มันดา เด็กหญิงวัย 10 ขวบ เกิดมาในครอบครัวที่ยากจน เธออยู่กับพ่อที่ทำงานในโรงงาน แม่ทำอาหารส่งขาย
ส่วนป้าเป็นโสเภณีที่คอยช่วยหาเลี้ยงครอบครัวด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีคุณย่าซึ่งเป็นช่างเย็บแก้เสื้อผ้า
ทุกคนต่างทำงานปากกัดตีนถีบเพื่อช่วยกันประคองครอบครัวให้ผ่านไปได้ในแต่ละวัน
แต่ทุกคนก็คอยเลี้ยงดูมันดา ให้เติบโตขึ้นมาอย่างอบอุ่น..
อยู่มาวันหนึ่งเหตุร้ายได้เกิดขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปมืดค่ำแล้วแต่มันดา ยังไม่กลับบ้านมาสักที...
ป้าและย่าได้ออกตามหา ก่อนจะพบว่ามันดาถูกข่มขืนและทิ้งไว้บนกองขยะหลังหมู่บ้าน
ซึ่งถึงแม้ว่าจะช่วยเด็กน้อยไว้ได้ แต่ด้วยร่างกายที่บอบช้ำและสภาพจิตใจที่ถูกทำร้ายของมันดา
ก็สร้างบาดแผลในใจอย่างรุนแรงให้กับมันดาอย่างยิ่ง
ทางครอบครัวได้เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในทันที ซึ่งมันดา ได้บอกรายละเอียดของคนร้ายได้อย่างแม่นยำ
แต่กลับกลายเป็นว่าทางตำรวจไม่รับทำคดีนี้ เนื่องจากเหตุผลที่ว่า ผู้ต้องหาคนดังกล่าวนั้นเป็นผู้มีอิทธิพล
ซึ่งก็คือเป็นลูกของนักการเมืองท้องถิ่น หนำซ้ำยังมีวรรณะที่สูงกว่าพวกเขาอีกด้วย..
ครอบครัวของมันดาไม่มีทางเลือกนอกจากต้องทนใช้ชีวิตต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ขณะเดียวกันพวกคนร้ายก็ยังใช้ชีวิตมีความสุข ไม่รู้สึกรู้สากับสิ่งที่พวกมันได้ทำไป ยิ่งนานวันความแค้นก็เริ่มสุมในใจของผู้เป็นย่า ..
ในเมื่อกฎหมายบ้านเมืองไม่สามารถแตะต้องคนชั่วได้..
ย่าของมันดาจึงตัดสินใจว่าจะเป็นผู้พิพากษาบาปกรรมที่พวกคนเลวได้ทำกับหลานสาวด้วยตัวของเธอเอง
Ajji (อัจจิ แปลว่า ย่า/ยาย ในภาษามาราธี) เป็นหนังอินเดียอีกเรื่องที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงอันโหดร้ายของกระบวนการยุติธรรม
ที่แทบไม่มีความหมายเลยกับสังคมที่ยังเอื้อต่อระบบวรรณะ รวมถึงความเหลื่อมล้ำในสังคมอินเดียที่เป็นอยู่
คนยากจนไม่มีสิทธิมีเสียงอะไร ขณะที่คนรวยอยู่ในสกุลและวรรณะสูงกว่าทำอะไรก็ได้ไม่ผิด
ซึ่งหากมีปัญหาอะไรคนที่ด้อยกว่าจะพยายามหลีกเลี่ยงปัญหาทุกอย่างด้วยการก้มหน้าใช้ชีวิตแบบยอมรับต่อชะตากรรมต่อไป
ทั้งๆที่ใจนั้นบอบช้ำแสนสาหัส
แต่ในหนังเรื่องนี้ เรียกได้ว่าเป็นการเอาคืนที่ทำให้คนดูอย่างเรารู้สึกสะใจ (ไม่มีคำไหนแทนอารมณ์ได้มากกว่านี้อีกล่ะครับ)
คือเอาตรงๆ มันคือหนังตามล้างแค้น โดยคนแก่ที่ดูไม่มีพิษสงอะไรเลยสักนิด แต่หนังสร้างให้คุณย่าแกเป็นวีรสตรีได้อย่างที่สุด
เราจะรู้สึกเจ็บแค้นแทนแกและครอบครัว.. เจ็บปวดกับสิ่งที่หนูน้อยมันดาได้รับ.. เกลียดพวกตัวร้ายที่มันเลวได้ใจ.
เบื่อหน่ายกับพวกตำรวจที่ไม่เคยดูแลประชาชน เอาแต่มารับใช้ผู้มีอิทธิพล ไม่ก็เจ้าพ่อในท้องถิ่น เสมือนม้าใช้ที่ไม่ว่าเค้าจะสั่งอะไรก็ต้องทำตาม
(คล้ายๆกับ เคสอะไรสักอย่าง ในประเทศใดประเทศนึงบนโลกใบนี้ที่กำลังเป็นข่าวอยู่....)
ความรู้สึกอัดอั้นทั้งหมด คุณจะได้รับการปลดปล่อยในทันที เมื่อได้เห็นสิ่งที่คุณย่าได้กระทำในตอนท้าย
นี่คือหนังอินเดียที่ดีงาม และน่าดูอย่างยิ่ง สำหรับใครที่ยังไม่เคยชมหนังอินเดียหรือคิดเสมอว่าหนังอินเดียมัวแต่ร้องเพลงเต้นไปเต้นมา
ลืมไปได้เลยครับ เพราะอุตสาหกรรมหนังบ้านเขา ไปไกลมาก บทหนังดี สะท้อนปัญหาได้อย่างตรงไปตรงมา
หลายเรื่องทำได้แบบชนิดไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม จับประเด็นสังคมมาตีแผ่แบบชัดๆ...
Ajji เป็นตัวอย่างนึงที่ผมนำเสนอ และมีโอกาสผมจะเอาหนังอินเดียที่น่าสนใจมาพูดถึงอีกในโอกาสต่อๆ ไปครับ
=== ทิ้งท้ายครับ หนังที่ดีสำหรับตัวเรา แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้ดีและไม่ได้ถูกใจสำหรับใคร
ซึ่งอยู่ที่ความชอบของแต่ละบุคคล ภาพยนตร์ก็เหมือนอาหารล่ะครับ อยู่ที่เราเลือกที่จะอยากชิมรสชาติแบบไหนเท่านั้นเอง ===
== Ajji (2017) เมื่อหลานโดนทำร้าย พึ่งตำรวจไม่ได้ ย่าจึงขอล้างแค้นแทน... ==
มันดา เด็กหญิงวัย 10 ขวบ เกิดมาในครอบครัวที่ยากจน เธออยู่กับพ่อที่ทำงานในโรงงาน แม่ทำอาหารส่งขาย
ส่วนป้าเป็นโสเภณีที่คอยช่วยหาเลี้ยงครอบครัวด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีคุณย่าซึ่งเป็นช่างเย็บแก้เสื้อผ้า
ทุกคนต่างทำงานปากกัดตีนถีบเพื่อช่วยกันประคองครอบครัวให้ผ่านไปได้ในแต่ละวัน
แต่ทุกคนก็คอยเลี้ยงดูมันดา ให้เติบโตขึ้นมาอย่างอบอุ่น..
อยู่มาวันหนึ่งเหตุร้ายได้เกิดขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปมืดค่ำแล้วแต่มันดา ยังไม่กลับบ้านมาสักที...
ป้าและย่าได้ออกตามหา ก่อนจะพบว่ามันดาถูกข่มขืนและทิ้งไว้บนกองขยะหลังหมู่บ้าน
ซึ่งถึงแม้ว่าจะช่วยเด็กน้อยไว้ได้ แต่ด้วยร่างกายที่บอบช้ำและสภาพจิตใจที่ถูกทำร้ายของมันดา
ก็สร้างบาดแผลในใจอย่างรุนแรงให้กับมันดาอย่างยิ่ง
ทางครอบครัวได้เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในทันที ซึ่งมันดา ได้บอกรายละเอียดของคนร้ายได้อย่างแม่นยำ
แต่กลับกลายเป็นว่าทางตำรวจไม่รับทำคดีนี้ เนื่องจากเหตุผลที่ว่า ผู้ต้องหาคนดังกล่าวนั้นเป็นผู้มีอิทธิพล
ซึ่งก็คือเป็นลูกของนักการเมืองท้องถิ่น หนำซ้ำยังมีวรรณะที่สูงกว่าพวกเขาอีกด้วย..
ครอบครัวของมันดาไม่มีทางเลือกนอกจากต้องทนใช้ชีวิตต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ขณะเดียวกันพวกคนร้ายก็ยังใช้ชีวิตมีความสุข ไม่รู้สึกรู้สากับสิ่งที่พวกมันได้ทำไป ยิ่งนานวันความแค้นก็เริ่มสุมในใจของผู้เป็นย่า ..
ในเมื่อกฎหมายบ้านเมืองไม่สามารถแตะต้องคนชั่วได้..
ย่าของมันดาจึงตัดสินใจว่าจะเป็นผู้พิพากษาบาปกรรมที่พวกคนเลวได้ทำกับหลานสาวด้วยตัวของเธอเอง
Ajji (อัจจิ แปลว่า ย่า/ยาย ในภาษามาราธี) เป็นหนังอินเดียอีกเรื่องที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงอันโหดร้ายของกระบวนการยุติธรรม
ที่แทบไม่มีความหมายเลยกับสังคมที่ยังเอื้อต่อระบบวรรณะ รวมถึงความเหลื่อมล้ำในสังคมอินเดียที่เป็นอยู่
คนยากจนไม่มีสิทธิมีเสียงอะไร ขณะที่คนรวยอยู่ในสกุลและวรรณะสูงกว่าทำอะไรก็ได้ไม่ผิด
ซึ่งหากมีปัญหาอะไรคนที่ด้อยกว่าจะพยายามหลีกเลี่ยงปัญหาทุกอย่างด้วยการก้มหน้าใช้ชีวิตแบบยอมรับต่อชะตากรรมต่อไป
ทั้งๆที่ใจนั้นบอบช้ำแสนสาหัส
แต่ในหนังเรื่องนี้ เรียกได้ว่าเป็นการเอาคืนที่ทำให้คนดูอย่างเรารู้สึกสะใจ (ไม่มีคำไหนแทนอารมณ์ได้มากกว่านี้อีกล่ะครับ)
คือเอาตรงๆ มันคือหนังตามล้างแค้น โดยคนแก่ที่ดูไม่มีพิษสงอะไรเลยสักนิด แต่หนังสร้างให้คุณย่าแกเป็นวีรสตรีได้อย่างที่สุด
เราจะรู้สึกเจ็บแค้นแทนแกและครอบครัว.. เจ็บปวดกับสิ่งที่หนูน้อยมันดาได้รับ.. เกลียดพวกตัวร้ายที่มันเลวได้ใจ.
เบื่อหน่ายกับพวกตำรวจที่ไม่เคยดูแลประชาชน เอาแต่มารับใช้ผู้มีอิทธิพล ไม่ก็เจ้าพ่อในท้องถิ่น เสมือนม้าใช้ที่ไม่ว่าเค้าจะสั่งอะไรก็ต้องทำตาม
(คล้ายๆกับ เคสอะไรสักอย่าง ในประเทศใดประเทศนึงบนโลกใบนี้ที่กำลังเป็นข่าวอยู่....)
ความรู้สึกอัดอั้นทั้งหมด คุณจะได้รับการปลดปล่อยในทันที เมื่อได้เห็นสิ่งที่คุณย่าได้กระทำในตอนท้าย
นี่คือหนังอินเดียที่ดีงาม และน่าดูอย่างยิ่ง สำหรับใครที่ยังไม่เคยชมหนังอินเดียหรือคิดเสมอว่าหนังอินเดียมัวแต่ร้องเพลงเต้นไปเต้นมา
ลืมไปได้เลยครับ เพราะอุตสาหกรรมหนังบ้านเขา ไปไกลมาก บทหนังดี สะท้อนปัญหาได้อย่างตรงไปตรงมา
หลายเรื่องทำได้แบบชนิดไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม จับประเด็นสังคมมาตีแผ่แบบชัดๆ...
Ajji เป็นตัวอย่างนึงที่ผมนำเสนอ และมีโอกาสผมจะเอาหนังอินเดียที่น่าสนใจมาพูดถึงอีกในโอกาสต่อๆ ไปครับ
=== ทิ้งท้ายครับ หนังที่ดีสำหรับตัวเรา แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้ดีและไม่ได้ถูกใจสำหรับใคร
ซึ่งอยู่ที่ความชอบของแต่ละบุคคล ภาพยนตร์ก็เหมือนอาหารล่ะครับ อยู่ที่เราเลือกที่จะอยากชิมรสชาติแบบไหนเท่านั้นเอง ===