ประเด็น "สาธิกมิทํ (อ่านว่า สา-ธิ-กะ-มิ-ทัง) แปลว่า ถ้วนหรือ?"
ในประเด็นนี้ เป็นประเด็นที่เป็นปัญหากันมากว่า คำว่า "สาธิกมิทัง" แปลว่าอะไรกันแน่?
เพราะมีสำนักที่ถือวาทะว่า "ยึดถือเฉพาะคำสอนที่เชื่อและเข้าใจว่า เป็นพุทธวจนะ เท่านั้น"
ซึ่งสำนักนี้ ได้แปลคำว่า "สาธิกมิทัง" ว่า "ถ้วน, ประโยชน์รักใคร่สามัคคีปรองดอง"
แต่ก็มีพระภิกษุผู้รู้บาลีไวยากรณ์ออกมาให้ความรู้ ความชัดเจน
โดยผู้โพสต์จะยกหลักฐานมาไว้ ดังนี้
คำว่า "สาธิกมิทัง" เป็นคำสนธิกันระหว่างคำ 2 คำ คือ "สาธิกัง + อิทัง"
ซึ่งคำว่า "อิทัง แปลว่า นี้"
ส่วนคำศัพท์ที่เหลือ คือ "สาธิกัง"
มาจากคำสนธิกันระหว่างคำ 2 คำ ระหว่าง "สหะ + อธิกะ"
โดยคำว่า สหะ แปลว่า กับ, พร้อม
ส่วนคำว่า สาธิกะ แปลว่า ยิ่ง, เกิน, กว่า
ดังนั้น คำว่า "สาธิกัง" จึงแปลว่า "พร้อมด้วยส่วนที่เกิน"
และไม่ได้แปลว่า "ถ้วน" ตามสำนักที่ได้ยึดถือวาทะว่า ศึกษาเฉพาะพุทธวจนะ ได้กล่าวอ้าง แต่อย่างใด
พุทธวจนนะคำสอนพระศาสดา ประเด็น "สาธิกมิทํ (อ่านว่า สา-ธิ-กะ-มิ-ทัง) แปลว่า ถ้วนหรือ?"
ในประเด็นนี้ เป็นประเด็นที่เป็นปัญหากันมากว่า คำว่า "สาธิกมิทัง" แปลว่าอะไรกันแน่?
เพราะมีสำนักที่ถือวาทะว่า "ยึดถือเฉพาะคำสอนที่เชื่อและเข้าใจว่า เป็นพุทธวจนะ เท่านั้น"
ซึ่งสำนักนี้ ได้แปลคำว่า "สาธิกมิทัง" ว่า "ถ้วน, ประโยชน์รักใคร่สามัคคีปรองดอง"
แต่ก็มีพระภิกษุผู้รู้บาลีไวยากรณ์ออกมาให้ความรู้ ความชัดเจน
โดยผู้โพสต์จะยกหลักฐานมาไว้ ดังนี้
คำว่า "สาธิกมิทัง" เป็นคำสนธิกันระหว่างคำ 2 คำ คือ "สาธิกัง + อิทัง"
ซึ่งคำว่า "อิทัง แปลว่า นี้"
ส่วนคำศัพท์ที่เหลือ คือ "สาธิกัง"
มาจากคำสนธิกันระหว่างคำ 2 คำ ระหว่าง "สหะ + อธิกะ"
โดยคำว่า สหะ แปลว่า กับ, พร้อม
ส่วนคำว่า สาธิกะ แปลว่า ยิ่ง, เกิน, กว่า
ดังนั้น คำว่า "สาธิกัง" จึงแปลว่า "พร้อมด้วยส่วนที่เกิน"
และไม่ได้แปลว่า "ถ้วน" ตามสำนักที่ได้ยึดถือวาทะว่า ศึกษาเฉพาะพุทธวจนะ ได้กล่าวอ้าง แต่อย่างใด