JJNY : ฮามาสยิงคาเก๋งถีบศพทิ้ง│“ไบเดน”ไม่เห็นด้วยหากยึดกาซา│คำเตือนน่ากลัวจาก IMF และเวิลด์แบงก์│จับตา ‘น้ำมันดิบ-ทองคำ’

อากู๋ตายแล้ว! สุดสลดน้องบอกความจริงพ่อ ฮามาสยิงพี่คาเก๋งถีบศพทิ้งที่อิสราเอล
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_7916359
 
 
พ่อช็อก รู้ความจริงแล้ว ลูกชายถูกฮามาสยิงถล่มดับคาเก๋ง ถีบร่างทิ้งข้างถนนที่อิสราเอล ลูกๆสุดสงสารร้องไห้กินไม่ได้นอนไม่หลับ นั่งเหม่อลอยคิดถึงลูกตลอดเวลา
 
วันที่ 15 ต.ค. 2566 ที่บ้านพัก หมู่ 11 ต.ดอนดู่ อ.หนองสองห้อง จ.ขอนแก่น ของนายพิทักษ์ โทแหล่ง อายุ 54 ปี แรงงานไทยที่ประเทศอิสราเอล ซึ่งทำงานมานานกว่า 20 ปี จนมีภรรยาเป็นชาวอิสราเอล และพบว่าถูกกลุ่มฮามาสระดมยิงใส่รถเก๋งจนเสียชีวิต
 
โดยศพถูกพบอยู่ข้างถนน บรรยากาศเป็นไปด้วยความเงียบเหงา บิดา น้องสาว รวมถึงภรรยาชาวไทยต่างอยู่ในอาการโศกเศร้า โดยเฉพาะผู้เป็นพ่อมีอาการเหม่อลอย หลังทราบข่าวการเสียชีวิตของลูกชาย
 
นางนงลักษณ์ อายุ 52 ปี น้องสาวนายพิทักษ์ บอกว่า ลูกๆตัดสินใจบอกพ่อให้รู้ว่าพี่ชายตายในสงครามที่อิสราเอล พอพ่อรู้ก็ร้องไห้ฟูมฟาย ไม่เป็นอันกินอันนอน ลูกๆต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเหตุการณ์วันเกิดเหตุที่พี่ชายถูกยิงตาย
 
ทราบจากเพื่อนแรงงานเล่าให้ฟังว่า ได้ยินเสียงปืนหลายนัดพากันหนีหาที่หลบแล้วมีเด็กวิ่งไปบอกว่าอากู๋ตายแล้ว เขายิงอากู๋ ซึ่งอากู๋คือฉายาที่เพื่อนๆแรงงานเรียกพี่ชายแทนชื่อ พิทักษ์ พี่ชายถูกยิงในรถเก๋งแล้วถูกถีบทิ้งข้างถนน
 
” พ่อ-แม่มีลูก 7 คน พี่พิทักษ์ เป็นคนที่ 3 เคยแต่งงานมีลูก 2 คน แต่หย่าร้างแล้วก็เดินทางไปทำงานที่อิสราเอล ลูก 2 คนพี่สาวอดีตภรรยาเลี้ยงโตเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว พี่ไปทำงานอิสราเอล เกือบ 20 ปีแล้วมีภรรยาชาวอิสราเอล มีลูก1 คน เป็นหญิงอายุ 17 ปีแล้ว ชื่อจิมมี่
 
เมื่อ 2 ปีที่แล้วกลับมาเยี่ยมบ้านมาหาพ่อแล้วมาได้ภรรยาอีกคน ก่อนกลับไปทำงานขับรถในสวนมันฝรั่งอยู่กับครอบครัวที่อิสราเอล แต่ติดต่อกับทางบ้านและภรรยาชาวไทย รวมถึงติดต่อลูกๆแทบทุกวัน ขณะนี้ทำงานอยู่กรุงเทพฯ ”
 
ด้านภรรยาชาวไทย บอกว่า ตกลงเป็นสามีภรรยากันเมื่อ 2 ปีก่อน คุยโทรศัพท์กันทุกวัน ครั้งสุดท้ายคือเช้าวันที่ 7 ต.ค.สามีโทรมาคุยด้วยช่วงเวลา 11.23 น. ประเทศไทย ซึ่งตรงกับ 6 โมงเช้าที่อิสราเอล ช่วงคุยโทรศัพท์กันได้ยินเสียงปืน เสียงระเบิด ถามสามีว่า ทำไมเสียงปืนดังจัง สามีตอบว่า ” เขาเอาบุญกัน ” จากนั้นโทรศัพท์ก็ตัดไป คุยกันเพียง 4 นาทีเท่านั้น สามีเป็นคนเฮฮามักจะร้องเพลงให้ฟัง
 
วันนั้นติดต่อสามีไม่ได้ใจไม่ดี บอกญาติพี่น้องให้แจ้งลูกสาวกับลูกชาย สอบถามข่าวไปยังพี่น้องที่ประเทศอิสราเอล ลูกสาวติดต่อไปหาน้องสาวชื่อจิมมี่ ถามเรื่องพ่อ น้องบอกว่า พ่อถูกกลุ่มฮามาสยิงตายแล้ว พร้อมส่งรูปมาให้ดู จากนั้นให้ญาติพี่น้องที่ทำงานอิสราเอลช่วยตรวจสอบ ก็ได้รับคำตอบตรงกันว่า สามีถูกยิงตายในรถเก๋งแล้วกลุ่มฮามาสลากศพทิ้งข้างถนน



“ไบเดน” ไม่เห็นด้วยหากอิสราเอลยึดกาซา
https://tna.mcot.net/world-1256375

สหรัฐ 16 ต.ค.-“ไบเดน” ประธานาธิบดีสหรัฐ ชี้หากอิสราเอลบุกยึดฉนวนกาซาอีกครั้ง จะถือว่าเป็นความผิดพลาดร้ายแรง แต่การบุกเข้าไปกำจัดกลุ่มหัวรุนแรง ถือเป็นเรื่องจำเป็นจะต้องทำ
 
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐ ให้สัมภาษณ์ในรายการ ซิกตี้ มินิทส์ ทางโทรทัศน์ ซีบีเอสนิวส์ บอกว่า หากอิสราเอลบุกยึดฉนวนกาซาอีกครั้ง จะถือว่าเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรง เพราะกลุ่มฮามาสนั้น ไม่ใช่ตัวแทนของชาวปาเลสไตน์ทั้งหมด แต่ก็เห็นว่าการบุกเข้าไปเพื่อกำจัดกลุ่มหัวรุนแรงนั้น เป็นเรื่องที่จำเป็นจะต้องทำ และเมื่อถูกถามว่าสหรัฐจะส่งทหารเข้ามาช่วยอิสราเอลหรือไม่ ผู้นำสหรัฐตอบว่าไม่จำเป็นต้องส่งทหารเข้ามา เพราะอิสราเอลมีกองทัพที่ดีที่สุดอยู่แล้ว แต่สหรัฐก็พร้อมจะให้การสนับสนุนทุกอย่างตามที่อิสราเอลต้องการ ซึ่งก่อนหน้านี้สหรัฐได้ส่งเรือบรรทุกเครื่องบิน 2 ลำเข้ามาประจำการในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแล้ว เพื่อแสดงการสนับสนุนแก่อิสราเอล.-สำนักข่าวไทย
 


คำเตือนที่น่ากลัวจาก IMF และเวิลด์แบงก์ ถึงเศรษฐกิจโลก
https://www.prachachat.net/world-news/news-1415214

ห้วงสัปดาห์วันที่ 9-15 ตุลาคมนี้ ผู้กำหนดนโยบายการเงินและการคลังทั่วโลกไปรวมตัวกันอยู่ที่เมืองมาร์ราเกช ประเทศโมร็อกโก ในการประชุมร่วมประจำปีของ “เวิลด์แบงก์” หรือธนาคารโลก และ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
 
IMF เผยแพร่รายงาน “แนวโน้มเศรษฐกิจโลก” ฉบับใหม่ล่าสุดในงาน ซึ่งรายงานนี้กล่าวถึงเศรษฐกิจโลกว่า “ยังคงฟื้นตัวอย่างช้า ๆ” เปรียบเหมือน “คนเดินกะโผลกกะเผลก ไม่สามารถวิ่งได้” โดย IMF ยังคงคาดการณ์การเติบโตของจีดีพีโลกปีนี้ไว้ที่ 3% ชะลอลงจากอัตราการเติบโต 3.5% ในปี 2022 แต่ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2024 เหลือโต 2.9% จากคาดการณ์เมื่อเดือนกรกฎาคมว่าจะโต 3% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตระหว่างปี 2000-2019 ที่โตเฉลี่ยปีละ 3.8%

ในการประชุมร่วมประจำปีของ IMF กับเวิลด์แบงก์มีประเด็นน่าสนใจมากมาย ที่สำคัญคือ “คำเตือน” ที่มีอยู่ในแถลงการณ์ร่วมของ “คริสตาลินา จอร์เจียวา” (Kristalina Georgieva) กรรมการผู้จัดการ IMF และ “อาเจย์ บังกา” (Ajay Banga) ประธานธนาคารโลก ร่วมด้วย นาเดีย เฟตทาห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังแห่งราชอาณาจักรโมร็อกโก และ อับเดลลาติฟ เจารีห์ ผู้ว่าการธนาคารโมร็อกโก และในการประชุม-สัมมนาต่าง ๆ

IMF และธนาคารโลกเห็นตรงกันว่า แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกในระยะกลางอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบหลายทศวรรษ
 
ส่วนหนึ่งในแถลงการณ์ร่วมของสององค์กรบอกถึงความน่ากังวลของเศรษฐกิจโลกว่า “แผลเป็น” ทางเศรษฐกิจจากผลกระทบของวิกฤตที่เกิดขึ้นต่อเนื่องปรากฏให้เห็นชัดเจน ในขณะที่หลายประเทศกำลังดิ้นรนเพื่อเอาชนะอัตราเงินเฟ้อที่สูง หนี้ที่สูง และการขาดแคลนงบประมาณที่จะใช้เพื่อให้บริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน เพื่อสนับสนุนการดำเนินการด้านโครงสร้างพื้นฐานและสภาพภูมิอากาศ และเพื่อจัดการกับความยากจน ความไม่เท่าเทียม และความเปราะบางที่เพิ่มขึ้น
 
เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะเจอภาวะช็อกง่ายมากขึ้น มีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ การพัฒนา การจ้างงาน-การมีงานทำ และมาตรฐานการดำรงชีพ ซึ่งทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาได้รับผลกระทบอย่างหนักมากเป็นพิเศษ ความแตกต่างของรายได้ระหว่างประเทศกำลังพัฒนา กับประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วลึกยิ่งขึ้น “และโลกเราไม่ได้อยู่บนเส้นทางที่จะขจัดความยากจนขั้นรุนแรงภายในปี 2030

แถลงการณ์ร่วมบอกอีกว่า ความเสี่ยงหลักและปัจจัยผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลง (disruptive force) ซึ่งเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญอยู่นั้นมีการพัฒนาขึ้น ทั้งภัยคุกคามที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มมากขึ้นทั้งด้านรายได้และด้านโอกาส และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เกิดความท้าทายใหม่ ๆ แต่ก็มีโอกาสมาด้วยเช่นกัน
 
ซึ่งแถลงการณ์แสดงความกังวลกับปัจจัยท้าทายเหล่านี้ และเรียกร้องว่า “ไม่ควรมีประเทศใดถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
 
คำเตือนที่สำคัญในเรื่อง “หนี้” เป็นหนึ่งหัวข้อสัมมนาหลักในงาน นำโดยกรรมการผู้จัดการ IMF และประธานธนาคารโลก สัมมนาหัวข้อนี้เน้นพูดคุยเพื่อสำรวจทางเลือก ว่าจะสามารถเพิ่มความยืดหยุ่นต่อความเสี่ยงด้านหนี้ได้อย่างไร รวมถึงหารือถึงความจำเป็นในการสนับสนุนจากประชาคมโลก
 
ประเทศที่มีรายได้น้อยและเศรษฐกิจเกิดใหม่จำนวนมากกำลังเผชิญกับภาระหนี้มหาศาล ซึ่งจำกัดความสามารถในการลงทุนในด้านการศึกษา การดูแลสุขภาพ การคุ้มครองทางสังคม และโครงสร้างพื้นฐาน” ธนาคารโลกและ IMF แสดงความกังวล
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่