สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
- อเมริกาไม่ส่งออกเรือดำน้ำ เพราะสร้างแต่เรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์
- เรือดำน้ำที่หลายชาติต่อออกมาขาย ส่งออก เป็นเรือดำน้ำแบบใช้เครื่องดีเซล-ไฟฟ้าทั้งสิ้น เรือดำน้ำแบบนี้เวลาแล่นที่ผิวน้ำจะใช้เดินเครื่องยนต์ดีเซล และใช้กำลังส่วนหนึ่งในการชาร์จแบตเตอรี่ หรือให้โผล่เฉพาะท่ออากาศหายใจแต่ตัวเรืออยู่ใต้น้ำ เพื่อเดินเครื่องยนต์ดีเซลขับเคลื่อนเรือ แต่พอดำอยู่ใต้น้ำจะเปลี่ยนมาใช้ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยอาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่ พอแบตเตอรี่หมด เรือต้องโผล่มาใกล้ผิวน้ำเพื่อชาร์จไฟ ซึ่งทำให้เรือดำน้ำถูกตรวจพบได้ง่าย และเป็นข้อจำกัดของเรือแบบนี้
- ผู้เข้ามาประมูลงานมีชาติจากยุโรปหลายชาติ เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส สวีเดน และ รัสเซีย
- มีชาติในเอเชียคือ จีนและเกาหลีใต้
- ทุกชาติเสนอแบบเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า มาสองลำ ในงบประมาณ 36,000 ล้านบาท แบบตัวเปล่าคือ เฉพาะตัวเรือเท่านั้น ไม่รวมอาวุธใดๆทั้งสิ้น
- ส่วนจีนนั้นเสนอเรือสามลำพร้อมอาวุธ ทั้งตอปิโดและอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือรบที่ใช้ยิงจากดำน้ำ รวมทั้งให้ข้อเสนอพิเศษที่ชาติอื่นไม่ได้เสนอมาคือ ติดตั้งระบบ AIP ( Air Independent Propulsion ) คือ เป็นเครื่องกำเนิดพลังงานโดยไม่ใช้อากาศ มาในงบประมาณที่กองทัพเรือได้ตั้งไว้
- ระบบ AIP นั้นความจริง แบ่งได้หลายชนิด เช่น Closed Cycle Diesel engine, Closed Cycle Stream Turbine, Stirling Cycle Engine, Fuel Cells และ Nuclear Power ล้วนแล้วแต่ไม่ต้องใช้อากาศ ทำให้เรือดำน้ำไม่ต้องแล่นขึ้นสู่ผิวน้ำ เพื่อใช้เดินเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับชาร์จแบตเตอรี่
- ระบบ AIP ของจีนเป็นแบบ Stirling Cycle Engine ซึ่งใช้ออกซิเจนเหลวและน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงเดินเครื่อง และใช้เป็นระบบกำเนิดพลังงานไฟฟ้าเพื่อชาร์จเข้าแบตเตอรี่ในขณะดำอยู่ใต้น้ำ ระบบนี้จีนได้ซื้อลิขสิทธิ์จากบริษัท Kockums ของประเทศสวีเดน ( ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท SAAB ) และทำการพัฒนาต่อให้สามารถกำเนิดพลังงานได้สูงกว่าเครื่องต้นแบบที่ซื้อลิขสิทธิ์มา ซึ่งได้ใส่เข้ามาในตัวเรือที่นำเสนอให้กับ ทร. ด้วย ทำให้เรือสามารถอยู่ใต้น้ำได้ถึง 21 วัน โดยไม่ต้องขึ้นมาผิวน้ำเลย
- ในประเทศแถบอาเซียนทั้ง อินโด, มาเลเซีย, เวียดนาม และพม่า ล้วนแล้วแต่ใช้เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า ที่ไม่มีระบบ AIP ทั้งสิ้น ยกเว้น สิงคโปร์ที่เพิ่งปล่อยเรือดำน้ำที่ต่อจากเยอรมัน ได้รวมระบบนี้เข้ามาด้วย ( สิงคโปร์มีเรือดำน้ำมือสองจากสวีเดนสี่ลำ และสั่งต่อเรือดำน้ำ U218SG อีกสี่ลำจากเยอรมันที่ถือว่าทันสมัยที่สุด และแน่นอนแพงที่สุดด้วย งบที่เรามีอยู่คงซื้อเรือชั้นนี้ได้แค่ลำเดียวหรืออาจจะไม่ได้เลย )
- การตัดสินใจเลือกแบบเรือดำน้ำ เกิดจากทหารเรือที่เกี่ยวข้องในโครงการ โหวตเลือกแบบเรือ โดยพิจารณาจากปัจจัยหลายๆด้าน บางคนเลือกแบบเรือจากทางยุโรป แต่เสียงส่วนใหญ่เลือกเรือดำน้ำจีน อันเนื่องจากประสิทธิภาพเทียบกับเม็ดเงินที่ต้องจ่าย ซึ่งเบื้องต้นกองทัพเรือต้องการเรือสองลำ แต่จีนเสนอแถมมาให้อีกหนึ่งลำพร้อมระบบอาวุธ
เนื่องมาจากติดตามโครงการเรือดำน้ำไทยมานานมาก เท่าที่จำได้เรื่องราวมันก็เป็นแบบนี้ ใครๆก็อยากได้ของดีจากยุโรป แต่เงินมีไม่พอ เพราะถ้าซื้อเรือจากยุโรป สุดท้ายแล้วต้องจัดหางบประมาณในการซื้ออาวุธเพื่อใช้กับเรืออีกไม่รู้เท่าไร งบคงบานปลายแน่นอน แค่นี้กองทัพก็ถูกต่อต้านการจัดซื้ออย่างรุนแรงแล้ว ก็ไม่อยากคิดเลยว่าถ้าต้องซื้อเรือจากยุโรปในราคาที่ต้องจ่ายเกินงบ มันจะเกิดอะไรขึ้น หรืออาจไม่มีโครงการเรือดำน้ำอีกตลอดไปเพราะไม่มีใครเห็นด้วยเลยว่าซื้อมาทำประโยชน์อะไรได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
- เรือดำน้ำที่หลายชาติต่อออกมาขาย ส่งออก เป็นเรือดำน้ำแบบใช้เครื่องดีเซล-ไฟฟ้าทั้งสิ้น เรือดำน้ำแบบนี้เวลาแล่นที่ผิวน้ำจะใช้เดินเครื่องยนต์ดีเซล และใช้กำลังส่วนหนึ่งในการชาร์จแบตเตอรี่ หรือให้โผล่เฉพาะท่ออากาศหายใจแต่ตัวเรืออยู่ใต้น้ำ เพื่อเดินเครื่องยนต์ดีเซลขับเคลื่อนเรือ แต่พอดำอยู่ใต้น้ำจะเปลี่ยนมาใช้ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยอาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่ พอแบตเตอรี่หมด เรือต้องโผล่มาใกล้ผิวน้ำเพื่อชาร์จไฟ ซึ่งทำให้เรือดำน้ำถูกตรวจพบได้ง่าย และเป็นข้อจำกัดของเรือแบบนี้
- ผู้เข้ามาประมูลงานมีชาติจากยุโรปหลายชาติ เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส สวีเดน และ รัสเซีย
- มีชาติในเอเชียคือ จีนและเกาหลีใต้
- ทุกชาติเสนอแบบเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า มาสองลำ ในงบประมาณ 36,000 ล้านบาท แบบตัวเปล่าคือ เฉพาะตัวเรือเท่านั้น ไม่รวมอาวุธใดๆทั้งสิ้น
- ส่วนจีนนั้นเสนอเรือสามลำพร้อมอาวุธ ทั้งตอปิโดและอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือรบที่ใช้ยิงจากดำน้ำ รวมทั้งให้ข้อเสนอพิเศษที่ชาติอื่นไม่ได้เสนอมาคือ ติดตั้งระบบ AIP ( Air Independent Propulsion ) คือ เป็นเครื่องกำเนิดพลังงานโดยไม่ใช้อากาศ มาในงบประมาณที่กองทัพเรือได้ตั้งไว้
- ระบบ AIP นั้นความจริง แบ่งได้หลายชนิด เช่น Closed Cycle Diesel engine, Closed Cycle Stream Turbine, Stirling Cycle Engine, Fuel Cells และ Nuclear Power ล้วนแล้วแต่ไม่ต้องใช้อากาศ ทำให้เรือดำน้ำไม่ต้องแล่นขึ้นสู่ผิวน้ำ เพื่อใช้เดินเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับชาร์จแบตเตอรี่
- ระบบ AIP ของจีนเป็นแบบ Stirling Cycle Engine ซึ่งใช้ออกซิเจนเหลวและน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงเดินเครื่อง และใช้เป็นระบบกำเนิดพลังงานไฟฟ้าเพื่อชาร์จเข้าแบตเตอรี่ในขณะดำอยู่ใต้น้ำ ระบบนี้จีนได้ซื้อลิขสิทธิ์จากบริษัท Kockums ของประเทศสวีเดน ( ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท SAAB ) และทำการพัฒนาต่อให้สามารถกำเนิดพลังงานได้สูงกว่าเครื่องต้นแบบที่ซื้อลิขสิทธิ์มา ซึ่งได้ใส่เข้ามาในตัวเรือที่นำเสนอให้กับ ทร. ด้วย ทำให้เรือสามารถอยู่ใต้น้ำได้ถึง 21 วัน โดยไม่ต้องขึ้นมาผิวน้ำเลย
- ในประเทศแถบอาเซียนทั้ง อินโด, มาเลเซีย, เวียดนาม และพม่า ล้วนแล้วแต่ใช้เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า ที่ไม่มีระบบ AIP ทั้งสิ้น ยกเว้น สิงคโปร์ที่เพิ่งปล่อยเรือดำน้ำที่ต่อจากเยอรมัน ได้รวมระบบนี้เข้ามาด้วย ( สิงคโปร์มีเรือดำน้ำมือสองจากสวีเดนสี่ลำ และสั่งต่อเรือดำน้ำ U218SG อีกสี่ลำจากเยอรมันที่ถือว่าทันสมัยที่สุด และแน่นอนแพงที่สุดด้วย งบที่เรามีอยู่คงซื้อเรือชั้นนี้ได้แค่ลำเดียวหรืออาจจะไม่ได้เลย )
- การตัดสินใจเลือกแบบเรือดำน้ำ เกิดจากทหารเรือที่เกี่ยวข้องในโครงการ โหวตเลือกแบบเรือ โดยพิจารณาจากปัจจัยหลายๆด้าน บางคนเลือกแบบเรือจากทางยุโรป แต่เสียงส่วนใหญ่เลือกเรือดำน้ำจีน อันเนื่องจากประสิทธิภาพเทียบกับเม็ดเงินที่ต้องจ่าย ซึ่งเบื้องต้นกองทัพเรือต้องการเรือสองลำ แต่จีนเสนอแถมมาให้อีกหนึ่งลำพร้อมระบบอาวุธ
เนื่องมาจากติดตามโครงการเรือดำน้ำไทยมานานมาก เท่าที่จำได้เรื่องราวมันก็เป็นแบบนี้ ใครๆก็อยากได้ของดีจากยุโรป แต่เงินมีไม่พอ เพราะถ้าซื้อเรือจากยุโรป สุดท้ายแล้วต้องจัดหางบประมาณในการซื้ออาวุธเพื่อใช้กับเรืออีกไม่รู้เท่าไร งบคงบานปลายแน่นอน แค่นี้กองทัพก็ถูกต่อต้านการจัดซื้ออย่างรุนแรงแล้ว ก็ไม่อยากคิดเลยว่าถ้าต้องซื้อเรือจากยุโรปในราคาที่ต้องจ่ายเกินงบ มันจะเกิดอะไรขึ้น หรืออาจไม่มีโครงการเรือดำน้ำอีกตลอดไปเพราะไม่มีใครเห็นด้วยเลยว่าซื้อมาทำประโยชน์อะไรได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความคิดเห็นที่ 17
ด้วยเหตุผลหลายอย่าง มันก็ควรมีแหละ มีประโยชน์เยอะ เหมือนคนทำนาอยู่ พอมีสมาร์ทโฟนใช้ มันเปิดโลกใหม่ พลิกชีวิตได้เลย แต่มันก็มีราคาและค่าใช้จ่ายต่อเนื่องตามมา เยอะอยู่
ก็นั่นแหละ ประเทศเรามีเงินไม่เยอะมาก พอมาเทียบกับงบอย่างอื่น ก็สู้กันได้ยาก
ปัญหาคือ มีคนไม่รู้ แล้วคิดว่าตนเองรู้ เหมือนเรื่องราคาน้ำมัน มีผู้รู้ที่มีประสบการณ์จากการเติมน้ำมันมาทุกสัปดาห์ มาเสนอแนะกันเป็นแสนคน
อย่างด้านการศึกษานี่ เพิ่มงบไปเท่าไรก็เหมือนถมทะล ไม่มีพอหรอก เพราะต้นตอปัญหาของประชากรเราส่วนหนึ่ง คือ ขี้เกียจ และโง่ มัวแต่โทษว่ารัฐไม่ช่วยโน่นช่วยนี่ ลองคิดดูว่าคนขี้เกียจนี่ ถ้าเกิดกลับตัวมาขยันทำงาน รายได้ประเทศพุ่งพรวด เก็บภาษีได้เยอะ ก็มีงบเยอะ หรือพวกที่โง่ ถ้าตั้งใจหาความรู้ แทนที่จะเอาเวลาไปหาแอพกู้เงิน ก็แบ่งมาหาความรู้เพิ่ม ก็ฉลาดขึ้นได้ด้วยตนเอง ไม่เป็นภาระของรัฐ
ก็นั่นแหละ ประเทศเรามีเงินไม่เยอะมาก พอมาเทียบกับงบอย่างอื่น ก็สู้กันได้ยาก
ปัญหาคือ มีคนไม่รู้ แล้วคิดว่าตนเองรู้ เหมือนเรื่องราคาน้ำมัน มีผู้รู้ที่มีประสบการณ์จากการเติมน้ำมันมาทุกสัปดาห์ มาเสนอแนะกันเป็นแสนคน
อย่างด้านการศึกษานี่ เพิ่มงบไปเท่าไรก็เหมือนถมทะล ไม่มีพอหรอก เพราะต้นตอปัญหาของประชากรเราส่วนหนึ่ง คือ ขี้เกียจ และโง่ มัวแต่โทษว่ารัฐไม่ช่วยโน่นช่วยนี่ ลองคิดดูว่าคนขี้เกียจนี่ ถ้าเกิดกลับตัวมาขยันทำงาน รายได้ประเทศพุ่งพรวด เก็บภาษีได้เยอะ ก็มีงบเยอะ หรือพวกที่โง่ ถ้าตั้งใจหาความรู้ แทนที่จะเอาเวลาไปหาแอพกู้เงิน ก็แบ่งมาหาความรู้เพิ่ม ก็ฉลาดขึ้นได้ด้วยตนเอง ไม่เป็นภาระของรัฐ
ความคิดเห็นที่ 8
ขอตอบในเรื่องภูมิหลังอุตสาหกรรมอาวุธของจีนก่อน
เมื่อประมาณ 40 ปีก่อนจนถึงวันนี้ จีนถูกกลุ่มประเทศอียู รวมถึงสหรัฐฯ ด้วย งดขายอาวุธให้ จากกรณีปราบปรามม็อบที่เทียนอันเหมิน
ซึ่งรวมไปถึงสินค้า (รวมถึงเทคโนโลยี, ซอฟท์แวร์ ฯลฯ) ที่จัดเป็น dual use ด้วย คือ สามารถใช้งานได้ทั้งทางการทหารและทางพลเรือน
หมายความว่า ถ้าจีนจะส่งออกอาวุธ ก็จะส่งออกอาวุธได้แต่เฉพาะอาวุธที่จีนผลิตเอง ไม่สามารถสั่งอาวุธจากทางตะวันตกมาติดตั้งรวมกับของที่จีนผลิตแล้วขายส่งออกอีกทีได้
ทัพเรือไทย ประมาณปี 2533-34 เคยสั่งซื้อเรือฟริเกตจากจีน ชั้นเจียงหู 4 ลำ ระบบอาวุธทั้งหมดเป็นของจีน ใช้เครื่องยนต์ดีเซล MTU 16V1163 จากเยอรมัน รายการสั่งซื้อเครื่องยนต์แยกเป็นอีกดีล คือเราสั่งซื้อกับเยอรมัน แล้วเยอรมันส่งไปติดตั้งที่จีน
ประมาณปี 2537-38 สั่งต่อเรือฟริเกตจากจีน ชั้นนเรศวร 2 ลำ ใช้เครื่องยนต์ดีเซล MTU MTU 20V1163 จากเยอรมัน และเครื่องยนต์แกสเทอร์ไบน์ GE LM-2500 จากสหรัฐฯ รายการสั่งซื้อเครื่องยนต์แยกเป็นอีกดีล คือเราสั่งซื้อกับประเทศผู้ผลิต แล้วผู้ผลิตส่งไปติดตั้งที่จีน
การออกแบบเรือ ไทยออกแบบเรือคร่าวๆ ตามความต้องการของเรา จีนออกแบบต่อให้เป็นแบบที่ใช้สร้างจริง แล้วส่งกลับมาให้เราตรวจสอบ แล้วเราก็ส่งแบบเรืออันนี้ไปให้สหรัฐฯ ตรวจสอบและปรับแก้อีกที
อาวุธที่ติดเรือมาตอนแรก มีแค่ปืนกลรอง 2 ชุด ซ้ายขวาข้างโรงเก็บเฮลิคปเตอร์เท่านั้น
การติดระบบอาวุธอื่นๆ ที่เหลือ ติดตั้งในไทย พูดง่ายๆ คือ สั่งต่อเรือเปล่าๆ จากจีนมาติดตั้งอาวุธเองในไทย
ปี 2548 สั่งต่อเรือ OPV ชั้นปัตตานี 2 ลำ จากจีน ก็คล้ายๆ กับเรือชั้น นเรศวร คือสั่งเครื่องยนต์ดีเซล RK-270 จากอังกฤษ แล้วก็แล่นเรือเปล่าๆ กลับมาติดตั้งระบบอาวุธในไทย
จากนั้นก็เว้นช่วงมาอีก 10 ปี ถึงจะมีการสั่งต่อเรือรบจากต่างประเทศอีกที คือ ร.ล. ภูมิพลฯ จากเกาหลีใต้ ซึ่งเกาหลีใต้ไม่ได้มีปัญหาการนำเข้าอาวุธเหมือนจีน เราเลยได้เรือรบที่เป็น completed set มีระบบอาวุธมาพร้อมกันเลย เช่นเดียวกับเรือ LPD ร.ล. อ่างทอง ที่สั่งต่อจากสิงคโปร์ไม่กี่ปีก่อนหน้านี้
กรณี ร.ล. ช้าง เรือ LPD ที่ต่อจากจีน ก็เข้าข่ายเดียวกันกับ เรือฟริเกต เรือ OPV ก่อนหน้านี้ ถ้าเราอยากได้ระบบอาวุธติดเรือมาด้วย ก็จะต้องเป็นของจีนทั้งหมด แต่ถ้าเราอยากได้ระบบอาวุธจากทางตะวันตก ก็ต้องเอาแต่เรือเปล่ามาก่อน แล้วมาติดตั้งส่วนที่เหลือในไทย
กลางเดือน ต.ค. 2562 EU ปรับเปลี่ยนกฏหมายการส่งออกอาวุธให้เข้มงวดขึ้น จากเดิมที่จีนเคยสั่งซื้อเครื่องยนต์ดีเซล MTU จากเยอรมัน มาได้ตลอด ซึ่งก็มีทั้งเอามาใช้งานทั้งทางทหารและพลเรือน แต่ชุดเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับกำเนิดกระแสไฟฟ้า (Diesel Generator Set) ของ MTU ตระกูลนี้ ไม่มีประเทศไหนเอาไปใช้งานอย่างอื่นเลย นอกจากใช้ในเรือดำน้ำ
บริษัท MTU ของเยอรมัน ก็ถูกบริษัท Rolls-Royce Holdings ของอังกฤษเข้ามาถือหุ้นใหญ่ อังกฤษก็เป็นพันธมิตรในการสกัดเตะตัดขาการเติบโตของกองทัพเรือจีนอยู่แล้ว พอย้ายรายชื่อเครื่องยนต์ MTU ตระกูลที่ใช้ในการทหาร (ถึงแม้จะใช้ทางพลเรือนได้แต่ไม่มีใครเอาไปใช้) ไปอยู่ในบัญชีห้ามส่งออกให้จีน ก็จะชลอการเติบโตของกองทัพเรือจีนได้ เพราะจีนจะต้องหาเครื่องยนต์ใหม่มาใช้แทน ส่วนเครื่องยนต์ที่มีใช้งานอยู่ก็จะประสบปัญหาอะไหล่
เรือดำน้ำที่ผลิตส่งออกกัน เป็นเรือดำน้ำที่ขับเคลื่อนแบบดีเซล-ไฟฟ้า คือ ใช้ Diesel Generator Set (Genset) เครื่องยนต์ดีเซลทำหน้าที่ขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเอากระแสไฟฟ้านี้ไปชาร์จเก็บในแบตเตอรี่ และแบตเตอรี่ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้มอเตอร์ไปหมุนใบจักรขับเคลื่อนเรือเป็นขั้นตอนท้ายสุด ซึ่งปัญหาเครื่องยนต์เรือดำน้ำที่เป็นประเด็น คือ ตัว Genset ที่เป็น 1 ใน 3 ส่วนประกอบหลักในระบบขับเคลื่อน
คุณสมบัติของ Genset ที่ใช้ในเรือดำน้ำ ที่สำคัญคือ กำลังการผลิตไฟฟ้า ถ้าให้กำลังมากก็จะชาร์จแบตได้เร็ว ถัดมา คืออัตราสิ้นเปลือง ถ้ากินน้ำมันน้อย ในพื้นที่ในเรือที่พื้นที่ถังน้ำมันมีจำกัด เรือก็จะสามารถแล่นได้ไกลขึ้นนานขึ้น และถ้ามีขนาดเล็กด้วยยิ่งดี ก็จะมีพื่นที่เหลือให้ซ่อมบำรุงได้สะดวกขึ้น
ปกติ Genset จะทำงานชาร์จแบตตอนเรือลอยบนผิวน้ำ ถ้าต้องการซ่อนพรางก็จะดำลงระดับท่อหายใจ (Snorkel) ให้ไอดีและไอเสียไหลผ่านทางทางท่อหายใจนี้ ถ้า Genset มีเสียงเงียบก็จะดี และถ้าปล่อยไอเสียที่มีมลพิษต่ำก็จะดี ในกรณีที่ไอเสียรั่วคนในเรือจะได้มีอันตรายน้อยลง สมัยก่อนอุปกรณ์ตรวจจับแกสเสีย เช่น CO2, CO ยังไม่มี แต่ปัจจุบันควรจะมี
ในกรณีที่ Genset ทำงานด้วยท่อ Snorkel แล้วมีคลื่นแรงซัดท่วมท่อ ก็ต้องมีระบบป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าท่อไอดีและไอเสีย รวมถึงถังเก็บสำรองไอดีและไอเสียไว้ด้วย
พอถึงตอนดำน้ำ เครื่อง Genset (ซึ่งไม่ได้มีหน้าที่ขับเคลื่อนใบจักรเรือโดยตรง) ก็จะต้องถูกปิด ถ้าต้องการดำน้ำได้นานขึ้น ก็จะประหยัดแบตเตอรี่ด้วยการใช้เครื่องยนต์ระบบ AIP (Air-independent propulsion) มาขับใบจักรโดยตรงหรือขับเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าแทนเครื่องยนต์ดีเซล
แล้ว Single point of failure ของระบบขับเคลื่อนเรือดำน้ำคืออะไร ถ้าเป็นเครื่องบินก็ตอบได้เลยว่าคือเครื่องยนต์ ถ้าเครื่องดับ เครื่องบินก็ต้องลงพื้นอย่างเดียว บินต่อไม่ได้
แต่ถ้าเป็นเรือดำน้ำ คือกระแสไฟฟ้า ถ้า Genset พัง แต่แบตยังจ่ายไฟได้อยู่ เรือก็ไม่ต้องดำน้ำ ใช้ AIP ขับเคลื่อนแทนได้ไหม หรือต้องลอยอยู่เฉยๆ รอเรือพี่เลี้ยงมาช่วย
ถ้ามอเตอร์พัง เรือแล่นไม่ได้ ถ้ากำลังดำอยู่ก็ต้องใช้ไฟฟ้าขับปั๊มสูบน้ำออกจากเรือให้เรือลอยตัว ใช้ AIP ขับเคลื่อนแทนได้ไหม หรือต้องลอยอยู่เฉยๆ รอเรือพี่เลี้ยงมาช่วย
ถ้าแบตพัง ไฟฟ้าหลักไม่มา แบตสำรองของไฟฟ้าสำรองมีไหม ใช้ AIP ขับเคลื่อนเรือโดยตรงได้ไหม หรือต้องลอยอยู่เฉยๆ รอเรือพี่เลี้ยงมาช่วย
เรื่องพวกนี้ ส่วนตัวผมคิดว่า พวกเราน่าจะช่วยกันหาข้อมูลมาแชร์กัน มากกว่าจะไปเอาแต่บ่นแต่ด่า ในจุดๆ เดียว สำหรับคนที่อยากให้ล้มเลิกนะครับ
ตอบคำถามเจ้าของกระทู้
1. ทำไมเราต้องเอาเรือดำน้ำจีนหรือครับ เรือดำน้ำบนโลกใบนี้มีตั้งเยอะแยะ เกาหลีใต้ เยอรมัน อังกฤษ เมกา รัสเซีย ก็มีทำไมเราซื้อของจีนครับ (นอกจากเหตุผลเรื่องราคามีอะไรบ้างครับ)
สหรัฐฯ กับ อังกฤษ ไม่ได้สร้างเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าแล้วครับ มีแต่เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ (ใช้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์กับระบบเครื่องกังหันไอน้ำทำงานแทนเครื่องยนต์ดีเซล)
ถ้ามองจากความขัดแย้งจีน-สหรัฐและผองพวก ในทะเลจีนใต้
ในมุมมองของฝ่ายความมั่นคงระดับสูง มีมุมมองด้านยุทธศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศด้วย การซื้ออาวุธจากทั้ง 2 ฝั่ง เป็นการแสดงออกว่าเราวางตัวเป็นกลางไม่ต้องการวางตัวเป็นศัตรูกับฝั่งไหน ซึ่งแน่นอนว่า การสนับสนุนในฐานะพันธมิตรจากทั้ง 2 ฝั่ง ก็จะไม่เต็มที่ตามไปด้วย ก็ต้องยอมรับสภาพไป แต่ก็ยังดีกว่าวางตัวเป็นตัวแทนสำหรับการทำสงครามให้ฝั่งใดฝั่งหนึ่ง
ในมุมมองของทหารเด็กระดับปฏิบัติการ ในมุมมองทางด้านยุทธวิธี ก็ต้องอยากได้ของที่ตัวเองใช้รบแล้วไม่เสียเปรียบ
2. อาวุธล่ะครับ คือเราจะใช้ torpedo 21" ของจีนใช่ไหมครับ แล้วตอชื่อไร หรือจะใช้ของเมกา รัสเซีย หรือประเทศไร??? แล้วเรือดำน้ำลำนี้มี ขีปนาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำเปล่าครับ ถ้ามีเราจะใช้ ตระกูล yj หรือจะใช้ harpoon ดีครับ??? แล้วมีขีปนาวุธร่อนหรือเปล่า
ระบบอาวุธทุกอย่างก็ต้องเป็นของจีนอยู่แล้ว ตามย่อหน้าบนๆ ขีปนาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำ ถ้าจะมีก็ต้องยิงจากท่อตอร์ปิโด เพราะว่าไม่มีท่อยิงแบบ VLS จะได้ใช้แบบไหน แล้วแต่คนขายว่าจะขายสเป็คไหนให้
3. เรื่องเครื่องยนต์ไปถึงไหนแล้ว สรุปจีนจะลองใช้เองก่อนเปล่า เรามีข้อมูลของเคสปากีสถานหรือเปล่าครับ
เรื่องนี้น่าจะหาข้อมูลเองได้ไม่ยากครับ ข่าวที่ออกมาก่อนข่าวที่ ท.ร. แถลง จะมาจากนักข่าวหญิง ที่เรียกตัวเองว่าเป็นนักข่าวสายทหาร ซึ่งส่วนตัวผมมองว่าเธอช่ำชองข่าวซุบซิบเรื่องสายสัมพันธ์ของบุคคลในกองทัพมากกว่า
ผมแนะนำให้ตามข่าวจากบล็อกของคุณ AAG_th น่าจะได้ข้อมูลที่เป็นกลางดี
https://aagth1.blogspot.com/2023/09/blog-post.html
https://aagth1.blogspot.com/2023/08/chd620v16h6.html
ข้อมูลของเคสปากีสถาน ในมุมมองของเว็บบอร์ดชุมชนของชาวปากีสถาน
https://pdf.defence.pk/threads/hangor-class-submarine-project-updates-discussions.446151/
4. ในวงเงิน 390 ล้านดอลล่า เราซื้อเรือดำน้ำอื่นได้ไหม
ราคานี้ เป็นราคาของการจัดหาระยะที่ 1 (เฉพาะลำแรก) ตอนที่คัดเลือก เราตั้งวงเงินไว้มากกว่านี้ครับ ประมาณ 36,000 ล้านบาท ($1.09 billion) ซึ่งจะได้ 2 ลำ เฉลี่ยลำละ $500 million แต่จีนเสนอให้จำนวน 3 ลำ ในวงเงินเท่านี้ มีสิ่งได้เปรียบกว่ารายอื่นที่เสนอราคามา คือ ได้ระบบ AIP และสามารถยิงขีปนาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำได้
ถ้ายกเลิกเรือจีนแล้วซื้อเรือดำน้ำอื่นได้ไหมในวงเงินเท่านี้ ตามแบบเรือที่ผลิตออกมาแล้ว (off the shelf) ก็ไม่ได้ครับ ก็คือถ้าอยากได้สเป็คตามที่มีการเสนอกันมาตอนคัดเลือกก็ต้องเพิ่มเงิน แต่ต้องไปรอคิวต่อประเทศอื่น กว่าจะได้น่าจะเกิน 7-10 ปี ถ้าต้องการเพิ่มสเป็คให้มีระบบ AIP ด้วย และใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยตามเวลา ต้องให้ผู้ผลิตปรับปรุงแบบแล้วก็เสนอราคามาใหม่ ก็จะแพงขึ้นอีกเท่าไรไม่ทราบ
เหลือทางเลือกแต่ ซื้อมือสองหรือมือหนึ่งลดสเป็ก
เมื่อประมาณ 40 ปีก่อนจนถึงวันนี้ จีนถูกกลุ่มประเทศอียู รวมถึงสหรัฐฯ ด้วย งดขายอาวุธให้ จากกรณีปราบปรามม็อบที่เทียนอันเหมิน
ซึ่งรวมไปถึงสินค้า (รวมถึงเทคโนโลยี, ซอฟท์แวร์ ฯลฯ) ที่จัดเป็น dual use ด้วย คือ สามารถใช้งานได้ทั้งทางการทหารและทางพลเรือน
หมายความว่า ถ้าจีนจะส่งออกอาวุธ ก็จะส่งออกอาวุธได้แต่เฉพาะอาวุธที่จีนผลิตเอง ไม่สามารถสั่งอาวุธจากทางตะวันตกมาติดตั้งรวมกับของที่จีนผลิตแล้วขายส่งออกอีกทีได้
ทัพเรือไทย ประมาณปี 2533-34 เคยสั่งซื้อเรือฟริเกตจากจีน ชั้นเจียงหู 4 ลำ ระบบอาวุธทั้งหมดเป็นของจีน ใช้เครื่องยนต์ดีเซล MTU 16V1163 จากเยอรมัน รายการสั่งซื้อเครื่องยนต์แยกเป็นอีกดีล คือเราสั่งซื้อกับเยอรมัน แล้วเยอรมันส่งไปติดตั้งที่จีน
ประมาณปี 2537-38 สั่งต่อเรือฟริเกตจากจีน ชั้นนเรศวร 2 ลำ ใช้เครื่องยนต์ดีเซล MTU MTU 20V1163 จากเยอรมัน และเครื่องยนต์แกสเทอร์ไบน์ GE LM-2500 จากสหรัฐฯ รายการสั่งซื้อเครื่องยนต์แยกเป็นอีกดีล คือเราสั่งซื้อกับประเทศผู้ผลิต แล้วผู้ผลิตส่งไปติดตั้งที่จีน
การออกแบบเรือ ไทยออกแบบเรือคร่าวๆ ตามความต้องการของเรา จีนออกแบบต่อให้เป็นแบบที่ใช้สร้างจริง แล้วส่งกลับมาให้เราตรวจสอบ แล้วเราก็ส่งแบบเรืออันนี้ไปให้สหรัฐฯ ตรวจสอบและปรับแก้อีกที
อาวุธที่ติดเรือมาตอนแรก มีแค่ปืนกลรอง 2 ชุด ซ้ายขวาข้างโรงเก็บเฮลิคปเตอร์เท่านั้น
การติดระบบอาวุธอื่นๆ ที่เหลือ ติดตั้งในไทย พูดง่ายๆ คือ สั่งต่อเรือเปล่าๆ จากจีนมาติดตั้งอาวุธเองในไทย
ปี 2548 สั่งต่อเรือ OPV ชั้นปัตตานี 2 ลำ จากจีน ก็คล้ายๆ กับเรือชั้น นเรศวร คือสั่งเครื่องยนต์ดีเซล RK-270 จากอังกฤษ แล้วก็แล่นเรือเปล่าๆ กลับมาติดตั้งระบบอาวุธในไทย
จากนั้นก็เว้นช่วงมาอีก 10 ปี ถึงจะมีการสั่งต่อเรือรบจากต่างประเทศอีกที คือ ร.ล. ภูมิพลฯ จากเกาหลีใต้ ซึ่งเกาหลีใต้ไม่ได้มีปัญหาการนำเข้าอาวุธเหมือนจีน เราเลยได้เรือรบที่เป็น completed set มีระบบอาวุธมาพร้อมกันเลย เช่นเดียวกับเรือ LPD ร.ล. อ่างทอง ที่สั่งต่อจากสิงคโปร์ไม่กี่ปีก่อนหน้านี้
กรณี ร.ล. ช้าง เรือ LPD ที่ต่อจากจีน ก็เข้าข่ายเดียวกันกับ เรือฟริเกต เรือ OPV ก่อนหน้านี้ ถ้าเราอยากได้ระบบอาวุธติดเรือมาด้วย ก็จะต้องเป็นของจีนทั้งหมด แต่ถ้าเราอยากได้ระบบอาวุธจากทางตะวันตก ก็ต้องเอาแต่เรือเปล่ามาก่อน แล้วมาติดตั้งส่วนที่เหลือในไทย
กลางเดือน ต.ค. 2562 EU ปรับเปลี่ยนกฏหมายการส่งออกอาวุธให้เข้มงวดขึ้น จากเดิมที่จีนเคยสั่งซื้อเครื่องยนต์ดีเซล MTU จากเยอรมัน มาได้ตลอด ซึ่งก็มีทั้งเอามาใช้งานทั้งทางทหารและพลเรือน แต่ชุดเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับกำเนิดกระแสไฟฟ้า (Diesel Generator Set) ของ MTU ตระกูลนี้ ไม่มีประเทศไหนเอาไปใช้งานอย่างอื่นเลย นอกจากใช้ในเรือดำน้ำ
บริษัท MTU ของเยอรมัน ก็ถูกบริษัท Rolls-Royce Holdings ของอังกฤษเข้ามาถือหุ้นใหญ่ อังกฤษก็เป็นพันธมิตรในการสกัดเตะตัดขาการเติบโตของกองทัพเรือจีนอยู่แล้ว พอย้ายรายชื่อเครื่องยนต์ MTU ตระกูลที่ใช้ในการทหาร (ถึงแม้จะใช้ทางพลเรือนได้แต่ไม่มีใครเอาไปใช้) ไปอยู่ในบัญชีห้ามส่งออกให้จีน ก็จะชลอการเติบโตของกองทัพเรือจีนได้ เพราะจีนจะต้องหาเครื่องยนต์ใหม่มาใช้แทน ส่วนเครื่องยนต์ที่มีใช้งานอยู่ก็จะประสบปัญหาอะไหล่
เรือดำน้ำที่ผลิตส่งออกกัน เป็นเรือดำน้ำที่ขับเคลื่อนแบบดีเซล-ไฟฟ้า คือ ใช้ Diesel Generator Set (Genset) เครื่องยนต์ดีเซลทำหน้าที่ขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเอากระแสไฟฟ้านี้ไปชาร์จเก็บในแบตเตอรี่ และแบตเตอรี่ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้มอเตอร์ไปหมุนใบจักรขับเคลื่อนเรือเป็นขั้นตอนท้ายสุด ซึ่งปัญหาเครื่องยนต์เรือดำน้ำที่เป็นประเด็น คือ ตัว Genset ที่เป็น 1 ใน 3 ส่วนประกอบหลักในระบบขับเคลื่อน
คุณสมบัติของ Genset ที่ใช้ในเรือดำน้ำ ที่สำคัญคือ กำลังการผลิตไฟฟ้า ถ้าให้กำลังมากก็จะชาร์จแบตได้เร็ว ถัดมา คืออัตราสิ้นเปลือง ถ้ากินน้ำมันน้อย ในพื้นที่ในเรือที่พื้นที่ถังน้ำมันมีจำกัด เรือก็จะสามารถแล่นได้ไกลขึ้นนานขึ้น และถ้ามีขนาดเล็กด้วยยิ่งดี ก็จะมีพื่นที่เหลือให้ซ่อมบำรุงได้สะดวกขึ้น
ปกติ Genset จะทำงานชาร์จแบตตอนเรือลอยบนผิวน้ำ ถ้าต้องการซ่อนพรางก็จะดำลงระดับท่อหายใจ (Snorkel) ให้ไอดีและไอเสียไหลผ่านทางทางท่อหายใจนี้ ถ้า Genset มีเสียงเงียบก็จะดี และถ้าปล่อยไอเสียที่มีมลพิษต่ำก็จะดี ในกรณีที่ไอเสียรั่วคนในเรือจะได้มีอันตรายน้อยลง สมัยก่อนอุปกรณ์ตรวจจับแกสเสีย เช่น CO2, CO ยังไม่มี แต่ปัจจุบันควรจะมี
ในกรณีที่ Genset ทำงานด้วยท่อ Snorkel แล้วมีคลื่นแรงซัดท่วมท่อ ก็ต้องมีระบบป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าท่อไอดีและไอเสีย รวมถึงถังเก็บสำรองไอดีและไอเสียไว้ด้วย
พอถึงตอนดำน้ำ เครื่อง Genset (ซึ่งไม่ได้มีหน้าที่ขับเคลื่อนใบจักรเรือโดยตรง) ก็จะต้องถูกปิด ถ้าต้องการดำน้ำได้นานขึ้น ก็จะประหยัดแบตเตอรี่ด้วยการใช้เครื่องยนต์ระบบ AIP (Air-independent propulsion) มาขับใบจักรโดยตรงหรือขับเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าแทนเครื่องยนต์ดีเซล
แล้ว Single point of failure ของระบบขับเคลื่อนเรือดำน้ำคืออะไร ถ้าเป็นเครื่องบินก็ตอบได้เลยว่าคือเครื่องยนต์ ถ้าเครื่องดับ เครื่องบินก็ต้องลงพื้นอย่างเดียว บินต่อไม่ได้
แต่ถ้าเป็นเรือดำน้ำ คือกระแสไฟฟ้า ถ้า Genset พัง แต่แบตยังจ่ายไฟได้อยู่ เรือก็ไม่ต้องดำน้ำ ใช้ AIP ขับเคลื่อนแทนได้ไหม หรือต้องลอยอยู่เฉยๆ รอเรือพี่เลี้ยงมาช่วย
ถ้ามอเตอร์พัง เรือแล่นไม่ได้ ถ้ากำลังดำอยู่ก็ต้องใช้ไฟฟ้าขับปั๊มสูบน้ำออกจากเรือให้เรือลอยตัว ใช้ AIP ขับเคลื่อนแทนได้ไหม หรือต้องลอยอยู่เฉยๆ รอเรือพี่เลี้ยงมาช่วย
ถ้าแบตพัง ไฟฟ้าหลักไม่มา แบตสำรองของไฟฟ้าสำรองมีไหม ใช้ AIP ขับเคลื่อนเรือโดยตรงได้ไหม หรือต้องลอยอยู่เฉยๆ รอเรือพี่เลี้ยงมาช่วย
เรื่องพวกนี้ ส่วนตัวผมคิดว่า พวกเราน่าจะช่วยกันหาข้อมูลมาแชร์กัน มากกว่าจะไปเอาแต่บ่นแต่ด่า ในจุดๆ เดียว สำหรับคนที่อยากให้ล้มเลิกนะครับ
ตอบคำถามเจ้าของกระทู้
1. ทำไมเราต้องเอาเรือดำน้ำจีนหรือครับ เรือดำน้ำบนโลกใบนี้มีตั้งเยอะแยะ เกาหลีใต้ เยอรมัน อังกฤษ เมกา รัสเซีย ก็มีทำไมเราซื้อของจีนครับ (นอกจากเหตุผลเรื่องราคามีอะไรบ้างครับ)
สหรัฐฯ กับ อังกฤษ ไม่ได้สร้างเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าแล้วครับ มีแต่เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ (ใช้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์กับระบบเครื่องกังหันไอน้ำทำงานแทนเครื่องยนต์ดีเซล)
ถ้ามองจากความขัดแย้งจีน-สหรัฐและผองพวก ในทะเลจีนใต้
ในมุมมองของฝ่ายความมั่นคงระดับสูง มีมุมมองด้านยุทธศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศด้วย การซื้ออาวุธจากทั้ง 2 ฝั่ง เป็นการแสดงออกว่าเราวางตัวเป็นกลางไม่ต้องการวางตัวเป็นศัตรูกับฝั่งไหน ซึ่งแน่นอนว่า การสนับสนุนในฐานะพันธมิตรจากทั้ง 2 ฝั่ง ก็จะไม่เต็มที่ตามไปด้วย ก็ต้องยอมรับสภาพไป แต่ก็ยังดีกว่าวางตัวเป็นตัวแทนสำหรับการทำสงครามให้ฝั่งใดฝั่งหนึ่ง
ในมุมมองของทหารเด็กระดับปฏิบัติการ ในมุมมองทางด้านยุทธวิธี ก็ต้องอยากได้ของที่ตัวเองใช้รบแล้วไม่เสียเปรียบ
2. อาวุธล่ะครับ คือเราจะใช้ torpedo 21" ของจีนใช่ไหมครับ แล้วตอชื่อไร หรือจะใช้ของเมกา รัสเซีย หรือประเทศไร??? แล้วเรือดำน้ำลำนี้มี ขีปนาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำเปล่าครับ ถ้ามีเราจะใช้ ตระกูล yj หรือจะใช้ harpoon ดีครับ??? แล้วมีขีปนาวุธร่อนหรือเปล่า
ระบบอาวุธทุกอย่างก็ต้องเป็นของจีนอยู่แล้ว ตามย่อหน้าบนๆ ขีปนาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำ ถ้าจะมีก็ต้องยิงจากท่อตอร์ปิโด เพราะว่าไม่มีท่อยิงแบบ VLS จะได้ใช้แบบไหน แล้วแต่คนขายว่าจะขายสเป็คไหนให้
3. เรื่องเครื่องยนต์ไปถึงไหนแล้ว สรุปจีนจะลองใช้เองก่อนเปล่า เรามีข้อมูลของเคสปากีสถานหรือเปล่าครับ
เรื่องนี้น่าจะหาข้อมูลเองได้ไม่ยากครับ ข่าวที่ออกมาก่อนข่าวที่ ท.ร. แถลง จะมาจากนักข่าวหญิง ที่เรียกตัวเองว่าเป็นนักข่าวสายทหาร ซึ่งส่วนตัวผมมองว่าเธอช่ำชองข่าวซุบซิบเรื่องสายสัมพันธ์ของบุคคลในกองทัพมากกว่า
ผมแนะนำให้ตามข่าวจากบล็อกของคุณ AAG_th น่าจะได้ข้อมูลที่เป็นกลางดี
https://aagth1.blogspot.com/2023/09/blog-post.html
https://aagth1.blogspot.com/2023/08/chd620v16h6.html
ข้อมูลของเคสปากีสถาน ในมุมมองของเว็บบอร์ดชุมชนของชาวปากีสถาน
https://pdf.defence.pk/threads/hangor-class-submarine-project-updates-discussions.446151/
4. ในวงเงิน 390 ล้านดอลล่า เราซื้อเรือดำน้ำอื่นได้ไหม
ราคานี้ เป็นราคาของการจัดหาระยะที่ 1 (เฉพาะลำแรก) ตอนที่คัดเลือก เราตั้งวงเงินไว้มากกว่านี้ครับ ประมาณ 36,000 ล้านบาท ($1.09 billion) ซึ่งจะได้ 2 ลำ เฉลี่ยลำละ $500 million แต่จีนเสนอให้จำนวน 3 ลำ ในวงเงินเท่านี้ มีสิ่งได้เปรียบกว่ารายอื่นที่เสนอราคามา คือ ได้ระบบ AIP และสามารถยิงขีปนาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำได้
ถ้ายกเลิกเรือจีนแล้วซื้อเรือดำน้ำอื่นได้ไหมในวงเงินเท่านี้ ตามแบบเรือที่ผลิตออกมาแล้ว (off the shelf) ก็ไม่ได้ครับ ก็คือถ้าอยากได้สเป็คตามที่มีการเสนอกันมาตอนคัดเลือกก็ต้องเพิ่มเงิน แต่ต้องไปรอคิวต่อประเทศอื่น กว่าจะได้น่าจะเกิน 7-10 ปี ถ้าต้องการเพิ่มสเป็คให้มีระบบ AIP ด้วย และใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยตามเวลา ต้องให้ผู้ผลิตปรับปรุงแบบแล้วก็เสนอราคามาใหม่ ก็จะแพงขึ้นอีกเท่าไรไม่ทราบ
เหลือทางเลือกแต่ ซื้อมือสองหรือมือหนึ่งลดสเป็ก
ความคิดเห็นที่ 4
...ถ้าซื้อจากประเทศอื่นๆ จะเอาเงินทอน ยากมากๆๆ
...ในอดีต กองทัพบกซื้อรถถังจากจีน ปรากฏว่าใช้ไม่ได้ ต้องเอาไปทิ้งทะเลหมด ทิ้งแถวๆใกล้ๆพัธยา นั่นแหละ มีนักดำน้ำไปเจอ ถ่ายรูปมาได้หลายรูป ลองไปค้นหาดูจากออนไลน์ อาจจะมีรูปรถถังจีนที่กลายเป็นปะการังให้สัตว์น้ำอาศัย
...กรณี GT - 200 ชัดที่สุดเรื่องเงินทอนที่ได้เต็มๆ (ประมาณ 6 พันล้านบาท ใช่ไหม ?)
ซื้ออาวุธจากจีน ได้เงินทอนมากมาย ตามแต่ฝ่ายซื้อจะกำหนดเอา
...ถ้าซื้อจากประเทศอื่นๆ จะเอาเงินทอน ยากมากๆๆ
...ในอดีต กองทัพบกซื้อรถถังจากจีน ปรากฏว่าใช้ไม่ได้ ต้องเอาไปทิ้งทะเลหมด ทิ้งแถวๆใกล้ๆพัธยา นั่นแหละ มีนักดำน้ำไปเจอ ถ่ายรูปมาได้หลายรูป ลองไปค้นหาดูจากออนไลน์ อาจจะมีรูปรถถังจีนที่กลายเป็นปะการังให้สัตว์น้ำอาศัย
...กรณี GT - 200 ชัดที่สุดเรื่องเงินทอนที่ได้เต็มๆ (ประมาณ 6 พันล้านบาท ใช่ไหม ?)
แสดงความคิดเห็น
เรือดำน้ำจีน ดียังไง ทำไมเราอยากได้นักหนา?????
1. ทำไมเราต้องเอาเรือดำน้ำจีนหรือครับ เรือดำน้ำบนโลกใบนี้มีตั้งเยอะแยะ เกาหลีใต้ เยอรมัน อังกฤษ เมกา รัสเซีย ก็มีทำไมเราซื้อของจีนครับ (นอกจากเหตุผลเรื่องราคามีอะไรบ้างครับ)
2. อาวุธล่ะครับ คือเราจะใช้ torpedo 21" ของจีนใช่ไหมครับ แล้วตอชื่อไร หรือจะใช้ของเมกา รัสเซีย หรือประเทศไร??? แล้วเรือดำน้ำลำนี้มี ขีปนาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำเปล่าครับ ถ้ามีเราจะใช้ ตระกูล yj หรือจะใช้ harpoon ดีครับ??? แล้วมีขีปนาวุธร่อนหรือเปล่า
3. เรื่องเครื่องยนต์ไปถึงไหนแล้ว สรุปจีนจะลองใช้เองก่อนเปล่า เรามีข้อมูลของเคสปากีสถานหรือเปล่าครับ
4. ในวงเงิน 390 ล้านดอลล่า เราซื้อเรือดำน้ำอื่นได้ไหม