สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
ถามแบบคนไม่รู้ ใช้ไฟบ้านไม่เท่าไร่ยังจ่ายเป็นพัน ทำไมรถไฟฟ้าหนักเป็นตัน วิ่งไปตั้งไกลจ่ายนิดเดียวครับ แอร์ค่าไฟ ชม ละ 5 บาท อย่างอื่นไม่แพงมาก รวมแล้วเดือนนึงเป็นพัน แต่รถไฟฟ้าชารจ์ทีนึง 200-300 วิ่งได้ได้ 300-400กิโล เลยสงสัยว่า รถไฟฟ้าน่าจะกินไฟมากเพราะคันใหญ่หนัก ระบบไฟฟ้าในรถ ระบบแอร์อีก น้ำหนักคนอีก น่าจะกินไฟมาก แต่ทำไมกลายเป็นถูกครับ
ท่าน จขกท.ยังถาม งง ๆ นิดนึงนะครับ
หรือ ผมอาจไม่เข้าใจสิ่งที่ท่านจะสื่อก็ได้
คือ ท่านเปรียบจำนวนเงินค่าไฟบ้านเดือนละ 1,000 กว่า ๆ
กับเงิน 300 บาทที่ชาร์จรถไฟฟ้าให้วิ่งได้ 400 กิโลเมตร
ขอเรียนว่า การใช้ไฟในบ้าน
กับ การใช้ไฟในรถไฟฟ้า มันต่างประเภทกันครับ
แต่ หากเราเทียบออกมาเป็น "พลังงาน " (หน่วย kWh : กิโลวัตต์-ชั่วโมง)
ในทางฟิสิกส์แล้วจะมีค่าที่คำนวณแล้วเท่ากัน
ลองคำนวณดู
1. ค่าไฟบ้าน 1,000 บาท คิดที่หน่วยละ 4.8 บาท
ได้เท่ากับการใช้ไฟ 208.33 หน่วย (หรือ kWh)
2. รถไฟฟ้าขนาดความจุแบตเตอรี่ 80 kWh (วิ่งได้ 400 กิโลเมตร)
ชาร์จจนเต็มครั้งหนึ่งจะพลังงาน 80 kWh
คิดเป็นเงิน 80 × 4.8 = 384 บาท
3. จากข้อ 2. ชาร์จ 384 บาทวิ่งได้ 400 กิโลเมตร
หากชาร์จ 1,000 บาทเท่าค่าไฟบ้าน
มันจะวิ่งได้ 1,000 × (400/384) = 1,041 กิโลเมตร
จาก 3 ข้อข้างบน ท่าน จขกท.จะเห็นว่า
เงิน 1,000 บาท แปลงไปเป็น "พลังงาน"
ที่ใช้ใน 2 รูปแบบ คือ
1. ใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าในบ้าน
เพื่อเปิดแอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ นาน 1 เดือน
2. ใช้เป็นพลังงานในการขับเคลื่อนรถไฟฟ้า
ให้วิ่งได้ไกล 1,041 กิโลเมตร
ท่านจะเห็นว่าการใชัพลังงาน 2 รูปแบบนี้
มันเทียบกันยาก เพราะข้อ 1. ไม่เคลื่อนที่
ส่วนข้อ 2. เคลื่อนที่
หากลองคำนวณดูจะเห็นภาพครับ
ขอใช้ค่ากลาง ๆ ของรถไฟฟ้าทั่วไป
คือ หากขับเร็ว 95 km/h
รถจะใช้ Power ประมาณ 15kW
ระยะทาง 1,041 กิโลเมตร วิ่งเร็ว 95 km/h
จะใช้เวลา 1,041/95 = 10.96 ชั่วโมง
ดังนั้น รถไฟฟ้าวิ่ง 1,041 กิโลเมตร (ชาร์จ 1,000 บาท)
จะใช้พลังงาน 15 × 10.96 = 164.37 kWh
สรุปก็คือ เงิน 1,000 บาท
- ในบ้านใช้พลังงานได้ 208.33 หน่วย (หรือ kWh)
- รถไฟฟ้าใช้พลังงานได้ 164.37 kWh
ท่านจะเห็นว่าใช้ไฟในบ้านราคาถูกกว่าครับ
ท่าน จขกท.ยังถาม งง ๆ นิดนึงนะครับ
หรือ ผมอาจไม่เข้าใจสิ่งที่ท่านจะสื่อก็ได้
คือ ท่านเปรียบจำนวนเงินค่าไฟบ้านเดือนละ 1,000 กว่า ๆ
กับเงิน 300 บาทที่ชาร์จรถไฟฟ้าให้วิ่งได้ 400 กิโลเมตร
ขอเรียนว่า การใช้ไฟในบ้าน
กับ การใช้ไฟในรถไฟฟ้า มันต่างประเภทกันครับ
แต่ หากเราเทียบออกมาเป็น "พลังงาน " (หน่วย kWh : กิโลวัตต์-ชั่วโมง)
ในทางฟิสิกส์แล้วจะมีค่าที่คำนวณแล้วเท่ากัน
ลองคำนวณดู
1. ค่าไฟบ้าน 1,000 บาท คิดที่หน่วยละ 4.8 บาท
ได้เท่ากับการใช้ไฟ 208.33 หน่วย (หรือ kWh)
2. รถไฟฟ้าขนาดความจุแบตเตอรี่ 80 kWh (วิ่งได้ 400 กิโลเมตร)
ชาร์จจนเต็มครั้งหนึ่งจะพลังงาน 80 kWh
คิดเป็นเงิน 80 × 4.8 = 384 บาท
3. จากข้อ 2. ชาร์จ 384 บาทวิ่งได้ 400 กิโลเมตร
หากชาร์จ 1,000 บาทเท่าค่าไฟบ้าน
มันจะวิ่งได้ 1,000 × (400/384) = 1,041 กิโลเมตร
จาก 3 ข้อข้างบน ท่าน จขกท.จะเห็นว่า
เงิน 1,000 บาท แปลงไปเป็น "พลังงาน"
ที่ใช้ใน 2 รูปแบบ คือ
1. ใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าในบ้าน
เพื่อเปิดแอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ นาน 1 เดือน
2. ใช้เป็นพลังงานในการขับเคลื่อนรถไฟฟ้า
ให้วิ่งได้ไกล 1,041 กิโลเมตร
ท่านจะเห็นว่าการใชัพลังงาน 2 รูปแบบนี้
มันเทียบกันยาก เพราะข้อ 1. ไม่เคลื่อนที่
ส่วนข้อ 2. เคลื่อนที่
หากลองคำนวณดูจะเห็นภาพครับ
ขอใช้ค่ากลาง ๆ ของรถไฟฟ้าทั่วไป
คือ หากขับเร็ว 95 km/h
รถจะใช้ Power ประมาณ 15kW
ระยะทาง 1,041 กิโลเมตร วิ่งเร็ว 95 km/h
จะใช้เวลา 1,041/95 = 10.96 ชั่วโมง
ดังนั้น รถไฟฟ้าวิ่ง 1,041 กิโลเมตร (ชาร์จ 1,000 บาท)
จะใช้พลังงาน 15 × 10.96 = 164.37 kWh
สรุปก็คือ เงิน 1,000 บาท
- ในบ้านใช้พลังงานได้ 208.33 หน่วย (หรือ kWh)
- รถไฟฟ้าใช้พลังงานได้ 164.37 kWh
ท่านจะเห็นว่าใช้ไฟในบ้านราคาถูกกว่าครับ
แสดงความคิดเห็น
ถามแบบคนไม่รู้ ใช้ไฟบ้านไม่เท่าไร่ยังจ่ายเป็นพัน ทำไมรถไฟฟ้าหนักเป็นตัน วิ่งไปตั้งไกลจ่ายนิดเดียวครับ
แต่รถไฟฟ้าชารจ์ทีนึง 200-300 วิ่งได้ได้ 300-400กิโล
เลยสงสัยว่า รถไฟฟ้าน่าจะกินไฟมากเพราะคันใหญ่หนัก ระบบไฟฟ้าในรถ ระบบแอร์อีก น้ำหนักคนอีก น่าจะกินไฟมาก แต่ทำไมกลายเป็นถูกครับ