ทำไมจีนถึงกล้าเตือนฟิลิปปินส์ว่าอย่ายั่วยุในทะเลจีนใต้ทั้งๆที่จีนไปคุกคามพื้นที่ทางทะเลเค้าก่อน

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากเรือรบจีนฉีดน้ำใส่เรือประมงฟิลิปปินส์

เรื่องของเรื่องคือจีนไปติดตั้งทุ่นลอยน้ำกั้นไม่ให้เรือประมงฟิลิปปินส์เข้ามาในน่านน้ำที่ฟิลิปินส์ก็ถือว่าเป็นของตัวเอง

แต่ฟิลิปปินส์ไม่ยอมเพราะถือว่าเป็นเขตของตัวเองก็เลยไปตัดทุ่นลอยน้ำนั้นออก

ทีนี้โฆษกจีนก็ออกมาเตือนฟิลิปปินส์ว่าอย่าทำการยั่วยุในทะเลจีนใต้

https://www.reuters.com/world/asia-pacific/philippines-says-china-has-removed-remnants-floating-barrier-south-china-sea-2023-09-26/

ล่าสุดฟิลิปปินส์แถลงการณ์บอกจะไม่ยอมอ่อนข้อให้จีนและจะทำทุกอย่างเพื่ออธิปไตยของชาติ

เลยสงสัยว่าทำไมจีนเป็นฝ่ายเริ่มไปติดตั้งทุ่นลอยน้ำในพื้นที่พิพาทก่อน พอเค้าไปรื้อทิ้งก็หาว่าเค้ายั่วยุซะงั้น
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
เชื่อสื่อต่างๆ ก็ยังดีกว่าเชื่อ Nobody ในพันทิป ที่อวยจีนแบบอคติไม่ลืมหูลืมตานะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 17
ดูจากเจ้าของกระทู้พิมพ์ + ตอบ Comment ก็คงมีธงในใจอยู่แล้ว ว่าไม่ชอบจีน...

ผมขอตอบสำหรับท่านอื่นที่ได้มีโอกาสเข้ามาอ่านละกัน

1. พื้นที่ดังกล่าวพิพาทกันอยู่ ไม่ใช่เพิ่งพิพาทมาปีนี้ปีที่แล้ว แต่พิพาทกันมานานมากๆแล้วหลายสิบๆปี ยังไม่ใช่ของประเทศใดประเทศนึงเด็ดขาดชัดเจน ต่างฝ่ายต่างแย่งชิงครอบครอง แต่ละคนก็มีข้อกล่าวอ้างสิทธิไป... โดยทั่วไปการแย่งชิงสิทธิ ก็มักจะมีหลายวิธี การส่งชาวประมงเข้าไป ก็ถือเป็นการแย่งการอ้างสิทธิวิธีหนึ่งโดยอ้างเรื่องวิถีชีวิต คนแถวๆนั้นในพื้นที่, การลาดตระเวนก็เป็นอีกวิธีนึงในการป้อมปรามเขตแดนในน่านน้ำทีไม่มีขอบเขตทางธรรมชาติที่ชัดเจน, ทั้งสองฝ่ายต่างก็แย่งกันมาตลอด เพียงแต่ช่วงหลัง ฟิลิปปินส์ เอาสื่อมาตลอด BBC, CNN มาชนิดเร้ยกว่ากินนอนกับฝ่าย Coast guard ของฟิลิปปินส์เลยละกัน เนื้อเรื่องก็ย่อมออกมาแนวๆ ฟิลิปปินส์ถูกกระทำ แต่ตอนทำบ้างจะไปมีได้ไง 😅

2. พักหลัง ฟิลิปปินส์ พบว่าเชิญสื่อไปแล้วฝ่ายตัวเองได้เปรียบในสายตาชาวโลก ก็เชิญสื่อตลอดโดยเฉพาะค่ายตะวันตก ซึ่ง US UK สลับสนุน ตีปี๊ปเต็มที่

3. นายกฯ ฟิลิปปินฯ คนปัจจุบันโปรตะวันตก ในขณะที่ สมัยดูเตอร์เต้ไม่มีปัญหา เพราะเอนไปทางจีน ทั้งสองฝ่ายรอมชอมกันมากกว่านี้, ชาวประมงฟิลิปปินส์เข้าไปหาปลา จีนก็ไม่ค่อยขับไล่ นานๆๆๆๆทีจะมีปัญหาบ้างจาก miscalculation

4. เจ้าหน้าที่ Philipine Coast Guard น่าจะได้ฉีดยาแรงจาก US อาจเป็นพวกเงินสนับสนุน เงินน้ำร้อน น้ำชาต่างๆ เพราะออกมา Discredit จีนออกนอกหน้าแบบไม่กลัวเกรง ผิดกับก่อนหน้านี้

5. ฝ่ายจีนก็พยายามจีบ Philipine อยู่เพิ่งให้ปุ๋ยแบบฟรีๆ ไม่มีเงื่อนไข หลายล้านตันเมื่อ 3 เดือนก่อน ซึ่งนายกฟิลิปปินส์ขอบคุณรับไว้ แต่เชิงหารทูตไม่มีการปรับเปลี่ยน ยังคงโปร US, ในเมื่อน้ำเย็นไม่ได้ผล จีนก็กละบมาเคร่งครัดเรื่องเขตแดนละ

6. มันก็เหมือน US เดิน ***เรือรบ*** ผ่านช่องแคบไต้หวัน พอจีนตามสะกัด ประกบ ก็บอกจีนยั่วยุ ... แต่ถ้า US ไม่ไปเดินเรือในช่องนั้นจะเกิดไหมหล่ะครับ ... ใครยั่วยุ ขึ้นกับคุณเอนเอียงไปทางฝ่ายไหนด้วย ... ถ้าโปร US ก็จะบอกว่าเดินในน่านน้ำสากล ... แต่ลองจีนเอาเรือรบไปแล่นใกล้ๆ US บ้างสิ... จะมีคนประกบไหม แบบเฉียดๆเลยนะ ลองดูแผนทีช่องแคบไต้หวันดูไหมว่ามันใกล้จีนขนาดไหน 😅
ความคิดเห็นที่ 5
ถ้าแบบนั้นมันก็วนกลับมาว่าเรือประมงจีนเข้าไปได้ แต่ทำไมเรือฟิลิปปินส์เข้าไปไม่ได้
ความคิดเห็นที่ 20
https://ppantip.com/topic/41052400/comment4?sc=DDgA97G

ข้อความจากความเห็นของคุณ digimontamer ครับ

กรณีต่อมาคือ หมู่เกาะหนานซา หรือ สแปรสลีย์

สมัยหมิงและชิง จีนมีเอกสารและแผนที่มากมายที่อ้างกรรมสิทธิ์การครอบครองเกาะเหล่านี้ ในอดีตเมื่อเยอรมันเข้าสำรวจเกาะดังกล่าวช่วงยุค 1870-80 ก็มีหนังสือจากราชสำนักต้าชิงไปประท้วงกงศุลเยอรมันว่าได้ละเมิดดินแดนของต้าชิง
ในช่วงปี 1900-1930 นั้น มีความพยายามของฝรั่งเศสและญี่ปุ่นที่จะเข้าสำรวจหรือครอบครองเกาะนี้ครับ แต่ทั้งสองฝ่ายตกลงอะไรกันไม่ได้ เลยไม่มีใครอ้างว่าเป็นของใครเสียทีเดียว มีเพียงจีนที่ยังคงอ้างสิทธิเหนือเกาะนี้อย่างต่อเนื่อง และเคยท้วงไปยังฝรั่งเศส เมื่อฝรั่งเศสจะผนวกเกาะนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งในปี 1933 ทำให้ฝรั่งเศสยั้งมือเอาไว้
พอสงครามจีน-ญี่ปุ่นเกิดขึ้น กองทัพญี่ปุ่นก็บุกเข้ายึดเกาะนี้ในปี 1939 แต่เมื่อญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลก กองทัพสาธารณรัฐจีนก็เข้ายึดเกาะไท่ผิง ที่เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดของหมู่เกาะหนานซาแทนในปีเอาไว้เมื่อปี 1945-47 ครับ
ปี 1946 รัฐบาลก๊กมินตั๋งจัดเอาหมู่เกาะนี้ไปรวมอยู่ในเขตปกครองที่ขึ้นกับมณฑลกวางตุ้ง
ในปี 1951 ตามสนธิสัญญาซานฟรานซิสโก ญี่ปุ่นสละอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะหนานซา
ปี 1952 ตามสนธิสัญญาสันติภาพจีน-ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นยอมรับว่าได้สละอำนาจอธิปไตยและดินแดนใดๆ ที่ยึดมาจากจีนก่อนปี 1941

จะเห็นว่าฝรั่งเศสที่เคยแย่งเกาะนี้กับจีนและญี่ปุ่นมาแต่ปี 1900 สุดท้ายก็ถอนตัวจากเอเชียและไม่ได้อ้างสิทธิใดๆเหนือเกาะนี้อีก ในสัญญาที่ให้เอกราชแก่เวียดนามก็มิได้รวมเกาะนี้เอาไว้ ทางด้านสหรัฐ, ฮอล์แลนด์ และอังกฤษ ที่เป็นเจ้าอาณานิคมของ ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, บรูไน และ อินโดนีเซีย ก็มิได้เคยเข้ามาอ้างสิทธิเหนือเกาะหนานซาแข่งกับจีนมาก่อน

จีนจึงเป็นผู้อ้างสิทธิมาก่อน มีหลักฐานด้านการครอบครองที่เก่าแก่ย้อนไปได้หลายร้อยปี และยังพยายามอ้างอย่างต่อเนื่องจนถึงในปัจจุบันครับ

ฟิลิปปินส์ได้รับเอกราชจากสหรัฐอเมริกาในปี 1946 โดยพรมแดนหรืออาณาเขตภายใต้อำนาจอธิปไตยของฟิลิปปินส์นั้น สหรัฐถือว่าดินแดนทั้งหมดที่ตนได้มาจาก สนธิสัญญากับสเปนในปี 1898 คือประเทศฟิลิปปินส์ครับ ซึ่งสนธิสัญญาดังกล่าวไม่ได้รวมไปถึงหมู่เกาะหนานซาแต่อย่างใด
อันที่จริงฟิลิปปินส์พึ่งจะมาอ้างความเป็นเจ้าของหมู่เกาะหนานซาในช่วงกลางยุค 70 เองครับ เมื่อเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันในตะวันออกกลาง ทำให้รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้รับงบประมาณจากต่างชาติให้เข้าสำรวจแหล่งพลังงานในทะเลจีนใต้ ฟิลิปปินส์จึงเข้ามาอ้างสิทธิเหนือเกาะหนานซาครับ
ประเทศที่เป็นเจ้าของอาณานิคมมาก่อนอย่างสเปนและสหรัฐ ไม่เคยอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะดังกล่าวมาก่อนเลย ทั้งๆที่หมู่เกาะหนานซาเป็นที่รู้จักโดยชาวตะวันตกมาแต่ปลายศตวรรษที่ 19 แล้ว ทั้งสเปนและสหรัฐเคยยอมรับว่าหนานซาเป็นเขตอธิปไตยของต้าชิง

มาเลเซียนั้นก็พึ่งมาอ้างสิทธิและส่งกองทัพเข้าไปในเกาะหนานซาเอาเมื่อปลายยุค 70 เช่นกัน ครับ เจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษไม่เคยเอาเกาะนี้รวมเข้าไว้ในสหพันธรัฐมลายูแต่อย่างใด และในสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกปี 1951 อังกฤษก็ไม่ได้อ้างสิทธิในเกาะดังกล่าวในฐานะผู้ชนะสงคราม

บรูไน พึ่งได้รับเอกราชเมื่อปี 1984 และเริ่มอ้างสิทธิเมื่อปี 1987-88 เป็นต้นมาครับ ถือว่ามาทีหลังเขาเลย (ชาติอื่นๆอ้างมาก่อนบรูไนนานมากแล้ว)

อินโดนีเซีย นั้นก็พึ่งอ้างสิทธิในช่วงยุค 1970 ครับ ใกล้ๆกับฟิลิปปินส์ ในขณะที่เจ้าอาณานิคมเดิมอย่างฮอล์แลนด์ ให้การยอมรับว่าตรงนั้นไม่ใช่เขตอาณานิคมของตน แต่เป็นดินแดนของต้าชิง

ดังนั้นชาติต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พึ่งจะมาอ้างสิทธิเอาเมื่อยุค 70 เป็นต้นมาครับ แถมก่อนหน้านั้นเจ้าอาณานิคมเดิมก็ไม่เคยอ้างว่าเกาะดังกล่าวเป็นอาณานิคมของตน ในขณะที่จีนอ้างสิทธิมาตั้งแต่อย่างน้อยก็ปลายศตวรรษที่ 19 และมีการอ้างอิงหรือพยายามรักษาสิทธิ์ของตนอย่างต่อเนื่องในทางการทูต (เพราะจีนยุคนั้นไม่มีอำนาจทางทหารเพียงพอ)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่