สวัสดีครับ ตามที่ผมเข้าใจคือรถไฟฟ้าตอนนี้ปกติน่าจะมีอัตราทดเฟืองอยู่อัตราเดียว (เกียร์ D จังหวะเดียว) ถูกต้องไหมครับ? เพราะด้วยความสามารถของมอเตอร์ไฟฟ้าที่มีรอบสูงมากและให้แรงม้าแรงบิดแบบเต็มๆในทุกๆรอบทำให้ไม่จำเป็นต้องมีเกียร์หรือเฟืองมาทดคั่นให้เสียพลังงาน เสียเวลาเปล่าๆ แต่เนื่องด้วยความมีอัตราทดอยู่จังหวะเดียว ทำให้การแช่ความเร็วเดินทาง (100++ กม/ชม.) ทำให้มอเตอร์ต้องทำงานรอบที่สูง และกินไฟในปริมาณที่มาก ยกตัวอย่างง่ายๆเหมือนรถยนต์สมัยก่อนที่มี 4 เกียร์ วิ่ง 120 กม/ชม. อาจจะมีรอบเครื่องอยู่ที่ 3000 รอบ กับรถยนต์สมัยนี้มี 8 เกียร์ วิ่ง 120 กม/ชม. อาจจะมีรอบเครื่องอยู่ที่ 1500 - 2000 รอบ ทำให้รถสมัยนี้กินน้ำมันน้อยกว่าในระดับความเร็วที่เท่ากัน และหากว่ารถไฟฟ้านั้นใช้หลักการคล้ายๆกัน (คล้ายๆนะครับ เพราะอาจจะมีเทคโนโลยีที่ดีกว่านี้ก็ได้) ในการช่วยเวลารถไฟฟ้าวิ่งความเร็วเดินทาง ไม่ต้องถึงขั้นเกียร์ก็ได้นะครับ อาจจะเป็นเฟืองในมอเตอร์ที่ทดรอบให้มอเตอร์วิ่งรอบต่ำกว่าอีกเฟืองนึงเพื่อช่วยในการใช้ความเร็วเดินทางที่คงที่ ลดภาระของมอเตอร์และอาจจะได้ระยะทางมากขึ้น ลดขนาดแบต ลดขนาดมอเตอร์ลงได้ด้วย คนอื่นๆมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ? ผมเข้าใจผิดหรืออะไรสามารถชี้แนะกันและแชร์กันได้ครับผม ขอบคุณครับ
ถ้ารถ EV มีอัตราทดเฟืองหรือเกียร์แบบรถสันดาปจะทำให้ประหยัดการใช้พลังงานขึ้นไหมครับ? (แลกเปลี่ยนความรู้กันครับ)