เมื่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีมีการพัฒนา และเติบโตเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด ในขณะที่ธุรกิจหลายแห่งปรับตัวไปสู่การประมวลผลแบบคลาวด์ “Cloud Computing” อย่างเต็มรูปแบบแล้ว แต่ภาครัฐของประเทศไทยยังอยู่ในสถานะแค่เตรียมความพร้อมและยังหาทางบริหารจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาลไม่ได้จริง หลายครั้งที่ข้อมูลประชาชนคนไทยหลุดออกมาจากองค์กรของภาครัฐ ถึงแม้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้นจะยังไม่ได้เป็นข้อมูลที่มีความสำคัญมากมายก็ตามที อย่างไรแล้ว การที่องค์กรภาครัฐไม่สามารถเก็บข้อมูลส่วนตัวของคนไทยไว้ได้ ยิ่งทำให้เห็นว่าหน่วยงาน และองค์กรของภาครัฐยังไม่ได้ให้ความสนใจกับนโยบายดิจิทัลเท่าทีควร โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องที่สำคัญอย่าง ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ “Cybersecurity” และ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล “Data Privacy”
หลายประเทศทั่วโลกมีนโยบายการเคลื่อนย้ายข้อมูลภาครัฐเข้าสู่ระบบการประมวลผลแบบคลาวด์ “Government Cloud First Policy” อย่างชัดเจน แล้วในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีความชัดเจนใดใดเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าว นอกจากองค์กรภาคธุรกิจเท่านั้นที่ต่างเร่ง และแข็งขันกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ บิ๊กดาต้า เอไอ บล็อกเชน ไอโอที หรือแม้แต่ เมตาเวิร์ส ถึงแม้ว่าการพัฒนา และปรับปรุงระบบไอทีในองค์กรจะเป็นเรื่องที่ยาก มีความล่าช้า และต้องมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง
ทำให้ผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะใหญ่ๆ จากต่างประเทศ ไม่ว่าจะป็น Amazon web Services (AWS), Microsoft Azure หรือ Google Cloud Platform เร่งพัฒนาระบบ และบริการคลาวด์ของตนเองให้มีประสิทธิภาพ และเสถียรภาพตอบโจทย์กับการใช้งานของผู้ใช้บริการในทุกรูปแบบ จนทำให้บริษัทไอทีต่างๆ เหล่านี้สามารถพัฒนาระบบไอที และสามารถสร้างนวัตกรรมในระบบดิจิทัลที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ตรงความต้องการ และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ประเทศไทยเราก็คงจะปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า การใช้บริการระบบคลาวด์จะทำให้องค์กรสามารถขับเคลื่อน Digital Transformation ได้ดี และง่ายขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบไอทีใหม่ที่มีค่าใช้จ่ายสูงตามมาด้วย
การใช้บริการคลาวด์สาธารณะ ที่บริษัทขนาดใหญ่ และแม้แต่องค์กรภาครัฐของต่างประเทศก็หันมาใช้ระบบคลาวด์สาธารณะกันมากขึ้น เพราะเชื่อมั่นว่าบริษัทผู้ให้บริการเหล่านี้มีระบบรักษาความปลอดภัยที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก อีกทั้งบริการคลาวด์สาธารณะสามารถรองรับการใช้ได้ทั่วโลก และได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่มีอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ก็ใช้งานได้แล้ว
หลายธุรกิจในประเทศไทยเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้บริการด้านซอฟต์แวร์ขององค์กรกันมากขึ้น จากการซื้อลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ก็หันไปใช้งานเช่าใช้งานแบบรายเดือน หรือรายปี ที่เห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ บริการโปรแกรม Microsoft Office 365
เมื่อเทคโนโลยีไอทีเปลี่ยน ผู้พัฒนา ผู้ให้บริการ ผู้จำหน่าย และผู้ใช้บริการก็หันไปให้ความสำคัญกับบริการต่างๆ ที่สามารถให้ใช้งานผ่านระบบคลาวด์กันมากขึ้น จนเรียกได้ว่าเป็น นโยบาย Cloud First คือ หากระบบให้บริการไม่สามารถให้บริการบยระบบคลาวด์ได้ ก็อาจจะเป็นเหตุผลสำคัญที่องค์กร หรือแม้แต่ผู้ใช้งานจะหันมาสนใจก็จะน้อยลงไป
ดังนั้น ควรถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทย โดยเฉพาะรัฐบาลจะต้องเปลี่ยนแนวความคิดแบบเดิมๆ ที่ว่า บริการคลาวด์จะไม่ปลอดภัย เพราะภาคธุรกิจต่างๆ หันมาใช้ระบบคลาวด์กับระบบขององค์กรกันมากขึ้น จนทำให้สามารถแข่งขันกันได้ในยุคที่โลกดิจิทัลเปลี่ยบนแปลงอย่างรวดเร็ว และตลอดเวลา
การหันมาใช้ระบบคลาวด์ในยุคปัจจุบันจะทำให้กิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลต่อประเทศได้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อภาครัฐมีการส่งเสริม และกำหนดนโยบาย "Cloud-First Policy" ไว้ชัดเจน และส่งเสริมให้ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ต่างๆ เข้ามาตั้งบริษัทให้บริการโดยตรงในประเทศไทย ดีกว่าการให้บริษัทเหล่านั้นไปตั้งอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน
เหตุผลที่รัฐบาลควรสนับสนุนให้บริษัทอย่าง Facebook, Google, AWS หรือ Microsoft ให้มาจัดตั้งบริษัท และดำเนินงานในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม
- การเติบโตทางเศรษฐกิจ : การมีอยู่ของบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีเหล่านี้ จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะการดึงดูดการลงทุนทั้งทางตรง และทางอ้อมจากทั้งใน และต่างประเทศ นำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัล อีกทั้งยังช่วยสร้างโอกาสในการทำงาน และการส่งเสริมนวัตกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของคนไทย และประเทศไทย
- การถ่ายทอดความรู้และการพัฒนาทักษะ : การร่วมมือกับบริษัทเหล่านี้จะสามารถนำไปสู่การแบ่งปันความรู้ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญ และผู้สนใจชาวไทยได้มีโอกาสที่จะได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และพัฒนาทักษะใหม่ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถนำไปสู่การเติบโตของระบบนิเวศทางเทคโนโลยีในท้องถิ่น และเพิ่มพูนทุนมนุษย์ของประเทศไทยให้มีความรู้ทางเทคโนโลยีเท่าเทียมนานาประเทศได้
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน : การดึงดูดบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ให้เข้ามาในประเทศ จะสามารถช่วยกระตุ้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เช่น การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และศูนย์ข้อมูล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งธุรกิจและบุคคลากรในประเทศไทย อีกทั้งการใช้เวลาเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพก็จะทำได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
- บริการดิจิทัลจะได้รับการปรับปรุง : บริษัทต่างๆ เช่น Facebook, Google, AWS และ Microsoft จะนำเสนอบริการ และแพลตฟอร์มดิจิทัลที่หลากหลาย ซึ่งสามารถปรับปรุงภาคส่วนต่างๆ รวมถึงระบบอีคอมเมิร์ซ ระบบการศึกษา ระบบการดูแลสุขภาพ และบริการของรัฐบาลให้มีประสิทธิภภาพมากขึ้น การเข้ามาของบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้ จะสามารถช่วยเร่งการเปลี่ยนแปลงทางระบบดิจิทัลเทคโนโลยีของประเทศไทย และปรับปรุงคุณภาพโดยรวมของบริการที่มีให้บริการแบบสาธารณะได้ดีขึ้น
- ความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัว : การร่วมมือกับบริษัทเหล่านี้ จะสามารถนำเทคโนโลยีขั้นสูง และความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของข้อมูล มาช่วยปกป้องข้อมูลของประเทศไทย และจะทำให้สามารถรับประกันได้ว่า ความเป็นส่วนตัวของพลเมืองไทยบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ จะยิ่งมีความปลอดภัย และจะดึงดูดผู้ใช้บริการให้ยอมรับบริการจากแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น
- อธิปไตยของชาติ : ด้วยการมีระบบคลาวด์ในประเทศ รัฐบาลจะสามารถมั่นใจได้ว่า ข้อมูลความมั่นคง และข้อมูลการให้บริการที่สำคัญ จะไม่ต้องพึ่งพาหน่วยงาน หรือบริการที่อยู่ในต่างประเทศ
จะเห็นได้ว่า การสนับสนุนบริษัทเหล่านี้ให้จัดตั้ง ดำเนินการในประเทศไทยสามารถสร้างประโยชน์ได้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับความมั่นคงและการปกป้องข้อมูลของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็จำเป็นต้องสร้างกฎระเบียบ และกรอบการทำงานที่เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่าการใช้ข้อมูลอย่างมีระบบ ระเบียบ และความรับผิดชอบที่จะทำเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติจะสามารถเกิดขึ้นได้จริง
เพราะการขับเคลื่อนจากการส่งเสริมนโยบายของภาครัฐจะเป็นประโยชน์ที่จะช่วยส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศสามารถขับเคลื่อยการเปลี่ยนแปลงร่วมกันทางดิจทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังจะช่วยส่งเสริม และวางตำแหน่งของประเทศไทยให้อยู่ในฐานะผู้เล่นคนสำคัญที่จะสามารถแข่งขันในด้านเศรษฐกิจระดับโลกได้
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยจะต้องมีนโยบาย Cloud-First ที่มี และใช้ได้จริงอยู่ในประเทศสักที
ทำให้ผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะใหญ่ๆ จากต่างประเทศ ไม่ว่าจะป็น Amazon web Services (AWS), Microsoft Azure หรือ Google Cloud Platform เร่งพัฒนาระบบ และบริการคลาวด์ของตนเองให้มีประสิทธิภาพ และเสถียรภาพตอบโจทย์กับการใช้งานของผู้ใช้บริการในทุกรูปแบบ จนทำให้บริษัทไอทีต่างๆ เหล่านี้สามารถพัฒนาระบบไอที และสามารถสร้างนวัตกรรมในระบบดิจิทัลที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ตรงความต้องการ และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ประเทศไทยเราก็คงจะปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า การใช้บริการระบบคลาวด์จะทำให้องค์กรสามารถขับเคลื่อน Digital Transformation ได้ดี และง่ายขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบไอทีใหม่ที่มีค่าใช้จ่ายสูงตามมาด้วย
การใช้บริการคลาวด์สาธารณะ ที่บริษัทขนาดใหญ่ และแม้แต่องค์กรภาครัฐของต่างประเทศก็หันมาใช้ระบบคลาวด์สาธารณะกันมากขึ้น เพราะเชื่อมั่นว่าบริษัทผู้ให้บริการเหล่านี้มีระบบรักษาความปลอดภัยที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก อีกทั้งบริการคลาวด์สาธารณะสามารถรองรับการใช้ได้ทั่วโลก และได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่มีอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ก็ใช้งานได้แล้ว
หลายธุรกิจในประเทศไทยเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้บริการด้านซอฟต์แวร์ขององค์กรกันมากขึ้น จากการซื้อลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ก็หันไปใช้งานเช่าใช้งานแบบรายเดือน หรือรายปี ที่เห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ บริการโปรแกรม Microsoft Office 365
เมื่อเทคโนโลยีไอทีเปลี่ยน ผู้พัฒนา ผู้ให้บริการ ผู้จำหน่าย และผู้ใช้บริการก็หันไปให้ความสำคัญกับบริการต่างๆ ที่สามารถให้ใช้งานผ่านระบบคลาวด์กันมากขึ้น จนเรียกได้ว่าเป็น นโยบาย Cloud First คือ หากระบบให้บริการไม่สามารถให้บริการบยระบบคลาวด์ได้ ก็อาจจะเป็นเหตุผลสำคัญที่องค์กร หรือแม้แต่ผู้ใช้งานจะหันมาสนใจก็จะน้อยลงไป
ดังนั้น ควรถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทย โดยเฉพาะรัฐบาลจะต้องเปลี่ยนแนวความคิดแบบเดิมๆ ที่ว่า บริการคลาวด์จะไม่ปลอดภัย เพราะภาคธุรกิจต่างๆ หันมาใช้ระบบคลาวด์กับระบบขององค์กรกันมากขึ้น จนทำให้สามารถแข่งขันกันได้ในยุคที่โลกดิจิทัลเปลี่ยบนแปลงอย่างรวดเร็ว และตลอดเวลา
การหันมาใช้ระบบคลาวด์ในยุคปัจจุบันจะทำให้กิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลต่อประเทศได้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อภาครัฐมีการส่งเสริม และกำหนดนโยบาย "Cloud-First Policy" ไว้ชัดเจน และส่งเสริมให้ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ต่างๆ เข้ามาตั้งบริษัทให้บริการโดยตรงในประเทศไทย ดีกว่าการให้บริษัทเหล่านั้นไปตั้งอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน
เหตุผลที่รัฐบาลควรสนับสนุนให้บริษัทอย่าง Facebook, Google, AWS หรือ Microsoft ให้มาจัดตั้งบริษัท และดำเนินงานในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม
- การเติบโตทางเศรษฐกิจ : การมีอยู่ของบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีเหล่านี้ จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะการดึงดูดการลงทุนทั้งทางตรง และทางอ้อมจากทั้งใน และต่างประเทศ นำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัล อีกทั้งยังช่วยสร้างโอกาสในการทำงาน และการส่งเสริมนวัตกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของคนไทย และประเทศไทย
- การถ่ายทอดความรู้และการพัฒนาทักษะ : การร่วมมือกับบริษัทเหล่านี้จะสามารถนำไปสู่การแบ่งปันความรู้ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญ และผู้สนใจชาวไทยได้มีโอกาสที่จะได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และพัฒนาทักษะใหม่ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถนำไปสู่การเติบโตของระบบนิเวศทางเทคโนโลยีในท้องถิ่น และเพิ่มพูนทุนมนุษย์ของประเทศไทยให้มีความรู้ทางเทคโนโลยีเท่าเทียมนานาประเทศได้
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน : การดึงดูดบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ให้เข้ามาในประเทศ จะสามารถช่วยกระตุ้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เช่น การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และศูนย์ข้อมูล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งธุรกิจและบุคคลากรในประเทศไทย อีกทั้งการใช้เวลาเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพก็จะทำได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
- บริการดิจิทัลจะได้รับการปรับปรุง : บริษัทต่างๆ เช่น Facebook, Google, AWS และ Microsoft จะนำเสนอบริการ และแพลตฟอร์มดิจิทัลที่หลากหลาย ซึ่งสามารถปรับปรุงภาคส่วนต่างๆ รวมถึงระบบอีคอมเมิร์ซ ระบบการศึกษา ระบบการดูแลสุขภาพ และบริการของรัฐบาลให้มีประสิทธิภภาพมากขึ้น การเข้ามาของบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้ จะสามารถช่วยเร่งการเปลี่ยนแปลงทางระบบดิจิทัลเทคโนโลยีของประเทศไทย และปรับปรุงคุณภาพโดยรวมของบริการที่มีให้บริการแบบสาธารณะได้ดีขึ้น
- ความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัว : การร่วมมือกับบริษัทเหล่านี้ จะสามารถนำเทคโนโลยีขั้นสูง และความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของข้อมูล มาช่วยปกป้องข้อมูลของประเทศไทย และจะทำให้สามารถรับประกันได้ว่า ความเป็นส่วนตัวของพลเมืองไทยบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ จะยิ่งมีความปลอดภัย และจะดึงดูดผู้ใช้บริการให้ยอมรับบริการจากแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น
- อธิปไตยของชาติ : ด้วยการมีระบบคลาวด์ในประเทศ รัฐบาลจะสามารถมั่นใจได้ว่า ข้อมูลความมั่นคง และข้อมูลการให้บริการที่สำคัญ จะไม่ต้องพึ่งพาหน่วยงาน หรือบริการที่อยู่ในต่างประเทศ
จะเห็นได้ว่า การสนับสนุนบริษัทเหล่านี้ให้จัดตั้ง ดำเนินการในประเทศไทยสามารถสร้างประโยชน์ได้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับความมั่นคงและการปกป้องข้อมูลของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็จำเป็นต้องสร้างกฎระเบียบ และกรอบการทำงานที่เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่าการใช้ข้อมูลอย่างมีระบบ ระเบียบ และความรับผิดชอบที่จะทำเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติจะสามารถเกิดขึ้นได้จริง
เพราะการขับเคลื่อนจากการส่งเสริมนโยบายของภาครัฐจะเป็นประโยชน์ที่จะช่วยส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศสามารถขับเคลื่อยการเปลี่ยนแปลงร่วมกันทางดิจทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังจะช่วยส่งเสริม และวางตำแหน่งของประเทศไทยให้อยู่ในฐานะผู้เล่นคนสำคัญที่จะสามารถแข่งขันในด้านเศรษฐกิจระดับโลกได้