ปีนี้จะมีพายุเข้าไทยไหมครับ?

ปรากฏการณ์เอลนีโญ ผมก็เคยเห็นหลายครั้งแต่ไม่เคยเห็นความรุนแรงขนาดนี้  ปกติพายุที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนต้นฤดูฝนช่วงเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนกรกฎาคม พายุจะพัดขึ้นทิศเหนือเข้าญี่ปุ่น เกาหลี  พอถึงปลายเดือนกรกฏาคม-ต้นเดือนสิงหาคม จะเริ่มพัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเข้าจีน ไต้หวัน  ถึงปลายเดือนสิงหาคม-กันยายน ลมพายุจะพัดมาด้านทิศตะวันตกเข้าเวียดนามและไทยทางตอนบนก่อน พายุจะพัดต่ำลงเรื่อยๆ ตามวันเวลาถึงเดือนตุลาคมก็จะพัดเข้าภาคใต้ตอนบนของไทยไล่ต่ำลงเรื่อยๆ   แต่ปีนี้ผลจากเอลนีโญปลายเดือนสิงหาคมแล้วพายุยังพัดขึ้นไปด้านทิศเหนืออยู่เลย ขณะนี้มีพายุในมหาสมุทรแปซิฟิก 2 ลูก แต่โมเดลจำลองของสำนักพยากรณ์อากาศทายว่าจะพัดไปที่ไต้หวัน-เซี่ยงไฮ้ของจีนซึ่งค่อนไปทางทิศเหนือ หากเป็นปีที่สภาวะปกติพายุต้องพัดมาที่เวียดนาม



สถานการณ์น้ำในเขื่อนขณะนี้ทุกภาคยกเว้นภาคตะวันตกถือว่าอยู่ในระดับต่ำมาก เขื่อนขนาดใหญ่มีน้ำน้อยกว่าทุกๆ ปี เขื่อนอุบลรัตน์ซื่งเป็นเขื่อนที่ใหญ่สำคัญที่สุดของภาคอีสานมีน้ำแค่ 34%  ขณะที่ภาคกลางน่าตกใจกว่านั้นเขื่อนป่าสักมีน้ำแค่ 7% ภาคเหนือเขื่อนใหญ่มีน้ำประมาณ 40%  ปกติแล้วภาคเหนือ ภาคอีสานฝนจะตกชุกมีพายุเข้ามากที่สุดคือเดือนกันยายนซึ่งจะถึงในอีกไม่กี่วันนี้   ถ้าพายุไม่มาตามนัดนี่ประเทศไทยยุ่งแน่ๆ ระดับน้ำที่ต่ำขนาดนี้จะไม่มีให้ทำการเกษตรเก็บไว้ทำน้ำปะปาได้อย่างเดียวครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
เขื่อนใหญ่ทางภาคเหนือ   https://www.thaiwater.net/water

เขื่อนภูมิพล
ความจุ 13,462 (ล้าน ลบ.ม.)
ปริมาณน้ำตอนนี้ 5,517 (41%)
ปริมาณน้ำใช้งานได้จริง 1,717 ( 13% )

เขื่อนสิริกิติ์
ความจุ 9,510
ปริมาณน้ำ4,429 (47%)
ปริมาณน้ำใช้งานได้จริง 1,579 (17%)


ถ้าไม่ได้ฝนมาตกพื้นที่เหนือเขื่อน ก็เหลือแค่น้ำใช้งานได้แค่  13  กับ 17 เปอร์เซนต์ เท่านั้นแหละ
และทั้งสองเขื่อนก็ยังคงปล่อยน้ำปริมาณมากออกมาทุกวัน

ย้อนข้อมูลกราฟดูตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา (ไม่นับช่วงที่เกิดมหาอุทกภัยปี 2011 ต่อต้นปี 2012)
ทั้งสองเขื่อน มีกฏเกณฑ์ควบคุมปริมาณน้ำกักเก็บ/เผื่อน้ำอุปโภคบริโภคสำหรับปีถัดๆไป ได้อย่างดีมาตลอด

แต่ช่วงไม่กี่ปีมานี่เอง การใช้น้ำเขื่อนอย่างผิดปกติเริ่มเกิดขึ้น (ปี 2019 ปล่อยน้ำที่ได้จากปี 2018)
แม้ก่อนหน้านั้นฝนตกมาตกพื้นที่ตอนบนของประเทศน้อย ได้น้ำเขื่อนน้อยต่อเนื่องหลายปี
พอถึงปีที่ฝนตกมาก เขื่อนใหญ่ภาคเหนือกลับทำตัวเหมือนไม่รู้จักภัยแล้ง ปล่อยน้ำออกใช้อย่างสุรุ่ยสุร่ายมากจนน้ำแทบหมดเขื่อน (ระดับน้ำเหลือต่ำกว่าเกณฑ์ Lower Rule Curve ) ไม่เผื่อน้ำเก็บไว้ใช้

อีตานี้ตลอดปี 2019 2020 2021 หลังจากที่เขื่อนแทบไม่เหลือน้ำแล้วดันเกิดปีฝนแล้งต่อเนื่องสิครับ
เขื่อนใหญ่ไม่มีน้ำ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่พึ่งน้ำจากสองเขื่อนนี้แทบจะเรือหายกันหมด
ยิ่งถ้าเกิดปี 2022 เป็นปีที่แล้งต่ออีกละก็เรือหายของจริงแน่
(แต่เดชะบุญ 2022 เป็นปีลานีญ่า ได้พายุฝนเข้ามาตกเหนือเขื่อน ได้น้ำเข้าเขื่อนมาก)

ปลายปี 2022 สำนักพยากรณ์ทั่วโลกประกาศเตือนโครมๆ ว่าวิกฤตการเปลี่ยนสภาพอากาศ เอลนีโญ่กำลังจะมาและมาแรงแน่
ส่วนตัวก็นึกว่าอย่างน้อยประเทศไทยเราเบาใจเรื่องภัยแล้ง เพราะเพิ่งได้น้ำเติมเขื่อนใหญ่ตุนไว้มาก บริหารดีๆไม่ต้องลุ้นว่าจะขาดน้ำกินน้ำใช้ไปได้อีกอย่างน้อยก็หลายปีแล้ว

ที่ไหนได้ 2023 เขื่อนใหญ่ภาคเหนือปล่อยน้ำที่เก็บได้มากจากปี 2022 ออกจนจะเกลี้ยงเขื่อนอีกแล้ว
ก็เอาน้ำที่มีไปใช้ปั่นไฟฟ้าอย่างเกินขอบเขตอันควรนั่นแหละ
น้ำเขื่อนเพื่อไฟฟ้ากลายเป็นเรื่องสำคัญกว่าน้ำอุปโภคบริโภค

หวังว่าฟ้าฝนปีเอลนีโย่ เขื่อนจะมีน้ำมาเติมคืนมากพอก่อนประเทศจะเข้าหน้าแล้งเหรอ
หรือหวังว่าแล้งจากเอลนีโญ่มันคงเกิดแค่ช่วงสั้นๆ แล้งไม่กี่วันแล้วก็หาย จากนั้นกลับมาฝนตกดี ประเทศอุดมสมบูรณ์เหรอ  ฮ่าๆๆ

ผมว่าเอาเรื่องความเป็นความตายของคนทั้งลุ่มน้ำ ไปแขวนไว้กับความไม่แน่นอนของฟ้าฝน ในสภาวะที่ทุกอย่างชี้เตือนไปที่แล้งแน่อย่างนี้

วิสัยทัศน์ของผู้บริหารจัดการน้ำในเขื่อน น่าจะมีปัญหาแล้วล่ะ

.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่