โศกนาฏกรรมเหตุระเบิดโรงพยาบาล al-Ahli Baptist Hospital ในฉนวนกาซา หนึ่งในโรงพยาบาลสำคัญก่อตั้งโดยโบสถ์คริสต์ได้ถูกทำลายราบพร้อมกับ 500 ชีวิต และผู้บาดเจ็บจำนวนมาก เป็นข่าวเศร้าสลดที่หลายคนทั่วโลกสนใจ
รัฐบาลทูร์เคีย (หรือตุรกี) ประกาศลดธงชาติครึ่งเสาเป็นเวลา 3 วันทั่วประเทศ เพื่อไว้อาลัยแด่ผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิดโรงพยาบาลกาซา ประธานาธิบดีเรเจป ทายยิป แอร์โดอัน (Recep Tayyip Erdogan) กล่าวว่า หัวใจของพวกเราประเทศทูร์เคียเจ็บปวดอย่างยิ่งต่อพี่น้องปาเลสไตน์ของเรา ขอไว้อาลัยเป็นเวลา 3 วันแด่ผู้เสียชีวิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กกับพลเรือนผู้บริสุทธิ์
ทูร์เคียเป็นอีกประเทศที่ลดธงชาติครึ่งเสา แสดงจุดยืนการมีส่วนร่วมกับชาวปาเลสไตน์ เหตุระเบิดโรงพยาบาลกาซากลายเป็นที่ถกเถียงกันทั่ว มีจุดที่น่าคิดดังนี้...
อาวุธฮามาสหรืออิสราเอล:
เจ้าหน้าที่สหรัฐระบุว่าต้นเหตุจากจรวดที่ทำงานผิดพลาดโดยฝ่ายตรงข้ามอิสราเอล (อาจเกิดจากชิ้นส่วนที่เหลือหลังถูกยิงสกัด) จาก Palestinian Islamic Jihad สอดคล้องกับที่ทางการอิสราเอลยืนยันว่าไม่ใช่ฝีมือตน
Justin Bronk จาก Royal United Services Institute มีความเห็นว่า ดูจากหลุมระเบิดกับสภาพความเสียหายไม่น่าจะมาจากขีปนาวุธอิสราเอลที่เห็นใช้อยู่
ถ้าคิดว่าเหตุระเบิดมาจากจรวดฝ่ายฮามาสที่ผิดพลาดหล่นใกล้โรงพยาบาล เช่นนั้นก็อาจจบเพียงเท่านี้
และยากที่ฮามาสหรือ Palestinian Islamic Jihad จะยิงโรงพยาบาลของตัวเอง (ตามข้อสันนิษฐานว่าจรวดถูกจุดติดจากพื้นดิน ไม่ได้ตกจากฟ้า แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ชี้ว่าเป็นอาวุธที่พุ่งใส่จากฟ้า)
เหลือคำถามว่าถ้าอิสราเอลเป็นฝ่ายยิง...
องค์กรตรวจสอบอิสระ Bellingcat ระบุว่า จรวดไม่ได้ตกใส่ตัวอาคารโรงพยาบาลโดยตรง แต่หล่นใส่พื้นที่จอดรถที่อยู่ติดกัน หลักฐานเรื่องนี้ชัดเจน ด้วยแรงระเบิดมหาศาลจึงสร้างความสูญเสียมาก (ไม่ใช่จรวดหรือขีปนาวุธขนาดเล็ก)
สงครามแห่งความจงเกลียดจงชัง:
ในภาพรวมมุสลิมหลายคนทั่วโลกเคลื่อนไหวต่อต้านอิสราเอลมากขึ้นตามลำดับ บางประเทศอย่างเลบานอนกลายเป็นขบวนประท้วง เหล่านี้มักเป็นการเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบ มีแกนนำ มีเป้าหมายชัดเจน
ผลจากความตึงเครียดสะท้อนออกมาหลายแบบ ไกลไปถึงบางประเทศในยุโรป ทางการเยอรมนีรายงานว่ามีเหตุทำผิดกฎหมายต่อชาวยิว-เยอรมัน 4 กรณี สำนักงานตำรวจอังกฤษรายงานว่า อาชญากรรมจากการเกลียดกลัวอิสลาม (Islamophobic crimes) เพิ่มสูงขึ้น โรงเรียนยิวในกรุงลอนดอนปิดการสอนชั่วคราวเพื่อป้องกันเหตุร้าย
ด้านฝรั่งเศสที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในยุโรปต้องเพิ่มทหารป้องกันเหตุร้าย สนามบินหลายแห่งต้องอพยพคนออกจากสนามบินเนื่องจากคำขู่วางระเบิด เป็นไปได้ว่าสถานการณ์เช่นนี้จะรุนแรงขึ้นอีก
ข่าวสารที่ออกมาต่อเนื่องชี้ให้เห็นอานุภาพการทำลายล้างของกองทัพอิสราเอล ตึกพังราบเป็นหลัง ฝ่ายฮามาสที่เริ่มโจมตีก่อนไม่เห็นมีอาวุธร้ายแรงเช่นนั้น ตัวเลขผู้บาดเจ็บล้มตายเพิ่มขึ้นทุกวันและจำนวนมากเป็นพลเรือน สร้างความปวดร้าวหดหู่แก่คนทั้งโลก สัปดาห์หน้าเมื่อกองทัพอิสราเอลเข้ารบทางภาคพื้นดิน เชื่อว่าจะยิ่งนำความเศร้าสลดกว่าเดิม ความรุนแรงน่าจะกระจายตัวในหลายประเทศ
ทางฝั่งอิสราเอล ผลโพลของหนังสือพิมพ์มารีฟ (Maariv newspaper) ชี้ คนอิสราเอล 65% เห็นด้วยที่กองทัพจะเข้ากวาดล้างฮามาสในฉนวนกาซา มีเพียง 21% ที่ไม่เห็นด้วย แสดงถึงความคิดเห็นของพลเมืองอิสราเอลที่ส่วนใหญ่เห็นว่าจำต้องกวาดล้างพวกฮามาส
ส่วนประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวว่า การช่วยอิสราเอลกับยูเครนให้ชนะสงคราม “เพื่อความมั่นคงที่สำคัญยิ่งยวดของอเมริกา” (vital for America’s national security) เป็นเหตุที่สหรัฐต้องมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด หาก 2 ประเทศนี้พ่ายแพ้ ความขัดแย้งกับความวุ่นวายจะขยายตัวไปสู่ส่วนอื่นๆ ของโลก ทั้งฮามาสกับปูตินต่างต้องการทำลายประเทศประชาธิปไตย
สังเกตว่า รัฐบาลไบเดนผูกโยงสงครามเข้ากับความมั่นคงของประเทศตัวเอง และผูกโยงกับประชาธิปไตยโลก ด้วยความคิดเช่นนี้ ศึกฮามาส-อิสราเอลจึงเป็นสงครามที่สหรัฐเข้าไปมีส่วนร่วมนั่นเอง เพียงแต่ไม่ส่งทหารจำนวนมากเข้าร่วมรบโดยตรง
บทความนี้ไม่มีเจตนาชี้ถูกผิด เพียงเสนอให้เห็นมุมมองที่แตกต่าง ตั้งประเด็นว่า “คำถามที่ควรตั้งคือทำไมต้องระเบิดโรงพยาบาลกาซา” ณ ตอนนี้ไม่ว่าใครยิง พิสูจน์ได้หรือไม่ ความขัดแย้งกำลังขยายตัว.
ทำไมต้องระเบิดโรงพยาบาลกาซา
รัฐบาลทูร์เคีย (หรือตุรกี) ประกาศลดธงชาติครึ่งเสาเป็นเวลา 3 วันทั่วประเทศ เพื่อไว้อาลัยแด่ผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิดโรงพยาบาลกาซา ประธานาธิบดีเรเจป ทายยิป แอร์โดอัน (Recep Tayyip Erdogan) กล่าวว่า หัวใจของพวกเราประเทศทูร์เคียเจ็บปวดอย่างยิ่งต่อพี่น้องปาเลสไตน์ของเรา ขอไว้อาลัยเป็นเวลา 3 วันแด่ผู้เสียชีวิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กกับพลเรือนผู้บริสุทธิ์
ทูร์เคียเป็นอีกประเทศที่ลดธงชาติครึ่งเสา แสดงจุดยืนการมีส่วนร่วมกับชาวปาเลสไตน์ เหตุระเบิดโรงพยาบาลกาซากลายเป็นที่ถกเถียงกันทั่ว มีจุดที่น่าคิดดังนี้...
อาวุธฮามาสหรืออิสราเอล:
เจ้าหน้าที่สหรัฐระบุว่าต้นเหตุจากจรวดที่ทำงานผิดพลาดโดยฝ่ายตรงข้ามอิสราเอล (อาจเกิดจากชิ้นส่วนที่เหลือหลังถูกยิงสกัด) จาก Palestinian Islamic Jihad สอดคล้องกับที่ทางการอิสราเอลยืนยันว่าไม่ใช่ฝีมือตน
Justin Bronk จาก Royal United Services Institute มีความเห็นว่า ดูจากหลุมระเบิดกับสภาพความเสียหายไม่น่าจะมาจากขีปนาวุธอิสราเอลที่เห็นใช้อยู่
ถ้าคิดว่าเหตุระเบิดมาจากจรวดฝ่ายฮามาสที่ผิดพลาดหล่นใกล้โรงพยาบาล เช่นนั้นก็อาจจบเพียงเท่านี้
และยากที่ฮามาสหรือ Palestinian Islamic Jihad จะยิงโรงพยาบาลของตัวเอง (ตามข้อสันนิษฐานว่าจรวดถูกจุดติดจากพื้นดิน ไม่ได้ตกจากฟ้า แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ชี้ว่าเป็นอาวุธที่พุ่งใส่จากฟ้า)
เหลือคำถามว่าถ้าอิสราเอลเป็นฝ่ายยิง...
องค์กรตรวจสอบอิสระ Bellingcat ระบุว่า จรวดไม่ได้ตกใส่ตัวอาคารโรงพยาบาลโดยตรง แต่หล่นใส่พื้นที่จอดรถที่อยู่ติดกัน หลักฐานเรื่องนี้ชัดเจน ด้วยแรงระเบิดมหาศาลจึงสร้างความสูญเสียมาก (ไม่ใช่จรวดหรือขีปนาวุธขนาดเล็ก)
สงครามแห่งความจงเกลียดจงชัง:
ในภาพรวมมุสลิมหลายคนทั่วโลกเคลื่อนไหวต่อต้านอิสราเอลมากขึ้นตามลำดับ บางประเทศอย่างเลบานอนกลายเป็นขบวนประท้วง เหล่านี้มักเป็นการเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบ มีแกนนำ มีเป้าหมายชัดเจน
ผลจากความตึงเครียดสะท้อนออกมาหลายแบบ ไกลไปถึงบางประเทศในยุโรป ทางการเยอรมนีรายงานว่ามีเหตุทำผิดกฎหมายต่อชาวยิว-เยอรมัน 4 กรณี สำนักงานตำรวจอังกฤษรายงานว่า อาชญากรรมจากการเกลียดกลัวอิสลาม (Islamophobic crimes) เพิ่มสูงขึ้น โรงเรียนยิวในกรุงลอนดอนปิดการสอนชั่วคราวเพื่อป้องกันเหตุร้าย
ด้านฝรั่งเศสที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในยุโรปต้องเพิ่มทหารป้องกันเหตุร้าย สนามบินหลายแห่งต้องอพยพคนออกจากสนามบินเนื่องจากคำขู่วางระเบิด เป็นไปได้ว่าสถานการณ์เช่นนี้จะรุนแรงขึ้นอีก
ข่าวสารที่ออกมาต่อเนื่องชี้ให้เห็นอานุภาพการทำลายล้างของกองทัพอิสราเอล ตึกพังราบเป็นหลัง ฝ่ายฮามาสที่เริ่มโจมตีก่อนไม่เห็นมีอาวุธร้ายแรงเช่นนั้น ตัวเลขผู้บาดเจ็บล้มตายเพิ่มขึ้นทุกวันและจำนวนมากเป็นพลเรือน สร้างความปวดร้าวหดหู่แก่คนทั้งโลก สัปดาห์หน้าเมื่อกองทัพอิสราเอลเข้ารบทางภาคพื้นดิน เชื่อว่าจะยิ่งนำความเศร้าสลดกว่าเดิม ความรุนแรงน่าจะกระจายตัวในหลายประเทศ
ทางฝั่งอิสราเอล ผลโพลของหนังสือพิมพ์มารีฟ (Maariv newspaper) ชี้ คนอิสราเอล 65% เห็นด้วยที่กองทัพจะเข้ากวาดล้างฮามาสในฉนวนกาซา มีเพียง 21% ที่ไม่เห็นด้วย แสดงถึงความคิดเห็นของพลเมืองอิสราเอลที่ส่วนใหญ่เห็นว่าจำต้องกวาดล้างพวกฮามาส
ส่วนประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวว่า การช่วยอิสราเอลกับยูเครนให้ชนะสงคราม “เพื่อความมั่นคงที่สำคัญยิ่งยวดของอเมริกา” (vital for America’s national security) เป็นเหตุที่สหรัฐต้องมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด หาก 2 ประเทศนี้พ่ายแพ้ ความขัดแย้งกับความวุ่นวายจะขยายตัวไปสู่ส่วนอื่นๆ ของโลก ทั้งฮามาสกับปูตินต่างต้องการทำลายประเทศประชาธิปไตย
สังเกตว่า รัฐบาลไบเดนผูกโยงสงครามเข้ากับความมั่นคงของประเทศตัวเอง และผูกโยงกับประชาธิปไตยโลก ด้วยความคิดเช่นนี้ ศึกฮามาส-อิสราเอลจึงเป็นสงครามที่สหรัฐเข้าไปมีส่วนร่วมนั่นเอง เพียงแต่ไม่ส่งทหารจำนวนมากเข้าร่วมรบโดยตรง
บทความนี้ไม่มีเจตนาชี้ถูกผิด เพียงเสนอให้เห็นมุมมองที่แตกต่าง ตั้งประเด็นว่า “คำถามที่ควรตั้งคือทำไมต้องระเบิดโรงพยาบาลกาซา” ณ ตอนนี้ไม่ว่าใครยิง พิสูจน์ได้หรือไม่ ความขัดแย้งกำลังขยายตัว.