ทำไมรถไฟความเร็วสูง สายอีสาน กรุงเทพ - หนองคาย ถึงคุ้มกว่าสายเหนือ มาดูกัน

สำหรับรถไฟความเร็วสูงของไทย ที่จะใช้วิ่ง คือ 250km/h

ซึ่งด้วยความเร็วเท่านี้  ระยะที่จะทำให้รถไฟสามารถแข่งขันกับเครื่องบินได้ คือ ระยะไม่เกิน 600 กิโลเมตร
(ระยะเวลาออกจากบ้านและไปถึงที่หมายใกล้เคียงหรือเร็วกว่าเครื่องบิน เพราะเครื่องบิน ต้อง+เวลา สำหรับสนามบินต่างจังหวัด ต้องต่อรถเข้าเมืองอีก  รวมถึงต้องไปถึงสนามบินแต่เนิ่นๆ)  

ปัจจุยที่ทำให้สายอีสานเกิดก่อนสายอื่น คือ

1. ระยะทางจากกรุงเทพ เหมาะสมที่จะแข่งขันกับเครื่องบินได้

จังหวัดใหญ่ๆสายอีสานที่รถไฟผ่าน (คิดที่ระยะทางของการรถไฟ ที่จะใกล้กว่าระยะทางถนนเล็กน้อย) 
- นครราชสีมา (250 กิโลเมตร)    
- ขอนแก่น (450 กิโลเมตร)    
- อุดร (565กิโลเมตร )     
- หนองคาย(625 กิโลเมตร)
จะเห็นว่า ทุกระยะ แทบจะไม่เกิน 600 กิโลเมตรเลย ทำให้รถไฟสายนี้ ตอบโจทย์ในด้านเวลาการแข่งขันกับเครื่องบินได้

จังหวัดใหญ่ๆทางภาคเหนือที่รถไฟผ่าน  
- นครสวรรค์  (210 กิโลเมตร)
- พิษโลก (355 กิโลเมตร)
- สุโขทัย (415 กิโลเมตร)
- ลำปาง ( 640 กิโลเมตร)
- เชียงใหม่ (730 กิโลเมตร)
สำหรับสายเหนือ จะเห็นว่า ระยะที่ใกล้เคียงกับหนองคายคือ ลำปาง ซึ่งเป็นจุดที่สามารถแข่งขันกับเครื่องบินได้  แต่...สำหรับคนที่โดยสารรถไฟบ่อยๆ จะรู้ได้เลยว่า ปลายทางของคนกว่า80% ของรถไฟสายเหนือ คือ เชียงใหม่

2. จำนวนประชากรของแต่ละจังหวัดที่รถไฟผ่าน
- โคราช    ประมาณ 2 ล้านคน
- ขอนแก่น 1.8 ล้านคน
- เชียงใหม่ 1.7 ล้านคน
- อุดร    1.5 ล้านคน

จะเห็นว่าสายอีสาน มีจังหวัดที่ประชากรเยอะถึง3 จังหวัด  ส่วนสายเหนือ มีปลายทางแค่เชียงใหม่เท่านั้นที่ประชากรเยอะ แถมยังไกลกว่าระยะแข่งขันกับเครื่องบินด้วย

** นี่แหละครับ รถไฟความเร็วสูงสายอีสานจึงเกิดก่อนสายอื่นๆ เมื่อใดที่เราทำเองได้  ใช้บริษัทคนไทยได้  ใช้วัสดุจากภายในประเทศทั้งหมด  ลดต้นทุนการผลิต ในอนาคตก็คงจะเกิดสายเหนือขึ้นมาแน่ๆครับ  **
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่