พิธา ให้กำลังใจครม.เศรษฐา ทำตามสัจจะ ยึดมั่นสัญญากับประชาชน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4160083
‘พิธา’ ให้กำลังใจครม.เศรษฐา ทำตามสัจจะ ยึดมั่นสัญญากับประชาชน
เมื่อวันที่ 2 กันยายน ที่จังหวัดระยอง นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ระหว่างลงพื้นที่ช่วย นาย
พงศธร ศรเพชรนรินทร์ ผู้สมัคร ส.ส.เบอร์ 1 พรรคก้าวไกล ในการเลือกตั้งซ่อมเขต 3 จ.ระยอง ถึง ครม.เศรษฐา 1 ว่าขอให้ยึดมั่นในคำมั่นสัญญา และสัจจะที่ให้ไว้กับประชาชน ขอเป็นกำลังใจให้
เมื่อสอบถามถึงกรณีพระราชทานอภัยโทษของ นาย
ทักษิณ ชินวัตร นายพิธาตอบสั้นๆ ว่า เป็นสิทธิของคุณ
ทักษิณที่มีสิทธิขออภัยโทษ ส่วนเรื่องที่ว่ามีอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นหรือไม่ ก็เป็นสิทธิที่ทุกคนควรมีเท่าเทียมกัน
ร้อง รัฐบาลใหม่ เปลี่ยนระบบทหารให้ดีขึ้น ทั้งปฏิรูป-พัฒนา ชี้ที่ผ่านมาล่าช้า
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7846273
ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม รัฐบาลใหม่ เปลี่ยนแปลงระบบทหารให้ดีขึ้น ทั้งปฏิรูป-พัฒนา ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์โลกในปัจจุบัน
วันที่ 2 ก.ย.2566 นาย
สุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เรียกร้องให้รัฐบาลมีนโยบายการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบทหารให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และเป็นทหารอาชีพ
จากกรณีที่ นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ฝากความหวัง รมว.กลาโหม คนใหม่ ให้”
ปฏิรูป”กองทัพนั้น วันรุ่งขึ้น นาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ภายใต้การบริหารของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย จะ”
พัฒนา”ไปร่วมกันกับกองทัพ โดยจะต้องดูกันตามความเหมาะสม และต้องพูดคุยกับผู้นำเหล่าทัพทั้งหมด ซึ่งทุกอย่างอยู่ในแผนการเจรจา
ก่อนหน้านี้ พล.อ.
ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก ออกมาแถลงว่ามีประกาศนโยบายซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูปการบริหารจัดการและการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพปี 2560-2569 ทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดหน่วยให้มีขนาดเล็กลง ลดการใช้งบประมาณรายจ่ายของประเทศ การปรับลดอัตราทหารประจําการ โดยนํากําลังพลสํารองเข้ามาร่วมปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ยังดํารงสภาพความพร้อมรบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์โลกในปัจจุบัน
นาย
สุรพงษ์ กล่าวว่า การปฏิรูปการบริหารจัดการและการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพที่ผ่านมาเป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยและล่าช้า ตลอดจนไม่มีการปฏิรูปกองทัพอย่างแท้จริง เป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปฏิรูปและพัฒนาอย่างจริงจังให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
นาย
สุรพงษ์ กล่าวว่า ตัวอย่างดังกรณี พลทหาร
วิเชียร เผือกสม ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาโท สึกจากการเป็นพระภิกษุมาสมัครเป็นทหารเกณฑ์ ถูกซ้อมทรมานในค่ายทหารและเสียชีวิต ผ่านมา 13 ปีแล้วก็ยังไม่ได้รับความเป็นธรรมและมีการแก้ไขเชิงระบบที่ชัดเจน
นาย
สุรพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หวังว่าจะมีเรื่องการปฏิรูปและพัฒนากองทัพอยู่ในนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาก่อนการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ได้ระบบทหารและกองทัพได้ทหารที่มีคุณภาพ เป็นนักประชาธิปไตย เป็นทหารอาชีพ เป็นทหารโดยสมัครใจ และเป็นทหารที่มีอนาคตมีความก้าวหน้าในอาชีพทหาร และได้รับการยอมรับตลอดจนความเชื่อถือจากสังคม
กรณีพลทหาร
วิเชียร เผือกสม เป็นพลทหารกองประจำการ ผลัดที่ 1/2554 สังกัด ร.151 พัน.3 ถูกกระทำการละเมิดซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่ทหารรวม 9 คน ณ ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายจากการบาดเจ็บสาหัส ไตวายเฉียบพลัน และกล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงในวันที่ 5 มิถุนายน 2554
นริศราวัลถ์ แก้วนพรัตน์ ซึ่งขณะนั้นเป็นนักศึกษาปี 2 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เดินสายไปยื่นหนังสือติดตามความคืบหน้า ทวงความยุติธรรมให้กับน้าชายของเธอ
นริศราวัลย์ ถูกคู่กรณียศร้อยโท ซึ่งเป็นบุตรชายของนายทหารชั้นนายพล ที่เคยมีอิทธิพลสูงในกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นประมาท และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งชุดจับกุมของตำรวจบุกมาจับกุมเธอถึงที่ทำงานในหน่วยงานราชการ โดยไม่มีการออกหมายเรียกมาก่อน แต่ต่อมาอัยการที่คำสั่งไม่ฟ้อง
ไม่รวมถึงการถูกข่มขู่คุกคาม ส่งกระสุนปืนในซองธูป ส่งคนปลอมตัวเป็นขายไอศครีมไปตามหาบ้าน หรือขับรถติดตาม
ต่อมาพนักงานอัยการศาลทหารเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายทหารยศร้อยโทกับเจ้าหน้าที่ทหารรวม 9 คน เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นทหารไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา และฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา
นริศราวัลย์ และครอบครัวสู้คดีมากว่า 13 ปี ล่าสุด วันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา ศาลนัดอ่านคำพิพากษา แต่ศาลมณฑลทหารบกที่ 46 จ.ปัตตานี เลื่อนอ่านคำพิพากษาคดี โดยระบุว่า มีปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ ประกอบกับศาลมีคดีต้องพิจารณาเป็นจำนวนมากจึงไม่สามารถทำคำพิพากษาให้แล้วเสร็จ และนัดอ่านคำพิพากษาอีกครั้งในวันที่ 25 ตุลาคม 2566
ขณะที่คดีแพ่งจบไปแล้วตั้งแต่ปี 2557 โดยศาลตัดสินให้กองทัพบกและสำนักนายกรัฐมนตรีร่วมกันชดเชยสินไหมให้กับครอบครัวเป็นเงิน 7 ล้านกว่าบาท
สื่อนอกตีข่าว ไทยได้ครม.ชุดใหม่ นายกฯเศรษฐา นั่งควบ ‘ขุนคลัง’ มุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ซบเซา
https://www.matichon.co.th/foreign/news_4159758
รอยเตอร์ตีข่าว ไทยได้ ครม.ชุดใหม่ นายกฯเศรษฐา นั่งควบ ‘ขุนคลัง’ มุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ซบเซา
เมื่อวันที่ 2 กันยายน สื่อต่างประเทศที่เกาะติดการเมืองไทยอย่างสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทย ยังได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังควบอีกตำแหน่ง ในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯแต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้วในวันที่ 2 กันยายนนี้ ในขณะที่นาย
เศรษฐา ซึ่งเป็นมหาเศรษฐีนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พยายามมุ่งส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และดำเนินการตามคำมั่นที่ได้หาเสียงไว้
รอยเตอร์ชี้ว่า การฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยที่ประสบภาวะถดถอยเนื่องจากการส่งออกและการลงทุนที่อ่อนแอ จะเป็นหนึ่งในภารกิจที่ใหญ่ที่สุดสำหรับมือใหม่ทางการเมืองอย่างนาย
เศรษฐา ที่ได้ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา หลังจากเกิดความไม่แน่นอนที่ยืดเยื้อมายาวนานหลังการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
รอยเตอร์ระบุอีกว่า คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งแล้วนั้น จะเห็นพรรคเพื่อไทยของนาย
เศรษฐา ที่ได้รับการสนับสนุนจากตระกูลชินวัตร กำกับดูแลงานกระทรวงกลาโหม คมนาคม พาณิชย์ สาธารณสุข และกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนี้ พรรคเพื่อไทยจะคุมกระทรวงเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งจะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินนโยบายต่างๆ ของพรรคเพื่อไทย รวมถึงการแจกเงิน 10,000 บาท ในรูปแบบของสกุลเงินดิจิทัล
รอยเตอร์ระบุด้วยว่า การก้าวขึ้นสู่อำนาจอย่างรวดเร็วของนาย
เศรษฐา การกลับมาอย่างราบรื่นของนาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และการจัดตั้งรัฐบาลผสมข้ามขั้วระหว่างพรรคเพื่อไทยและอดีตพรรคคู่ปรับ ได้ทำให้เกิดการคาดเดาถึงการมีการทำข้อตกลงระหว่างนาย
ทักษิณกับศัตรูของเขาท่ามกลางฝ่ายอนุรักษนิยมและกองทัพที่ทรงอำนาจในประเทศ ซึ่งนาย
ทักษิณและพรรคเพื่อไทยปฏิเสธว่า ไม่ได้เป็นเช่นนั้น
ตลาดที่อยู่อาศัย ปี 66 น่าห่วง หนี้ครัวเรือน-ดอกเบี้ยพุ่ง ฉุดกำลังซื้อ
https://www.thansettakij.com/real-estate/574998
ตลาดที่อยู่อาศัยปี 66 ยังน่าห่วง หลังกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัว ภาวะหนี้ครัวเรือนสูง ดอกเบี้ยขาขึ้น กระทบกำลังซื้อประชาชน ขณะภาพรวมกิจกรรมการซื้อขายในตลาดที่อยู่อาศัยปรับตัวลด
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในช่วงที่เหลือของปี 2566 ตลาดที่อยู่อาศัยยังเผชิญกับโจทย์ความต้องการซื้อที่จำกัดเนื่องจากกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ภาวะหนี้ครัวเรือนสูง
รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อปรับตัวสูงขึ้น และน่าจะยังยืนระดับสูงต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลอาจหดตัวราว 7.8% ในปี2566
ตั้งแต่ต้นปี 2566 ถึงปัจจุบัน ภาพรวมกิจกรรมการซื้อขายในตลาดที่อยู่อาศัยปรับตัวลดลงจากปีที่ผ่านมา แม้ตลาดยังพอมีปัจจัยบวกจากการกลับมาซื้อที่อยู่อาศัยคอนโดมิเนียมของชาวต่างชาติ
รวมทั้งมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ และการจดจำนองที่อยู่อาศัยสำหรับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท การจัดโปรโมชั่นอย่างหนักของผู้ประกอบการในการเร่งระบายที่อยู่อาศัยรอขาย แต่เนื่องจากความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยได้ถูกดูดซับไปในช่วงก่อนหน้าโดยเฉพาะในช่วงที่มีการผ่อนปรนเกณฑ์ LTV
ขณะเดียวกันกำลังซื้อของผู้บริโภคโดยรวมยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และมีหนี้ที่สูง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ปรับตัวสูงขึ้น มีผลต่อภาระผ่อนต่อเดือนและวงเงินสินเชื่อใหม่ "เบื้องต้นดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นในช่วง ก.ย.65 - ก.ค.66 มีผลต่อภาระผ่อนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 13%" ส่งผลให้สถานการณ์ตลาดอยู่ในภาวะที่ซึมตัว
โดยพบว่า ในช่วง 7 เดือนแรกปี 2566 การจองซื้อที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลหดตัวประมาณ 12% (YoY) ขณะที่ การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลช่วงครึ่งปีแรกหดตัวประมาณ 3% (YoY)
อย่างไรก็ตามคาดหวังว่าในปี 67 ปัจจัยต่างๆ อาจจะนิ่งขึ้น และทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลอาจพลิกกลับมาเติบโต 1.2%-4.6% ในปี 2567
โดยยังต้องติดตามรายละเอียดและจังหวะเวลาของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเน้นการช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางลงล่าง
รวมถึงมาตรการต่างๆ ที่อาจเกี่ยวเนื่องกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ หากสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็น่าจะมีส่วนช่วยหนุนกิจกรรมการซื้อขายที่อยู่อาศัยในปี 2567
โจทย์ท้าทายที่สำคัญ 3 เรื่อง สำหรับตลาดที่อยู่อาศัย
1. ความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จากที่อยู่อาศัยสะสมรอขายในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลที่คาอยู่ในระดับสูงกว่า 2 แสนหน่วยเป็นเวลานานกว่า 6 ปีแล้ว โดยในช่วงครึ่งแรกปี2566 ที่อยู่อาศัยสะสมรอขาย ในกรุงเทพฯและปริมณฑลมีจำนวน 2.2 แสนหน่วย ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลากว่า 3 ปีในการระบาย (กรณีที่ไม่มีการเปิดที่อยู่อาศัยใหม่เพิ่ม) ขณะเดียวกัน สัดส่วนจำนวนที่อยู่อาศัยรอขายต่อจำนวนการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจากนิติบุคคลในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2.4 เท่า ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงขึ้นต่อเนื่อง (แม้ทั้งสองเครื่องชี้อาจจะมีความเหลื่อมด้านเวลาของการจองซื้อ/ผ่อนดาวน์/ก่อสร้าง ก่อนที่จะโอนกรรมสิทธิ์) จากยอดจองซื้อโครงการเปิดตัวใหม่ในช่วงหลังที่ต่ำลง ทำให้มีจำนวนที่อยู่อาศัยทยอยเข้ามาสะสมเพิ่มขึ้น และในบางพื้นที่ที่ผู้ประกอบการหันมาลงทุนโครงการใหม่ในช่วงเวลาใกล้กัน อีกทั้งส่วนหนึ่งยังเป็นผลจากการแข่งขันกับที่อยู่อาศัยมือสองที่มีการประกาศขายในตลาดเป็นจำนวนมากและก็ได้รับการตอบรับจากตลาดดีขึ้นเช่นกันสะท้อนจากการโอนกรรมสิทธ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จากบุคคลธรรมดา ในช่วงครึ่งแรกปีนี้ ที่มีสัดส่วนกว่า 50% ของยอดโอนฯทั้งหมด (นิติบุคคล+บุคคลธรรมดา) เพิ่มขึ้นจากที่เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 40% ในช่วงก่อนโควิด
JJNY : 5in1 พิธาให้กำลังใจครม.เศรษฐา│ร้องเปลี่ยนระบบทหาร│สื่อนอกตีข่าว│ตลาดที่อยู่อาศัยปี66 น่าห่วง│ประจำการ“ซาร์มัต”
https://www.matichon.co.th/politics/news_4160083
‘พิธา’ ให้กำลังใจครม.เศรษฐา ทำตามสัจจะ ยึดมั่นสัญญากับประชาชน
เมื่อวันที่ 2 กันยายน ที่จังหวัดระยอง นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ระหว่างลงพื้นที่ช่วย นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ผู้สมัคร ส.ส.เบอร์ 1 พรรคก้าวไกล ในการเลือกตั้งซ่อมเขต 3 จ.ระยอง ถึง ครม.เศรษฐา 1 ว่าขอให้ยึดมั่นในคำมั่นสัญญา และสัจจะที่ให้ไว้กับประชาชน ขอเป็นกำลังใจให้
เมื่อสอบถามถึงกรณีพระราชทานอภัยโทษของ นายทักษิณ ชินวัตร นายพิธาตอบสั้นๆ ว่า เป็นสิทธิของคุณทักษิณที่มีสิทธิขออภัยโทษ ส่วนเรื่องที่ว่ามีอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นหรือไม่ ก็เป็นสิทธิที่ทุกคนควรมีเท่าเทียมกัน
ร้อง รัฐบาลใหม่ เปลี่ยนระบบทหารให้ดีขึ้น ทั้งปฏิรูป-พัฒนา ชี้ที่ผ่านมาล่าช้า
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7846273
ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม รัฐบาลใหม่ เปลี่ยนแปลงระบบทหารให้ดีขึ้น ทั้งปฏิรูป-พัฒนา ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์โลกในปัจจุบัน
วันที่ 2 ก.ย.2566 นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เรียกร้องให้รัฐบาลมีนโยบายการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบทหารให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และเป็นทหารอาชีพ
จากกรณีที่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ฝากความหวัง รมว.กลาโหม คนใหม่ ให้”ปฏิรูป”กองทัพนั้น วันรุ่งขึ้น นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ภายใต้การบริหารของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย จะ”พัฒนา”ไปร่วมกันกับกองทัพ โดยจะต้องดูกันตามความเหมาะสม และต้องพูดคุยกับผู้นำเหล่าทัพทั้งหมด ซึ่งทุกอย่างอยู่ในแผนการเจรจา
ก่อนหน้านี้ พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก ออกมาแถลงว่ามีประกาศนโยบายซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูปการบริหารจัดการและการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพปี 2560-2569 ทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดหน่วยให้มีขนาดเล็กลง ลดการใช้งบประมาณรายจ่ายของประเทศ การปรับลดอัตราทหารประจําการ โดยนํากําลังพลสํารองเข้ามาร่วมปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ยังดํารงสภาพความพร้อมรบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์โลกในปัจจุบัน
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า การปฏิรูปการบริหารจัดการและการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพที่ผ่านมาเป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยและล่าช้า ตลอดจนไม่มีการปฏิรูปกองทัพอย่างแท้จริง เป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปฏิรูปและพัฒนาอย่างจริงจังให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ตัวอย่างดังกรณี พลทหารวิเชียร เผือกสม ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาโท สึกจากการเป็นพระภิกษุมาสมัครเป็นทหารเกณฑ์ ถูกซ้อมทรมานในค่ายทหารและเสียชีวิต ผ่านมา 13 ปีแล้วก็ยังไม่ได้รับความเป็นธรรมและมีการแก้ไขเชิงระบบที่ชัดเจน
นายสุรพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หวังว่าจะมีเรื่องการปฏิรูปและพัฒนากองทัพอยู่ในนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาก่อนการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ได้ระบบทหารและกองทัพได้ทหารที่มีคุณภาพ เป็นนักประชาธิปไตย เป็นทหารอาชีพ เป็นทหารโดยสมัครใจ และเป็นทหารที่มีอนาคตมีความก้าวหน้าในอาชีพทหาร และได้รับการยอมรับตลอดจนความเชื่อถือจากสังคม
กรณีพลทหารวิเชียร เผือกสม เป็นพลทหารกองประจำการ ผลัดที่ 1/2554 สังกัด ร.151 พัน.3 ถูกกระทำการละเมิดซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่ทหารรวม 9 คน ณ ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายจากการบาดเจ็บสาหัส ไตวายเฉียบพลัน และกล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงในวันที่ 5 มิถุนายน 2554
นริศราวัลถ์ แก้วนพรัตน์ ซึ่งขณะนั้นเป็นนักศึกษาปี 2 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เดินสายไปยื่นหนังสือติดตามความคืบหน้า ทวงความยุติธรรมให้กับน้าชายของเธอ
นริศราวัลย์ ถูกคู่กรณียศร้อยโท ซึ่งเป็นบุตรชายของนายทหารชั้นนายพล ที่เคยมีอิทธิพลสูงในกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นประมาท และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งชุดจับกุมของตำรวจบุกมาจับกุมเธอถึงที่ทำงานในหน่วยงานราชการ โดยไม่มีการออกหมายเรียกมาก่อน แต่ต่อมาอัยการที่คำสั่งไม่ฟ้อง
ไม่รวมถึงการถูกข่มขู่คุกคาม ส่งกระสุนปืนในซองธูป ส่งคนปลอมตัวเป็นขายไอศครีมไปตามหาบ้าน หรือขับรถติดตาม
ต่อมาพนักงานอัยการศาลทหารเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายทหารยศร้อยโทกับเจ้าหน้าที่ทหารรวม 9 คน เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นทหารไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา และฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา
นริศราวัลย์ และครอบครัวสู้คดีมากว่า 13 ปี ล่าสุด วันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา ศาลนัดอ่านคำพิพากษา แต่ศาลมณฑลทหารบกที่ 46 จ.ปัตตานี เลื่อนอ่านคำพิพากษาคดี โดยระบุว่า มีปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ ประกอบกับศาลมีคดีต้องพิจารณาเป็นจำนวนมากจึงไม่สามารถทำคำพิพากษาให้แล้วเสร็จ และนัดอ่านคำพิพากษาอีกครั้งในวันที่ 25 ตุลาคม 2566
ขณะที่คดีแพ่งจบไปแล้วตั้งแต่ปี 2557 โดยศาลตัดสินให้กองทัพบกและสำนักนายกรัฐมนตรีร่วมกันชดเชยสินไหมให้กับครอบครัวเป็นเงิน 7 ล้านกว่าบาท
สื่อนอกตีข่าว ไทยได้ครม.ชุดใหม่ นายกฯเศรษฐา นั่งควบ ‘ขุนคลัง’ มุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ซบเซา
https://www.matichon.co.th/foreign/news_4159758
รอยเตอร์ตีข่าว ไทยได้ ครม.ชุดใหม่ นายกฯเศรษฐา นั่งควบ ‘ขุนคลัง’ มุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ซบเซา
เมื่อวันที่ 2 กันยายน สื่อต่างประเทศที่เกาะติดการเมืองไทยอย่างสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทย ยังได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังควบอีกตำแหน่ง ในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯแต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้วในวันที่ 2 กันยายนนี้ ในขณะที่นายเศรษฐา ซึ่งเป็นมหาเศรษฐีนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พยายามมุ่งส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และดำเนินการตามคำมั่นที่ได้หาเสียงไว้
รอยเตอร์ชี้ว่า การฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยที่ประสบภาวะถดถอยเนื่องจากการส่งออกและการลงทุนที่อ่อนแอ จะเป็นหนึ่งในภารกิจที่ใหญ่ที่สุดสำหรับมือใหม่ทางการเมืองอย่างนายเศรษฐา ที่ได้ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา หลังจากเกิดความไม่แน่นอนที่ยืดเยื้อมายาวนานหลังการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
รอยเตอร์ระบุอีกว่า คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งแล้วนั้น จะเห็นพรรคเพื่อไทยของนายเศรษฐา ที่ได้รับการสนับสนุนจากตระกูลชินวัตร กำกับดูแลงานกระทรวงกลาโหม คมนาคม พาณิชย์ สาธารณสุข และกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนี้ พรรคเพื่อไทยจะคุมกระทรวงเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งจะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินนโยบายต่างๆ ของพรรคเพื่อไทย รวมถึงการแจกเงิน 10,000 บาท ในรูปแบบของสกุลเงินดิจิทัล
รอยเตอร์ระบุด้วยว่า การก้าวขึ้นสู่อำนาจอย่างรวดเร็วของนายเศรษฐา การกลับมาอย่างราบรื่นของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และการจัดตั้งรัฐบาลผสมข้ามขั้วระหว่างพรรคเพื่อไทยและอดีตพรรคคู่ปรับ ได้ทำให้เกิดการคาดเดาถึงการมีการทำข้อตกลงระหว่างนายทักษิณกับศัตรูของเขาท่ามกลางฝ่ายอนุรักษนิยมและกองทัพที่ทรงอำนาจในประเทศ ซึ่งนายทักษิณและพรรคเพื่อไทยปฏิเสธว่า ไม่ได้เป็นเช่นนั้น
ตลาดที่อยู่อาศัย ปี 66 น่าห่วง หนี้ครัวเรือน-ดอกเบี้ยพุ่ง ฉุดกำลังซื้อ
https://www.thansettakij.com/real-estate/574998
ตลาดที่อยู่อาศัยปี 66 ยังน่าห่วง หลังกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัว ภาวะหนี้ครัวเรือนสูง ดอกเบี้ยขาขึ้น กระทบกำลังซื้อประชาชน ขณะภาพรวมกิจกรรมการซื้อขายในตลาดที่อยู่อาศัยปรับตัวลด
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในช่วงที่เหลือของปี 2566 ตลาดที่อยู่อาศัยยังเผชิญกับโจทย์ความต้องการซื้อที่จำกัดเนื่องจากกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ภาวะหนี้ครัวเรือนสูง
รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อปรับตัวสูงขึ้น และน่าจะยังยืนระดับสูงต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลอาจหดตัวราว 7.8% ในปี2566
ตั้งแต่ต้นปี 2566 ถึงปัจจุบัน ภาพรวมกิจกรรมการซื้อขายในตลาดที่อยู่อาศัยปรับตัวลดลงจากปีที่ผ่านมา แม้ตลาดยังพอมีปัจจัยบวกจากการกลับมาซื้อที่อยู่อาศัยคอนโดมิเนียมของชาวต่างชาติ
รวมทั้งมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ และการจดจำนองที่อยู่อาศัยสำหรับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท การจัดโปรโมชั่นอย่างหนักของผู้ประกอบการในการเร่งระบายที่อยู่อาศัยรอขาย แต่เนื่องจากความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยได้ถูกดูดซับไปในช่วงก่อนหน้าโดยเฉพาะในช่วงที่มีการผ่อนปรนเกณฑ์ LTV
ขณะเดียวกันกำลังซื้อของผู้บริโภคโดยรวมยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และมีหนี้ที่สูง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ปรับตัวสูงขึ้น มีผลต่อภาระผ่อนต่อเดือนและวงเงินสินเชื่อใหม่ "เบื้องต้นดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นในช่วง ก.ย.65 - ก.ค.66 มีผลต่อภาระผ่อนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 13%" ส่งผลให้สถานการณ์ตลาดอยู่ในภาวะที่ซึมตัว
โดยพบว่า ในช่วง 7 เดือนแรกปี 2566 การจองซื้อที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลหดตัวประมาณ 12% (YoY) ขณะที่ การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลช่วงครึ่งปีแรกหดตัวประมาณ 3% (YoY)
อย่างไรก็ตามคาดหวังว่าในปี 67 ปัจจัยต่างๆ อาจจะนิ่งขึ้น และทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลอาจพลิกกลับมาเติบโต 1.2%-4.6% ในปี 2567
โดยยังต้องติดตามรายละเอียดและจังหวะเวลาของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเน้นการช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางลงล่าง
รวมถึงมาตรการต่างๆ ที่อาจเกี่ยวเนื่องกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ หากสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็น่าจะมีส่วนช่วยหนุนกิจกรรมการซื้อขายที่อยู่อาศัยในปี 2567
โจทย์ท้าทายที่สำคัญ 3 เรื่อง สำหรับตลาดที่อยู่อาศัย
1. ความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จากที่อยู่อาศัยสะสมรอขายในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลที่คาอยู่ในระดับสูงกว่า 2 แสนหน่วยเป็นเวลานานกว่า 6 ปีแล้ว โดยในช่วงครึ่งแรกปี2566 ที่อยู่อาศัยสะสมรอขาย ในกรุงเทพฯและปริมณฑลมีจำนวน 2.2 แสนหน่วย ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลากว่า 3 ปีในการระบาย (กรณีที่ไม่มีการเปิดที่อยู่อาศัยใหม่เพิ่ม) ขณะเดียวกัน สัดส่วนจำนวนที่อยู่อาศัยรอขายต่อจำนวนการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจากนิติบุคคลในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2.4 เท่า ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงขึ้นต่อเนื่อง (แม้ทั้งสองเครื่องชี้อาจจะมีความเหลื่อมด้านเวลาของการจองซื้อ/ผ่อนดาวน์/ก่อสร้าง ก่อนที่จะโอนกรรมสิทธิ์) จากยอดจองซื้อโครงการเปิดตัวใหม่ในช่วงหลังที่ต่ำลง ทำให้มีจำนวนที่อยู่อาศัยทยอยเข้ามาสะสมเพิ่มขึ้น และในบางพื้นที่ที่ผู้ประกอบการหันมาลงทุนโครงการใหม่ในช่วงเวลาใกล้กัน อีกทั้งส่วนหนึ่งยังเป็นผลจากการแข่งขันกับที่อยู่อาศัยมือสองที่มีการประกาศขายในตลาดเป็นจำนวนมากและก็ได้รับการตอบรับจากตลาดดีขึ้นเช่นกันสะท้อนจากการโอนกรรมสิทธ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จากบุคคลธรรมดา ในช่วงครึ่งแรกปีนี้ ที่มีสัดส่วนกว่า 50% ของยอดโอนฯทั้งหมด (นิติบุคคล+บุคคลธรรมดา) เพิ่มขึ้นจากที่เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 40% ในช่วงก่อนโควิด