คิดว่าเป็นเวลาอันสมควรเเล้ว เเละเพื่อประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาในภายภาคหน้า ผมขอเเชร์เรื่องอริยมรรค เเละ อริยผลดังนี้
ผู้ปฏิบัติเมื่อเจริญสติปัฏฐาน 4 มาอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะใช้ กาย-เวทนา-จิต-ธรรม ก็ตาม (หรืออานาปานสติ) เเละมีการส่งอารมณ์กับพระวิปัสสนาจารย์อย่างต่อเนื่อง
เมื่อถึงเวลาที่บุญบารมี พร้อมทั้งอินทรีย์ เเละโพธิปักขิยธรรมทั้งหมดเเก่รอบเเล้ว อริยมรรคจะเกิดขึ้นเอง โดยอัติโนมัติ
กระบวนการเกิดอริยมรรคใช้เวลาไม่นาน ตามตำราอธิบายว่า 2-3 ขณะจิต ซึ่งตอนเกิดจริงๆ มันเร็วดุจสายฟ้าเเลบ ในกรณีของผม คือ การประจักษ์ในสภาพธรรมทั้งหมดว่าเป็นอนัตตา นั่นคือ สภาพที่ไม่มีอะไรสักอย่างเลยที่สามารถบังคับได้ ธรรมทุกอย่างมีเหตุเเละปัจจัยที่ทำงานของเขาเองทั้งหมด โดยที่ไม่มี "เรา" เข้าไปบังคับหรือควบคุมเเต่อย่างใด
จริงๆปัญญาหรือญาณที่เข้าใจว่าสิ่งต่างๆ เป็นอนัตตานี้ เกิดตั้งเเต่อุททัพยญาณเป็นต้นมา เเต่ยังเห็นไม่ชัดเจน จนกระทั่งเกิดอริยมรรค พอเกิดอริยมรรคเเล้ว จิตจะสรุปเเละประมวลธรรมทั้งหมดว่าเป็นอนัตตา (บางท่านอาจเเจ้งทุกขัง หรืออนิจจังก็ได้ เเล้วเเต่บารมีที่สะสมมา)
“อริยสาวกผู้นี้ จะเรียกว่า ทิฏฐิสัมบัน (ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ มีสัมมาทิฏฐิสมบูรณ์) ก็ได้ ทัสสนสัมบัน (ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะ คือมีสัมมาทัศนะสมบูรณ์) ก็ได้ ผู้มาถึงสัทธรรมนี้แล้ว ก็ได้ ผู้เห็นสัทธรรมนี้ ก็ได้ ผู้ประกอบด้วยเสขญาณก็ได้ ผู้ประกอบด้วยเสขวิชชา ก็ได้ ผู้ลุธรรมโสต (ถึงกระแสธรรม) ก็ได้ อริยชนผู้มีปัญญาที่จะเจาะสัจธรรมได้ ก็ได้ ผู้ยืนชิดอมฤตทวาร (อยู่ติดประตูอมตะ) ก็ได้” (สํ.นิ.16/90/51; 122/69 ; 182,187/94-95)
เมื่อทิฐิสมบูรณ์ สักกายทิฐิย่อมถูกทำลายโดยสมบูรณ์ ดังนั้นจึงหมดความเห็นว่า มีเราเป็นผู้ที่บรรลุธรรม เเละหมดความเห็นว่า มีเราทีเ่ป็นอะไรสักอย่างนึง เมื่อหมดความเห็นว่ามีเราเเล้ว ความรู้สึกที่ว่ามีใครเป็นอะไรสักอย่างจึงหมดสิ้นไปด้วย
จุดสังเกตอีกอย่างหนึ่ง สำหรับผู้ที่ภาวนามาถึงจุดนี้เเล้ว คือ ตัวของวิจิกิจฉา
โดยทั่วไปเเล้ว ต่อให้ภาวนามามาก มีญาณเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้งเเล้ว เเต่โดยลึกๆ จิตใจยังคงมีความไม่มั่นใจอยู่ ตัวอย่างเช่น ถ้าทำกรรมฐานเเบบนี้ เเล้วจะบรรลุธรรมไหม? เป็นต้น
เมื่อวิจิกิจฉาถูกทำลายไป ความรู้สึกลังเล ไม่มั่นใจในเส้นทาง ย่อมถูกทำลายไปด้วย ดังนั้นพระอริยสาวกจะเข้าใจอย่างเเจ่มเเจ้งว่า ไม่มีข้อปฏิบัติอื่นใด ที่นอกเหนือจากการเจริญมรรค 8
คุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งที่สามารถตรวจสอบได้ คือ อริยกันตศีล
อานนท์ ! เราจักแสดง ธรรมปริยายอันชื่อว่า
แว่นธรรม ซึ่งหากอริยสาวกผู้ใด ได้ประกอบพร้อมแล้ว
เมื่อจำนงจะพยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้ในข้อที่ตน
เป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัย
สิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว, ในข้อที่ตนเป็น
พระโสดาบันผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อ
พระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า
ดังนี้.
อานนท์ ! ก็ธรรมปริยายอันชื่อว่า แว่นธรรม
ในที่นี้ เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น
ไม่หวั่นไหวในองค์พระพุทธเจ้า.... ในองค์พระธรรม....
ในองค์พระสงฆ์....และอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
ประกอบพร้อมแล้วด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของ
เหล่าอริยเจ้า คือเป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา เป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญ
เป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ.
อานนท์ ! ธรรมปริยายอันนี้แล ที่ชื่อว่า
แว่นธรรม ซึ่งหากอริยสาวกผู้ใดได้ประกอบพร้อมแล้ว
เมื่อจำนงจะพยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้, ดังนี้แล.
(มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๕๐-๔๕๑/๑๔๗๙-๑๔๘๐.)
ศีลที่เป็นอริยกันตศีล ไม่จำเป็นต้องควบคุม เพราะหมดเหตุที่จะกระทำความชั่วให้ไปอบาย นั่นหมายถึง ไม่มีความคิดเลยว่าจะทำผิดศีล จุดสังเกตอีกอย่าง คือ เมือ่ศีลสมบูรณ์เเล้ว พระอริยสาวก ตั้งเเต่พระโสดาบันขึ้นไป เวลานึกถึงศีลจะเกิดปราโมทย์ขึ้นมาทันที ปราโมทย์ที่เกิดขึ้นก็จะก่อให้เกิดปิติ ปัสสัทธิ เเละสมาธิ
ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ก็เป็นเรื่องศรัทธาที่หยั่งลงมั่นในพระรัตนตรัย
อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญา ในพระพุทธเจ้าว่า โดยเหตุผลดังนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ เป็นสัมมาสัมพุทธะ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นนักฝึกคนที่ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวะและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เบิกบานแล้ว เป็นพระผู้ทรงพระเจริญ
เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญา ในพระธรรมว่า ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะเห็นชัดได้ด้วยตนเอง ไม่ขึ้นกับกาล ชวนเชิญให้มาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว วิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน
เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญา ในพระสงฆ์ว่า สงฆ์หมู่สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่คู่บุรุษ ๔ นับเรียงตัวบุคคลเป็น ๘ สงฆ์หมู่สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาถวาย เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขาอุทิศบูชา เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
(สํ.ม. 19/1634-1637/516-517)
ความศรัทธาที่หยั่งลงมั่นเกิดขึ้นจากการเห็นความจริงชุดเดียวกัน (อริยสัจ 4 หรือ ปฏิจสสมุปบาท) ดังนั้น พระอริยสาวกทุกๆองค์ย่อมรู้ว่า มีผู้ที่เข้าใจในอริยสัจ 4 อยู่จริงๆ
จริงๆ มีรายละเอียดปลีกย่อยที่มากกว่านี้ เเต่ผมไม่ขอเเชร์เอาไว้ เพราะบางอย่างก็เป็นเรื่องควรรู้ได้ด้วยตนเอง ที่นำมาเเสดงไว้นี้ก็เพื่อให้เป็นหลักฐานว่า อริยมรรค อริยผลมีอยู่จริง เเละการเจริญสติปัฏฐาน 4 ก็ให้ผลดังที่พระพุทธองค์พยากรณ์ไว้ คือ
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี
เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี
ขันธบัญจกเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้
อย่างนี้ ตลอด ๖ ปี ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี ... ๑ ปี ยกไว้. ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติ
ปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อขันธบัญจกมีเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๗ เดือน ยกไว้
ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ๕ เดือน ๔ เดือน ๓ เดือน
๒ เดือน ๑ เดือน กึ่งเดือน ... กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้
ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือ
เมื่อขันธปัญจกยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี."
ส่วนความสุขในชีวิตของพระโสดาบันนั้น ก็เปรียบได้ดังนี้
"ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อย ไว้ที่ปลายพระนขาแล้ว
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่ปลายเล็บที่เราช้อนขึ้นนี้กับมหาปฐพีนี้ อย่างไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาปฐพีมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่ปลายพระนขาอัน
พระผู้มีพระภาคทรงช้อนขึ้นนี้ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับมหาปฐพีแล้ว ฝุ่นเล็กน้อยที่ปลาย
พระนขาที่พระผู้มีพระภาคช้อนขึ้นแล้ว ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.
พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวกผู้สมบูรณ์
ด้วยทิฏฐิ ผู้ตรัสรู้ ผู้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ที่สิ้นไป
หมดไป มากกว่า ที่ยังเหลือมีประมาณน้อย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้
ส่วนเสี้ยว เมื่อเทียบกับกองทุกข์อันมีในก่อนที่สิ้นไป หมดไปแล้ว อย่างสูงเพียง ๗ ชาติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา."
นขสิขาสูตร
อริยมรรค อริยผล
ผู้ปฏิบัติเมื่อเจริญสติปัฏฐาน 4 มาอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะใช้ กาย-เวทนา-จิต-ธรรม ก็ตาม (หรืออานาปานสติ) เเละมีการส่งอารมณ์กับพระวิปัสสนาจารย์อย่างต่อเนื่อง
เมื่อถึงเวลาที่บุญบารมี พร้อมทั้งอินทรีย์ เเละโพธิปักขิยธรรมทั้งหมดเเก่รอบเเล้ว อริยมรรคจะเกิดขึ้นเอง โดยอัติโนมัติ
กระบวนการเกิดอริยมรรคใช้เวลาไม่นาน ตามตำราอธิบายว่า 2-3 ขณะจิต ซึ่งตอนเกิดจริงๆ มันเร็วดุจสายฟ้าเเลบ ในกรณีของผม คือ การประจักษ์ในสภาพธรรมทั้งหมดว่าเป็นอนัตตา นั่นคือ สภาพที่ไม่มีอะไรสักอย่างเลยที่สามารถบังคับได้ ธรรมทุกอย่างมีเหตุเเละปัจจัยที่ทำงานของเขาเองทั้งหมด โดยที่ไม่มี "เรา" เข้าไปบังคับหรือควบคุมเเต่อย่างใด
จริงๆปัญญาหรือญาณที่เข้าใจว่าสิ่งต่างๆ เป็นอนัตตานี้ เกิดตั้งเเต่อุททัพยญาณเป็นต้นมา เเต่ยังเห็นไม่ชัดเจน จนกระทั่งเกิดอริยมรรค พอเกิดอริยมรรคเเล้ว จิตจะสรุปเเละประมวลธรรมทั้งหมดว่าเป็นอนัตตา (บางท่านอาจเเจ้งทุกขัง หรืออนิจจังก็ได้ เเล้วเเต่บารมีที่สะสมมา)
“อริยสาวกผู้นี้ จะเรียกว่า ทิฏฐิสัมบัน (ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ มีสัมมาทิฏฐิสมบูรณ์) ก็ได้ ทัสสนสัมบัน (ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะ คือมีสัมมาทัศนะสมบูรณ์) ก็ได้ ผู้มาถึงสัทธรรมนี้แล้ว ก็ได้ ผู้เห็นสัทธรรมนี้ ก็ได้ ผู้ประกอบด้วยเสขญาณก็ได้ ผู้ประกอบด้วยเสขวิชชา ก็ได้ ผู้ลุธรรมโสต (ถึงกระแสธรรม) ก็ได้ อริยชนผู้มีปัญญาที่จะเจาะสัจธรรมได้ ก็ได้ ผู้ยืนชิดอมฤตทวาร (อยู่ติดประตูอมตะ) ก็ได้” (สํ.นิ.16/90/51; 122/69 ; 182,187/94-95)
เมื่อทิฐิสมบูรณ์ สักกายทิฐิย่อมถูกทำลายโดยสมบูรณ์ ดังนั้นจึงหมดความเห็นว่า มีเราเป็นผู้ที่บรรลุธรรม เเละหมดความเห็นว่า มีเราทีเ่ป็นอะไรสักอย่างนึง เมื่อหมดความเห็นว่ามีเราเเล้ว ความรู้สึกที่ว่ามีใครเป็นอะไรสักอย่างจึงหมดสิ้นไปด้วย
จุดสังเกตอีกอย่างหนึ่ง สำหรับผู้ที่ภาวนามาถึงจุดนี้เเล้ว คือ ตัวของวิจิกิจฉา
โดยทั่วไปเเล้ว ต่อให้ภาวนามามาก มีญาณเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้งเเล้ว เเต่โดยลึกๆ จิตใจยังคงมีความไม่มั่นใจอยู่ ตัวอย่างเช่น ถ้าทำกรรมฐานเเบบนี้ เเล้วจะบรรลุธรรมไหม? เป็นต้น
เมื่อวิจิกิจฉาถูกทำลายไป ความรู้สึกลังเล ไม่มั่นใจในเส้นทาง ย่อมถูกทำลายไปด้วย ดังนั้นพระอริยสาวกจะเข้าใจอย่างเเจ่มเเจ้งว่า ไม่มีข้อปฏิบัติอื่นใด ที่นอกเหนือจากการเจริญมรรค 8
คุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งที่สามารถตรวจสอบได้ คือ อริยกันตศีล
แว่นธรรม ซึ่งหากอริยสาวกผู้ใด ได้ประกอบพร้อมแล้ว
เมื่อจำนงจะพยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้ในข้อที่ตน
เป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัย
สิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว, ในข้อที่ตนเป็น
พระโสดาบันผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อ
พระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า
ดังนี้.
ในที่นี้ เป็นอย่างไรเล่า ?
อานนท์ ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
ประกอบพร้อมแล้วด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น
ไม่หวั่นไหวในองค์พระพุทธเจ้า.... ในองค์พระธรรม....
ในองค์พระสงฆ์....และอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
ประกอบพร้อมแล้วด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของ
เหล่าอริยเจ้า คือเป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา เป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญ
เป็นศีลที่ทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ.
แว่นธรรม ซึ่งหากอริยสาวกผู้ใดได้ประกอบพร้อมแล้ว
เมื่อจำนงจะพยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้, ดังนี้แล.
เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญา ในพระธรรมว่า ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะเห็นชัดได้ด้วยตนเอง ไม่ขึ้นกับกาล ชวนเชิญให้มาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว วิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน
เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญา ในพระสงฆ์ว่า สงฆ์หมู่สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่คู่บุรุษ ๔ นับเรียงตัวบุคคลเป็น ๘ สงฆ์หมู่สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาถวาย เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขาอุทิศบูชา เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมี
ขันธบัญจกเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้
อย่างนี้ ตลอด ๖ ปี ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี ... ๑ ปี ยกไว้. ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติ
ปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อขันธบัญจกมีเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๗ เดือน ยกไว้
ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ๕ เดือน ๔ เดือน ๓ เดือน
๒ เดือน ๑ เดือน กึ่งเดือน ... กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้
ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือ
เมื่อขันธปัญจกยังเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี."
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่ปลายเล็บที่เราช้อนขึ้นนี้กับมหาปฐพีนี้ อย่างไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาปฐพีมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่ปลายพระนขาอัน
พระผู้มีพระภาคทรงช้อนขึ้นนี้ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับมหาปฐพีแล้ว ฝุ่นเล็กน้อยที่ปลาย
พระนขาที่พระผู้มีพระภาคช้อนขึ้นแล้ว ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.
พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวกผู้สมบูรณ์
ด้วยทิฏฐิ ผู้ตรัสรู้ ผู้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ที่สิ้นไป
หมดไป มากกว่า ที่ยังเหลือมีประมาณน้อย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้
ส่วนเสี้ยว เมื่อเทียบกับกองทุกข์อันมีในก่อนที่สิ้นไป หมดไปแล้ว อย่างสูงเพียง ๗ ชาติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา."