ร่วมรักษาและสืบทอดศิลปะอันล้ำค่า
พัฒนาทักษะและสร้างแรงบันดาลใจ ให้เยาวชนคนรุ่นใหม่
กับโครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ
“ศิลปินแห่งชาติสืบสายลายศิลป์ ๒๕๖๖”
วันที่ 13 กันยายน 2566 เวลา ๐๙.๓๐ น. นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดโครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ “ศิลปินแห่งชาติสืบสายลายศิลป์ ๒๕๖๖” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย ผิวสะอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัย กล่าวต้อนรับนางมงคลทิพย์ รุ่งงามฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษา กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดกิจกรรมโครงการศิลปินแห่งชาติสัญจร และศิลปินแห่งชาติ กล่าวให้โอวาทแก่ผู้เข้ารับการอบรม พร้อมชมการแสดง “สุนทรียนาฏยกวี” โดยนางรัจนา พวงประยงค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ปิดท้ายด้วยโชว์สุดพิเศษ “สาน ศิลป์ กวี คีตา” โดยศิลปินแห่งชาตินำโดย ดร. กมล ทัศนาญชลี นายธงชัย รักปทุม นายศราวุธ ดวงจำปา นางชมัยภร บางคมบาง (แสงกระจ่าง) นายธนิสร์ ศรีกลิ่นดี นายวิรัช อยู่ถาวร และนางสุดา ชื่นบาน สร้างความตื่นตาตื่นใจและประทับใจผู้ร่วมงานเป็นอย่างยิ่ง
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมงานศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ อีกทั้ง ยังเปิดโอกาสให้เยาวชนและประชาชนผู้ที่สนใจ ได้สัมผัสกับผลงานศิลปะอันทรงคุณค่าที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะทั้งด้านทัศนศิลป์ ด้านวรรณศิลป์ และด้านศิลปะการแสดง จึงร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จัดกิจกรรมโครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ “ศิลปินแห่งชาติสืบสายลายศิลป์ ๒๕๖๖” ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๓ กันยายน ๒๕๖๖ ซึ่งมีนักเรียน นักศึกษา และครู อาจารย์ จากหลายสถาบัน จำนวน ๗๘๐ คน สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมอย่างคับคั่ง
รองศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย ผิวสะอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า โครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ “ศิลปินแห่งชาติสืบสายลายศิลป์ ๒๕๖๖” มีความสำคัญต่องานด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมงานศิลปะและวัฒนธรรมไปสู่เยาวชน และผู้ที่สนใจ ในขณะเดียวกันศิลปินแห่งชาติยังได้ให้ความสำคัญและกรุณาอุทิศตนเสียสละเวลามาถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และเทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อฝึกฝนและสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาทักษะทั้งด้านทัศนศิลป์ ด้านวรรณศิลป์ และด้านศิลปะการแสดง ให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ ผู้ที่จะสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติในอนาคต และยังเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชน และประชาชนได้สัมผัสกับผลงานศิลปะอันทรงคุณค่าที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะทั้ง ๓ สาขา ต่อไป
ด้าน นางมงคลทิพย์ รุ่งงามฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษา กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการหนึ่งที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม โดย หออัครศิลปิน สถาบันวัฒนธรรมศึกษาให้ความสำคัญและดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ด้วยเล็งเห็นว่าเป็นกลไกสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อการเผยแพร่ผลงาน องค์ความรู้ และประสบการณ์ ของศิลปินแห่งชาติ ไปสู่เยาวชนและผู้ที่สนใจ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมวัฒนธรรมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในรูปแบบของการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ พร้อมกับการจัดแสดงผลงานฝีพระหัตถ์ของอัครศิลปิน วิศิษฏศิลปิน และผลงานของศิลปินแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษา และเยาวชน ในจังหวัดปทุมธานีและพื้นที่ใกล้เคียง มีโอกาสได้รับการฝึกฝนทักษะจากศิลปินแห่งชาติ ซึ่งจะก่อให้เกิดพลังในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นได้รับเกียรติจากศิลปินแห่งชาติ ทั้ง ๓ สาขา เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ จำนวน ๑๗ ท่าน โดยแบ่งเป็นทั้งหมด
๘ ฐาน ดังนี้
๑. ฐานเทคนิคจิตรกรรมและสื่อผสม วิทยากรโดย ศาสตราจารย์เดชา วราชุน และ นายธงชัย รักปทุม
๒. ฐานเทคนิคภาพพิมพ์ วิทยากรโดย ดร กมล ทัศนาญชลี
๓. เทคนิคเทคนิคประติมากรรม วิทยากรโดย นายศราวุธ ดวงจำปา
๔. ฐานเทคนิคศิลปะผ่านเลนส์ วิทยากรโดย นายวรนันทน์ ชัชวาลทิพากร และ นางวรรณี ชัชวาลทิพากร
๕.ฐานสถาปัตยกรรมศิลป์ วิทยากรโดย นางสาววนิดา พึ่งสุนทร และ นายชาตรี ลดาลลิตสกุล
๖. ฐานการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ วิทยากรโดย นางชมัยภร บางคมบาง (แสงกระจ่าง)
๗. ฐานศิลปะการแสดง(ดนตรีและการขับร้อง) วิทยากรโดย ครูประยงค์ ชื่นเย็น, ครูธนิสร์ ศรีกลิ่นดี, ครูวิรัช อยู่ถาวร, ครูวินัย พันธุรักษ์ และ ครูสุดา ชื่นบาน, ครูรุ่งฤดี เพ็งเจริญ (รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส)
๘. ฐานศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย-ละคร) วิทยากรโดย ครูรัจนา พวงประยงค์ และ ครูประเมษฐ์ บุณยะชัย
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีกล่าวต้อนรับ
ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษา กล่าวรายงานฯ
อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดโครงการฯ
พิธีเปิดโครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ “ศิลปินแห่งชาติสืบสายลายศิลป์ ๒๕๖๖”
โครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ “ศิลปินแห่งชาติสืบสายลายศิลป์ ๒๕๖๖” ถือเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้น้อง ๆ เยาวชน ผู้รักงานศิลปะ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานศิลปะ เทคนิค วิธีการต่าง ๆ จากศิลปินแห่งชาติและผู้ทรงคุณวุฒิอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งได้ชมผลงานศิลปะของอัครศิลปิน วิศิษฏศิลปิน และศิลปินแห่งชาติที่นำมาจัดแสดงนิทรรศการ ซึ่งมีประโยชน์สำหรับ น้อง ๆ เยาวชน สามารถนำไปเป็นแรงบันดาลใจและต่อยอดสร้างสรรค์งานอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองได้ รวมทั้งได้ร่วมกันสืบทอดมรดกภูมิปัญญาอันล้ำค่าของศิลปินแห่งชาติและมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป
ภาพบรรยากาศในงานฯ
พัฒนาทักษะและสร้างแรงบันดาลใจใน โครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ “ศิลปินแห่งชาติสืบสายลายศิลป์ ๒๕๖๖”
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมงานศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ อีกทั้ง ยังเปิดโอกาสให้เยาวชนและประชาชนผู้ที่สนใจ ได้สัมผัสกับผลงานศิลปะอันทรงคุณค่าที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะทั้งด้านทัศนศิลป์ ด้านวรรณศิลป์ และด้านศิลปะการแสดง จึงร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จัดกิจกรรมโครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ “ศิลปินแห่งชาติสืบสายลายศิลป์ ๒๕๖๖” ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๓ กันยายน ๒๕๖๖ ซึ่งมีนักเรียน นักศึกษา และครู อาจารย์ จากหลายสถาบัน จำนวน ๗๘๐ คน สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมอย่างคับคั่ง
๘ ฐาน ดังนี้
๑. ฐานเทคนิคจิตรกรรมและสื่อผสม วิทยากรโดย ศาสตราจารย์เดชา วราชุน และ นายธงชัย รักปทุม
๒. ฐานเทคนิคภาพพิมพ์ วิทยากรโดย ดร กมล ทัศนาญชลี
๓. เทคนิคเทคนิคประติมากรรม วิทยากรโดย นายศราวุธ ดวงจำปา
๔. ฐานเทคนิคศิลปะผ่านเลนส์ วิทยากรโดย นายวรนันทน์ ชัชวาลทิพากร และ นางวรรณี ชัชวาลทิพากร
๕.ฐานสถาปัตยกรรมศิลป์ วิทยากรโดย นางสาววนิดา พึ่งสุนทร และ นายชาตรี ลดาลลิตสกุล
๖. ฐานการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ วิทยากรโดย นางชมัยภร บางคมบาง (แสงกระจ่าง)
๗. ฐานศิลปะการแสดง(ดนตรีและการขับร้อง) วิทยากรโดย ครูประยงค์ ชื่นเย็น, ครูธนิสร์ ศรีกลิ่นดี, ครูวิรัช อยู่ถาวร, ครูวินัย พันธุรักษ์ และ ครูสุดา ชื่นบาน, ครูรุ่งฤดี เพ็งเจริญ (รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส)
๘. ฐานศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย-ละคร) วิทยากรโดย ครูรัจนา พวงประยงค์ และ ครูประเมษฐ์ บุณยะชัย