Xbox 360 เริ่มถูกพัฒนาในต้นปี 2003 หรือประมาณปีกว่า ๆ หลังจากวางจำหน่าย Xbox ครั้งแรก โดยตอนนั้นใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น Xbox Next, Xenon, Xbox 2 หรือ NextBox ก่อนที่จะมาลงที่ชื่อ Xbox 360
ในปีเดียวกันนั้นทาง Microsoft (MS) มีความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเกมคอนโซลหลายอย่าง ที่โดดเด่นคือการเซ็นสัญญากับ ATI ว่าจ้างให้พัฒนาชิปกราฟฟิก (GPU) สำหรับเครื่องเกมรุ่นใหม่ และ การย้ายมาของ Peter Moore อดีตประธานของ Sega of America โดยเค้าจะช่วยดูด้านการตลาดให้กับ Xbox
ในส่วนของ CPU ทาง MS ได้เลือกที่จะใช้ CPU แบบ Multi-core ตระกูล PowerPC ของ IBM ที่รู้จักกันดี เชื่อถือได้ มีการใช้งานแพร่หลาย โปรแกรมเมอร์ชำชาญในการเขียนโปรแกรมและ บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่า Performance per Watt (งานที่ได้ต่อไฟฟ้าที่จ่าย)ของ PowerPC ณ เวลานั้นดีกว่า CPU ของ intel
จุดที่น่าสนใจคือหน่วยประมวลผลตัวหนึ่งที่อยู่ใน CPU ซึ่งเรียกว่า PPE (Power Processing Element)
อธิบายแบบเห็นให้เห็นภาพคือ PPE จะเหมือนกับผู้ดูแลการประมวลผล โดยจะคอยจัดเรียงลำดับการเข้าใช้งานการประมวลผลให้เป็นไปตามลำดับก่อนหลัง, ความสำคัญและระยะเวลา
โปรเซสใดที่ลำดับความสำคัญสูงจะได้ลัดคิวเข้าประมวลผลก่อน หรือ โปรเซสใดที่รอมานานแล้วตัว PPE ก็จะอนุญาติให้ได้ลัดคิวประมวลผลได้
สิ่งที่น่าสนใจคือเจ้า PPE นี้เป็นเทคโนโลยีที่แชร์กันใช้ร่วมกับ CPU ของ Sony PlayStation3(PS3)ที่ชื่อว่า Cell โดย MS อาจจะไม่ได้ตั้งใจ
สาเหตุมาจากที่ CPU ของ PS3 นั้นเป็นการพัฒนาร่วมระหว่าง Sony Toshiba และ IBM เริ่มโครงการในปี 2001 โดยทาง IBM ได้พัฒนาหน่วยประมวลผล PPE ใน CPU ขึ้นจากเทคโนโลยีของ PowerPC ซึ่งทุกเทคโนโลยีใน CPU ตัวนี้จะมีการแชร์ความรู้และความเป็นเจ้าของร่วมกันระหว่าง Sony Toshiba และ IBM
ในภายหลังมีการเปิดเผยว่าลูกจ้างของ IBM บางคนได้แอบเก็บซ่อนข้อมูลเทคโนโลยีของ PPE ไว้ โดยเชื่อกันว่าเป็นข้อมูลการออกแบบในเวอรชั่นแรก ๆ ของ PPE
ต่อมาเมื่อ MS ร่วมมือกับ IBM ในการพัฒนา CPU สำหรับเครื่องเกมคอนโซลรุ่นใหม่ ข้อมูลการออกแบบ PPE ที่ถูกซ่อนไว้จึงถูกนำออกมาใช้ ปรับปรุงดัดแปลงเล็กน้อยเพื่อใช้ในการสร้าง CPU สำหรับ Xbox 360 ที่ชื่อว่า Xenon หรือชื่อทางการว่า Microsoft XCPU
การออกแบบของ CPU Xenon นั้นเรียบง่าย มี Cache หรือ Buffer memory กลางไว้ตัวหนึ่งไว้รับข้อมูลที่จะประมวลผล เชื่อมต่อกับ PPE 3 ตัวที่แต่ละ PPE มีหน่วยประมวลผลอยู่ภายใน หน่วยประมวลผลมี threads หรือ Core เสมือนจำนวน 2 คอร์โดยมี PPE ยูนิตที่ครอบอยู่เป็นตัวควบคุมลำดับการประมวลผล รวมหน่วยประมวลผลทั้งหมดได้ 3 Hardware คอร์ 6 คอร์เสมือน ข้อมูลที่ประมวลจะส่งผ่าน GPU ไปแสดงผลสร้างกราฟฟิกต่อไป
ในเวลานั้น บางทีทั้ง Microsoft และ Sony ต่างก็ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่า CPU ใช้เทคโนโลยีร่วมกัน
Xbox 360 ออกวางจำหน่ายครั้งแรกที่อเมริกาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2005 และยุโรปในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน ราคา 299 USD แต่ก็มีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งในการวางจำหน่าย
เนื่องจากการที่ MS เริ่มเดินสายการผลิต Xbox 360 เพียงราว ๆ 70 วันก่อนวันวางจำหน่าย ทำให้ปริมาณสินค้าที่ไม่พอกับความต้องการ เมื่อสิ้นปี 2005 MS จึงสามารถทำยอดส่งขาย Xbox ได้เพียง 1.5 ล้านเครื่องเท่านั้น โดยแบ่งออกได้เป็นที่อเมริกา 9 แสนเครื่อง ยุโรป 5 แสนและญี่ปุ่น 1 แสนเครื่อง สินค้าที่อเมริกาและยุโรปนั้นเกลี้ยงร้าน ยกเว้นญี่ปุ่น
ด้วยความที่ Xbox 360 ใช้ CPU แบบ PowerPC ที่รู้จักแพร่หลายและมีโครงสร้างระบบโดยรวมที่ใกล้เคียงคอมพิวเตอร์ PC ทำให้การพัฒนาเกมสำหรับ Xbox นั้นทำได้ง่าย มีผู้พัฒนามาสร้างเกมลงให้จำนวนมาก เพียง 1 ปี Xbox 360 ก็มีจำนวนเกมเฉพาะที่ออกในอเมริกาไม่ต่ำกว่า 128 เกมโดยประมาณและมียอดขายมากถึง 10 ล้านเครื่องเมื่อสิ้นปี 2006
นี่ทำให้ Sony ที่นำ PS3 ออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2006 ต้องประสบความยากลำบากในการทำตลาดโดยเฉพาะปัญหาจากราคาขายเริ่มต้นที่ 499 USD แพงกว่า Xbox ถึง 200 USD
นอกจากนี้ PS3 ยังประสบปัญหาในการเขียนโปรแกรมเกมบน CPU ที่ชื่อ Cell ซึ่งสมัยนั้นถือว่าทั้งใหม่และซับซ้อน ผู้พัฒนาเกมหลายค่ายหันไปใช้วิธีสร้างเกมเวอร์ชั่น Xbox ออกจำหน่ายก่อนแล้วค่อยแปลงลง PS3 ทำให้ Xbox มีความได้เปรียบด้านจำนวนและความสดใหม่ของเกม แม้แต่บริษัทญี่ปุ่นด้วยกันอย่าง Capcom ก็เลือกที่จะทำเกมลง Xbox ก่อน โดยนี่ยังไม่รวมถึงปัญหาเรื่องคุณภาพของเกมหลังแปลงลง PS3 อีกด้วย
ทั้งหมดนี้ทำให้ Xbox 360 ชิงความได้เปรียบมาได้สำเร็จ ยอดขายและจำนวนเกมที่ถูกพัฒนามาลงให้นั้นเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีโอกาสที่จะเอาชนะเจ้าตลาดเดิมอย่าง Sony ได้เป็นครั้งแรก
ทว่า ขณะเดียวกัน ระเบิดเวลาที่แฝงอยู่ในเครื่อง Xbox 360 ก็เริ่มปรากฏออกมา
ไม่มีใครรู้สาเหตุว่าเพราะอะไร แต่ระเบิดเวลานี้เริ่มปรากฏขึ้นมาเรื่อย ๆ ทาง MS เองก็เห็นได้อย่างชัดเจนด้วยยอดสถิติการส่งซ่อมที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั้งปี 2007 แม้แต่ MS ก็ต้องยอมรับว่ามันมีปัญหาอะไรบางอย่างใน Xbox 360
ในไทยมักเรียกการเสียนี้ว่า “ไฟแดง”
แต่ส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนชอบคำเรียกของฝรั่งมากกว่า ซึ่งเค้าเรียกอาการเสียนี้ว่า
“Red Ring of Death”
บทความตามใจฉัน “Xbox 360:ราคาของความสำเร็จ”
ในปีเดียวกันนั้นทาง Microsoft (MS) มีความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเกมคอนโซลหลายอย่าง ที่โดดเด่นคือการเซ็นสัญญากับ ATI ว่าจ้างให้พัฒนาชิปกราฟฟิก (GPU) สำหรับเครื่องเกมรุ่นใหม่ และ การย้ายมาของ Peter Moore อดีตประธานของ Sega of America โดยเค้าจะช่วยดูด้านการตลาดให้กับ Xbox
ในส่วนของ CPU ทาง MS ได้เลือกที่จะใช้ CPU แบบ Multi-core ตระกูล PowerPC ของ IBM ที่รู้จักกันดี เชื่อถือได้ มีการใช้งานแพร่หลาย โปรแกรมเมอร์ชำชาญในการเขียนโปรแกรมและ บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่า Performance per Watt (งานที่ได้ต่อไฟฟ้าที่จ่าย)ของ PowerPC ณ เวลานั้นดีกว่า CPU ของ intel
จุดที่น่าสนใจคือหน่วยประมวลผลตัวหนึ่งที่อยู่ใน CPU ซึ่งเรียกว่า PPE (Power Processing Element)
อธิบายแบบเห็นให้เห็นภาพคือ PPE จะเหมือนกับผู้ดูแลการประมวลผล โดยจะคอยจัดเรียงลำดับการเข้าใช้งานการประมวลผลให้เป็นไปตามลำดับก่อนหลัง, ความสำคัญและระยะเวลา
โปรเซสใดที่ลำดับความสำคัญสูงจะได้ลัดคิวเข้าประมวลผลก่อน หรือ โปรเซสใดที่รอมานานแล้วตัว PPE ก็จะอนุญาติให้ได้ลัดคิวประมวลผลได้
สิ่งที่น่าสนใจคือเจ้า PPE นี้เป็นเทคโนโลยีที่แชร์กันใช้ร่วมกับ CPU ของ Sony PlayStation3(PS3)ที่ชื่อว่า Cell โดย MS อาจจะไม่ได้ตั้งใจ
สาเหตุมาจากที่ CPU ของ PS3 นั้นเป็นการพัฒนาร่วมระหว่าง Sony Toshiba และ IBM เริ่มโครงการในปี 2001 โดยทาง IBM ได้พัฒนาหน่วยประมวลผล PPE ใน CPU ขึ้นจากเทคโนโลยีของ PowerPC ซึ่งทุกเทคโนโลยีใน CPU ตัวนี้จะมีการแชร์ความรู้และความเป็นเจ้าของร่วมกันระหว่าง Sony Toshiba และ IBM
ในภายหลังมีการเปิดเผยว่าลูกจ้างของ IBM บางคนได้แอบเก็บซ่อนข้อมูลเทคโนโลยีของ PPE ไว้ โดยเชื่อกันว่าเป็นข้อมูลการออกแบบในเวอรชั่นแรก ๆ ของ PPE
ต่อมาเมื่อ MS ร่วมมือกับ IBM ในการพัฒนา CPU สำหรับเครื่องเกมคอนโซลรุ่นใหม่ ข้อมูลการออกแบบ PPE ที่ถูกซ่อนไว้จึงถูกนำออกมาใช้ ปรับปรุงดัดแปลงเล็กน้อยเพื่อใช้ในการสร้าง CPU สำหรับ Xbox 360 ที่ชื่อว่า Xenon หรือชื่อทางการว่า Microsoft XCPU
การออกแบบของ CPU Xenon นั้นเรียบง่าย มี Cache หรือ Buffer memory กลางไว้ตัวหนึ่งไว้รับข้อมูลที่จะประมวลผล เชื่อมต่อกับ PPE 3 ตัวที่แต่ละ PPE มีหน่วยประมวลผลอยู่ภายใน หน่วยประมวลผลมี threads หรือ Core เสมือนจำนวน 2 คอร์โดยมี PPE ยูนิตที่ครอบอยู่เป็นตัวควบคุมลำดับการประมวลผล รวมหน่วยประมวลผลทั้งหมดได้ 3 Hardware คอร์ 6 คอร์เสมือน ข้อมูลที่ประมวลจะส่งผ่าน GPU ไปแสดงผลสร้างกราฟฟิกต่อไป
ในเวลานั้น บางทีทั้ง Microsoft และ Sony ต่างก็ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่า CPU ใช้เทคโนโลยีร่วมกัน
Xbox 360 ออกวางจำหน่ายครั้งแรกที่อเมริกาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2005 และยุโรปในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน ราคา 299 USD แต่ก็มีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งในการวางจำหน่าย
เนื่องจากการที่ MS เริ่มเดินสายการผลิต Xbox 360 เพียงราว ๆ 70 วันก่อนวันวางจำหน่าย ทำให้ปริมาณสินค้าที่ไม่พอกับความต้องการ เมื่อสิ้นปี 2005 MS จึงสามารถทำยอดส่งขาย Xbox ได้เพียง 1.5 ล้านเครื่องเท่านั้น โดยแบ่งออกได้เป็นที่อเมริกา 9 แสนเครื่อง ยุโรป 5 แสนและญี่ปุ่น 1 แสนเครื่อง สินค้าที่อเมริกาและยุโรปนั้นเกลี้ยงร้าน ยกเว้นญี่ปุ่น
ด้วยความที่ Xbox 360 ใช้ CPU แบบ PowerPC ที่รู้จักแพร่หลายและมีโครงสร้างระบบโดยรวมที่ใกล้เคียงคอมพิวเตอร์ PC ทำให้การพัฒนาเกมสำหรับ Xbox นั้นทำได้ง่าย มีผู้พัฒนามาสร้างเกมลงให้จำนวนมาก เพียง 1 ปี Xbox 360 ก็มีจำนวนเกมเฉพาะที่ออกในอเมริกาไม่ต่ำกว่า 128 เกมโดยประมาณและมียอดขายมากถึง 10 ล้านเครื่องเมื่อสิ้นปี 2006
นี่ทำให้ Sony ที่นำ PS3 ออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2006 ต้องประสบความยากลำบากในการทำตลาดโดยเฉพาะปัญหาจากราคาขายเริ่มต้นที่ 499 USD แพงกว่า Xbox ถึง 200 USD
นอกจากนี้ PS3 ยังประสบปัญหาในการเขียนโปรแกรมเกมบน CPU ที่ชื่อ Cell ซึ่งสมัยนั้นถือว่าทั้งใหม่และซับซ้อน ผู้พัฒนาเกมหลายค่ายหันไปใช้วิธีสร้างเกมเวอร์ชั่น Xbox ออกจำหน่ายก่อนแล้วค่อยแปลงลง PS3 ทำให้ Xbox มีความได้เปรียบด้านจำนวนและความสดใหม่ของเกม แม้แต่บริษัทญี่ปุ่นด้วยกันอย่าง Capcom ก็เลือกที่จะทำเกมลง Xbox ก่อน โดยนี่ยังไม่รวมถึงปัญหาเรื่องคุณภาพของเกมหลังแปลงลง PS3 อีกด้วย
ทั้งหมดนี้ทำให้ Xbox 360 ชิงความได้เปรียบมาได้สำเร็จ ยอดขายและจำนวนเกมที่ถูกพัฒนามาลงให้นั้นเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีโอกาสที่จะเอาชนะเจ้าตลาดเดิมอย่าง Sony ได้เป็นครั้งแรก
ทว่า ขณะเดียวกัน ระเบิดเวลาที่แฝงอยู่ในเครื่อง Xbox 360 ก็เริ่มปรากฏออกมา
ไม่มีใครรู้สาเหตุว่าเพราะอะไร แต่ระเบิดเวลานี้เริ่มปรากฏขึ้นมาเรื่อย ๆ ทาง MS เองก็เห็นได้อย่างชัดเจนด้วยยอดสถิติการส่งซ่อมที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั้งปี 2007 แม้แต่ MS ก็ต้องยอมรับว่ามันมีปัญหาอะไรบางอย่างใน Xbox 360
ในไทยมักเรียกการเสียนี้ว่า “ไฟแดง”
แต่ส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนชอบคำเรียกของฝรั่งมากกว่า ซึ่งเค้าเรียกอาการเสียนี้ว่า
“Red Ring of Death”