอยู่ในค่าใช้จ่ายของ Mubus คือค่าอาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์ไม่รวมเครื่องดื่ม อยู่ที่ 50 หยวน (250 บาท) ต้องขอบคุณทาง Mubus ที่ขาย Option ในราคาพิเศษๆ เพราะร้านอาหารแถวที่จอดรถบัส ราคาค่อนข้างแรง ได้อาหารบุฟเฟต์จาก Mubus ช่วยให้อิ่มท้องไปอีกมื้อ
7. การใช้จ่ายในประเทศจีน หลายท่าน Influence หรือ Vlogger ส่วนใหญ่กล่าวว่าจีนเป็นสังคมไร้เงินสดก็จริงอยู่ครับ ทางเราได้ใช้จ่าย Alipay เป็นหลัก ซึ่งผูกกับบัตร Youtrip ไม่ว่าจะเป็นค่าโดยสารขนส่งสาธารณะเป็นหลัก ค่าโรงแรม ค่าอาหาร ค่าเข้าชมสถานที่ต่างๆในปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ แต่ในกรณีเกิดเหตุขัดข้องที่ไม่สามารถใช้ Alipay ชำระค่าใช้จ่ายได้ ก็ควรเตรียมเงินสดสำรองไปบ้างก็ดีนะครับ เพราะหลายๆที่ก็ยังรับเงินสดอยู่นะครับ
- การใช้ Alipay เพื่อชำระค่าใช้จ่ายมีทั้ง Scan QR Code ร้านค้าเพื่อชำระค่าใช้จ่ายหรือเปิด QR Code ของตัวเองเพื่อให้ร้านค้า Scan เพื่อทำการชำระเงินครับ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้