ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 2
...บันไดเป็นชนิดบันไดตรง รูปแบบพับกลับหรือหักกลับ ( Narrow U , Half-turned , Dogleg)
ระบบโครงสร้างการรับแรงและน้ำหนักของบันไดและวัสดุที่ใช้ : ตามรูปไม่แจ้งและไม่ชัดเจน
เข้าใจว่าเป็นเพียงแค่การร่างที่ยังไม่ผ่านการออกแบบคำนวณโดยสถาปนิกและวิศวกร ทำให้ได้สัดส่วน ขนาดมิติและโครงสร้างที่ไม่ชัดเจน
ความผิดพลาดตามรูปที่แนะนำให้แก้ไข และให้สถาปนิก วิศวกรที่รู้เรื่องบันไดออกแบบคำนวณ
1.ระยะ 1.25m+3.70m = 4.95m ไม่ได้ 5.00m
ระยะ 0.55m+1.50m = 2.05m ไม่ได้ 2.00m
2.ควรอ่านและทำความเข้าใจข้อกำหนดท้องถิ่นที่ตั้งอยู่(บ้างยึดตามกฎกระทรวง บ้างยึดตามข้อบัญญัติ กทม.)ในเรื่องที่เกี่ยวกับความกว้างบันได ที่มีทั้งยึดแนวความกว้างสุทธิบันได และความยาวลูกนอน
3.ตามแบบที่เขียนมา ความสูงระหว่างชั้น (ไม่นับ 3 ขั้นแรก) = 2.38m+1.02m = 3.40m บันได 20 ชั้น จะมีความสูงขั้น 170 mm กำหนดความลึกขั้น = ความยาวบันไดช่วงแรก/จำนวนขั้นลูกนอน = (3,700 mm+550mm หรือ 500 mm)/13 = ประมาณ 327 mm หรือ 323 mm ได้บันไดชัน 27.46891 ํ หรือ 27.75854 ํ ดูความชันต่ำ แต่ค่าการย่างก้าวสูงเกินกว่า 650 mm ทั้งคู่ ต้องก้าวเท้ายาวกว่าปกติ ก้าวพลาดได้ง่าย
ความสูงขั้น 170 mm ค่าความลึกขั้นหรือระยะนอนของขั้นบันไดที่เป็นค่ากลางที่ควรใช้คือ 290 mm บันไดชัน 30.37913 ํ ซึ่งเป็นบันไดที่ดีและเดินสะดวกสบาย
4. หากเป็นบันไดที่ใช้วัสดุ ค.ส.ล. แบบท้องเรียบ น่าจะมีระบบโครงสร้างแบบพาดคานทางช่วงยาว รูปที่เเขียน ระยะความหนาของแม่บันได(Waist)=ระยะที่วัดจากท้องบันไดถึงจุดตัดลูกตั้ง-ลูกนอนที่มุมใน มีความหนาต่ำมาก ไม่เป็นจริง เว้นแต่จะใช้ระบบโครงสร้างการรับแรงและน้ำหนักแบบอื่น
เมื่อระยะส่วนหนึ่งไม่จริง รูปที่ร่างก็จะได้ระยะต่างๆไม่เป็นจริง
ที่ชานพักถ้าไม่มีคานและเสารับ วิศวกรต้องออกแบบเป็นบันไดชานพักลอย โครงสร้างอาคารที่รับบันไดและตัวแม่บันไดต้องเพิ่มความแข็งแรง
5.หากช่องบันไดที่พื้นชั้น 2 ไม่เปิดรับบันไดช่วงล่าง เช่นทำคานที่พื้นชั้นบนมาขวางเหนือหน้าขั้นที่ 9 จะเกิดปัญหาระยะดิ่งบันไดไม่ได้ตามข้อกำหนด จะติดศีรษะ ต้องออกแบบแก้ไข
แก้ไขเพิ่มข้อมูล
ระบบโครงสร้างการรับแรงและน้ำหนักของบันไดและวัสดุที่ใช้ : ตามรูปไม่แจ้งและไม่ชัดเจน
เข้าใจว่าเป็นเพียงแค่การร่างที่ยังไม่ผ่านการออกแบบคำนวณโดยสถาปนิกและวิศวกร ทำให้ได้สัดส่วน ขนาดมิติและโครงสร้างที่ไม่ชัดเจน
ความผิดพลาดตามรูปที่แนะนำให้แก้ไข และให้สถาปนิก วิศวกรที่รู้เรื่องบันไดออกแบบคำนวณ
1.ระยะ 1.25m+3.70m = 4.95m ไม่ได้ 5.00m
ระยะ 0.55m+1.50m = 2.05m ไม่ได้ 2.00m
2.ควรอ่านและทำความเข้าใจข้อกำหนดท้องถิ่นที่ตั้งอยู่(บ้างยึดตามกฎกระทรวง บ้างยึดตามข้อบัญญัติ กทม.)ในเรื่องที่เกี่ยวกับความกว้างบันได ที่มีทั้งยึดแนวความกว้างสุทธิบันได และความยาวลูกนอน
3.ตามแบบที่เขียนมา ความสูงระหว่างชั้น (ไม่นับ 3 ขั้นแรก) = 2.38m+1.02m = 3.40m บันได 20 ชั้น จะมีความสูงขั้น 170 mm กำหนดความลึกขั้น = ความยาวบันไดช่วงแรก/จำนวนขั้นลูกนอน = (3,700 mm+550mm หรือ 500 mm)/13 = ประมาณ 327 mm หรือ 323 mm ได้บันไดชัน 27.46891 ํ หรือ 27.75854 ํ ดูความชันต่ำ แต่ค่าการย่างก้าวสูงเกินกว่า 650 mm ทั้งคู่ ต้องก้าวเท้ายาวกว่าปกติ ก้าวพลาดได้ง่าย
ความสูงขั้น 170 mm ค่าความลึกขั้นหรือระยะนอนของขั้นบันไดที่เป็นค่ากลางที่ควรใช้คือ 290 mm บันไดชัน 30.37913 ํ ซึ่งเป็นบันไดที่ดีและเดินสะดวกสบาย
4. หากเป็นบันไดที่ใช้วัสดุ ค.ส.ล. แบบท้องเรียบ น่าจะมีระบบโครงสร้างแบบพาดคานทางช่วงยาว รูปที่เเขียน ระยะความหนาของแม่บันได(Waist)=ระยะที่วัดจากท้องบันไดถึงจุดตัดลูกตั้ง-ลูกนอนที่มุมใน มีความหนาต่ำมาก ไม่เป็นจริง เว้นแต่จะใช้ระบบโครงสร้างการรับแรงและน้ำหนักแบบอื่น
เมื่อระยะส่วนหนึ่งไม่จริง รูปที่ร่างก็จะได้ระยะต่างๆไม่เป็นจริง
ที่ชานพักถ้าไม่มีคานและเสารับ วิศวกรต้องออกแบบเป็นบันไดชานพักลอย โครงสร้างอาคารที่รับบันไดและตัวแม่บันไดต้องเพิ่มความแข็งแรง
5.หากช่องบันไดที่พื้นชั้น 2 ไม่เปิดรับบันไดช่วงล่าง เช่นทำคานที่พื้นชั้นบนมาขวางเหนือหน้าขั้นที่ 9 จะเกิดปัญหาระยะดิ่งบันไดไม่ได้ตามข้อกำหนด จะติดศีรษะ ต้องออกแบบแก้ไข
แก้ไขเพิ่มข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
ถามเรื่องบันใดครับ
บันใดมันจะดีไหมครับหรือท่านใดมีแนวคิดอย่างอื่น รบกวนชี้แนะด้วยครับขอบคุณ